รฟม.เดินหน้า4หมื่นล. โมโนเรล สีน้ำตาล ปี66
วันที่ : 29 พฤศจิกายน 2564
การจ้างที่ปรึกษาทบทวนแบบ และจัดทำเอกสารประกวดราคา รฟม.คาดว่าจะแล้วเสร็จราวเดือน ก.ย.2565 หลังจากนั้นจะเสนอโครงการตามขั้นตอนเอกชน ร่วมลงทุนรัฐ (พีพีพี) ภายใน มิ.ย.2566
รฟม.ลุยโมโนเรลสายสีน้ำตาลแคราย-ลำสาลี (บึงกุ่ม) กว่า 4.8 หมื่นล้าน คาดเสนอ ครม.ปี66 เชื่อมรถไฟฟ้า 7 สาย มั่นใจปีแรกผู้โดยสาร 2.18 แสนคนเที่ยวต่อวัน
รายงานข่าวจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าของโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย - ลำสาลี (บึงกุ่ม) โดยระบุว่า ขณะนี้ รฟม.ได้เริ่มต้นดำเนินการ ในขั้นตอนเตรียมประกวดราคาจัดหา เอกชนร่วมลงทุนพัฒนาโครงการดังกล่าวแล้ว โดยอยู่ระหว่างเตรียม ประกวดราคาในเดือน พ.ย.นี้ เพื่อจ้างที่ปรึกษาทบทวนและปรับปรุงรายละเอียดความเหมาะสม ออกแบบ พร้อมจัดเตรียมเอกสารประกวดราคา
สำหรับโครงการรถไฟฟ้า สายสีน้ำตาล การศึกษาความเหมาะสม ในเบื้องต้นจะพัฒนาเป็นระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail) เป็นโครงสร้างทางวิ่งยกระดับ จำนวน 20 สถานี ระยะทาง 22.1 กิโลเมตร โดยพื้นที่โครงการฯ มีส่วนซ้อนทับ กับโครงสร้างทางด่วนขั้นที่ 3 ตอน N2 บนแนวถนนประเสริฐมนูกิจ เป็นระยะทาง 7.2 กิโลเมตร (จำนวน 6 สถานี) เบื้องต้นของฐานรากโครงการ รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล จะก่อสร้างโครงสร้างทางวิ่งเป็นคานคอนกรีตที่วางบนคานขวาง และ Bearing Shoe ออกแบบให้มีเสาตอม่อ สายสีน้ำตาลแทรกระหว่างเสาทางด่วน ที่ก่อสร้างไว้แล้ว มีระยะระหว่างช่วงตอม่อประมาณ 25-30 เมตร
"การจ้างที่ปรึกษาทบทวนแบบ และจัดทำเอกสารประกวดราคา รฟม.คาดว่าจะแล้วเสร็จราวเดือน ก.ย.2565 หลังจากนั้นจะเสนอโครงการตามขั้นตอนเอกชน ร่วมลงทุนรัฐ (พีพีพี) ภายใน มิ.ย.2566 เบื้องต้นประเมินว่าขั้นตอนทั้งหมดจะแล้วเสร็จ เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในเดือน ก.ย.2566 เริ่มประกวดราคาทันทีในปี 2566-2567 ได้ตัวผู้รับจ้างในปี 2568 ใช้เวลาก่อสร้าง 39 เดือน เพื่อเปิดให้บริการในปี 2571"
รายงานข่าวยังระบุด้วยว่า โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ผลการศึกษาเบื้องต้นประเมินวงเงิน ลงทุนอยู่ที่ 48,386 ล้านบาท แบ่งเป็น ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 7,254 ล้านบาท ค่าก่อสร้างงานโยธา 20,864 ล้านบาท ค่าก่อสร้างงานระบบ 19,013 ล้านบาท และค่าที่ปรึกษาโครงการ 1,255 ล้านบาท โดยโครงการนี้เมื่อพัฒนาร่วมกับ ระบบทางด่วนบนสายทางเดียวกันแล้ว รถไฟฟ้าจะให้ผลตอบแทนด้านเศรษฐกิจ 22.3% ขณะที่ทางด่วนให้ผลตอบแทน 38.9% ถือว่าคุ้มค่า ต่อการลงทุน
อีกทั้งโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล จะทำหน้าที่เชื่อมต่อกับ โครงการรถไฟฟ้า 7 สาย ประกอบด้วย สถานีศูนย์ราชการนนทบุรีเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีม่วงและสีชมพู สถานีบางเขนเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีแดง สถานีแยกเกษตรเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีเขียว สถานีฉลองรัชเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีเทา และสถานีลำสาลีเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีเหลือง และสีส้ม เบื้องต้น รฟม.คาดการณ์ว่า ปีแรกของการเปิดให้บริการ จะมีปริมาณผู้โดยสารราว 2.18 แสนคน เที่ยวต่อวัน
รายงานข่าวจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าของโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย - ลำสาลี (บึงกุ่ม) โดยระบุว่า ขณะนี้ รฟม.ได้เริ่มต้นดำเนินการ ในขั้นตอนเตรียมประกวดราคาจัดหา เอกชนร่วมลงทุนพัฒนาโครงการดังกล่าวแล้ว โดยอยู่ระหว่างเตรียม ประกวดราคาในเดือน พ.ย.นี้ เพื่อจ้างที่ปรึกษาทบทวนและปรับปรุงรายละเอียดความเหมาะสม ออกแบบ พร้อมจัดเตรียมเอกสารประกวดราคา
สำหรับโครงการรถไฟฟ้า สายสีน้ำตาล การศึกษาความเหมาะสม ในเบื้องต้นจะพัฒนาเป็นระบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail) เป็นโครงสร้างทางวิ่งยกระดับ จำนวน 20 สถานี ระยะทาง 22.1 กิโลเมตร โดยพื้นที่โครงการฯ มีส่วนซ้อนทับ กับโครงสร้างทางด่วนขั้นที่ 3 ตอน N2 บนแนวถนนประเสริฐมนูกิจ เป็นระยะทาง 7.2 กิโลเมตร (จำนวน 6 สถานี) เบื้องต้นของฐานรากโครงการ รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล จะก่อสร้างโครงสร้างทางวิ่งเป็นคานคอนกรีตที่วางบนคานขวาง และ Bearing Shoe ออกแบบให้มีเสาตอม่อ สายสีน้ำตาลแทรกระหว่างเสาทางด่วน ที่ก่อสร้างไว้แล้ว มีระยะระหว่างช่วงตอม่อประมาณ 25-30 เมตร
"การจ้างที่ปรึกษาทบทวนแบบ และจัดทำเอกสารประกวดราคา รฟม.คาดว่าจะแล้วเสร็จราวเดือน ก.ย.2565 หลังจากนั้นจะเสนอโครงการตามขั้นตอนเอกชน ร่วมลงทุนรัฐ (พีพีพี) ภายใน มิ.ย.2566 เบื้องต้นประเมินว่าขั้นตอนทั้งหมดจะแล้วเสร็จ เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในเดือน ก.ย.2566 เริ่มประกวดราคาทันทีในปี 2566-2567 ได้ตัวผู้รับจ้างในปี 2568 ใช้เวลาก่อสร้าง 39 เดือน เพื่อเปิดให้บริการในปี 2571"
รายงานข่าวยังระบุด้วยว่า โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ผลการศึกษาเบื้องต้นประเมินวงเงิน ลงทุนอยู่ที่ 48,386 ล้านบาท แบ่งเป็น ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 7,254 ล้านบาท ค่าก่อสร้างงานโยธา 20,864 ล้านบาท ค่าก่อสร้างงานระบบ 19,013 ล้านบาท และค่าที่ปรึกษาโครงการ 1,255 ล้านบาท โดยโครงการนี้เมื่อพัฒนาร่วมกับ ระบบทางด่วนบนสายทางเดียวกันแล้ว รถไฟฟ้าจะให้ผลตอบแทนด้านเศรษฐกิจ 22.3% ขณะที่ทางด่วนให้ผลตอบแทน 38.9% ถือว่าคุ้มค่า ต่อการลงทุน
อีกทั้งโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล จะทำหน้าที่เชื่อมต่อกับ โครงการรถไฟฟ้า 7 สาย ประกอบด้วย สถานีศูนย์ราชการนนทบุรีเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีม่วงและสีชมพู สถานีบางเขนเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีแดง สถานีแยกเกษตรเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีเขียว สถานีฉลองรัชเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีเทา และสถานีลำสาลีเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีเหลือง และสีส้ม เบื้องต้น รฟม.คาดการณ์ว่า ปีแรกของการเปิดให้บริการ จะมีปริมาณผู้โดยสารราว 2.18 แสนคน เที่ยวต่อวัน
ข่าวพัฒนาสาธารณูปโภค อื่นๆ