จัดเวทีถกรถไฟรางคู่เบา บางนา
วันที่ : 6 กันยายน 2564
กทม.ผุดรถไฟเชื่อม บางนา-สุวรรณภูมิ
เมื่อวันที่ 3 ก.ย. ที่อาคารธานีนพรัตน์ นายประพาส เหลืองศิรินภา ผอ.สำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) กรุงเทพมหานคร (กทม.) เป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนาปฐมนิเทศโครงการสัมมนาออนไลน์ ผ่านโปรแกรม ซูม คลาวน์ มีตติ้ง โครงการงานจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาและวิเคราะห์โครงการรถไฟฟ้ารางคู่ขนาดเบา (Light Rail Transit) สายบางนา-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยมีผู้บริหาร ข้าราชการ หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ประชาชน เข้าร่วมการสัมมนา
นายประพาสกล่าวว่า โครงการรถไฟรางคู่ขนาดเบา สายบางนา-สุวรรณภูมิ เชื่อมต่อการเดินทางระหว่างพื้นที่กรุงเทพฯ และจ.สมุทรปราการ มีจุดเริ่มต้นโครงการบริเวณสี่แยกบางนา จากนั้นมุ่งไปทางทิศตะวันออก ตามทางคู่ขนานถนนบางนา-ตราด ผ่านทางแยกต่างระดับบศรีเอี่ยม เข้าสู่เขต จ.สมุทรปราการ ผ่านทางแยกต่างระดับกาญจนาภิเษกฝั่งตะวันออก ทางแยกต่างระดับกิ่งแก้ว และหน้า โครงการธนาซิตี้ ที่ตั้งศูนย์ซ่อมบำรุงโครงการ แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าตามแนวถนนสุวรรณภูมิ 3 และมาสิ้นสุดเส้นทางที่บริเวณสนามบินสุวรรณภูมิ รวมระยะทาง 19.7 กิโลเมตร รวมทั้งหมด 14 สถานี
การดำเนินงานแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ดังนี้ 1.จากแยกบางนา-ธนาซิตี้ จำนวน 12 สถานี ระยะทาง 14.6 กิโลเมตร และ 2.จากธนาซิตี้-สุวรรณภูมิด้านใต้ จำนวน 2 สถานี ระยะทาง 5.1 กิโลเมตร และมีศูนย์ซ่อมบำรุง 1 แห่ง บริเวณสถานีธนาซิตี้ โดยเบื้องต้น กทม.มีแนวคิดในการเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้าร่วมลงทุนในรูปแบบ PPP (Public Private Partnership) เฉพาะระยะที่ 1 ก่อน ส่วนรูปแบบการพัฒนาโครงการ เป็นรถไฟฟ้ารางเบา มีขนาดราง 1.435 เมตร มีระบบควบคุมการเดินรถอัตโนมัติ มีความเร็ว 80 กิโลเมตร/ชั่วโมง ใช้ระยะเวลาเดินทางไป-กลับ 56 นาที คาดว่ารองรับผู้โดยสารได้ 15,000-30,000 คน/ชั่วโมง
นายประพาสกล่าวว่า หลังการสัมมนา สจส.จะรวบรวมข้อมูลความคิดเห็น และข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วน นำมาพิจารณา พร้อมทั้งจัดกิจกรรมการสัมมนารับฟังความคิดเห็นจากภาคเอกชน ในช่วงเดือนพ.ย-ธ.ค. และ จัดสัมมนาสรุปผลโครงการช่วงเดือนม.ค.2565 เพื่อ นำเสนอรายละเอียดผลการศึกษาข้อมูลโครงการไปสู่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาชนในพื้นที่โครงการ โดยผู้สนใจติดตามความคืบหน้าและรายละเอียดของโครงการได้ที่เว็บไซต์ www.lrt-bangna-ppp.com
นายประพาสกล่าวว่า โครงการรถไฟรางคู่ขนาดเบา สายบางนา-สุวรรณภูมิ เชื่อมต่อการเดินทางระหว่างพื้นที่กรุงเทพฯ และจ.สมุทรปราการ มีจุดเริ่มต้นโครงการบริเวณสี่แยกบางนา จากนั้นมุ่งไปทางทิศตะวันออก ตามทางคู่ขนานถนนบางนา-ตราด ผ่านทางแยกต่างระดับบศรีเอี่ยม เข้าสู่เขต จ.สมุทรปราการ ผ่านทางแยกต่างระดับกาญจนาภิเษกฝั่งตะวันออก ทางแยกต่างระดับกิ่งแก้ว และหน้า โครงการธนาซิตี้ ที่ตั้งศูนย์ซ่อมบำรุงโครงการ แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าตามแนวถนนสุวรรณภูมิ 3 และมาสิ้นสุดเส้นทางที่บริเวณสนามบินสุวรรณภูมิ รวมระยะทาง 19.7 กิโลเมตร รวมทั้งหมด 14 สถานี
การดำเนินงานแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ดังนี้ 1.จากแยกบางนา-ธนาซิตี้ จำนวน 12 สถานี ระยะทาง 14.6 กิโลเมตร และ 2.จากธนาซิตี้-สุวรรณภูมิด้านใต้ จำนวน 2 สถานี ระยะทาง 5.1 กิโลเมตร และมีศูนย์ซ่อมบำรุง 1 แห่ง บริเวณสถานีธนาซิตี้ โดยเบื้องต้น กทม.มีแนวคิดในการเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้าร่วมลงทุนในรูปแบบ PPP (Public Private Partnership) เฉพาะระยะที่ 1 ก่อน ส่วนรูปแบบการพัฒนาโครงการ เป็นรถไฟฟ้ารางเบา มีขนาดราง 1.435 เมตร มีระบบควบคุมการเดินรถอัตโนมัติ มีความเร็ว 80 กิโลเมตร/ชั่วโมง ใช้ระยะเวลาเดินทางไป-กลับ 56 นาที คาดว่ารองรับผู้โดยสารได้ 15,000-30,000 คน/ชั่วโมง
นายประพาสกล่าวว่า หลังการสัมมนา สจส.จะรวบรวมข้อมูลความคิดเห็น และข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วน นำมาพิจารณา พร้อมทั้งจัดกิจกรรมการสัมมนารับฟังความคิดเห็นจากภาคเอกชน ในช่วงเดือนพ.ย-ธ.ค. และ จัดสัมมนาสรุปผลโครงการช่วงเดือนม.ค.2565 เพื่อ นำเสนอรายละเอียดผลการศึกษาข้อมูลโครงการไปสู่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาชนในพื้นที่โครงการ โดยผู้สนใจติดตามความคืบหน้าและรายละเอียดของโครงการได้ที่เว็บไซต์ www.lrt-bangna-ppp.com
ข่าวพัฒนาสาธารณูปโภค อื่นๆ