สายสีแดงเปิดหวูด รถไฟชานเมือง เที่ยวปฐมฤกษ์
วันที่ : 4 สิงหาคม 2564
บิ๊กตู่ เปิดเดินรถไฟสายสีแดง บางซื่อ-รังสิต อย่างเป็นทางการ โดยให้บริการฟรีระหว่าง 06.00-20.00 น. ยาวถึง พ.ย.นี้
เมื่อวันที่ 2 สิงหาคมที่ผ่านมา ถือเป็นการเปิดหวูดรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต และช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน เที่ยวปฐมฤกษ์ โดยมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธาน และถือเป็นการปิดตำนาน 14 ปี หรือตั้งแต่ปี 2550-2564 ที่ประชาชนรอคอยที่จะใช้บริการรถไฟชานเมืองสายสีแดงได้สำเร็จเสียที
สำหรับโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง มีระยะทางรวม 41 กิโลเมตร (กม.) 13 สถานี แบ่งเป็น ช่วงบางซื่อ-รังสิต 26 กม. 10 สถานี ได้แก่ สถานีกลางบางซื่อ สถานีจตุจักร สถานีวัดเสมียนนารี สถานีบางเขน สถานีทุ่งสองห้อง สถานีหลักสี่ สถานีการเคหะ สถานีดอนเมือง สถานีหลักหก และสถานีรังสิต โดยคาดว่าใช้ระยะเวลาเดินทางจากต้นทางถึงปลายทางประมาณ 25 นาที และช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน 15 กม. มี 3 สถานี ได้แก่ สถานีบางซ่อน สถานีบางบำหรุ และสถานีตลิ่งชัน ใช้เวลาเดินทางประมาณ 15 นาที จะช่วยเชื่อมต่อการเดินทางทั้ง 2 ช่วงได้อย่างสะดวกสบายและรวดเร็วยิ่งขึ้น รวมทั้งอำนวยความสะดวกประชาชนบริเวณชานเมืองเดินทางเข้าใจกลางกรุงเทพฯ ได้ภายใน 30-45 นาที
ส่วนการเปิดให้บริการประชาชนนั้น ได้จัดตารางการเดินรถไฟชานเมืองสายสีแดงให้บริการตั้งแต่วันที่ 2 สิงหาคม ถึงปลายเดือนพฤศจิกายน 2564 ระหว่างเวลา 06.00-20.00 น. ทุกวัน โดยขบวนรถจะให้บริการทุกๆ 15-30 นาที รองรับผู้โดยสารได้ 1,710 คนต่อเที่ยว ขณะเดียวกัน การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้กำหนดจำนวนผู้โดยสารภายในขบวนรถไม่เกิน 50% ของที่นั่ง ตามมาตรการการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 หลังจากนั้นจะเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์แบบเต็มรูปแบบต่อไป
ขณะที่เรื่องอัตราค่าโดยสารนั้น นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ระบุว่า ทางกระทรวงคมนาคมได้มีการประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ รฟท. กรมการขนส่งทาราง (ขร.) และสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ร่วมกันพิจารณาในเรื่องนี้ หลักในการคำนวณค่าโดยสารเริ่มต้นจากการคิดค่าแลกเข้าสถานี โดยอ้างอิงสูตรการคิดจากธนาคารพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) ค่าแรกเข้าอยู่ที่ 10 บาท คูณด้วยดัชนีราคาผู้บริโภค (ซีพีไอ) อยู่ที่ประมาณ 2 บาท รวมเป็นราคาค่าแรกเข้าอยู่ที่ 12 บาท ส่วนการเดินทางระหว่างสถานี คิดอัตราค่าโดยสารประมาณ 2 บาทต่อสถานี ก่อนหน้านี้มีการประกาศให้ประชาชนรับทราบแล้วว่าอัตราค่าโดยสารรวมค่าแรกเข้าสูงสุดไม่เกิน 42 บาท
ความคืบหน้าการนำระบบอีเอ็มวี (Europay Mastercard and Visa) มาใช้ในการชำระค่าโดยสารรถไฟชานเมืองสายสีแดงนั้น จากการหารือร่วมกันระหว่างกระทรวงคมนาคม และธนาคารกรุงไทย ได้ข้อสรุปว่า จะสามารถเริ่มใช้ระบบอีเอ็มวีกับรถไฟฟ้าสายสีแดงได้ก่อน โดยใช้ในเดือนธันวาคม 2564 ส่วนการใช้ข้ามระบบหรือระบบตั๋วร่วม โดยเฉพาะการเชื่อมระบบกับรถไฟฟ้าใต้ดิน (เอ็มอาร์ที) ทั้งสายสีน้ำเงิน และสายสีม่วง ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) คาดว่าจะเริ่มได้ประมาณต้นปี 2565 หรือประมาณเดือนกุมภาพันธ์ 2565 จากนั้นจะสามารถใช้บริการกับระบบขนส่งสาธารณะในระบบอื่นๆ ต่อไป
ขณะเดียวกัน ในเรื่องของการเชื่อมต่อระหว่างรถไฟชานเมืองสายสีแดง นอกจากเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าใต้ดิน (เอ็มอาร์ที) สถานีบางซื่อแล้ว ยังมีจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าอีกหลากหลายสี นอกจากนี้ รฟท.ได้ร่วมมือกับกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ในการปรับเส้นทางการดินรถโดยสารประจำทางและจัดระเบียบรถแท็กซี่เพื่อรองรับประชาชนใช้บริการรถไฟชานเมืองสายสีแดง เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าอีก 3 เส้นทาง ประกอบด้วย 1.สายสีน้ำเงิน สถานีบางซื่อ และสถานีกลางบางซื่อ 2.สายสีม่วง สถานีบางซ่อน 3.จุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าโมโนเรลสถานีหลักสี่ สายสีชมพู และ 4.จุดเชื่อมทางเดินลอยฟ้า (สกายวอล์ก) ของสนามบินดอนเมือง และในอนาคตจะมีสกายวอล์กเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีชมพูและโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ที่สถานีหลักสี่ รวมถึงสกายวอล์กเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลที่สถานีบางเขน
นอกจากนี้ ยังเป็นสถานีเปลี่ยนถ่ายรถไฟทางไกลของการรถไฟแห่งประเทศไทย รวมถึงเชื่อมต่อกับระบบรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา และระบบรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ซึ่งอยู่ระหว่างการก่อสร้างคาดว่าจะแล้วเสร็จเปิดให้บริการในปี 2568
สำหรับความพิเศษของสถานีกลางบางซื่อ นอกจากตอนนี้จะถูกปรับให้เป็นศูนย์ฉีดวัคซีนแล้ว ยังเป็นศูนย์กลางในการบูรณาการรถไฟ 4 ประเภท ได้แก่ 1.รถไฟชานเมืองสายสีแดง 2.รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ- อู่ตะเภา) 3.รถไฟความเร็วสูงไทย-จีน และ 4.รถไฟทางไกล อีกด้วย จากที่ตั้งเป้าเป็นสถานีศูนย์กลางระบบรางที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะออกเฉียงใต้ ตอนนี้สามารถล้มแชมป์สถานี KL Sentral ของประเทศมาเลเซีย และมีความทันสมัยไม่ต่างจากสถานีกลางรถไฟในต่างประเทศ อาทิ ญี่ปุ่น เกาหลี สหรัฐ หรือประเทศในแถบยุโรปเลยทีเดียว
สถานีกลางบางซื่อ (Grand Station) มีพื้นที่ใช้สอยรวม 298,200 ตารางเมตร ภายในสถานีประกอบด้วย อาคารทั้งหมด 3 ชั้น คือ ชั้นที่ 1 พื้นที่จำหน่ายตั๋วโดยสาร ร้านค้า ศูนย์อาหาร สำนักงาน ที่พักคอย และจุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน มีพื้นที่ใช้สอยรวม 87,200 ตารางเมตร ชั้นที่ 2 ชั้นชานชาลา รถไฟทางไกล 8 ชานชาลา และรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง 4 ชานชาลา มีพื้นที่ใช้สอยรวม 58,900 ตารางเมตร และชั้นที่ 3 มีพื้นที่ใช้สอยรวม 58,900 ตารางเมตร เป็นชั้นชานชาลาสำหรับรถไฟเชื่อมท่าอากาศยาน และรถไฟความเร็วสูง ชานชาลาสำหรับรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสนามบิน 2 ชานชาลา รถไฟฟ้าความเร็วสูงสายเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 6 ชานชาลา รถไฟฟ้าความเร็วสูงสายใต้ จำนวน 4 ชานชาลา รวมทั้งสิ้น 12 ชานชาลา
นอกจากนี้ ยังมีชั้นลอย เป็นพื้นที่ร้านค้าและห้องควบคุม พื้นที่ใช้สอยกว่า 20,700 ตารางเมตร และชั้นใต้ดินพื้นที่ใช้สอยกว่า 72,500 ตารางเมตร ซึ่งเป็นพื้นที่จอดรถ ที่สามารถจอดรถยนต์ได้ถึง 1,681 คัน ที่จอดรถคนพิการ 19 คัน รวม 1,700 คัน และยังมีพื้นที่อื่นๆ เช่น ลานพระบรมราชานุสาวรีย์ ขนาดพื้นที่ 18,630 ตารางเมตร พร้อมบึงน้ำขนาด 14,000 ตารางเมตร โดยเป็นลานน้ำพุประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งเปรียบเสมือนสัญลักษณ์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย มีการติดตั้งนาฬิกาประจำสถานี ที่ให้บนหน้าปัดมีเลข ๙ เลขไทยเพียงเลขเดียว เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในหลวงรัชกาลที่ 9 เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของสถานีกลางบางซื่อ และแสดงถึงการเดินทางที่เที่ยงตรง ตัวเรือนนาฬิกามีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 6 เมตร ติดตั้งบนผนังกระจกของทางเข้าสถานี สูงจากระดับพื้นดิน 21 เมตร ผลิตโดยบริษัท Electric Time Company, Inc. สหรัฐ ซึ่งเป็นบริษัทผลิตนาฬิกาที่เก่าแก่และมีชื่อเสียงในการออกแบบและผลิตนาฬิกากลางแจ้งขนาดใหญ่ ทั้งเคยได้รับการว่าจ้างให้ผลิตนาฬิกาประดับสถานที่สำคัญต่างๆ อีกด้วย
อย่างไรก็ตาม การให้บริการรถไฟทางไกล รฟท.คาดว่าจะสามารถนำรถไฟเข้ามาให้บริการในสถานีกลางบางซื่อได้ภายในเดือนธันวาคม 2564 นับเป็นความสำเร็จของรถไฟชานเมืองสายสีแดงที่สร้างขึ้นเพื่อรองรับการเดินทางของประชาชนในชานเมืองเข้าสู่ใจกลางกรุง
สำหรับโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง มีระยะทางรวม 41 กิโลเมตร (กม.) 13 สถานี แบ่งเป็น ช่วงบางซื่อ-รังสิต 26 กม. 10 สถานี ได้แก่ สถานีกลางบางซื่อ สถานีจตุจักร สถานีวัดเสมียนนารี สถานีบางเขน สถานีทุ่งสองห้อง สถานีหลักสี่ สถานีการเคหะ สถานีดอนเมือง สถานีหลักหก และสถานีรังสิต โดยคาดว่าใช้ระยะเวลาเดินทางจากต้นทางถึงปลายทางประมาณ 25 นาที และช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน 15 กม. มี 3 สถานี ได้แก่ สถานีบางซ่อน สถานีบางบำหรุ และสถานีตลิ่งชัน ใช้เวลาเดินทางประมาณ 15 นาที จะช่วยเชื่อมต่อการเดินทางทั้ง 2 ช่วงได้อย่างสะดวกสบายและรวดเร็วยิ่งขึ้น รวมทั้งอำนวยความสะดวกประชาชนบริเวณชานเมืองเดินทางเข้าใจกลางกรุงเทพฯ ได้ภายใน 30-45 นาที
ส่วนการเปิดให้บริการประชาชนนั้น ได้จัดตารางการเดินรถไฟชานเมืองสายสีแดงให้บริการตั้งแต่วันที่ 2 สิงหาคม ถึงปลายเดือนพฤศจิกายน 2564 ระหว่างเวลา 06.00-20.00 น. ทุกวัน โดยขบวนรถจะให้บริการทุกๆ 15-30 นาที รองรับผู้โดยสารได้ 1,710 คนต่อเที่ยว ขณะเดียวกัน การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้กำหนดจำนวนผู้โดยสารภายในขบวนรถไม่เกิน 50% ของที่นั่ง ตามมาตรการการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 หลังจากนั้นจะเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์แบบเต็มรูปแบบต่อไป
ขณะที่เรื่องอัตราค่าโดยสารนั้น นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ระบุว่า ทางกระทรวงคมนาคมได้มีการประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ รฟท. กรมการขนส่งทาราง (ขร.) และสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ร่วมกันพิจารณาในเรื่องนี้ หลักในการคำนวณค่าโดยสารเริ่มต้นจากการคิดค่าแลกเข้าสถานี โดยอ้างอิงสูตรการคิดจากธนาคารพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) ค่าแรกเข้าอยู่ที่ 10 บาท คูณด้วยดัชนีราคาผู้บริโภค (ซีพีไอ) อยู่ที่ประมาณ 2 บาท รวมเป็นราคาค่าแรกเข้าอยู่ที่ 12 บาท ส่วนการเดินทางระหว่างสถานี คิดอัตราค่าโดยสารประมาณ 2 บาทต่อสถานี ก่อนหน้านี้มีการประกาศให้ประชาชนรับทราบแล้วว่าอัตราค่าโดยสารรวมค่าแรกเข้าสูงสุดไม่เกิน 42 บาท
ความคืบหน้าการนำระบบอีเอ็มวี (Europay Mastercard and Visa) มาใช้ในการชำระค่าโดยสารรถไฟชานเมืองสายสีแดงนั้น จากการหารือร่วมกันระหว่างกระทรวงคมนาคม และธนาคารกรุงไทย ได้ข้อสรุปว่า จะสามารถเริ่มใช้ระบบอีเอ็มวีกับรถไฟฟ้าสายสีแดงได้ก่อน โดยใช้ในเดือนธันวาคม 2564 ส่วนการใช้ข้ามระบบหรือระบบตั๋วร่วม โดยเฉพาะการเชื่อมระบบกับรถไฟฟ้าใต้ดิน (เอ็มอาร์ที) ทั้งสายสีน้ำเงิน และสายสีม่วง ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) คาดว่าจะเริ่มได้ประมาณต้นปี 2565 หรือประมาณเดือนกุมภาพันธ์ 2565 จากนั้นจะสามารถใช้บริการกับระบบขนส่งสาธารณะในระบบอื่นๆ ต่อไป
ขณะเดียวกัน ในเรื่องของการเชื่อมต่อระหว่างรถไฟชานเมืองสายสีแดง นอกจากเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าใต้ดิน (เอ็มอาร์ที) สถานีบางซื่อแล้ว ยังมีจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าอีกหลากหลายสี นอกจากนี้ รฟท.ได้ร่วมมือกับกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ในการปรับเส้นทางการดินรถโดยสารประจำทางและจัดระเบียบรถแท็กซี่เพื่อรองรับประชาชนใช้บริการรถไฟชานเมืองสายสีแดง เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าอีก 3 เส้นทาง ประกอบด้วย 1.สายสีน้ำเงิน สถานีบางซื่อ และสถานีกลางบางซื่อ 2.สายสีม่วง สถานีบางซ่อน 3.จุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าโมโนเรลสถานีหลักสี่ สายสีชมพู และ 4.จุดเชื่อมทางเดินลอยฟ้า (สกายวอล์ก) ของสนามบินดอนเมือง และในอนาคตจะมีสกายวอล์กเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีชมพูและโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ที่สถานีหลักสี่ รวมถึงสกายวอล์กเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาลที่สถานีบางเขน
นอกจากนี้ ยังเป็นสถานีเปลี่ยนถ่ายรถไฟทางไกลของการรถไฟแห่งประเทศไทย รวมถึงเชื่อมต่อกับระบบรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา และระบบรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ซึ่งอยู่ระหว่างการก่อสร้างคาดว่าจะแล้วเสร็จเปิดให้บริการในปี 2568
สำหรับความพิเศษของสถานีกลางบางซื่อ นอกจากตอนนี้จะถูกปรับให้เป็นศูนย์ฉีดวัคซีนแล้ว ยังเป็นศูนย์กลางในการบูรณาการรถไฟ 4 ประเภท ได้แก่ 1.รถไฟชานเมืองสายสีแดง 2.รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ- อู่ตะเภา) 3.รถไฟความเร็วสูงไทย-จีน และ 4.รถไฟทางไกล อีกด้วย จากที่ตั้งเป้าเป็นสถานีศูนย์กลางระบบรางที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะออกเฉียงใต้ ตอนนี้สามารถล้มแชมป์สถานี KL Sentral ของประเทศมาเลเซีย และมีความทันสมัยไม่ต่างจากสถานีกลางรถไฟในต่างประเทศ อาทิ ญี่ปุ่น เกาหลี สหรัฐ หรือประเทศในแถบยุโรปเลยทีเดียว
สถานีกลางบางซื่อ (Grand Station) มีพื้นที่ใช้สอยรวม 298,200 ตารางเมตร ภายในสถานีประกอบด้วย อาคารทั้งหมด 3 ชั้น คือ ชั้นที่ 1 พื้นที่จำหน่ายตั๋วโดยสาร ร้านค้า ศูนย์อาหาร สำนักงาน ที่พักคอย และจุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน มีพื้นที่ใช้สอยรวม 87,200 ตารางเมตร ชั้นที่ 2 ชั้นชานชาลา รถไฟทางไกล 8 ชานชาลา และรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง 4 ชานชาลา มีพื้นที่ใช้สอยรวม 58,900 ตารางเมตร และชั้นที่ 3 มีพื้นที่ใช้สอยรวม 58,900 ตารางเมตร เป็นชั้นชานชาลาสำหรับรถไฟเชื่อมท่าอากาศยาน และรถไฟความเร็วสูง ชานชาลาสำหรับรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสนามบิน 2 ชานชาลา รถไฟฟ้าความเร็วสูงสายเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 6 ชานชาลา รถไฟฟ้าความเร็วสูงสายใต้ จำนวน 4 ชานชาลา รวมทั้งสิ้น 12 ชานชาลา
นอกจากนี้ ยังมีชั้นลอย เป็นพื้นที่ร้านค้าและห้องควบคุม พื้นที่ใช้สอยกว่า 20,700 ตารางเมตร และชั้นใต้ดินพื้นที่ใช้สอยกว่า 72,500 ตารางเมตร ซึ่งเป็นพื้นที่จอดรถ ที่สามารถจอดรถยนต์ได้ถึง 1,681 คัน ที่จอดรถคนพิการ 19 คัน รวม 1,700 คัน และยังมีพื้นที่อื่นๆ เช่น ลานพระบรมราชานุสาวรีย์ ขนาดพื้นที่ 18,630 ตารางเมตร พร้อมบึงน้ำขนาด 14,000 ตารางเมตร โดยเป็นลานน้ำพุประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งเปรียบเสมือนสัญลักษณ์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย มีการติดตั้งนาฬิกาประจำสถานี ที่ให้บนหน้าปัดมีเลข ๙ เลขไทยเพียงเลขเดียว เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในหลวงรัชกาลที่ 9 เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของสถานีกลางบางซื่อ และแสดงถึงการเดินทางที่เที่ยงตรง ตัวเรือนนาฬิกามีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 6 เมตร ติดตั้งบนผนังกระจกของทางเข้าสถานี สูงจากระดับพื้นดิน 21 เมตร ผลิตโดยบริษัท Electric Time Company, Inc. สหรัฐ ซึ่งเป็นบริษัทผลิตนาฬิกาที่เก่าแก่และมีชื่อเสียงในการออกแบบและผลิตนาฬิกากลางแจ้งขนาดใหญ่ ทั้งเคยได้รับการว่าจ้างให้ผลิตนาฬิกาประดับสถานที่สำคัญต่างๆ อีกด้วย
อย่างไรก็ตาม การให้บริการรถไฟทางไกล รฟท.คาดว่าจะสามารถนำรถไฟเข้ามาให้บริการในสถานีกลางบางซื่อได้ภายในเดือนธันวาคม 2564 นับเป็นความสำเร็จของรถไฟชานเมืองสายสีแดงที่สร้างขึ้นเพื่อรองรับการเดินทางของประชาชนในชานเมืองเข้าสู่ใจกลางกรุง
ข่าวพัฒนาสาธารณูปโภค อื่นๆ