เงินลงทุน อีอีซี ปีนี้ 3แสนล.
วันที่ : 22 มิถุนายน 2564
ไตรมาส1/64 การลงทุนในอีอีซีเพิ่มขึ้นมาก เห็นจากคำขอส่งเสริมการลงทุนมีมูลค่า 63,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 39% จากไตรมาส 1/63 ที่มีมูลค่า 47,600 ล้านบาท
รับอานิสงส์เศรษฐกิจฟื้น-เร่งฉีดวัคซีน
"คณิศ" เผยปีนี้เม็ดเงินลงทุนจริงใน "อีอีซี" กลับมาแล้วแตะ 3 แสนล้านบาท รับอานิสงส์เศรษฐกิจโลกฟื้นเร่งรัดฉีดวัคซีนในประเทศ และอั้นมาจากปี 63 ที่ชะลอลงทุนจนเม็ดเงินทรุดลงไปแตะ 1 แสนล้านบาท ชี้อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้ามีแนวโน้มเติบโตรวดเร็วกว่าเป้าหมายที่รัฐบาลวางไว้
นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เปิดเผยว่า ในปี 64 การลงทุนจริงในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี) ไม่ต่ำกว่า 300,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 63 ที่ลงทุนจริง 100,000 ล้านบาท โดยสาเหตุที่การลงทุนเพิ่มขึ้นมาจากในปี 63 นักลงทุนชะลอการลงทุนจากการระบาดของโควิด-19 ในช่วงแรกที่ทำให้เศรษฐกิจโลกหดตัวลงมาก แต่ในปี 64 เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวขึ้นอย่างชัดเจนส่วนเศรษฐกิจไทย คาดจะเริ่มฟื้นตัวขึ้นในช่วงเดือน ต.ค.นี้ เนื่องจากรัฐบาลเร่งรัดการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ให้ประชาชน ซึ่งปัจจัยการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ทั้งในและต่างประเทศทำให้การลงทุนเพิ่มขึ้น
"ไตรมาส1/64 การลงทุนในอีอีซีเพิ่มขึ้นมาก เห็นจากคำขอส่งเสริมการลงทุนมีมูลค่า 63,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 39% จากไตรมาส 1/63 ที่มีมูลค่า 47,600 ล้านบาท แม้ยังไม่เพิ่มขึ้นเท่ากับช่วงก่อนโควิดระบาดหรือไตรมาส 1/62 ที่สูงถึง 75,000 ล้านบาท แต่ถือว่าเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีการลงทุนที่เป็นอุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการแพทย์ และดิจิทัล ส่วนยานยนต์ไฟฟ้า (อีวี) เริ่มลงทุนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ"
นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยสนับสนุนอื่นๆอีก 2 ส่วนคือ การลงทุนต่อเนื่องของภาครัฐในส่วนของเทคโนโลยี 5 จี หลังจากนำร่องใช้เทคโนโลยี 5 จี ในพื้นที่ อ.บ้านฉาง จ.ระยอง และการเดินหน้าใช้ 5 จี เพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นสมาร์ทซิตี้ ตามโรดแม็ปของเทศบาลเมืองพัทยา ที่จะก้าวสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะรองรับการท่องเที่ยวเชิงคุณภาพภายใน 5 ปี (ปี64-68) ทั้งนี้ เมื่อมีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานจากฝ่ายรัฐแล้ว ผู้ให้บริการด้านโครงข่ายอินเตอร์เน็ตและการสื่อสารก็จะเข้ามาลงทุนในส่วนต่างๆเพิ่มเติม และอีอีซีได้ลงนามความร่วมมือกับบริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ในการยกระดับโรงงานในพื้นที่อีอีซีให้ใช้ระบบอินเตอร์เน็ตออฟทิงก์ และออโตเมชัน มีเป้าหมายยกระดับโรงงานในอีอีซี 100,000 แห่งในระยะเวลา 3-5 ปี เพื่อให้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี 5 จีได้เต็มที่
ส่วนอีกประเด็นที่จะช่วยสนับสนุนการลงทุนในพื้นที่อีอีซีในปีนี้คือ การลงทุนอุตสาหกรรมอีวี ที่เติบโตเร็วกว่าเป้าหมายที่รัฐบาลวางไว้ว่าจะมีการผลิตรถอีวีในประเทศได้กว่า 30% ภายในปี 73 โดยขณะนี้เริ่มมีการลงทุนสาขานี้ในอีอีซีแล้ว เช่น การลงทุนของบริษัท เกรท วอลล์ มอเตอร์ ที่เดินเครื่องผลิตรถอีวีแล้วเมื่อเดือน มิ.ย.64 นอกจากนั้น ยังมีบริษัท EVLOMO ที่เข้ามาตั้งโรงงานผลิตแบตเตอรีลิเทียม ในนิคมอุตสาหกรรมโรจนะ ด้วยเงินลงทุน 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ รวมทั้งบริษัท ฟ็อกซ์คอนน์ เทคโนโลยี กรุ๊ป กับบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ที่มีมูลค่าลงทุนสูงถึง 1,000-2,000 ล้านเหรียญฯ และจะขยายการลงทุนเพิ่มเติม ซึ่งทำให้เห็นทิศทางการลงทุนของอีวีในไทยมากขึ้น
"การลงทุนอีวี ยังมีการเจรจากับบริษัทชั้นนำให้เข้ามาลงทุนในไทยเพิ่มเติม ซึ่งการชักจูงการลงทุนอีวีจะต้องให้ความสำคัญกับเทคโนโลยี 3 ส่วนที่เป็นหัวใจสำคัญของการผลิต ได้แก่ แบตเตอรีลิเทียมไอออน และเทคโนโลยีควิกชาร์จเจอร์, เทคโนโลยีมอเตอร์ และอุปกรณ์ที่เป็นซอฟต์แวร์สำคัญของรถอีวี หากดึงการลงทุนของบริษัทที่เป็นเจ้าของเทคโนโลยีเหล่านี้เข้ามาลงทุนในอีอีซีได้ ก็จะเป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้อีอีซีเป็นศูนย์กลางของการผลิตอีวีได้"
"คณิศ" เผยปีนี้เม็ดเงินลงทุนจริงใน "อีอีซี" กลับมาแล้วแตะ 3 แสนล้านบาท รับอานิสงส์เศรษฐกิจโลกฟื้นเร่งรัดฉีดวัคซีนในประเทศ และอั้นมาจากปี 63 ที่ชะลอลงทุนจนเม็ดเงินทรุดลงไปแตะ 1 แสนล้านบาท ชี้อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้ามีแนวโน้มเติบโตรวดเร็วกว่าเป้าหมายที่รัฐบาลวางไว้
นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เปิดเผยว่า ในปี 64 การลงทุนจริงในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี) ไม่ต่ำกว่า 300,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 63 ที่ลงทุนจริง 100,000 ล้านบาท โดยสาเหตุที่การลงทุนเพิ่มขึ้นมาจากในปี 63 นักลงทุนชะลอการลงทุนจากการระบาดของโควิด-19 ในช่วงแรกที่ทำให้เศรษฐกิจโลกหดตัวลงมาก แต่ในปี 64 เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวขึ้นอย่างชัดเจนส่วนเศรษฐกิจไทย คาดจะเริ่มฟื้นตัวขึ้นในช่วงเดือน ต.ค.นี้ เนื่องจากรัฐบาลเร่งรัดการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ให้ประชาชน ซึ่งปัจจัยการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ทั้งในและต่างประเทศทำให้การลงทุนเพิ่มขึ้น
"ไตรมาส1/64 การลงทุนในอีอีซีเพิ่มขึ้นมาก เห็นจากคำขอส่งเสริมการลงทุนมีมูลค่า 63,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 39% จากไตรมาส 1/63 ที่มีมูลค่า 47,600 ล้านบาท แม้ยังไม่เพิ่มขึ้นเท่ากับช่วงก่อนโควิดระบาดหรือไตรมาส 1/62 ที่สูงถึง 75,000 ล้านบาท แต่ถือว่าเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีการลงทุนที่เป็นอุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการแพทย์ และดิจิทัล ส่วนยานยนต์ไฟฟ้า (อีวี) เริ่มลงทุนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ"
นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยสนับสนุนอื่นๆอีก 2 ส่วนคือ การลงทุนต่อเนื่องของภาครัฐในส่วนของเทคโนโลยี 5 จี หลังจากนำร่องใช้เทคโนโลยี 5 จี ในพื้นที่ อ.บ้านฉาง จ.ระยอง และการเดินหน้าใช้ 5 จี เพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นสมาร์ทซิตี้ ตามโรดแม็ปของเทศบาลเมืองพัทยา ที่จะก้าวสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะรองรับการท่องเที่ยวเชิงคุณภาพภายใน 5 ปี (ปี64-68) ทั้งนี้ เมื่อมีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานจากฝ่ายรัฐแล้ว ผู้ให้บริการด้านโครงข่ายอินเตอร์เน็ตและการสื่อสารก็จะเข้ามาลงทุนในส่วนต่างๆเพิ่มเติม และอีอีซีได้ลงนามความร่วมมือกับบริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ในการยกระดับโรงงานในพื้นที่อีอีซีให้ใช้ระบบอินเตอร์เน็ตออฟทิงก์ และออโตเมชัน มีเป้าหมายยกระดับโรงงานในอีอีซี 100,000 แห่งในระยะเวลา 3-5 ปี เพื่อให้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี 5 จีได้เต็มที่
ส่วนอีกประเด็นที่จะช่วยสนับสนุนการลงทุนในพื้นที่อีอีซีในปีนี้คือ การลงทุนอุตสาหกรรมอีวี ที่เติบโตเร็วกว่าเป้าหมายที่รัฐบาลวางไว้ว่าจะมีการผลิตรถอีวีในประเทศได้กว่า 30% ภายในปี 73 โดยขณะนี้เริ่มมีการลงทุนสาขานี้ในอีอีซีแล้ว เช่น การลงทุนของบริษัท เกรท วอลล์ มอเตอร์ ที่เดินเครื่องผลิตรถอีวีแล้วเมื่อเดือน มิ.ย.64 นอกจากนั้น ยังมีบริษัท EVLOMO ที่เข้ามาตั้งโรงงานผลิตแบตเตอรีลิเทียม ในนิคมอุตสาหกรรมโรจนะ ด้วยเงินลงทุน 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ รวมทั้งบริษัท ฟ็อกซ์คอนน์ เทคโนโลยี กรุ๊ป กับบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ที่มีมูลค่าลงทุนสูงถึง 1,000-2,000 ล้านเหรียญฯ และจะขยายการลงทุนเพิ่มเติม ซึ่งทำให้เห็นทิศทางการลงทุนของอีวีในไทยมากขึ้น
"การลงทุนอีวี ยังมีการเจรจากับบริษัทชั้นนำให้เข้ามาลงทุนในไทยเพิ่มเติม ซึ่งการชักจูงการลงทุนอีวีจะต้องให้ความสำคัญกับเทคโนโลยี 3 ส่วนที่เป็นหัวใจสำคัญของการผลิต ได้แก่ แบตเตอรีลิเทียมไอออน และเทคโนโลยีควิกชาร์จเจอร์, เทคโนโลยีมอเตอร์ และอุปกรณ์ที่เป็นซอฟต์แวร์สำคัญของรถอีวี หากดึงการลงทุนของบริษัทที่เป็นเจ้าของเทคโนโลยีเหล่านี้เข้ามาลงทุนในอีอีซีได้ ก็จะเป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้อีอีซีเป็นศูนย์กลางของการผลิตอีวีได้"
ข่าวเขตเศรษฐกิจพิเศษ อื่นๆ