เล็งเวนคืนที่สปก.ย่านอีอีซีผุดสมาร์ตซิตี้
วันที่ : 17 มิถุนายน 2564
เล็งเวนคืนที่ส.ป.ก.ร่วม 6.25 หมื่นไร่ในพื้นที่ อีอีซี ลุยสร้างเมืองต้นแบบ หรือ สมาร์ตซิตี้ ทำโรงแรม-โรงงาน ผุดแนวคิดเปลี่ยนเกษตรกรเป็นผู้ถือหุ้นในธุรกิจแทน
ธรรมนัส สั่งจ่ายชดเชย-ดึงเกษตรกรร่วมถือหุ้นกิจการ
ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมช.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า สำนักงานเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ได้ร่วมกับสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) มีการศึกษาและเลือก พื้นที่ ส.ป.ก. บริเวณอำเภอบางละมุง จำนวน 86,657 ไร่ เพื่อพัฒนาเป็นเมืองใหม่อัจฉริยะ (สมาร์ตซิตี้) พื้นที่ประมาณ 62,500 ไร่ เนื่องจากพื้นที่ส.ป.ก. ตั้งอยู่บนจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญของอีอีซี มีจุดแข็งทางด้านการท่องเที่ยว เมืองอุตสาหกรรมสะอาด แหล่งผลิตสินค้าเกษตร
ทั้งนี้ที่ดิน ส.ป.ก.ส่วนใหญ่ล้วนทำการเกษตร เป็นที่ดินของรัฐที่จัดสรรค์ให้เกษตรกรเข้าประกอบอาชีพทำประโยชน์ ทั้งการปลูกฝ้าย มันสำปะหลัง มะพร้าว ปาล์ม ยางพารา เมื่อพื้นที่ดังกล่าวนี้ อยู่ในแผนการประกาศพื้นที่อีอีซี ที่อนาคตจะมีการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง การเปิดสนามบินอู่ตะเภา ทำให้ความเจริญเข้าสู่พื้นที่ในแถบ อ.บางละมุง โดยเฉพาะ ต.ห้วยใหญ่ หลังความเจริญเกิดขึ้นในพื้นที่ ย่อมส่งผลต่อวิถีชีวิตคนในชุมชนหมู่ 11 12 และ 13
เมื่ออีอีซีมีข้อสรุปว่าจะใช้พื้นที่ ต.ห้วยใหญ่ 15,000-20,000 ไร่ สร้างเมืองต้นแบบ ที่มีทั้งโรงแรม โรงงานอุตสาหกรรม ส่งผลทำให้มีความเจริญเกิดขึ้นในพื้นที่ ทำให้วิถีชีวิตคนในชุมชนเปลี่ยนไป ฉะนั้นเพื่อไม่ให้เกษตรกรในพื้นที่ ต.ห้วยใหญ่ ได้รับผลกระทบ จึงได้ศึกษาแนวทางและได้ข้อสรุปว่า เกษตรในพื้นที่ทำกิน ดังกล่าวจะได้รับเงินค่าเวนคืน ชดใช้ค่าเสียหาย พร้อมกับปลูก ที่อยู่อาศัยแห่งใหม่
"ขอให้เกษตรกรมั่นใจในนโยบายภาครัฐ ไม่ได้มาหลอก นโยบายรัฐอะไรก็ตามที่ทำไปแล้วชาวบ้านต้องไม่เดือดร้อน และต้องได้รับประโยชน์เต็มร้อย โดยสำนักงานปฏิรูปที่ดินจังหวัดชลบุรี จะเข้าสำรวจพื้นที่ ว่าเกษตรกรแต่ละครอบครัว ประกอบอาชีพอะไร ในพื้นที่เท่าไร เพื่อนำมาใช้คำนวณค่าชดเชยที่จะได้รับจากโครงการดังกล่าว เพื่อจ่ายเงินชดเชยค่าเวนคืน"
นอกจากนี้เกษตรกรในพื้นที่จะได้รับเข้าทำงานในเมืองต้นแบบ ในอีอีซี และที่สำคัญที่สุดเกษตรกรกลุ่มดังกล่าวมีสิทธิในการถือหุ้นในธุรกิจในอีอีซีภายใต้การดูแลของสำนักงานปฏิรูปที่ดิน
อย่างไรก็ตามกระทรวงเกษตรฯ ร่วมกับสำนักงานส.ป.ก. เข้ารับฟังความคิดเห็นของเกษตรกรเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินจำนวน 680 ราย บนพื้นที่ 20,561 ไร่ เพื่อชี้แจงโครงการที่รัฐบาลจะร่วมพัฒนา ที่ดินส.ป.ก.ในพื้นที่อีอีซี แล้ว
รวมถึงชี้แจงถึงนโยบายของพื้นที่ส.ป.ก.ในส่วนของการพัฒนาพื้นที่รอบๆ อีอีซี ทาง ส.ป.ก. จะร่วมขับเคลื่อนในการปลูกพืชเศรษฐกิจ พืชสมุนไพร เพื่อเป็นอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรที่ยังอาศัยพื้นที่ดังกล่าว
ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมช.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า สำนักงานเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ได้ร่วมกับสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) มีการศึกษาและเลือก พื้นที่ ส.ป.ก. บริเวณอำเภอบางละมุง จำนวน 86,657 ไร่ เพื่อพัฒนาเป็นเมืองใหม่อัจฉริยะ (สมาร์ตซิตี้) พื้นที่ประมาณ 62,500 ไร่ เนื่องจากพื้นที่ส.ป.ก. ตั้งอยู่บนจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญของอีอีซี มีจุดแข็งทางด้านการท่องเที่ยว เมืองอุตสาหกรรมสะอาด แหล่งผลิตสินค้าเกษตร
ทั้งนี้ที่ดิน ส.ป.ก.ส่วนใหญ่ล้วนทำการเกษตร เป็นที่ดินของรัฐที่จัดสรรค์ให้เกษตรกรเข้าประกอบอาชีพทำประโยชน์ ทั้งการปลูกฝ้าย มันสำปะหลัง มะพร้าว ปาล์ม ยางพารา เมื่อพื้นที่ดังกล่าวนี้ อยู่ในแผนการประกาศพื้นที่อีอีซี ที่อนาคตจะมีการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง การเปิดสนามบินอู่ตะเภา ทำให้ความเจริญเข้าสู่พื้นที่ในแถบ อ.บางละมุง โดยเฉพาะ ต.ห้วยใหญ่ หลังความเจริญเกิดขึ้นในพื้นที่ ย่อมส่งผลต่อวิถีชีวิตคนในชุมชนหมู่ 11 12 และ 13
เมื่ออีอีซีมีข้อสรุปว่าจะใช้พื้นที่ ต.ห้วยใหญ่ 15,000-20,000 ไร่ สร้างเมืองต้นแบบ ที่มีทั้งโรงแรม โรงงานอุตสาหกรรม ส่งผลทำให้มีความเจริญเกิดขึ้นในพื้นที่ ทำให้วิถีชีวิตคนในชุมชนเปลี่ยนไป ฉะนั้นเพื่อไม่ให้เกษตรกรในพื้นที่ ต.ห้วยใหญ่ ได้รับผลกระทบ จึงได้ศึกษาแนวทางและได้ข้อสรุปว่า เกษตรในพื้นที่ทำกิน ดังกล่าวจะได้รับเงินค่าเวนคืน ชดใช้ค่าเสียหาย พร้อมกับปลูก ที่อยู่อาศัยแห่งใหม่
"ขอให้เกษตรกรมั่นใจในนโยบายภาครัฐ ไม่ได้มาหลอก นโยบายรัฐอะไรก็ตามที่ทำไปแล้วชาวบ้านต้องไม่เดือดร้อน และต้องได้รับประโยชน์เต็มร้อย โดยสำนักงานปฏิรูปที่ดินจังหวัดชลบุรี จะเข้าสำรวจพื้นที่ ว่าเกษตรกรแต่ละครอบครัว ประกอบอาชีพอะไร ในพื้นที่เท่าไร เพื่อนำมาใช้คำนวณค่าชดเชยที่จะได้รับจากโครงการดังกล่าว เพื่อจ่ายเงินชดเชยค่าเวนคืน"
นอกจากนี้เกษตรกรในพื้นที่จะได้รับเข้าทำงานในเมืองต้นแบบ ในอีอีซี และที่สำคัญที่สุดเกษตรกรกลุ่มดังกล่าวมีสิทธิในการถือหุ้นในธุรกิจในอีอีซีภายใต้การดูแลของสำนักงานปฏิรูปที่ดิน
อย่างไรก็ตามกระทรวงเกษตรฯ ร่วมกับสำนักงานส.ป.ก. เข้ารับฟังความคิดเห็นของเกษตรกรเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินจำนวน 680 ราย บนพื้นที่ 20,561 ไร่ เพื่อชี้แจงโครงการที่รัฐบาลจะร่วมพัฒนา ที่ดินส.ป.ก.ในพื้นที่อีอีซี แล้ว
รวมถึงชี้แจงถึงนโยบายของพื้นที่ส.ป.ก.ในส่วนของการพัฒนาพื้นที่รอบๆ อีอีซี ทาง ส.ป.ก. จะร่วมขับเคลื่อนในการปลูกพืชเศรษฐกิจ พืชสมุนไพร เพื่อเป็นอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรที่ยังอาศัยพื้นที่ดังกล่าว
ข่าวเขตเศรษฐกิจพิเศษ อื่นๆ