อสังหาฯเร่งรับมือตลาดยุคต้นทุนพุ่ง-แข่งดุ
วันที่ : 10 พฤษภาคม 2564
หลังโควิดทุบธุรกิจต้องโละสต๊อกฉุดกำไรหด
อสังหาริมทรัพย์
สถานการณ์ตลาดอสังหาริมทรัพย์ ที่ค่อยๆ ซบเซาลงตั้งแต่ปี 2561 ต่อเนื่องจนถึงปี 2562 และถูกช้ำเติมด้วยการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ลากยาวมาจนถึงปัจจุบัน ส่งผลต่อสภาพคล่องทางการเงินของบริษัทอสังหาริมทรัพย์ ทั้งบริษัทที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และที่อยู่นอกตลาด สถานการณ์ดังกล่าวทำให้เกิดการปรับตัวครั้งใหญ่ ในฝั่งของผู้ประกอบการอสังหาฯ
โดยทุกรายชะลอแผนการลงทุน และเปลี่ยนจากการพัฒนาโครงการคอนโดมิเนียม มาพัฒนาโครงการจัดสรรหรือโครงการแนวราบ เพื่อรองรับความต้องการและพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ต้องการพื้นที่ส่วนตัวเพิ่มมากขึ้น หลังการมาของโควิด-19 ซึ่งทำให้ผู้บริโภคจำนวนมากต้องทำงานจากที่บ้าน หรือ Work From Home ขณะที่บริษัทซึ่งพัฒนาโครงการคอนโดฯเป็นสินค้าหลัก ต้องงัดกลยุทธ์ลดราคาและจัดแคมเปญแรงๆ ระบาย สต๊อกห้องชุดในมือ เพื่อดึงเงินสดมาไว้ในมือให้มากที่สุด
อย่างไรก็ตาม แม้การลดราคาขาย จัดแคมเปญกระตุ้นและเร่งการตัดสินใจซื้อ แม้จะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถระบายสต๊อกได้บางส่วน แต่ก็ไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหาระยะยาวที่ดี เพราะขณะที่ต้องลดราคาขายระบายสต๊อกนั้น กลยุทธ์ดังกล่าวก็ส่งผลต่อการแข่งขันในตลาดให้สูงขึ้น จนกลายเป็นสงครามราคา นอกจากนี้ ปัญหาต้นทุนก่อสร้างและวัสดุก่อสร้าง ต้นทุนแรงงาน ซึ่งเกิดจากการขาดแคลนแรงงาน จากภาวะการระบาดของ โควิด-19 รวมถึงต้นทุนที่ดินที่ปรับตัวสูงอย่างต่อเนื่อง ยังส่งผลต่อกำไรของบริษัทอสังหาฯให้ลดลง และในอนาคตยิ่งมีแนวโน้มว่าจะรักษาอัตรากำไรขั้นต้นให้อยู่ในระดับปัจจุบันได้ยากมากขึ้น
ปัจจัยต่างๆ ดังกล่าวทำให้ในช่วงที่ผ่านมา ผู้ประกอบการอสังหาฯรายใหญ่และขนาดกลาง พยายามกระจายความเสี่ยงในการลงทุน และแหล่งรายได้ เข้าสู่ธุรกิจที่สร้างรายได้ระยะยาวให้กับองค์กร โดยการแตกไลน์ธุรกิจไปสู่ธุรกิจใหม่ๆ เช่น ธุรกิจบริหารการขายและบริหารโครงการ ธุรกิจนายหน้า และเอเยนซี หรือตัวแทนขาย แต่ธุรกิจที่น่าจับตาและมีการขยายไลน์ธุรกิจจากกลุ่มบริษัทอสังหาฯมากที่สุดคือ กลุ่มเฮลท์แคร์ หรือ Wellness ซึ่งได้รับปัจจัยผลักดันจากนโยบายการผลักดันประเทศไทยให้กลายเป็น เมดิคัลฮับ และธุรกิจพลังงานทดแทน ซึ่งอยู่ในเทรนด์ธุรกิจของโลกในขณะนี้ และ เมื่อต้องเผชิญความท้าทายอย่างต่อเนื่อง ทำให้บริษัท อสังหาฯต้อง "เอาตัวรอด" ด้วยการขยายธุรกิจเพื่อสร้างความยั่งยืนทางรายได้
โดยผู้จัดการรายวัน360 ได้รวบรวมบริษัทอสังหาฯที่แตกไลน์ธุรกิจเพื่อสร้างรายได้ระยะยาว ช่วยลดความเสี่ยงจากการพึ่งพารายได้จากธุรกิจอสังหาฯซึ่งเป็นธุรกิจหลักเพียงธุรกิจเดียว เริ่มต้นกันที่ บริษัท แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์ หรือ LPN ซึ่งมีการขยายไลน์ไปสู่ธุรกิจบริหารอาคารและรักษาความปลอดภัยโดยได้จัดตั้ง บริษัทลุมพินี พรอพเพอร์ตี้ มาเนจเมนท์ จำกัด หรือ LPP เพื่อรับงานบริหารโครงการของ LPN รวมทั้งขยายไปรับงาน บริษัทอสังหาฯอื่นๆ โดยอาศัยจุดแข็งด้านการบริหารชุมชนที่เป็นที่ยอมรับและประสบความสำเร็จภายใต้สโลแกน ชุมชนน่าอยู่ จนสามารถขยายขอบเขตการให้บริการไปยังโครงการภายนอกกว่า 50 โครงการ ล่าสุดได้จัดตั้งบริษัทรักษาความปลอดภัย ภายใต้ชื่อ บริษัท รักษาความปลอดภัย แอล เอส เอส โซลูชั่นส์ (LSS) ซึ่งเป็นการขยายงานตามแผนกลยุทธ์ขยายธุรกิจบริการให้ครอบคลุมเพื่อสนับสนุนการบริการชุมชนครบวงจร
ต่อด้วย บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) เป็นหนึ่งบริษัทที่แตกไลน์ไปสู่ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องโดยจับมือพันธมิตร อย่างดิ แอสคอทท์ ลิมิเต็ด หนึ่งในผู้ประกอบการธุรกิจเซอร์วิสเรสซิเดนซ์ระดับลักชัวรี ชั้นนำของโลก เพื่อลงทุนพัฒนาโครงการเซอร์วิส อพาร์ตเมนต์ 5 โครงการ ได้แก่ Somerset Rama 9, Ascott Embassy Sathorn, Ascott Thonglor, LYF Sukhumvit 8 และโครงการล่าสุดบริเวณชายหาดพัทยากลาง บนที่ดินขนาด 4 ไร่ มีจำนวนห้องพัก 324 ห้อง ซึ่งถือเป็นโครงการไฮไลต์ของปีนี้ที่จะเป็นการลงทุนที่สร้างรายได้ต่อเนื่องให้อนันดาฯ ในระยะยาว
ขณะที่บริษัท เสนาดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ขยายไลน์ไปจับธุรกิจพลังงานภายใต้ บริษัท เสนา โซลาร์เอนเนอร์ยี่ จำกัด ซึ่งให้บริการรับจ้างติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ให้กับหน่วยงานหรือองค์กรที่ต้องการติดตั้งไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ของตัวเอง รวมถึงเป็นผู้ลงทุนติดตั้งโซลาร์เซลล์ในพื้นที่ของเจ้าของพื้นที่ เช่น โรงงาน ห้างฯ เพื่อขายไฟฟ้าให้กับเจ้าของพื้นที่เองในราคาที่ถูกกว่าการไฟฟ้า นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมีรายได้จากธุรกิจอสังหาฯเพื่อเช่าโดยมีการถือหุ้นในโครงการออฟฟิศบิลดิ้งแอสไพเรชั่น วัน
ส่วน บริษัท เอพี (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) มีการขยายองค์กรสู่ 3 ภาคธุรกิจใหม่ ได้แก่ บริษัท วาริ จำกัด : ดำเนินธุรกิจสร้างระบบนิเวศที่สนับสนุนการบริหารจัดการคุณภาพชีวิต บริษัท เคลย์มอร์ จำกัด ดำเนินธุรกิจการพัฒนานวัตกรรมดีไซน์ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการที่ยังไม่ถูกค้นพบของคนในสังคม และ SEAC (เอสอีเอซี) ศูนย์พัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแห่งภูมิภาคอาเซียน โดยทั้ง 3 ภาคธุรกิจใหม่นี้มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในสังคมไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นลูกค้าเอพีเท่านั้น
ด้าน บริษัท แสนสิริ จำกัด(มหาชน) ได้ตั้งบริษัท แสนสิริ ไชน่า จำกัด เพื่อเข้าร่วมลงทุนในบริษัท บริษัท ฮักส์ อินชัวร์รันซ์ โบรกเกอร์ จำกัด (Hugs) เพื่อขยายไลน์ไปสู่ธุรกิจนายหน้าประกัน โดยการเข้าลงทุนดังกล่าวถือว่าเป็นการขยายธุรกิจใหม่เพื่อสนับสนุนธุรกิจหลัก ของ แสนสิริ
ขณะที่ บริษัท ไรมอนแลนด์ จำกัด (มหาชน) ได้ขยายไลน์ไปสู่ธุรกิจสำนักงานเช่า ธุรกิจอาหารเครื่องดื่มรวมไปถึงธุรกิจทางด้านโรงแรมและยังมีนโยบายที่ ต่อยอดธุรกิจไปสู่การสร้างศูนย์การแพทย์ เพื่อรองรับพันธมิตรซึ่งเป็นโรงพยาบาลที่มีเทคโนโลยีทันสมัยมีความชำนาญเฉพาะทาง เช่น การทำเด็กหลอดแก้วผสมเทียมและการเก็บไข่แช่แข็งซึ่งคาดว่าจะเปิดให้บริการตั้งแต่ ปี 2565
โดยมีแผนจะร่วมทุนกับพันธมิตร ทางการแพทย์มูลค่ากว่า 1,300 ล้านบาท เพื่อตอบโจทย์การดูแลสุขภาพทุกระดับที่เขาใหญ่อำเภอปากช่อง ซึ่งไรมอนแลนด์ ตั้งเป้าจะทำงานร่วมกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญผู้ชำนาญทางด้านสุขภาพ เพื่อมอบความสะดวกสบายทางบริการด้านสุขภาพและการนำเทคโนโลยีขั้นสูงที่มีความนำสมัยปรับปรุงใช้สำหรับบริการ รวมถึงการสร้างศูนย์สุขภาพการเจริญพันธุ์ เพื่อให้คำปรึกษาทางด้านการมีบุตรและศูนย์เวชศาสตร์การชะลอวัย ขณะที่ธุรกิจทางด้านอาหารและเครื่องดื่ม จะดำเนินงานร่วมกับพันธมิตรกลุ่ม บ้านหญิง เพื่อขยายธุรกิจอาหารต่อยอดสาขาที่มีอยู่ในสิงคโปร์โดยมีแผนที่จะขยายแฟรนไชส์ร้านอาหารออกสู่ภูมิภาคเอเชีย เช่น ไต้หวัน กัมพูชา จีน
บริษัท มั่นคงเคหะการ จำกัด (มหาชน) ได้ขยายไลน์ธุรกิจให้บริการและการแพทย์ โดยได้ก่อตั้ง บริษัท มั่นคงไลฟ์ จำกัด เพื่อพัฒนาโครงการสถานพยาบาลเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟืนฟูสุขภาพแบบครบวงจร โดยเริ่มเป็นพันธมิตรกับบริษัท ไวทัลไลฟ์ จำกัด ในเครือบริษัท โรงพยาบาล บำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน ) โดยมีเป้าหมายหลักคือกลุ่มลูกค้าพรีเมียมทั้งลูกค้าคนไทยและต่างชาติ นอกจากนี้ยังได้จัดตั้ง บริษัท เอ็มเคเอช แอนเสทส์ จำกัด เพื่อประกอบธุรกิจโรงแรมและธุรกิจด้านการให้บริการ ประเดิมด้วยการเข้าซื้อหุ้น Cmego Joint Stock company ในประเทศเวียดนาม ซึ่งเป็นเจ้าของธุรกิจโรงแรม Christmas ในสัดส่วน 46.7% นอกจากนี้ ยังอนุมัติตั้งบริษัทย่อยแห่งใหม่ภายใต้ชื่อบริษัทเฮงท็อปปอนด์เวลเนสส์ วิลเลจ จำกัด โดยมีเป้าหมายเพื่อดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวกับสถานพยาบาล
ด้าน บริษัท ณุศาศิริ จำกัด (มหาชน) เริ่มหันมาขยายการลงทุนศูนย์สุขภาพทั้งในประเทศไทยและประเทศจีนเนื่องจากเห็นโอกาสเติบโตทางธุรกิจดังกล่าวสูงจากการที่คนเริ่มหันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้นซึ่งเน้นการพัฒนาโครงการอสังหาฯควบคู่กับ ศูนย์สุขภาพครบวงจร 70% เพื่อตอบสนองเทรนด์การท่องเที่ยวและพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภคและอีก30% เป็น การพัฒนาที่พักอาศัยและอื่น ๆ
บริษัท เมเจอร์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ได้ขยายธุรกิจไปสู่กลุ่มธุรกิจอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับอสังหาฯหรือ Non-real estate business โดยภายในปี 2568 เมเจอร์ฯ ตั้งเป้าจะกระจายพอร์ตลงทุนสู่ธุรกิจที่ไม่ใช่ แค่อสังหาฯ ให้มีสัดส่วนเพิ่มเป็น 20% เพื่อให้ เมเจอร์ไม่ต้องพึ่งพาธุรกิจประเภทใดประเภทหนึ่งเพียงอย่างเดียว โดยธุรกิจแรก ที่ได้ขยายไลน์เข้าไปคือ ธุรกิจสุขภาพ (Healthscape) เนื่องจากเห็นถึงแนวโน้มผู้บริโภคที่หันมาใส่ใจเรื่องสุขภาพและคุณภาพการใช้ชีวิตมากยิ่งขึ้น รวมถึงการลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี (Techscape)
ขณะที่ พี่เปิม อย่าง บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตทจำกัด (มหาชน) เป็นอีกรายที่ ต้องปรับโมเดลรับมือการเปลี่ยนแปลง เพื่อความอยู่รอดในยุคโควิด โดยพัฒนานวัตกรรมเพื่อบาลานซ์พอร์ต ช่วยลดความเสี่ยง ด้วยการขยายไลน์ไปใน ธุรกิจสุขภาพ ที่เป็นเมกะเทรนด์ระดับโลกในขณะนี้ โดยได้ทุ่มงบประมาณ 5,000 ล้านบาท สร้างโรงพยาบาลวิมุตติ ซึ่งจะเปิดให้บริการในปี 2564 นี้ ขณะเดียวกัน ในปีนี้ พฤกษาฯได้นำจุดแข็งจากธุรกิจสุขภาพมาต่อยอดธุรกิจอสังหาฯ โดยมีการเปิดตัวโครงการอเวนิว ย่านบางนา จะผสานเรื่องสุขภาพให้บริการลูกบ้านในหลายโครงการแบรนด์ Passorn ,THE PALM, THE PLANT, PRUKSA VILLE ตั้งแต่การป้องกัน รักษาโดยจะมีรูปแบบอเวนิว 3 โซนหลักที่มีสเกลใหญ่ โซนแรกที่บางนา โซนสอง แจ้งวัฒนะ และโซนสาม คลอง 3 คิดซึ่งโรงพยาบาลขนาดย่อมอยู่หน้าโครงการ และบริการ เนิร์สซิ่งโฮม 30-40 เตียง
นอกจากนี้ ยังได้ร่วมทุนในบริษัทเทพธัญญภา เจ้าของและประกอบธุรกิจโรงพยาบาลเทพธารินทร์ พระราม 4 เพื่อเสริมจุดแข็งด้านการดูแลคนไข้เฉพาะทาง ซึ่งจาก การร่วมทุนดังกล่าว จะทำให้พฤกษาฯ มีโรงพยาบาลในพอร์ตเป็น 2 โรงและมีเตียงรองรับผู้ป่วยกว่า 300 เตียงแบ่งเป็นโรงพยาบาลวิมุตติ 236 เตียง โรงพยาบาลเทพธารินทร์ 100 เตียง สำหรับ โรงพยาบาลวิมุตติเป็นโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ ที่รักษาโรครุนแรงและซับซ้อนและมีแผนจะเปิดมากกว่า 1 แห่ง โดยเป็นโรงพยาบาลขนาดใหญ่ และมีกลุ่มธุรกิจย่อยในรูปแบบ คอมมูนิตี้เฮลท์ฮับ กระจายอยู่ตามชุมชน ประกอบด้วย คลินิก เนิร์สซิ่งโฮม และกายภาพ เปิดตัวในเดือน พ.ค.นี้
สุดท้ายคือ บริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ ORI ซึ่งถือว่าเป็นค่าย ธุรกิจอสังหาฯ ที่มีการขยายไลน์ธุรกิจมากที่สุด โดยล่าสุดได้จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทย่อยใหม่ 2 แห่ง ได้แก่ บริษัทบริหารสินทรัพย์พรอมมิเนนท์ จำกัด เพื่อรุกเข้าสู่ธุรกิจการบริหารสินทรัพย์โดยมีทุนจดทะเบียน 25 ล้านบาท และจัดตั้งบริษัท ออริจิ้นเฮลท์แคร์ จำกัด เพื่อขยายธุรกิจเข้าสู่ธุรกิจด้านสุขภาพ โดยมีทุนจดทะเบียน 7.5 ล้านบาท โดยก่อนหน้านั้น
ออริจิ้นฯ ได้เปิดตัว บริษัท พรีโม เซอร์วิส โซลูชั่นจำกัด ผู้ให้บริการอสังหาริมทรัพย์ครบวงจร โดยมีบริษัทฯในเครือ เช่น บริษัท พรีโม เรียลเตอร์ จำกัด ให้บริการตัวแทนขายอสังหาฯครบวงจร บริษัท พรีโม เดคคอร์ จำกัด บริการออกแบบตกแต่งภายในอสังหาฯครบวงจร รวมทั้งบริการขนย้ายสิ่งของ เฟอร์นิเจอร์ ของใช้ภายในบ้าน หรือคอนโดมิเนียม บริษัท พรีโม แมเนจเม้นท์ จำกัดซึ่งเน้นให้บริการงานบริหารนิติบุคคลอาคารชุดอย่างครบวงจร บริษัท คราวน์ เรสซิเดนซ์ จำกัด ให้บริการบริหารและจัดการอสังหาริมทรัพย์ ระดับลักชัวรี รวมทั้ง บริการรับฝากขาย ปล่อยเช่าอสังหาริมทรัพย์ บริษัท อูโน่ เซอร์วิสจำกัด ผู้ให้บริการงานรักษาความสะอาดแบบครบวงจร รวมถึง บริษัท ยูไนเต็ด โปรเจคต์ แมเนจเมนท์ จำกัด บริหารงานโครงการ และบริหารงานก่อสร้าง โดยทีมวิศวกร และทีมสถาปนิกมืออาชีพ
การขยายไลน์ธุรกิจของบริษัทอสังหาฯ เพื่อเพิ่มพอร์ตรายได้ระยะยาว ซึ่งเป็นการลดความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ จากอดีตจนถึงขณะนี้ นับเป็นเป้าหมายทางธุรกิจที่อยู่ในใจของหลายๆบริษัท แต่จะมีสักกี่รายที่ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ จากนี้ไปคงมีบริษัทอสังหาฯอีกจำนวนไม่น้อยที่ขยายไลน์ไปสู่ธุรกิจอื่นๆ เพื่อสร้างพอร์ตรายได้ยั่งยื่นในอนาคต.
สถานการณ์ตลาดอสังหาริมทรัพย์ ที่ค่อยๆ ซบเซาลงตั้งแต่ปี 2561 ต่อเนื่องจนถึงปี 2562 และถูกช้ำเติมด้วยการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ลากยาวมาจนถึงปัจจุบัน ส่งผลต่อสภาพคล่องทางการเงินของบริษัทอสังหาริมทรัพย์ ทั้งบริษัทที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และที่อยู่นอกตลาด สถานการณ์ดังกล่าวทำให้เกิดการปรับตัวครั้งใหญ่ ในฝั่งของผู้ประกอบการอสังหาฯ
โดยทุกรายชะลอแผนการลงทุน และเปลี่ยนจากการพัฒนาโครงการคอนโดมิเนียม มาพัฒนาโครงการจัดสรรหรือโครงการแนวราบ เพื่อรองรับความต้องการและพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ต้องการพื้นที่ส่วนตัวเพิ่มมากขึ้น หลังการมาของโควิด-19 ซึ่งทำให้ผู้บริโภคจำนวนมากต้องทำงานจากที่บ้าน หรือ Work From Home ขณะที่บริษัทซึ่งพัฒนาโครงการคอนโดฯเป็นสินค้าหลัก ต้องงัดกลยุทธ์ลดราคาและจัดแคมเปญแรงๆ ระบาย สต๊อกห้องชุดในมือ เพื่อดึงเงินสดมาไว้ในมือให้มากที่สุด
อย่างไรก็ตาม แม้การลดราคาขาย จัดแคมเปญกระตุ้นและเร่งการตัดสินใจซื้อ แม้จะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถระบายสต๊อกได้บางส่วน แต่ก็ไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหาระยะยาวที่ดี เพราะขณะที่ต้องลดราคาขายระบายสต๊อกนั้น กลยุทธ์ดังกล่าวก็ส่งผลต่อการแข่งขันในตลาดให้สูงขึ้น จนกลายเป็นสงครามราคา นอกจากนี้ ปัญหาต้นทุนก่อสร้างและวัสดุก่อสร้าง ต้นทุนแรงงาน ซึ่งเกิดจากการขาดแคลนแรงงาน จากภาวะการระบาดของ โควิด-19 รวมถึงต้นทุนที่ดินที่ปรับตัวสูงอย่างต่อเนื่อง ยังส่งผลต่อกำไรของบริษัทอสังหาฯให้ลดลง และในอนาคตยิ่งมีแนวโน้มว่าจะรักษาอัตรากำไรขั้นต้นให้อยู่ในระดับปัจจุบันได้ยากมากขึ้น
ปัจจัยต่างๆ ดังกล่าวทำให้ในช่วงที่ผ่านมา ผู้ประกอบการอสังหาฯรายใหญ่และขนาดกลาง พยายามกระจายความเสี่ยงในการลงทุน และแหล่งรายได้ เข้าสู่ธุรกิจที่สร้างรายได้ระยะยาวให้กับองค์กร โดยการแตกไลน์ธุรกิจไปสู่ธุรกิจใหม่ๆ เช่น ธุรกิจบริหารการขายและบริหารโครงการ ธุรกิจนายหน้า และเอเยนซี หรือตัวแทนขาย แต่ธุรกิจที่น่าจับตาและมีการขยายไลน์ธุรกิจจากกลุ่มบริษัทอสังหาฯมากที่สุดคือ กลุ่มเฮลท์แคร์ หรือ Wellness ซึ่งได้รับปัจจัยผลักดันจากนโยบายการผลักดันประเทศไทยให้กลายเป็น เมดิคัลฮับ และธุรกิจพลังงานทดแทน ซึ่งอยู่ในเทรนด์ธุรกิจของโลกในขณะนี้ และ เมื่อต้องเผชิญความท้าทายอย่างต่อเนื่อง ทำให้บริษัท อสังหาฯต้อง "เอาตัวรอด" ด้วยการขยายธุรกิจเพื่อสร้างความยั่งยืนทางรายได้
โดยผู้จัดการรายวัน360 ได้รวบรวมบริษัทอสังหาฯที่แตกไลน์ธุรกิจเพื่อสร้างรายได้ระยะยาว ช่วยลดความเสี่ยงจากการพึ่งพารายได้จากธุรกิจอสังหาฯซึ่งเป็นธุรกิจหลักเพียงธุรกิจเดียว เริ่มต้นกันที่ บริษัท แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์ หรือ LPN ซึ่งมีการขยายไลน์ไปสู่ธุรกิจบริหารอาคารและรักษาความปลอดภัยโดยได้จัดตั้ง บริษัทลุมพินี พรอพเพอร์ตี้ มาเนจเมนท์ จำกัด หรือ LPP เพื่อรับงานบริหารโครงการของ LPN รวมทั้งขยายไปรับงาน บริษัทอสังหาฯอื่นๆ โดยอาศัยจุดแข็งด้านการบริหารชุมชนที่เป็นที่ยอมรับและประสบความสำเร็จภายใต้สโลแกน ชุมชนน่าอยู่ จนสามารถขยายขอบเขตการให้บริการไปยังโครงการภายนอกกว่า 50 โครงการ ล่าสุดได้จัดตั้งบริษัทรักษาความปลอดภัย ภายใต้ชื่อ บริษัท รักษาความปลอดภัย แอล เอส เอส โซลูชั่นส์ (LSS) ซึ่งเป็นการขยายงานตามแผนกลยุทธ์ขยายธุรกิจบริการให้ครอบคลุมเพื่อสนับสนุนการบริการชุมชนครบวงจร
ต่อด้วย บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) เป็นหนึ่งบริษัทที่แตกไลน์ไปสู่ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องโดยจับมือพันธมิตร อย่างดิ แอสคอทท์ ลิมิเต็ด หนึ่งในผู้ประกอบการธุรกิจเซอร์วิสเรสซิเดนซ์ระดับลักชัวรี ชั้นนำของโลก เพื่อลงทุนพัฒนาโครงการเซอร์วิส อพาร์ตเมนต์ 5 โครงการ ได้แก่ Somerset Rama 9, Ascott Embassy Sathorn, Ascott Thonglor, LYF Sukhumvit 8 และโครงการล่าสุดบริเวณชายหาดพัทยากลาง บนที่ดินขนาด 4 ไร่ มีจำนวนห้องพัก 324 ห้อง ซึ่งถือเป็นโครงการไฮไลต์ของปีนี้ที่จะเป็นการลงทุนที่สร้างรายได้ต่อเนื่องให้อนันดาฯ ในระยะยาว
ขณะที่บริษัท เสนาดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ขยายไลน์ไปจับธุรกิจพลังงานภายใต้ บริษัท เสนา โซลาร์เอนเนอร์ยี่ จำกัด ซึ่งให้บริการรับจ้างติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ให้กับหน่วยงานหรือองค์กรที่ต้องการติดตั้งไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ของตัวเอง รวมถึงเป็นผู้ลงทุนติดตั้งโซลาร์เซลล์ในพื้นที่ของเจ้าของพื้นที่ เช่น โรงงาน ห้างฯ เพื่อขายไฟฟ้าให้กับเจ้าของพื้นที่เองในราคาที่ถูกกว่าการไฟฟ้า นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมีรายได้จากธุรกิจอสังหาฯเพื่อเช่าโดยมีการถือหุ้นในโครงการออฟฟิศบิลดิ้งแอสไพเรชั่น วัน
ส่วน บริษัท เอพี (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) มีการขยายองค์กรสู่ 3 ภาคธุรกิจใหม่ ได้แก่ บริษัท วาริ จำกัด : ดำเนินธุรกิจสร้างระบบนิเวศที่สนับสนุนการบริหารจัดการคุณภาพชีวิต บริษัท เคลย์มอร์ จำกัด ดำเนินธุรกิจการพัฒนานวัตกรรมดีไซน์ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการที่ยังไม่ถูกค้นพบของคนในสังคม และ SEAC (เอสอีเอซี) ศูนย์พัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแห่งภูมิภาคอาเซียน โดยทั้ง 3 ภาคธุรกิจใหม่นี้มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในสังคมไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นลูกค้าเอพีเท่านั้น
ด้าน บริษัท แสนสิริ จำกัด(มหาชน) ได้ตั้งบริษัท แสนสิริ ไชน่า จำกัด เพื่อเข้าร่วมลงทุนในบริษัท บริษัท ฮักส์ อินชัวร์รันซ์ โบรกเกอร์ จำกัด (Hugs) เพื่อขยายไลน์ไปสู่ธุรกิจนายหน้าประกัน โดยการเข้าลงทุนดังกล่าวถือว่าเป็นการขยายธุรกิจใหม่เพื่อสนับสนุนธุรกิจหลัก ของ แสนสิริ
ขณะที่ บริษัท ไรมอนแลนด์ จำกัด (มหาชน) ได้ขยายไลน์ไปสู่ธุรกิจสำนักงานเช่า ธุรกิจอาหารเครื่องดื่มรวมไปถึงธุรกิจทางด้านโรงแรมและยังมีนโยบายที่ ต่อยอดธุรกิจไปสู่การสร้างศูนย์การแพทย์ เพื่อรองรับพันธมิตรซึ่งเป็นโรงพยาบาลที่มีเทคโนโลยีทันสมัยมีความชำนาญเฉพาะทาง เช่น การทำเด็กหลอดแก้วผสมเทียมและการเก็บไข่แช่แข็งซึ่งคาดว่าจะเปิดให้บริการตั้งแต่ ปี 2565
โดยมีแผนจะร่วมทุนกับพันธมิตร ทางการแพทย์มูลค่ากว่า 1,300 ล้านบาท เพื่อตอบโจทย์การดูแลสุขภาพทุกระดับที่เขาใหญ่อำเภอปากช่อง ซึ่งไรมอนแลนด์ ตั้งเป้าจะทำงานร่วมกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญผู้ชำนาญทางด้านสุขภาพ เพื่อมอบความสะดวกสบายทางบริการด้านสุขภาพและการนำเทคโนโลยีขั้นสูงที่มีความนำสมัยปรับปรุงใช้สำหรับบริการ รวมถึงการสร้างศูนย์สุขภาพการเจริญพันธุ์ เพื่อให้คำปรึกษาทางด้านการมีบุตรและศูนย์เวชศาสตร์การชะลอวัย ขณะที่ธุรกิจทางด้านอาหารและเครื่องดื่ม จะดำเนินงานร่วมกับพันธมิตรกลุ่ม บ้านหญิง เพื่อขยายธุรกิจอาหารต่อยอดสาขาที่มีอยู่ในสิงคโปร์โดยมีแผนที่จะขยายแฟรนไชส์ร้านอาหารออกสู่ภูมิภาคเอเชีย เช่น ไต้หวัน กัมพูชา จีน
บริษัท มั่นคงเคหะการ จำกัด (มหาชน) ได้ขยายไลน์ธุรกิจให้บริการและการแพทย์ โดยได้ก่อตั้ง บริษัท มั่นคงไลฟ์ จำกัด เพื่อพัฒนาโครงการสถานพยาบาลเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟืนฟูสุขภาพแบบครบวงจร โดยเริ่มเป็นพันธมิตรกับบริษัท ไวทัลไลฟ์ จำกัด ในเครือบริษัท โรงพยาบาล บำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน ) โดยมีเป้าหมายหลักคือกลุ่มลูกค้าพรีเมียมทั้งลูกค้าคนไทยและต่างชาติ นอกจากนี้ยังได้จัดตั้ง บริษัท เอ็มเคเอช แอนเสทส์ จำกัด เพื่อประกอบธุรกิจโรงแรมและธุรกิจด้านการให้บริการ ประเดิมด้วยการเข้าซื้อหุ้น Cmego Joint Stock company ในประเทศเวียดนาม ซึ่งเป็นเจ้าของธุรกิจโรงแรม Christmas ในสัดส่วน 46.7% นอกจากนี้ ยังอนุมัติตั้งบริษัทย่อยแห่งใหม่ภายใต้ชื่อบริษัทเฮงท็อปปอนด์เวลเนสส์ วิลเลจ จำกัด โดยมีเป้าหมายเพื่อดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวกับสถานพยาบาล
ด้าน บริษัท ณุศาศิริ จำกัด (มหาชน) เริ่มหันมาขยายการลงทุนศูนย์สุขภาพทั้งในประเทศไทยและประเทศจีนเนื่องจากเห็นโอกาสเติบโตทางธุรกิจดังกล่าวสูงจากการที่คนเริ่มหันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้นซึ่งเน้นการพัฒนาโครงการอสังหาฯควบคู่กับ ศูนย์สุขภาพครบวงจร 70% เพื่อตอบสนองเทรนด์การท่องเที่ยวและพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภคและอีก30% เป็น การพัฒนาที่พักอาศัยและอื่น ๆ
บริษัท เมเจอร์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ได้ขยายธุรกิจไปสู่กลุ่มธุรกิจอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับอสังหาฯหรือ Non-real estate business โดยภายในปี 2568 เมเจอร์ฯ ตั้งเป้าจะกระจายพอร์ตลงทุนสู่ธุรกิจที่ไม่ใช่ แค่อสังหาฯ ให้มีสัดส่วนเพิ่มเป็น 20% เพื่อให้ เมเจอร์ไม่ต้องพึ่งพาธุรกิจประเภทใดประเภทหนึ่งเพียงอย่างเดียว โดยธุรกิจแรก ที่ได้ขยายไลน์เข้าไปคือ ธุรกิจสุขภาพ (Healthscape) เนื่องจากเห็นถึงแนวโน้มผู้บริโภคที่หันมาใส่ใจเรื่องสุขภาพและคุณภาพการใช้ชีวิตมากยิ่งขึ้น รวมถึงการลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี (Techscape)
ขณะที่ พี่เปิม อย่าง บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตทจำกัด (มหาชน) เป็นอีกรายที่ ต้องปรับโมเดลรับมือการเปลี่ยนแปลง เพื่อความอยู่รอดในยุคโควิด โดยพัฒนานวัตกรรมเพื่อบาลานซ์พอร์ต ช่วยลดความเสี่ยง ด้วยการขยายไลน์ไปใน ธุรกิจสุขภาพ ที่เป็นเมกะเทรนด์ระดับโลกในขณะนี้ โดยได้ทุ่มงบประมาณ 5,000 ล้านบาท สร้างโรงพยาบาลวิมุตติ ซึ่งจะเปิดให้บริการในปี 2564 นี้ ขณะเดียวกัน ในปีนี้ พฤกษาฯได้นำจุดแข็งจากธุรกิจสุขภาพมาต่อยอดธุรกิจอสังหาฯ โดยมีการเปิดตัวโครงการอเวนิว ย่านบางนา จะผสานเรื่องสุขภาพให้บริการลูกบ้านในหลายโครงการแบรนด์ Passorn ,THE PALM, THE PLANT, PRUKSA VILLE ตั้งแต่การป้องกัน รักษาโดยจะมีรูปแบบอเวนิว 3 โซนหลักที่มีสเกลใหญ่ โซนแรกที่บางนา โซนสอง แจ้งวัฒนะ และโซนสาม คลอง 3 คิดซึ่งโรงพยาบาลขนาดย่อมอยู่หน้าโครงการ และบริการ เนิร์สซิ่งโฮม 30-40 เตียง
นอกจากนี้ ยังได้ร่วมทุนในบริษัทเทพธัญญภา เจ้าของและประกอบธุรกิจโรงพยาบาลเทพธารินทร์ พระราม 4 เพื่อเสริมจุดแข็งด้านการดูแลคนไข้เฉพาะทาง ซึ่งจาก การร่วมทุนดังกล่าว จะทำให้พฤกษาฯ มีโรงพยาบาลในพอร์ตเป็น 2 โรงและมีเตียงรองรับผู้ป่วยกว่า 300 เตียงแบ่งเป็นโรงพยาบาลวิมุตติ 236 เตียง โรงพยาบาลเทพธารินทร์ 100 เตียง สำหรับ โรงพยาบาลวิมุตติเป็นโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ ที่รักษาโรครุนแรงและซับซ้อนและมีแผนจะเปิดมากกว่า 1 แห่ง โดยเป็นโรงพยาบาลขนาดใหญ่ และมีกลุ่มธุรกิจย่อยในรูปแบบ คอมมูนิตี้เฮลท์ฮับ กระจายอยู่ตามชุมชน ประกอบด้วย คลินิก เนิร์สซิ่งโฮม และกายภาพ เปิดตัวในเดือน พ.ค.นี้
สุดท้ายคือ บริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ ORI ซึ่งถือว่าเป็นค่าย ธุรกิจอสังหาฯ ที่มีการขยายไลน์ธุรกิจมากที่สุด โดยล่าสุดได้จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทย่อยใหม่ 2 แห่ง ได้แก่ บริษัทบริหารสินทรัพย์พรอมมิเนนท์ จำกัด เพื่อรุกเข้าสู่ธุรกิจการบริหารสินทรัพย์โดยมีทุนจดทะเบียน 25 ล้านบาท และจัดตั้งบริษัท ออริจิ้นเฮลท์แคร์ จำกัด เพื่อขยายธุรกิจเข้าสู่ธุรกิจด้านสุขภาพ โดยมีทุนจดทะเบียน 7.5 ล้านบาท โดยก่อนหน้านั้น
ออริจิ้นฯ ได้เปิดตัว บริษัท พรีโม เซอร์วิส โซลูชั่นจำกัด ผู้ให้บริการอสังหาริมทรัพย์ครบวงจร โดยมีบริษัทฯในเครือ เช่น บริษัท พรีโม เรียลเตอร์ จำกัด ให้บริการตัวแทนขายอสังหาฯครบวงจร บริษัท พรีโม เดคคอร์ จำกัด บริการออกแบบตกแต่งภายในอสังหาฯครบวงจร รวมทั้งบริการขนย้ายสิ่งของ เฟอร์นิเจอร์ ของใช้ภายในบ้าน หรือคอนโดมิเนียม บริษัท พรีโม แมเนจเม้นท์ จำกัดซึ่งเน้นให้บริการงานบริหารนิติบุคคลอาคารชุดอย่างครบวงจร บริษัท คราวน์ เรสซิเดนซ์ จำกัด ให้บริการบริหารและจัดการอสังหาริมทรัพย์ ระดับลักชัวรี รวมทั้ง บริการรับฝากขาย ปล่อยเช่าอสังหาริมทรัพย์ บริษัท อูโน่ เซอร์วิสจำกัด ผู้ให้บริการงานรักษาความสะอาดแบบครบวงจร รวมถึง บริษัท ยูไนเต็ด โปรเจคต์ แมเนจเมนท์ จำกัด บริหารงานโครงการ และบริหารงานก่อสร้าง โดยทีมวิศวกร และทีมสถาปนิกมืออาชีพ
การขยายไลน์ธุรกิจของบริษัทอสังหาฯ เพื่อเพิ่มพอร์ตรายได้ระยะยาว ซึ่งเป็นการลดความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ จากอดีตจนถึงขณะนี้ นับเป็นเป้าหมายทางธุรกิจที่อยู่ในใจของหลายๆบริษัท แต่จะมีสักกี่รายที่ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ จากนี้ไปคงมีบริษัทอสังหาฯอีกจำนวนไม่น้อยที่ขยายไลน์ไปสู่ธุรกิจอื่นๆ เพื่อสร้างพอร์ตรายได้ยั่งยื่นในอนาคต.
ข่าวโครงการอสังหาฯ ภาคเอกชน อื่นๆ