บิ๊กอสังหาฯรื้อ ฟังก์ชัน-ดีไซน์ เจาะกลุ่มเฉพาะ - เวิร์คฟรอมโฮม
วันที่ : 28 เมษายน 2564
โควิด ทำ พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยน ผู้ประกอบการอสังหาฯ เร่งปรับกลยุทธ์ ออกแบบพัฒนาสินค้าและบริการ เจาะกลุ่มเฉพาะ - เวิร์คฟรอมโฮม
บุษกร ภู่แส
กรุงเทพธุรกิจ
วิกฤติโควิด-19 ส่งผลผู้คนต้องใช้ชีวิตอยู่บ้านมากขึ้น และทำงานที่บ้าน หรือ เวิร์คฟรอมโฮม (Work From Home) เป็นอีก วิถีนิวนอร์มอลที่สร้างจุดเปลี่ยนในวงการอสังหาริมทรัพย์ต้องปรับกลยุทธ์สอดรับพฤติกรรมของผู้อยู่อาศัยที่เปลี่ยนไป! ทั้งในแง่การออกแบบพัฒนาสินค้าและบริการ บรรดาดีเวลอปเปอร์ต่างพลิก "ฟังก์ชั่น-ดีไซน์" สร้างจุดขายใหม่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ ทำงานได้ทุกที่
เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ กรรมการ ผู้จัดการ บริษัท เสนาดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า วิกฤติโควิด-19 ทำให้เกิด นิวนอร์มอลหลากหลายหนึ่งในนิวนอร์มอลที่จะคงอยู่ต่อไปคือ พฤติกรรมการทำงาน ที่บ้าน ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดีสำหรับนายจ้างและลูกจ้างที่จะประยุกต์ หรือปรับเปลี่ยนแนวทางการทำงานจากนี้ ในแง่ของลูกจ้างสามารถ ลดค่าใช้จ่าย และเวลาในการเดินทาง ขณะที่นายจ้างสามารถประหยัดค่าเช่าพื้นที่สำนักงาน ซึ่งจะกลายเป็นความปกติในอนาคต!
ผู้ประกอบการอสังหาฯ นอกจากต้องพัฒนาและปรับเปลี่ยนดีไซน์ให้ตอบรับกลุ่มลูกค้า สถานการณ์ ตอบโจทย์คนกลุ่มลูกค้ามากขึ้น ยังต้องปรับเพื่อให้สอดรับเทรนด์ในแต่ละสถานการณ์มากที่สุด ยกตัวอย่าง ผู้ซื้อคอนโดมิเนียมส่วนใหญ่เป็น "เจนวาย" มากกว่า "เจนเอ็กซ์" จึงเน้นดีไซน์เฟอร์นิเจอร์บิวท์อิน สามารถทำงานได้ ปรับฟังก์ชั่นให้เก็บของได้มากขึ้นแม้ว่าลูกค้าจะซื้อคอนโดอยู่ใกล้ที่ทำงาน แต่ก็ต้องทำให้คอนโดนั้นทำงานได้ทุกที่ หรือ Work from Anywhere จึงเป็นที่มาของแนวคิดในการพัฒนาโครงการคอนโดใหม่ภายใต้คอนเซปต์ ทำงานได้ทุกที่ (Work from Anywhere in Condo) ซึ่งแตกต่างจาก "โคเวิร์คกิ้งสเปซ" ที่ผู้คนอาจรู้สึกเบื่อบรรยากาศเดิมๆ ปัจจุบันกลุ่มซื้อคอนโด ส่วนใหญ่เป็นเจนวายมากกว่าเจนเอ็กซ์
"ลูกบ้านสามารถทำงานริมสระว่ายน้ำได้ นั่นหมายความว่าเราต้องเตรียม ที่นั่ง ปลั๊ก ไวไฟไว้รองรับ ไลฟ์สไต์แบบนี้จะเกิดมากขึ้นหลังจากโควิดคลี่คลายไป เชื่อว่าจะมีคนที่ยังทำงานที่บ้านกันต่อไป หรืออาจต้องทำงานที่บ้านเป็นระยะเมื่อเกิดการระบาดโควิดรุนแรง สอดรับไปกับไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ ที่มีความยืดหยุ่นในการทำงานมากขึ้น สามารถบาลานซ์ชีวิตดีขึ้น ซึ่งเป็นแนวทางในการพัฒนาอสังหาฯ ต้องเจาะพฤติกรรมนิวนอร์มอลในเชิงลึก ขณะที่ ทาวน์เฮ้าส์และบ้าน จะให้ความสำคัญกับการติดโซลาร์ รูฟท็อปเพิ่มมูลค่ามากขึ้น"
ทางด้าน อภิสิทธิ์ สุนทรชูเกียรติประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วม บริษัท ออริจิ้น คอนโดมิเนียม จำกัด ผู้พัฒนาธุรกิจกลุ่ม สมาร์ทคอนโดมิเนียมในเครือออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ กล่าวว่า ความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากของผู้บริโภคทั้งในยุค "นาว นอร์มอล" และ "เน็กซ์ นอร์มอล" จากโรคโควิด-19 ทำให้มองเห็น โอกาสการเติบโตในน่านน้ำใหม่!
โดยปีนี้ กลุ่มธุรกิจคอนโดมิเนียมในเครือออริจิ้น จะเติบโตแบบ "เน็กซ์ เลเวล" ด้วยการพัฒนา 9 โครงการ มูลค่ารวม 9,600 ล้านบาท เกาะแนว รถไฟฟ้าและพื้นที่เศรษฐกิจอีอีซี ซึ่งจะมี "4 แบรนด์ใหม่" เจาะกลุ่มเป้าหมายใหม่ ได้แก่ 1.ออริจิ้น ปลั๊ก แอนด์ เพลย์ เจาะตลาดกลุ่มเจนวาย ซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้าหลักในตลาดคอนโด และเจน ซี โดยเฉพาะกลุ่มที่ทำสตาร์ทอัพ ซึ่งจะต้องมีสิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะกับ คนกลุ่มนี้ 2.บริกซ์ตัน แบรนด์ราคาเข้าถึงง่าย สำหรับตลาดเฉพาะกลุ่ม (Affordable) คอนเซปต์ แต่ละโครงการจะเจาะลูกค้าแตกต่างกันไป เช่น กลุ่มนักศึกษา หรือคนทำงานใกล้มหาวิทยาลัย และกลุ่มคนรักสัตว์ 3.แฮมป์ตัน แบรนด์คอนโด เจาะตลาดนักลงทุนโดยเฉพาะ มีสิทธิพิเศษและการันตีผลตอบแทนแก่ผู้ซื้อ นำร่องในศรีราชา และระยอง และ 4.ออริจินอล คอนโด สำหรับกลุ่มผู้สูงอายุ ก่อนหน้านี้เจ้าพ่อคอนโดต่ำล้านอย่าง โอภาส ศรีพยัคฆ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์ ยอมรับว่า ที่ผ่านมาแบรนด์แอล.พี.เอ็น.จะให้ ความสำคัญกับความคุ้มค่า (values for money) ซื้อคอนโดแอล.พี.เอ็น.แล้วได้สินค้าที่ดี มีคุณภาพ มีบริการที่ดี ในราคาที่คุ้มค่า ซึ่งกลุ่มลูกค้าเป็นคนในยุคเบบี้บูมเมอร์ และ เจนเอ็กซ์ อาจจะมองในเรื่องของความคุ้มค่าเป็นหลัก แต่เมื่อกลุ่มลูกค้าหลักเปลี่ยนเป็นเจนวายจำเป็นที่จะต้องเติมในเรื่องของอารมณ์ ความรู้สึก ( emotional benefit)เข้าไปในสินค้านั้นด้วย
"สิ่งที่แอล.พี.เอ็น.จะทำต่อไป คือ การเพิ่มเติมในเรื่องของคุณค่าด้านอารมณ์ความรู้สึกเข้าไป ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของรูปร่าง หน้าตา ที่ในยุคก่อนคอนโดแอล.พี.เอ็น. ไปอยู่ ที่ไหนก็หน้าตาเหมือนกันไปหมด ทำยูนิตจำนวนเยอะๆ ดูแล้วแน่นๆ อยู่แล้วมีความรู้สึกว่าคุยไม่ค่อยได้ จะไปเช็คอิน จะไปเซลฟี่โชว์ ก็ไม่ค่อยได้เพราะเราเน้นในเรื่องของต้นทุนการประหยัดต่อขนาด (Economies of scale) เพื่อให้ได้ต้นทุนถูกที่สุด"
โอภาส กล่าวว่า ต่อจากนี้ไป แอล.พี.เอ็น.จะพัฒนาโครงการให้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวในแต่ละทำเลมากขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการกับวิถีการดำเนินชีวิตแบบใหม่หลังจากโควิด นอกจากในเรื่องของความคุ้มค่า เพื่อสร้างความรู้สึกภูมิใจที่ได้เป็นเจ้าของและตอบสนองการใช้ชีวิต
กรุงเทพธุรกิจ
วิกฤติโควิด-19 ส่งผลผู้คนต้องใช้ชีวิตอยู่บ้านมากขึ้น และทำงานที่บ้าน หรือ เวิร์คฟรอมโฮม (Work From Home) เป็นอีก วิถีนิวนอร์มอลที่สร้างจุดเปลี่ยนในวงการอสังหาริมทรัพย์ต้องปรับกลยุทธ์สอดรับพฤติกรรมของผู้อยู่อาศัยที่เปลี่ยนไป! ทั้งในแง่การออกแบบพัฒนาสินค้าและบริการ บรรดาดีเวลอปเปอร์ต่างพลิก "ฟังก์ชั่น-ดีไซน์" สร้างจุดขายใหม่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ ทำงานได้ทุกที่
เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ กรรมการ ผู้จัดการ บริษัท เสนาดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า วิกฤติโควิด-19 ทำให้เกิด นิวนอร์มอลหลากหลายหนึ่งในนิวนอร์มอลที่จะคงอยู่ต่อไปคือ พฤติกรรมการทำงาน ที่บ้าน ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดีสำหรับนายจ้างและลูกจ้างที่จะประยุกต์ หรือปรับเปลี่ยนแนวทางการทำงานจากนี้ ในแง่ของลูกจ้างสามารถ ลดค่าใช้จ่าย และเวลาในการเดินทาง ขณะที่นายจ้างสามารถประหยัดค่าเช่าพื้นที่สำนักงาน ซึ่งจะกลายเป็นความปกติในอนาคต!
ผู้ประกอบการอสังหาฯ นอกจากต้องพัฒนาและปรับเปลี่ยนดีไซน์ให้ตอบรับกลุ่มลูกค้า สถานการณ์ ตอบโจทย์คนกลุ่มลูกค้ามากขึ้น ยังต้องปรับเพื่อให้สอดรับเทรนด์ในแต่ละสถานการณ์มากที่สุด ยกตัวอย่าง ผู้ซื้อคอนโดมิเนียมส่วนใหญ่เป็น "เจนวาย" มากกว่า "เจนเอ็กซ์" จึงเน้นดีไซน์เฟอร์นิเจอร์บิวท์อิน สามารถทำงานได้ ปรับฟังก์ชั่นให้เก็บของได้มากขึ้นแม้ว่าลูกค้าจะซื้อคอนโดอยู่ใกล้ที่ทำงาน แต่ก็ต้องทำให้คอนโดนั้นทำงานได้ทุกที่ หรือ Work from Anywhere จึงเป็นที่มาของแนวคิดในการพัฒนาโครงการคอนโดใหม่ภายใต้คอนเซปต์ ทำงานได้ทุกที่ (Work from Anywhere in Condo) ซึ่งแตกต่างจาก "โคเวิร์คกิ้งสเปซ" ที่ผู้คนอาจรู้สึกเบื่อบรรยากาศเดิมๆ ปัจจุบันกลุ่มซื้อคอนโด ส่วนใหญ่เป็นเจนวายมากกว่าเจนเอ็กซ์
"ลูกบ้านสามารถทำงานริมสระว่ายน้ำได้ นั่นหมายความว่าเราต้องเตรียม ที่นั่ง ปลั๊ก ไวไฟไว้รองรับ ไลฟ์สไต์แบบนี้จะเกิดมากขึ้นหลังจากโควิดคลี่คลายไป เชื่อว่าจะมีคนที่ยังทำงานที่บ้านกันต่อไป หรืออาจต้องทำงานที่บ้านเป็นระยะเมื่อเกิดการระบาดโควิดรุนแรง สอดรับไปกับไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ ที่มีความยืดหยุ่นในการทำงานมากขึ้น สามารถบาลานซ์ชีวิตดีขึ้น ซึ่งเป็นแนวทางในการพัฒนาอสังหาฯ ต้องเจาะพฤติกรรมนิวนอร์มอลในเชิงลึก ขณะที่ ทาวน์เฮ้าส์และบ้าน จะให้ความสำคัญกับการติดโซลาร์ รูฟท็อปเพิ่มมูลค่ามากขึ้น"
ทางด้าน อภิสิทธิ์ สุนทรชูเกียรติประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วม บริษัท ออริจิ้น คอนโดมิเนียม จำกัด ผู้พัฒนาธุรกิจกลุ่ม สมาร์ทคอนโดมิเนียมในเครือออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ กล่าวว่า ความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากของผู้บริโภคทั้งในยุค "นาว นอร์มอล" และ "เน็กซ์ นอร์มอล" จากโรคโควิด-19 ทำให้มองเห็น โอกาสการเติบโตในน่านน้ำใหม่!
โดยปีนี้ กลุ่มธุรกิจคอนโดมิเนียมในเครือออริจิ้น จะเติบโตแบบ "เน็กซ์ เลเวล" ด้วยการพัฒนา 9 โครงการ มูลค่ารวม 9,600 ล้านบาท เกาะแนว รถไฟฟ้าและพื้นที่เศรษฐกิจอีอีซี ซึ่งจะมี "4 แบรนด์ใหม่" เจาะกลุ่มเป้าหมายใหม่ ได้แก่ 1.ออริจิ้น ปลั๊ก แอนด์ เพลย์ เจาะตลาดกลุ่มเจนวาย ซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้าหลักในตลาดคอนโด และเจน ซี โดยเฉพาะกลุ่มที่ทำสตาร์ทอัพ ซึ่งจะต้องมีสิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะกับ คนกลุ่มนี้ 2.บริกซ์ตัน แบรนด์ราคาเข้าถึงง่าย สำหรับตลาดเฉพาะกลุ่ม (Affordable) คอนเซปต์ แต่ละโครงการจะเจาะลูกค้าแตกต่างกันไป เช่น กลุ่มนักศึกษา หรือคนทำงานใกล้มหาวิทยาลัย และกลุ่มคนรักสัตว์ 3.แฮมป์ตัน แบรนด์คอนโด เจาะตลาดนักลงทุนโดยเฉพาะ มีสิทธิพิเศษและการันตีผลตอบแทนแก่ผู้ซื้อ นำร่องในศรีราชา และระยอง และ 4.ออริจินอล คอนโด สำหรับกลุ่มผู้สูงอายุ ก่อนหน้านี้เจ้าพ่อคอนโดต่ำล้านอย่าง โอภาส ศรีพยัคฆ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์ ยอมรับว่า ที่ผ่านมาแบรนด์แอล.พี.เอ็น.จะให้ ความสำคัญกับความคุ้มค่า (values for money) ซื้อคอนโดแอล.พี.เอ็น.แล้วได้สินค้าที่ดี มีคุณภาพ มีบริการที่ดี ในราคาที่คุ้มค่า ซึ่งกลุ่มลูกค้าเป็นคนในยุคเบบี้บูมเมอร์ และ เจนเอ็กซ์ อาจจะมองในเรื่องของความคุ้มค่าเป็นหลัก แต่เมื่อกลุ่มลูกค้าหลักเปลี่ยนเป็นเจนวายจำเป็นที่จะต้องเติมในเรื่องของอารมณ์ ความรู้สึก ( emotional benefit)เข้าไปในสินค้านั้นด้วย
"สิ่งที่แอล.พี.เอ็น.จะทำต่อไป คือ การเพิ่มเติมในเรื่องของคุณค่าด้านอารมณ์ความรู้สึกเข้าไป ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของรูปร่าง หน้าตา ที่ในยุคก่อนคอนโดแอล.พี.เอ็น. ไปอยู่ ที่ไหนก็หน้าตาเหมือนกันไปหมด ทำยูนิตจำนวนเยอะๆ ดูแล้วแน่นๆ อยู่แล้วมีความรู้สึกว่าคุยไม่ค่อยได้ จะไปเช็คอิน จะไปเซลฟี่โชว์ ก็ไม่ค่อยได้เพราะเราเน้นในเรื่องของต้นทุนการประหยัดต่อขนาด (Economies of scale) เพื่อให้ได้ต้นทุนถูกที่สุด"
โอภาส กล่าวว่า ต่อจากนี้ไป แอล.พี.เอ็น.จะพัฒนาโครงการให้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวในแต่ละทำเลมากขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการกับวิถีการดำเนินชีวิตแบบใหม่หลังจากโควิด นอกจากในเรื่องของความคุ้มค่า เพื่อสร้างความรู้สึกภูมิใจที่ได้เป็นเจ้าของและตอบสนองการใช้ชีวิต
ข่าวโครงการอสังหาฯ ภาคเอกชน อื่นๆ