คลอดผังเมืองอีอีซี 30อำเภอ เตรียมประกาศใช้ปี 65
วันที่ : 17 กุมภาพันธ์ 2563
กรมโยธาฯ เร่ง คลอดผังเมืองอีอีซี 30 อำเภอ ลงรายละเอียด ใช้ที่ดินฉะเชิงเทรา ระยอง ชลบุรี ประกาศใช้ปี 2565 หนุนพัฒนาเมืองถึงปี 2580 ยืนยันขีดเส้นพื้นที่อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม ไว้แล้ว ไม่กระทบธุรกิจระหว่างทำผังอำเภอ
กรมโยธาฯ เร่ง คลอดผังเมืองอีอีซี 30 อำเภอ ลงรายละเอียด ใช้ที่ดินฉะเชิงเทรา ระยอง ชลบุรี ประกาศใช้ปี 2565 หนุนพัฒนาเมืองถึงปี 2580 ยืนยันขีดเส้นพื้นที่อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม ไว้แล้ว ไม่กระทบธุรกิจระหว่างทำผังอำเภอ
แผนผังการใช้ประโยชน์ในที่ดินและแผนผังการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภคเขตพัฒนาพิเศษ ภาคตะวันออก (แผนผังอีอีซี) ประกาศใช้ เมื่อวันที่ 9 ธ.ค.2562 ซึ่งถือเป็นแผนผัง ที่ครอบคลุมการใช้ประโยชน์ที่ดินลักษณะต่างๆ ในอีอีซี
นายชยพล ธิติศักดิ์ อธิบดีกรมโยธาธิการ และผังเมือง เปิดเผยว่า เมื่อแผนผังการใช้ประโยชน์ที่ดินอีอีซีประกาศออกมาแล้ว ขณะนี้กรมโยธาฯ อยู่ระหว่างดำเนินการจัดทำ ร่างผังเมืองอำเภอ ซึ่งเป็นผังเมืองที่จะลงรายละเอียดเพิ่มขึ้นจากแผนผังอีอีซี โดย จะจัดทำทั้งหมด 30 ผังเมือง ครอบคลุม 30 อำเภอ แบ่งเป็น 1.จังหวัดชลบุรี 11 อำเภอ 2.จังหวัดฉะเชิงเทรา 11 อำเภอ 3.จังหวัดระยอง 8 อำเภอ ซึ่งดำเนินการตามขั้นตอนจัดทำผังเมืองตาม พ.ร.บ.ผังเมือง พ.ศ.2562 โดยจะรับฟังความเห็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้ความเห็นชอบ
สำหรับแผนผังอีอีซีจะเป็นกรอบใหญ่ในการใช้ที่ดินอีอีซีในการใช้ประโยชน์ที่ดิน 6 ด้าน คือ 1.แผนผังการใช้ประโยชน์ที่ดิน 2.แผนผังระบบสาธารณูปโภค ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และระบบการควบคุมและขจัดมลภาวะ 3.แผนผังระบบคมนาคมและขนส่ง 4.แผนผังระบบการ ตั้งถิ่นฐานและภูมิสังคม 5.แผนผังระบบบริหารจัดการน้ำ 6.แผนผังระบบป้องกันอุบัติภัย
ทั้งนี้ ผังเมือง 30 อำเภอก็จะจัดทำตามแนวทางการที่แผนผังอีอีซีกำหนดแนวทางการใช้ประโยชน์ที่ดินทั้ง 6 ด้านดังกล่าว โดยจะลงรายละเอียดการใช้ที่ดินในระดับอำเภอ อาจจะเสร็จพร้อมกันและประกาศใช้ ในปี 2565 ซึ่งถือเป็นการจัดทำผังเมืองรูปแบบ ใหม่ที่ทำแผนผังการใช้ประโยชน์ที่ดิน ทุกด้านก่อนแล้วมาลงรายละเอียด เพื่อรองรับการพัฒนาเชิงใน 3 จังหวัด จนถึงปี 2580
"แผนผังอีอีซีที่ประกาศออกมาได้ยกเลิกผังเมืองเดิมของทั้ง 3 จังหวัด แต่ระหว่างที่ผังเมือง 30 อำเภอ ยังไม่ออกมา จะไม่มีผลกระทบต่อการใช้ประโยชน์ที่ดิน เพราะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) สามารถอนุญาตใช้ประโยชน์ที่ดินตามที่แผนผังอีอีซีกำหนดได้ โดยกรมโยธาธิการและผังเมือง ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการ นโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ได้สัมมนาทำความเข้าใจการ บังคับใช้แผนผังอีอีซีครบแล้วทั้ง 3 จังหวัด เพื่อให้ทุกฝ่ายเข้าใจ"
นายชยพล กล่าวว่า เมื่อแผนผังอีอีซี กำหนดลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดิน ในแต่ละพื้นที่ไว้แล้ว ผู้ประกอบการที่ต้องการ พัฒนาพื้นที่ เช่น นิคมอุตสาหกรรม ก็สามารถ ดำเนินการขออนุญาตดำเนินการได้เลย หากในแผนผังอีอีซีกำหนดให้เป็นพื้นที่สีม่วง หรือที่ดินประเภทพัฒนาอุตสาหกรรม ซึ่งทำให้การจัดทำผังเมือง 30 อำเภอ ไม่เป็นอุปสรรคกับการพัฒนาธุรกิจ
สกพอ.เร่งทำความเข้าใจผังอีอีซี
แหล่งข่าวจาก สกพอ.กล่าวว่า หลังประกาศ ใช้แผนผังอีอีซีแล้ว สกพอ.ได้ลงพื้นที่เพื่ออธิบายรายละเอียดและผลประโยชน์ที่ประชาชนและท้องถิ่นจะได้รับ โดยจุดเด่นของแผนผังนี้ได้กำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อรองรับโครงสร้างพื้นฐานใน อนาคต เพราะจัดทำพร้อมกันทั้ง 3 จังหวัด ให้เชื่อมต่อกันจึงวางโครงสร้างพื้นฐาน ให้เหมาะสมต่อการใช้พื้นที่ ซึ่งประชาชนและเอกชนจะรู้แนวทางการพัฒนาที่ชัดเจน
"การลงพื้นที่ได้อธิบายจุดเด่น รวมทั้ง การปรับตัว เพื่อรองรับแผนผังอีอีซี โดยไม่เพียงบอกว่าในพื้นที่จะใช้ประโยชน์ด้านใดบ้าง แต่กำหนดชัดเจนว่าโครงสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานที่จะเข้ามามีอะไรบ้าง เพื่อให้ท้องถิ่นปรับตัวรองรับประโยชน์ ที่จะเกิดขึ้น รวมทั้งภาคธุรกิจจะรู้ว่าควรเข้าไป ตั้งธุรกิจอะไรบ้างที่เหมาะสมกับพื้นที่ ซึ่งผังเมืองทั่วไปไม่ได้ลงรายละเอียดนี้"
นอกจากนี้ กรมโยธาธิการและผังเมือง จะนำแผนผังอีอีซีมาทำผังเมืองจังหวัด และอำเภอ โดยจะลงรายละเอียดโครงสร้างสาธารณูปโภคที่จะเข้ามาในพื้นที่ รวมทั้ง ทำประกาศแนบท้ายผังเมืองกำหนดรายละเอียด ในรูปแบบ Negative list คือ กำหนดธุรกิจหรืออุตสาหกรรมที่ห้ามในพื้นที่ เพื่อให้ธุรกิจ ที่มาลงทุนไม่กระทบชุมชน ซึ่งส่วนใหญ่จะห้าม อุตสาหกรรมหนักที่มีมลภาวะสูงที่ไม่ได้ อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมที่อีอีซีส่งเสริม
ยืนยันผังเมืองไม่กระทบชุมชน
"อุตสาหกรรมที่ได้รับการส่งเสริมในอีอีซี จะเป็นอุตสาหกรรมสมัยใหม่ใช้เทคโนโลยีสูง ปล่อยมลพิษต่ำมาก เช่น ยานยนต์สมัยใหม่ อุปกรณ์การแพทย์ หุ่นยนต์ อากาศยาน อุตสาหกรรมชีวภาพ จึงมั่นใจว่าแผนผังอีอีซีจะไม่ส่งผลกระทบสิ่งแวดล้อมและชุมชน"
สำหรับ แผนผังอีอีซี จะรองรับการ ขยายตัวของเขตเมืองอีก 20 ปี ใน 3 จังหวัด ได้แก่ ชลบุรี ระยองและฉะเชิงเทรา ครอบคลุม 8.29 ล้านไร่ รองรับประชากร 6 ล้านคนเศษ กำหนดพื้นที่ 4 กลุ่ม 11 ประเภท เช่น 1.กลุ่มพัฒนาเมืองและชุมชน พื้นที่ 1.096 ล้านไร่ คิดเป็น 13.23% ของพื้นที่ทั้งหมด โดย แบ่งเป็นประเภทศูนย์กลางพาณิชยกรรม (สีแดง) ประเภทชุมชนเมือง (สีส้ม) ประเภทรองรับการพัฒนาเมือง (สีส้มอ่อนมีจุดขาว) และพื้นที่ประเภทเขตส่งเสริมพิเศษเพื่อกิจการพิเศษ (สีน้ำตาล)
2.กลุ่มพื้นที่พัฒนาอุตสาหกรรม 424,854 ไร่คิดเป็นพื้นที่ 5.12% กำหนดให้รวมกลุ่มเป็นคลัสเตอร์ เพื่อให้ควบคุมและบริหารจัดการได้ง่าย กำหนดระยะห่าง จากพื้นที่ป่าไม้ ไม่น้อยกว่า 1 กิโลเมตร จากแม่น้ำลำคลอง ห่างจากพื้นที่ชายฝั่งทะเลไม่น้อยกว่า 500 เมตร แบ่งเป็นประเภท เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษเพื่ออุตสาหกรรมเป้าหมายพิเศษ (สีม่วง) เขต และพื้นที่ประเภทพัฒนาอุตสาหกรรม (สีม่วงอ่อนมีจุดขาว)
3.กลุ่มพื้นที่ชนบทและเกษตรกรรม 4.85 ล้านไร่ แบ่งเป็นที่ดินประเภทชุมชนชนบท (สีเหลืองอ่อน) โดยเป็นพื้นที่ชุมชนและเศรษฐกิจชุมชน ที่ดินประเภทส่งเสริมเกษตรกรรม (สีเขียวอ่อน) ส่วนที่ดินประเภท ที่พระราชกฤษฎีกากำหนดให้เป็นเขต ปฏิรูปที่ดิน (สีเหลืองมีเส้นทแยงสีเขียว) มีพื้นที่คงเดิมรวม 1.66 ล้านไร่ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ด้านตะวันออกของอีอีซี
แผนผังการใช้ประโยชน์ในที่ดินและแผนผังการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภคเขตพัฒนาพิเศษ ภาคตะวันออก (แผนผังอีอีซี) ประกาศใช้ เมื่อวันที่ 9 ธ.ค.2562 ซึ่งถือเป็นแผนผัง ที่ครอบคลุมการใช้ประโยชน์ที่ดินลักษณะต่างๆ ในอีอีซี
นายชยพล ธิติศักดิ์ อธิบดีกรมโยธาธิการ และผังเมือง เปิดเผยว่า เมื่อแผนผังการใช้ประโยชน์ที่ดินอีอีซีประกาศออกมาแล้ว ขณะนี้กรมโยธาฯ อยู่ระหว่างดำเนินการจัดทำ ร่างผังเมืองอำเภอ ซึ่งเป็นผังเมืองที่จะลงรายละเอียดเพิ่มขึ้นจากแผนผังอีอีซี โดย จะจัดทำทั้งหมด 30 ผังเมือง ครอบคลุม 30 อำเภอ แบ่งเป็น 1.จังหวัดชลบุรี 11 อำเภอ 2.จังหวัดฉะเชิงเทรา 11 อำเภอ 3.จังหวัดระยอง 8 อำเภอ ซึ่งดำเนินการตามขั้นตอนจัดทำผังเมืองตาม พ.ร.บ.ผังเมือง พ.ศ.2562 โดยจะรับฟังความเห็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้ความเห็นชอบ
สำหรับแผนผังอีอีซีจะเป็นกรอบใหญ่ในการใช้ที่ดินอีอีซีในการใช้ประโยชน์ที่ดิน 6 ด้าน คือ 1.แผนผังการใช้ประโยชน์ที่ดิน 2.แผนผังระบบสาธารณูปโภค ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และระบบการควบคุมและขจัดมลภาวะ 3.แผนผังระบบคมนาคมและขนส่ง 4.แผนผังระบบการ ตั้งถิ่นฐานและภูมิสังคม 5.แผนผังระบบบริหารจัดการน้ำ 6.แผนผังระบบป้องกันอุบัติภัย
ทั้งนี้ ผังเมือง 30 อำเภอก็จะจัดทำตามแนวทางการที่แผนผังอีอีซีกำหนดแนวทางการใช้ประโยชน์ที่ดินทั้ง 6 ด้านดังกล่าว โดยจะลงรายละเอียดการใช้ที่ดินในระดับอำเภอ อาจจะเสร็จพร้อมกันและประกาศใช้ ในปี 2565 ซึ่งถือเป็นการจัดทำผังเมืองรูปแบบ ใหม่ที่ทำแผนผังการใช้ประโยชน์ที่ดิน ทุกด้านก่อนแล้วมาลงรายละเอียด เพื่อรองรับการพัฒนาเชิงใน 3 จังหวัด จนถึงปี 2580
"แผนผังอีอีซีที่ประกาศออกมาได้ยกเลิกผังเมืองเดิมของทั้ง 3 จังหวัด แต่ระหว่างที่ผังเมือง 30 อำเภอ ยังไม่ออกมา จะไม่มีผลกระทบต่อการใช้ประโยชน์ที่ดิน เพราะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) สามารถอนุญาตใช้ประโยชน์ที่ดินตามที่แผนผังอีอีซีกำหนดได้ โดยกรมโยธาธิการและผังเมือง ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการ นโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ได้สัมมนาทำความเข้าใจการ บังคับใช้แผนผังอีอีซีครบแล้วทั้ง 3 จังหวัด เพื่อให้ทุกฝ่ายเข้าใจ"
นายชยพล กล่าวว่า เมื่อแผนผังอีอีซี กำหนดลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดิน ในแต่ละพื้นที่ไว้แล้ว ผู้ประกอบการที่ต้องการ พัฒนาพื้นที่ เช่น นิคมอุตสาหกรรม ก็สามารถ ดำเนินการขออนุญาตดำเนินการได้เลย หากในแผนผังอีอีซีกำหนดให้เป็นพื้นที่สีม่วง หรือที่ดินประเภทพัฒนาอุตสาหกรรม ซึ่งทำให้การจัดทำผังเมือง 30 อำเภอ ไม่เป็นอุปสรรคกับการพัฒนาธุรกิจ
สกพอ.เร่งทำความเข้าใจผังอีอีซี
แหล่งข่าวจาก สกพอ.กล่าวว่า หลังประกาศ ใช้แผนผังอีอีซีแล้ว สกพอ.ได้ลงพื้นที่เพื่ออธิบายรายละเอียดและผลประโยชน์ที่ประชาชนและท้องถิ่นจะได้รับ โดยจุดเด่นของแผนผังนี้ได้กำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อรองรับโครงสร้างพื้นฐานใน อนาคต เพราะจัดทำพร้อมกันทั้ง 3 จังหวัด ให้เชื่อมต่อกันจึงวางโครงสร้างพื้นฐาน ให้เหมาะสมต่อการใช้พื้นที่ ซึ่งประชาชนและเอกชนจะรู้แนวทางการพัฒนาที่ชัดเจน
"การลงพื้นที่ได้อธิบายจุดเด่น รวมทั้ง การปรับตัว เพื่อรองรับแผนผังอีอีซี โดยไม่เพียงบอกว่าในพื้นที่จะใช้ประโยชน์ด้านใดบ้าง แต่กำหนดชัดเจนว่าโครงสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานที่จะเข้ามามีอะไรบ้าง เพื่อให้ท้องถิ่นปรับตัวรองรับประโยชน์ ที่จะเกิดขึ้น รวมทั้งภาคธุรกิจจะรู้ว่าควรเข้าไป ตั้งธุรกิจอะไรบ้างที่เหมาะสมกับพื้นที่ ซึ่งผังเมืองทั่วไปไม่ได้ลงรายละเอียดนี้"
นอกจากนี้ กรมโยธาธิการและผังเมือง จะนำแผนผังอีอีซีมาทำผังเมืองจังหวัด และอำเภอ โดยจะลงรายละเอียดโครงสร้างสาธารณูปโภคที่จะเข้ามาในพื้นที่ รวมทั้ง ทำประกาศแนบท้ายผังเมืองกำหนดรายละเอียด ในรูปแบบ Negative list คือ กำหนดธุรกิจหรืออุตสาหกรรมที่ห้ามในพื้นที่ เพื่อให้ธุรกิจ ที่มาลงทุนไม่กระทบชุมชน ซึ่งส่วนใหญ่จะห้าม อุตสาหกรรมหนักที่มีมลภาวะสูงที่ไม่ได้ อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมที่อีอีซีส่งเสริม
ยืนยันผังเมืองไม่กระทบชุมชน
"อุตสาหกรรมที่ได้รับการส่งเสริมในอีอีซี จะเป็นอุตสาหกรรมสมัยใหม่ใช้เทคโนโลยีสูง ปล่อยมลพิษต่ำมาก เช่น ยานยนต์สมัยใหม่ อุปกรณ์การแพทย์ หุ่นยนต์ อากาศยาน อุตสาหกรรมชีวภาพ จึงมั่นใจว่าแผนผังอีอีซีจะไม่ส่งผลกระทบสิ่งแวดล้อมและชุมชน"
สำหรับ แผนผังอีอีซี จะรองรับการ ขยายตัวของเขตเมืองอีก 20 ปี ใน 3 จังหวัด ได้แก่ ชลบุรี ระยองและฉะเชิงเทรา ครอบคลุม 8.29 ล้านไร่ รองรับประชากร 6 ล้านคนเศษ กำหนดพื้นที่ 4 กลุ่ม 11 ประเภท เช่น 1.กลุ่มพัฒนาเมืองและชุมชน พื้นที่ 1.096 ล้านไร่ คิดเป็น 13.23% ของพื้นที่ทั้งหมด โดย แบ่งเป็นประเภทศูนย์กลางพาณิชยกรรม (สีแดง) ประเภทชุมชนเมือง (สีส้ม) ประเภทรองรับการพัฒนาเมือง (สีส้มอ่อนมีจุดขาว) และพื้นที่ประเภทเขตส่งเสริมพิเศษเพื่อกิจการพิเศษ (สีน้ำตาล)
2.กลุ่มพื้นที่พัฒนาอุตสาหกรรม 424,854 ไร่คิดเป็นพื้นที่ 5.12% กำหนดให้รวมกลุ่มเป็นคลัสเตอร์ เพื่อให้ควบคุมและบริหารจัดการได้ง่าย กำหนดระยะห่าง จากพื้นที่ป่าไม้ ไม่น้อยกว่า 1 กิโลเมตร จากแม่น้ำลำคลอง ห่างจากพื้นที่ชายฝั่งทะเลไม่น้อยกว่า 500 เมตร แบ่งเป็นประเภท เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษเพื่ออุตสาหกรรมเป้าหมายพิเศษ (สีม่วง) เขต และพื้นที่ประเภทพัฒนาอุตสาหกรรม (สีม่วงอ่อนมีจุดขาว)
3.กลุ่มพื้นที่ชนบทและเกษตรกรรม 4.85 ล้านไร่ แบ่งเป็นที่ดินประเภทชุมชนชนบท (สีเหลืองอ่อน) โดยเป็นพื้นที่ชุมชนและเศรษฐกิจชุมชน ที่ดินประเภทส่งเสริมเกษตรกรรม (สีเขียวอ่อน) ส่วนที่ดินประเภท ที่พระราชกฤษฎีกากำหนดให้เป็นเขต ปฏิรูปที่ดิน (สีเหลืองมีเส้นทแยงสีเขียว) มีพื้นที่คงเดิมรวม 1.66 ล้านไร่ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ด้านตะวันออกของอีอีซี
ข่าวเขตเศรษฐกิจพิเศษ อื่นๆ