คอลัมน์ พร็อพเพอร์ตีโฟกัส: บ้านไม่เกินล้านบาท พยุงตลาด 9 เดือนแรก
วันที่ : 11 ธันวาคม 2562
ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ประเมินความต้องการที่อยู่อาศัยช่วงครึ่งหลังปี 2562 จากฐานข้อมูลการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัย พบว่าภาพรวมทั่วประเทศในช่วงไตรมาส 3 ปี 2562 มีหน่วยการโอนกรรมสิทธิ์จำนวน 101,704 หน่วย เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 11.1%
jeamjit.s@than-multimedia.com
ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ประเมินความต้องการที่อยู่อาศัยช่วงครึ่งหลังปี 2562 จากฐานข้อมูลการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัย พบว่าภาพรวมทั่วประเทศในช่วงไตรมาส 3 ปี 2562 มีหน่วยการโอนกรรมสิทธิ์จำนวน 101,704 หน่วย เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 11.1% มีมูลค่ารวม 227,793 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2561 เท่ากับ 12.4% เป็นผลส่วนหนึ่งจากการโอนคอนโดมิเนียมราคาต่ำกว่า 1 ล้านบาท ซึ่งมีจำนวนมากถึง 16,179 หน่วย อยู่ในพื้นที่ในพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล รวม 13,984 หน่วย
ขณะที่ภาพโดยรวมมีการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยทุกประเภททุกระดับราคาในพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล รวม 53,936 หน่วย หรือคิดเป็น 53% เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2561 ถึง 10.9% เป็นการโอนกรรมสิทธิ์ในภูมิภาค 47,768 หน่วย คิดเป็น 47.0% หรือเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2561 ประมาณ 13%
ด้านมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ภาพรวมทั่วประเทศช่วง 9 เดือนแรกปีนี้ มีมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ 227,793 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2561 เท่ากับ 12.4% เป็นมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ในพื้นที่กรุงเทพฯปริมณฑล 146,827 ล้านบาท คิดเป็น 64.5% และโดยเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2561 อยู่ที่ 9.6% เป็นการโอนกรรมสิทธิ์ในภูมิภาค 80,966 ล้านบาท คิดเป็น 35.5% เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2561 ประมาณ 17.8%
สำหรับอุปทานใหม่ที่จะเข้ามาในตลาดปี 2562 คาดว่าจะมีการปรับตัวในช่วงครึ่งหลังปี 2562 เมื่อพิจารณาจากไตรมาส 3 ปี 2562 ประมาณการว่าจะมีการเปิดขายโครงการใหม่ประมาณ 20,000 หน่วย ถ้าเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2561 ซึ่งมีการเปิดตัวโครงการใหม่ประมาณ 40,000 หน่วย จะเห็นถึงการปรับตัวลดลงสอดคล้องกับสถานการณ์ตลาดที่ชะลอตัว และเมื่อพิจารณาจากเส้นค่าเฉลี่ยของการเปิดตัวโครงการใหม่แต่ละไตรมาส จะเห็นว่าค่าเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 20,000 - 30,000 หน่วย และคาดการณ์ว่าไตรมาส 4 ปี 2562 จะมีโครงการเปิดขายใหม่ไม่น้อยกว่า 44,000 หน่วย แสดงว่าเอกชนเริ่มกลับเข้ามามีความมั่นใจอีกครั้ง
ด้านความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยจะมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยสำคัญคืออัตราดอกเบี้ยขาลง และมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ของรัฐบาล ทั้งการลดค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์และค่าจดจำนอง รวมถึง "โครงการบ้านดีมีดาวน์" ส่งผลให้อุปทานในตลาดจะถูกทยอยดูดซับ โดยในปี 2563 ผู้ประกอบการยังคงต้องให้ความสำคัญกับการบริหารสินค้าที่อยู่อาศัยที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างและที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จรอการขาย (Inventory) เพื่อให้อุปทานไม่ค้างอยู่มากเกินไป ซึ่งภาพรวมทั่วประเทศครึ่งแรกปี 2563 คาดว่าจะมีที่อยู่อาศัยเหลือขายประมาณ 245,371 หน่วย
ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ประเมินความต้องการที่อยู่อาศัยช่วงครึ่งหลังปี 2562 จากฐานข้อมูลการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัย พบว่าภาพรวมทั่วประเทศในช่วงไตรมาส 3 ปี 2562 มีหน่วยการโอนกรรมสิทธิ์จำนวน 101,704 หน่วย เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 11.1% มีมูลค่ารวม 227,793 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2561 เท่ากับ 12.4% เป็นผลส่วนหนึ่งจากการโอนคอนโดมิเนียมราคาต่ำกว่า 1 ล้านบาท ซึ่งมีจำนวนมากถึง 16,179 หน่วย อยู่ในพื้นที่ในพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล รวม 13,984 หน่วย
ขณะที่ภาพโดยรวมมีการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยทุกประเภททุกระดับราคาในพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล รวม 53,936 หน่วย หรือคิดเป็น 53% เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2561 ถึง 10.9% เป็นการโอนกรรมสิทธิ์ในภูมิภาค 47,768 หน่วย คิดเป็น 47.0% หรือเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2561 ประมาณ 13%
ด้านมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ภาพรวมทั่วประเทศช่วง 9 เดือนแรกปีนี้ มีมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ 227,793 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2561 เท่ากับ 12.4% เป็นมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ในพื้นที่กรุงเทพฯปริมณฑล 146,827 ล้านบาท คิดเป็น 64.5% และโดยเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2561 อยู่ที่ 9.6% เป็นการโอนกรรมสิทธิ์ในภูมิภาค 80,966 ล้านบาท คิดเป็น 35.5% เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2561 ประมาณ 17.8%
สำหรับอุปทานใหม่ที่จะเข้ามาในตลาดปี 2562 คาดว่าจะมีการปรับตัวในช่วงครึ่งหลังปี 2562 เมื่อพิจารณาจากไตรมาส 3 ปี 2562 ประมาณการว่าจะมีการเปิดขายโครงการใหม่ประมาณ 20,000 หน่วย ถ้าเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2561 ซึ่งมีการเปิดตัวโครงการใหม่ประมาณ 40,000 หน่วย จะเห็นถึงการปรับตัวลดลงสอดคล้องกับสถานการณ์ตลาดที่ชะลอตัว และเมื่อพิจารณาจากเส้นค่าเฉลี่ยของการเปิดตัวโครงการใหม่แต่ละไตรมาส จะเห็นว่าค่าเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 20,000 - 30,000 หน่วย และคาดการณ์ว่าไตรมาส 4 ปี 2562 จะมีโครงการเปิดขายใหม่ไม่น้อยกว่า 44,000 หน่วย แสดงว่าเอกชนเริ่มกลับเข้ามามีความมั่นใจอีกครั้ง
ด้านความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยจะมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยสำคัญคืออัตราดอกเบี้ยขาลง และมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ของรัฐบาล ทั้งการลดค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์และค่าจดจำนอง รวมถึง "โครงการบ้านดีมีดาวน์" ส่งผลให้อุปทานในตลาดจะถูกทยอยดูดซับ โดยในปี 2563 ผู้ประกอบการยังคงต้องให้ความสำคัญกับการบริหารสินค้าที่อยู่อาศัยที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างและที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จรอการขาย (Inventory) เพื่อให้อุปทานไม่ค้างอยู่มากเกินไป ซึ่งภาพรวมทั่วประเทศครึ่งแรกปี 2563 คาดว่าจะมีที่อยู่อาศัยเหลือขายประมาณ 245,371 หน่วย
ข่าว reic จากสื่อสิ่งพิมพ์ อื่นๆ