กาฬสินธุ์ คึกคัก!ข้าวเปลือกเหนียวขายตันละ1.5หมื่น
วันที่ : 29 พฤศจิกายน 2562
จากนั้น นายวิชัย โภชนกิจ อธิบดีกรมการค้าภายใน (คน.) ให้สัมภาษณ์ถึงผลการประชุมว่า ครั้งนี้มีตัวแทนจากสมาคมโรงสี สมาคมชาวนา กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ร่วมประชุม โดยที่ประชุมคาดการณ์ว่าราคาข้าวเปลือก โดยเฉพาะข้าวหอมมะลิและข้าวเหนียวจะมีราคาเพิ่มสูงกว่าราคาประกันรายได้ เนื่องจากปัญหาทั้งภัยแล้งและน้ำท่วมกระทบต่อผลผลิตลดลง ซึ่งขณะนี้ราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงข้าวเปลือกเหนียวมีราคาสูงขึ้น ที่ 16,186.25 บาทต่อตัน
ชาวนากาฬสินธุ์แห่ขายข้าวเปลือกเหนียวคึกคัก ราคาพุ่ง ตันละ 1.5 หมื่น
คน.ชี้ราคาข้าวแนวโน้มขยับเพิ่ม
เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน ที่กระทรวงพาณิชย์มีการประชุมคณะอนุกรรมการกำกับดูแลและกำหนดเกณฑ์อ้างอิง โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ครั้งที่ 5/2562
จากนั้น นายวิชัย โภชนกิจ อธิบดีกรมการค้าภายใน (คน.) ให้สัมภาษณ์ถึงผลการประชุมว่า ครั้งนี้มีตัวแทนจากสมาคมโรงสี สมาคมชาวนา กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ร่วมประชุม โดยที่ประชุมคาดการณ์ว่าราคาข้าวเปลือก โดยเฉพาะข้าวหอมมะลิและข้าวเหนียวจะมีราคาเพิ่มสูงกว่าราคาประกันรายได้ เนื่องจากปัญหาทั้งภัยแล้งและน้ำท่วมกระทบต่อผลผลิตลดลง ซึ่งขณะนี้ราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงข้าวเปลือกเหนียวมีราคาสูงขึ้น ที่ 16,186.25 บาทต่อตัน สูงกว่าราคาประกันรายได้ที่ 12,000 บาทต่อตัน รัฐบาลจึงไม่ต้องจ่ายชดเชย ขณะที่ข้าวเปลือกเจ้า ราคาเกณฑ์กลางอยู่ที่ 7,446.61 บาทต่อตัน ต่ำกว่าราคาประกันรายได้กำหนดที่ 10,000 บาทต่อตัน จึงจ่ายชดเชย 2,553.39 บาทต่อตัน ส่วนข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ราคาเกณฑ์กลางอยู่ที่ 9,404.32 บาทต่อตัน ต่ำกว่าราคาประกันกำหนดไว้ 11,000 บาทต่อตัน จึงจ่ายชดเชยที่ 1,595.68 บาทต่อตัน "ที่น่าเป็นห่วงคือน้ำในเขื่อนน้อยอาจกระทบต่อผลผลิตข้าวเปลือกเจ้านาปรังปี 2563 ที่ปกติมีผลผลิต 8 ล้านตัน อาจเหลือ 3.5 ล้านตัน หรือหายไป 50% ซึ่งจะทำให้ข้าวเปลือกทั้งปี 2563 มีข้าวเปลือกออกสู่ตลาดเหลือ 27-28 ล้านตัน จากปกติ 32-34 ล้านตัน จะมีผลต่อราคาข้าวเปลือกและข้าวสารจากนี้มีราคาสูงขึ้น และอาจส่งผลต่อราคาข้าวในประเทศขยับสูงด้วย" นายวิชัยกล่าว
กาฬสินธุ์ข้าวเหนียวตันละ1.5หมื่น
ด้านความเคลื่อนไหวของราคาข้าวเปลือก ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศการรับซื้อข้าวเปลือกที่ตลาดกลางข้าวและพืชไร่ อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์ เป็นไปอย่างคึกคัก มีเกษตรกรนำข้าวเปลือกที่ผ่านการตากแห้งมาขายจำนวนมาก โดยเฉพาะเกษตรกรที่ปลูกข้าวเหนียว ที่ข้าวเปลือกเหนียวมีราคาสูงตันละ 15,000 บาท
นายธนพล ธรรมโนขจิต ผู้จัดการตลาดกลางข้าวและพืชไร่ จ.กาฬสินธุ์ กล่าวว่า ช่วงนี้การรับซื้อข้าวเปลือกใกล้เข้าสู่ในช่วงปลายฤดูกาลแล้ว แต่บรรยากาศยังคงคึกคัก โดยข้าวเปลือกเหนียวมีราคาเพิ่มสูงขึ้นเป็นตันละ 12,500-13,000 บาท ส่วนข้าวเปลือกเหนียวความชื้นไม่เกิน 15% รับซื้ออยู่ที่ตันละ 14,500-15,000 บาท แตกต่างจากราคาการรับซื้อเมื่อปี 2561 ที่ผ่านมา ซึ่งราคาข้าวเปลือกเหนียวสูงสุดอยู่ที่ตันละ 12,000 บาทเท่านั้น
"ส่วนราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลิปีนี้ต่ำลงมาเล็กน้อย โดยข้าวเปลือกหอมมะลิสด ตันละ 11,500-12,000 บาท และข้าวเปลือกหอมมะลิแห้งความชื้นไม่เกิน 15% ตันละ 14,500-15,000 บาท จากปีที่แล้วอยู่ที่ตันละ 15,000 บาท สาเหตุเกิดจากค่าเงินบาทของไทยแข็ง ทำให้การส่งออกลำบาก ส่วนสาเหตุที่ราคาข้าวเหนียวปีนี้สูงขึ้นจากปีที่แล้วถึงตันละ 15,000 บาท ปัจจัยหลักคือหลายพื้นที่ประสบปัญหาภัยแล้งและเก็บเกี่ยวผลผลิตไม่ได้" นายธนพลกล่าว
เชื่อรัฐช่วยอสังหาฯโต5-7%
นายชาญกฤช เดชวิทักษ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี (ปฏิบัติงานกระทรวงการคลัง) เปิดเผยว่า สถานการณ์ของภาคอสังหาริมทรัพย์ในช่วงสุดท้ายของปีนี้น่าจะรับผลดีจากมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ของกระทรวงการคลัง ซึ่งมีหลายมาตรการ เช่น โครงการบ้านในฝันรับปีใหม่ มาตรการกระตุ้นลดค่าโอนและจดจำนองเหลือ 0.01% และสินเชื่อจากธนาคาร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) วงเงิน 5 หมื่นล้านบาท อัตราดอกเบี้ย 2.5% คงที่ 3 ปีแล้ว ธนาคารออมสินออกสินเชื่อบ้านผ่อนต่ำ ล้านละ 10 บาท วงเงิน 2.5 หมื่นล้านบาท รวมถึงธนาคารพาณิชย์อื่นๆ ลดดอกเบี้ยเงินกู้อสังหาริมทรัพย์ลงเหลือประมาณ 2.5-3% ล่าสุดรัฐบาลมีโครงการบ้านดีมีดาวน์ สนับสนุนเงินเพื่อลดภาระการผ่อนดาวน์ (Cash Back) 5 หมื่นบาทต่อราย สำหรับผู้ที่มีรายได้ไม่เกิน 1 แสนบาทต่อเดือน และจำกัดไว้เพียง 1 แสนราย
นายชาญกฤชกล่าวว่า มาตรการทั้งหมดข้างต้นน่าจะช่วยกระตุ้นยอดขายของกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ในช่วงที่เหลือของปีให้เป็นไปตามที่เคยประเมินไว้ก่อนหน้านี้ 3.5 หมื่นยูนิต และคาดว่าจะช่วยทำให้ภาคอสังหาริมทรัพย์ในปีหน้าขยายตัว 5-7% เมื่อกลุ่มอสังหาฯได้รับผลดีทำให้ธุรกิจต่อเนื่องดีขึ้นไปด้วย ซึ่งส่งผลดีต่อการจ้างงาน โดยยืนยันมาตรการที่ออกมานั้นไม่ได้เอื้อต่อกลุ่มนายทุน แต่เป็นการมองภาพเศรษฐกิจในภาพรวมที่ยังมีปัญหาและรัฐบาลต้องเข้าไปช่วย
"มาตรการด้านอสังหาฯ ถือว่ารัฐบาลให้แบบสุดสุดแล้ว ทั้งช่วยค่าผ่อนดาวน์ ค่าโอน ลดดอกเบี้ยให้ เป็นโอกาสให้คนที่อยากมีบ้าน และกำลังตัดสินใจ เร่งตัดสินใจให้เร็วขึ้น ซึ่งโครงการบ้านดีมีดาวน์ และสินเชื่อจากธนาคารออมสินออกมาเพื่อช่วยเหลือบ้านราคาสูงกว่า 3 ล้านบาท จึงไม่ได้กำหนดราคาบ้านเหมือนกับมาตรการโอนและจดจำนอง และสินเชื่อ ธอส. กำหนดราคาบ้านไม่เกิน 3 ล้านบาท" นายชาญกฤชกล่าว
ทีดีอาร์ไอชี้มาตรการปลุกศก.สั้นๆ
นายนณริฏ พิศลยบุตร นักวิชาการอาวุโส สถาบันเพื่อการวิจัยและพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า มาตรการกระตุ้นอสังหาฯของภาครัฐที่ออกมาเป็นมาตรการกระตุ้นในระยะสั้น เพราะหากออกแพคเกจช่วยกระตุ้นการบริโภคได้ดี ผู้ประกอบการคงทำออกมาเองตั้งแต่แรก จึงเชื่อว่าแม้มาตรการต่างๆ จะสามารถประคองได้บ้าง แต่ก็คงจะประคองได้ไม่นานนัก โดยส่วนตัวให้ความสำคัญกับมาตรการในระยะยาวมากกว่า เพราะต้องบอกว่าปัจจุบันกฎเกณฑ์ของมาตรการคุมสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ (แอลทีวี) หรือมาตรการควบคุมการปล่อยสินเชื่อ โดยกำหนดอัตราส่วนหนี้สินต่อรายได้ (ดีเอสอาร์) ถือว่ามาถูกทางแล้ว เม็ดเงินที่ได้จะถูกใช้ในการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ ทำให้การพัฒนาในด้านต่างๆ ต่อไปควรจะเป็นด้านโครงสร้างพื้นฐาน หรืออินฟราสตรัคเจอร์ต่างๆ ผู้ประกอบการภาคอสังหาฯก็จะเข้ามาสนับสนุนอย่างเต็มที่ เพราะหากมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในด้านใดขึ้น อสังหาฯจะเกิดขึ้นในละแวกนั้นเพิ่มตามไปด้วย
นายนณริฏกล่าวว่า จากสถิติในช่วงที่ผ่านมา หลังจากเกิดวิกฤตเศรษฐกิจขึ้น พบว่าตั้งแต่ปี 2541-2551 ภาค อสังหาฯไทยเติบโตขึ้น 6.3% จีดีพีโตเฉลี่ย 4.8% ประชากรโต 1.48% ต่อมาตั้งแต่ปี 2553-2561 อสังหาฯไทยโต 3.8% จีดีพีเฉลี่ยโต 3.7% ประชากรโต 0.14% สะท้อนให้เห็นว่าการเติบโตของอสังหาฯไทย เติบโตภายใต้โครงสร้างพื้นฐาน ที่มีความสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจและอัตราการเจริญเติบโตของประชากร ทำให้ในปี 2562-2571 คาดการณ์ว่าประชากรจะโตติดลบ 0.57% ทำให้กลุ่มเป้าหมายที่มีศักยภาพในการซื้ออสังหาฯจะลดลง ส่วนจีดีพี จะโต 2.1-3.7% ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าภาครัฐจะประสบความสำเร็จในการผลักดันเศรษฐกิจในประเทศให้เติบโตได้ดีมากน้อยเท่าใด ทำให้อสังหาฯในอีก 10 ปีข้างหน้าจะโตเพียง 1.5-3.0%
บ้านดีมีดาวน์กระตุ้นศก.ไม่มาก
นายวิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เปิดเผยว่า มาตรการด้านเศรษฐกิจของรัฐบาลในโครงการบ้านดีมีดาวน์ ที่ช่วยลดภาระการซื้อที่อยู่อาศัยผ่านการช่วยเหลือค่าผ่อนดาวน์ จะช่วยกระตุ้นให้มีการตัดสินใจซื้อบ้านง่ายมากขึ้นจากการช่วยลดภาระค่าผ่อนดาวน์ได้ส่วนหนึ่งและจะเร่งให้มีการโอนกรรมสิทธิ์ โดยบ้าน 2 ล้านบาท ดาวน์ไม่เกิน 10% หรือ 200,000 บาท หากเป็นบ้านหลังที่สอง ดาวน์ 20% หรือ 400,000 บาท การได้ส่วนลด 50,000 บาท สามารถนำมาเป็นค่าตกแต่งหรือค่าผ่อนบ้านได้ แต่ผลต่อเศรษฐกิจปีนี้อาจจะไม่มากนัก เพราะเหลือระยะเวลาประมาณ 1 เดือนก่อนจะสิ้นปี และต้องมีการกู้ขอสินเชื่อและได้รับการอนุมัติสินเชื่อก่อน ซึ่งจุดนี้อาจจะเป็นข้อจำกัดจุดหนึ่งหากผู้กู้มีภาระหนี้มากอาจจะได้รับการอนุมัติสินเชื่อน้อยหรือไม่ผ่านการอนุมัติ แต่การที่ใช้ฐานลูกค้าที่ผู้ที่อยู่ในระบบฐานภาษีอากรของกรมสรรพากรอาจจะมีโอกาสได้รับการอนุมัติง่ายเพราะมีหลักฐานรายได้ชัดเจน ไม่ได้เป็น กลุ่มอาชีพอิสระที่รายได้ไม่ชัดเจน
นายวิชัยกล่าวว่า มาตรการด้านอสังหาริมทรัพย์ของรัฐบาลที่ออกมา ทั้งมาตรการลดค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์และจดจำนองอสังหาริมทรัพย์เหลือ 0.01% และบ้านดีมีดาวน์ จะช่วยระบายสต๊อกสินค้าอสังหาริมทรัพย์ได้ โดยปัจจุบันศูนย์ข้อมูลคาดมีจำนวนยูนิตคงค้างในตลาดทั่วประเทศรวม 270,000 ยูนิต เฉลี่ยยูนิตละ 2.5-3.0 ล้านบาท มูลค่าราว 675,000-810,000 ล้านบาท แบ่งเป็นกรุงเทพฯและปริมณฑล 150,000 ยูนิต ต่างจังหวัด 120,000 ยูนิต คาดว่าจะมีการระบายออกไปในปีนี้ราว 12,000-15,000 ยูนิต และคาดจะระบายในช่วงครึ่งปีแรก 2563 ราว 30,000-40,000 ยูนิต และครึ่งปีหลังในระดับใกล้เคียงกัน อย่างไรก็ตาม ยูนิตที่เหลือคงค้างในตลาดอสังหาริมทรัพย์อาจจะต้องรอประเมินอีกครั้งเนื่องจากจะมียูนิตใหม่เข้ามาในตลาดเพิ่มเติมจากการพัฒนาโครงการเพิ่มขึ้นของผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์
ระบายสต๊อกท้ายปี1.77แสนยูนิต
รายงานข่าวจากศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินผลโครงการบ้านดีมีดาวน์ ว่าถือเป็นปัจจัยบวกท่ามกลางตลาดที่ยังต้องเผชิญกับความท้าทาย จะช่วยหนุนด้านการตลาดของผู้ประกอบการที่อยู่อาศัยในการที่จะทำแคมเปญกระตุ้นการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยในช่วงโค้งสุดท้ายของปีนี้ และก่อให้เกิดเม็ดเงินหมุนเวียนไปยังห่วงโซ่ของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อื่นๆ รวมถึงช่วยแบ่งเบาภาระรายจ่ายของผู้ซื้อที่อยู่อาศัย ซึ่งผู้ซื้อสามารถนำเงินไปผ่อนชำระที่อยู่อาศัยหรือใช้จ่ายเพื่อการอื่นได้ นับเป็นผลด้านบวกต่อตลาดที่อยู่อาศัย อย่างไรก็ดี เนื่องจากโครงการนี้ ผู้ที่จะได้รับเงินสนับสนุนจะต้องผ่านการอนุมัติสินเชื่อจากสถาบันการเงิน ซึ่งขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของผู้ขอสินเชื่อ ภาระหนี้ครัวเรือน ภาวะรายได้และการมีงานทำ รวมถึงคุณสมบัติต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนด โดยในช่วงโค้งสุดท้ายของปีนี้ ผู้ประกอบการคงจะให้น้ำหนักในการทำตลาดระบายที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จรอขายออกไประดับหนึ่ง คาดว่าโครงการที่อยู่อาศัยเปิดใหม่ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลในปีนี้ จะมีจำนวนประมาณ 105,000 หน่วย ติดลบ 16% จากปี 2561 ทั้งนี้ เหลือเวลาไม่นานก็จะจบปี 2562 คาดว่าการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลทั้งปี 2562 น่าจะขยับไปอยู่ที่ประมาณ 177,000 ยูนิต หรือติดลบประมาณ 10.0% จากกิจกรรมที่ชะลอลงในช่วงเวลาส่วนใหญ่ของปีนี้ จึงถือว่าเป็นภาพที่ดีขึ้น
ดัชนีอุตฯต.ค.หดตัวแรง8.45%
นายอดิทัต วะสีนนท์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (เอ็มพีไอ) เดือนตุลาคม 2562 อยู่ที่ระดับ 95.70 หดตัว 8.45% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนอยู่ที่ระดับ 104.54 หดตัวต่ำกว่าคาดการณ์เนื่องจากการหยุดซ่อมบำรุงของโรงกลั่นน้ำมัน 2 แห่ง สงครามการค้าระหว่างจีน-สหรัฐที่ยืดเยื้อมานาน 2 ปีแล้ว ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกและการค้าโลกที่ชะลอตัวต่อเนื่อง ประกอบกับค่าเงินบาที่แข็งค่าทำให้การผลิตอุตสาหกรรมเพื่อส่งออกหดตัว อัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ 62.83% ส่งผลให้ภาพรวมดัชนีเอ็มพีไอปีนี้คาดว่าจะหดตัว 3.8% และผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) ภาคอุตสาหกรรมคาดหดตัว 1.2% หดตัวต่ำกว่าเดือนสิงหาคม 2562 คาดการณ์ไว้ที่ 0-1% ส่วนแนวโน้มภาคอุตสาหกรรมปี 2563 ประเมินว่าจะมีปัจจัยบวกจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล นักลงทุนจากจีนย้ายสายการผลิตเข้ามาลงทุนในไทย และเทียบกับฐานปีนี้ที่ค่อนข้างต่ำ จึงคาดการณ์ปี 2563 เอ็มพีไอขยายตัว 2-3% และจีดีพีภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ 1.5-2.5% อย่างไรก็ตาม หากจำลองสถานการณ์การผลิตของโรงกลั่นน้ำมัน 2 แห่งที่ปิดซ่อมบำรุงให้มีการดำเนินการผลิตได้เท่ากับเดือนก่อนหน้า ดัชนีเอ็มพีไอเดือนตุลาคมจะหดตัวลงเพียง 5.77%
นายอดิทัตกล่าวว่า สำหรับแนวโน้มอุตสาหกรรมที่จะขยายตัวในปีหน้า อาทิ อุตสาหกรรมอาหารจากความต้องการบริโภคของต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นในตลาดหลักรองรับอานิสงส์ของญี่ปุ่นที่จะเป็นเจ้าภาพการจัดแข่งขันกีฬาโอลิมปิกครั้งที่ 32 และตลาดจีนที่มีคำสั่งซื้อไก่สดแช่เย็นแช่แข็งเพิ่มขึ้น อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่เริ่มมีสัญญาณฟื้นตัว แนวโน้มอุตสาหกรรมรถยนต์มีแนวโน้มทรงตัว อุตสาหกรรรมปิโตรเคมีขยายตัวเล็กน้อยจากราคาและสถานการณ์การส่งออกที่ได้รับแรงกดดันจากสงครามการค้า อุตสาหกรรมผลิตภัณ์ฑยางขยายตัวตามแนวโน้มการขยายตัวของตลาดต่างประเทศ อุตสาหกรรมพลาสติก และอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ขยายตัว เล็กน้อย
จับตาปี63หลายปัจจัยเสี่ยงรุมเร้า
นายอดิทัตกล่าวว่า อย่างไรก็ตาม ปีหน้ายังคงต้องติดตามปัจจัยเสี่ยงจากเศรษฐกิจโลกที่ยังคงชะลอตัว ทิศทางการแข็งค่าของเงินบาท ผลความคืบหน้ากรณีสหรัฐตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (จีเอสพี) ไทย และผลกระทบจากสงครามการค้าระหว่างจีน-สหรัฐที่ยังไม่มีข้อยุติ
"สศอ.มีข้อเสนอและแนวทางรองรับสถานการณ์ในระยะสั้นให้มีการเร่งรัดเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐ กำหนดสัดส่วนการใช้วัตถุดิบในประเทศสำหรับโครงการลงทุนภาครัฐ เสริมสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการเพื่อบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจ และดูแลสถานการณ์ค่าเงินเพื่อให้สินค้าและบริการของไทยแข่งขันได้ในตลาดโลก ส่วนในระยะกลางควรเร่งผลักดันการลงทุนในอุตสาหกรรมศักยภาพ ยกระดับเทคโนโลยีและนวัตกรรม พัฒนาทักษะแรงงาน หามาตรการจูงใจให้ผู้ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนลงทุนจริง" นายอดิทัตกล่าว
คน.ชี้ราคาข้าวแนวโน้มขยับเพิ่ม
เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน ที่กระทรวงพาณิชย์มีการประชุมคณะอนุกรรมการกำกับดูแลและกำหนดเกณฑ์อ้างอิง โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ครั้งที่ 5/2562
จากนั้น นายวิชัย โภชนกิจ อธิบดีกรมการค้าภายใน (คน.) ให้สัมภาษณ์ถึงผลการประชุมว่า ครั้งนี้มีตัวแทนจากสมาคมโรงสี สมาคมชาวนา กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ร่วมประชุม โดยที่ประชุมคาดการณ์ว่าราคาข้าวเปลือก โดยเฉพาะข้าวหอมมะลิและข้าวเหนียวจะมีราคาเพิ่มสูงกว่าราคาประกันรายได้ เนื่องจากปัญหาทั้งภัยแล้งและน้ำท่วมกระทบต่อผลผลิตลดลง ซึ่งขณะนี้ราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงข้าวเปลือกเหนียวมีราคาสูงขึ้น ที่ 16,186.25 บาทต่อตัน สูงกว่าราคาประกันรายได้ที่ 12,000 บาทต่อตัน รัฐบาลจึงไม่ต้องจ่ายชดเชย ขณะที่ข้าวเปลือกเจ้า ราคาเกณฑ์กลางอยู่ที่ 7,446.61 บาทต่อตัน ต่ำกว่าราคาประกันรายได้กำหนดที่ 10,000 บาทต่อตัน จึงจ่ายชดเชย 2,553.39 บาทต่อตัน ส่วนข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ราคาเกณฑ์กลางอยู่ที่ 9,404.32 บาทต่อตัน ต่ำกว่าราคาประกันกำหนดไว้ 11,000 บาทต่อตัน จึงจ่ายชดเชยที่ 1,595.68 บาทต่อตัน "ที่น่าเป็นห่วงคือน้ำในเขื่อนน้อยอาจกระทบต่อผลผลิตข้าวเปลือกเจ้านาปรังปี 2563 ที่ปกติมีผลผลิต 8 ล้านตัน อาจเหลือ 3.5 ล้านตัน หรือหายไป 50% ซึ่งจะทำให้ข้าวเปลือกทั้งปี 2563 มีข้าวเปลือกออกสู่ตลาดเหลือ 27-28 ล้านตัน จากปกติ 32-34 ล้านตัน จะมีผลต่อราคาข้าวเปลือกและข้าวสารจากนี้มีราคาสูงขึ้น และอาจส่งผลต่อราคาข้าวในประเทศขยับสูงด้วย" นายวิชัยกล่าว
กาฬสินธุ์ข้าวเหนียวตันละ1.5หมื่น
ด้านความเคลื่อนไหวของราคาข้าวเปลือก ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศการรับซื้อข้าวเปลือกที่ตลาดกลางข้าวและพืชไร่ อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์ เป็นไปอย่างคึกคัก มีเกษตรกรนำข้าวเปลือกที่ผ่านการตากแห้งมาขายจำนวนมาก โดยเฉพาะเกษตรกรที่ปลูกข้าวเหนียว ที่ข้าวเปลือกเหนียวมีราคาสูงตันละ 15,000 บาท
นายธนพล ธรรมโนขจิต ผู้จัดการตลาดกลางข้าวและพืชไร่ จ.กาฬสินธุ์ กล่าวว่า ช่วงนี้การรับซื้อข้าวเปลือกใกล้เข้าสู่ในช่วงปลายฤดูกาลแล้ว แต่บรรยากาศยังคงคึกคัก โดยข้าวเปลือกเหนียวมีราคาเพิ่มสูงขึ้นเป็นตันละ 12,500-13,000 บาท ส่วนข้าวเปลือกเหนียวความชื้นไม่เกิน 15% รับซื้ออยู่ที่ตันละ 14,500-15,000 บาท แตกต่างจากราคาการรับซื้อเมื่อปี 2561 ที่ผ่านมา ซึ่งราคาข้าวเปลือกเหนียวสูงสุดอยู่ที่ตันละ 12,000 บาทเท่านั้น
"ส่วนราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลิปีนี้ต่ำลงมาเล็กน้อย โดยข้าวเปลือกหอมมะลิสด ตันละ 11,500-12,000 บาท และข้าวเปลือกหอมมะลิแห้งความชื้นไม่เกิน 15% ตันละ 14,500-15,000 บาท จากปีที่แล้วอยู่ที่ตันละ 15,000 บาท สาเหตุเกิดจากค่าเงินบาทของไทยแข็ง ทำให้การส่งออกลำบาก ส่วนสาเหตุที่ราคาข้าวเหนียวปีนี้สูงขึ้นจากปีที่แล้วถึงตันละ 15,000 บาท ปัจจัยหลักคือหลายพื้นที่ประสบปัญหาภัยแล้งและเก็บเกี่ยวผลผลิตไม่ได้" นายธนพลกล่าว
เชื่อรัฐช่วยอสังหาฯโต5-7%
นายชาญกฤช เดชวิทักษ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี (ปฏิบัติงานกระทรวงการคลัง) เปิดเผยว่า สถานการณ์ของภาคอสังหาริมทรัพย์ในช่วงสุดท้ายของปีนี้น่าจะรับผลดีจากมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ของกระทรวงการคลัง ซึ่งมีหลายมาตรการ เช่น โครงการบ้านในฝันรับปีใหม่ มาตรการกระตุ้นลดค่าโอนและจดจำนองเหลือ 0.01% และสินเชื่อจากธนาคาร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) วงเงิน 5 หมื่นล้านบาท อัตราดอกเบี้ย 2.5% คงที่ 3 ปีแล้ว ธนาคารออมสินออกสินเชื่อบ้านผ่อนต่ำ ล้านละ 10 บาท วงเงิน 2.5 หมื่นล้านบาท รวมถึงธนาคารพาณิชย์อื่นๆ ลดดอกเบี้ยเงินกู้อสังหาริมทรัพย์ลงเหลือประมาณ 2.5-3% ล่าสุดรัฐบาลมีโครงการบ้านดีมีดาวน์ สนับสนุนเงินเพื่อลดภาระการผ่อนดาวน์ (Cash Back) 5 หมื่นบาทต่อราย สำหรับผู้ที่มีรายได้ไม่เกิน 1 แสนบาทต่อเดือน และจำกัดไว้เพียง 1 แสนราย
นายชาญกฤชกล่าวว่า มาตรการทั้งหมดข้างต้นน่าจะช่วยกระตุ้นยอดขายของกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ในช่วงที่เหลือของปีให้เป็นไปตามที่เคยประเมินไว้ก่อนหน้านี้ 3.5 หมื่นยูนิต และคาดว่าจะช่วยทำให้ภาคอสังหาริมทรัพย์ในปีหน้าขยายตัว 5-7% เมื่อกลุ่มอสังหาฯได้รับผลดีทำให้ธุรกิจต่อเนื่องดีขึ้นไปด้วย ซึ่งส่งผลดีต่อการจ้างงาน โดยยืนยันมาตรการที่ออกมานั้นไม่ได้เอื้อต่อกลุ่มนายทุน แต่เป็นการมองภาพเศรษฐกิจในภาพรวมที่ยังมีปัญหาและรัฐบาลต้องเข้าไปช่วย
"มาตรการด้านอสังหาฯ ถือว่ารัฐบาลให้แบบสุดสุดแล้ว ทั้งช่วยค่าผ่อนดาวน์ ค่าโอน ลดดอกเบี้ยให้ เป็นโอกาสให้คนที่อยากมีบ้าน และกำลังตัดสินใจ เร่งตัดสินใจให้เร็วขึ้น ซึ่งโครงการบ้านดีมีดาวน์ และสินเชื่อจากธนาคารออมสินออกมาเพื่อช่วยเหลือบ้านราคาสูงกว่า 3 ล้านบาท จึงไม่ได้กำหนดราคาบ้านเหมือนกับมาตรการโอนและจดจำนอง และสินเชื่อ ธอส. กำหนดราคาบ้านไม่เกิน 3 ล้านบาท" นายชาญกฤชกล่าว
ทีดีอาร์ไอชี้มาตรการปลุกศก.สั้นๆ
นายนณริฏ พิศลยบุตร นักวิชาการอาวุโส สถาบันเพื่อการวิจัยและพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า มาตรการกระตุ้นอสังหาฯของภาครัฐที่ออกมาเป็นมาตรการกระตุ้นในระยะสั้น เพราะหากออกแพคเกจช่วยกระตุ้นการบริโภคได้ดี ผู้ประกอบการคงทำออกมาเองตั้งแต่แรก จึงเชื่อว่าแม้มาตรการต่างๆ จะสามารถประคองได้บ้าง แต่ก็คงจะประคองได้ไม่นานนัก โดยส่วนตัวให้ความสำคัญกับมาตรการในระยะยาวมากกว่า เพราะต้องบอกว่าปัจจุบันกฎเกณฑ์ของมาตรการคุมสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ (แอลทีวี) หรือมาตรการควบคุมการปล่อยสินเชื่อ โดยกำหนดอัตราส่วนหนี้สินต่อรายได้ (ดีเอสอาร์) ถือว่ามาถูกทางแล้ว เม็ดเงินที่ได้จะถูกใช้ในการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ ทำให้การพัฒนาในด้านต่างๆ ต่อไปควรจะเป็นด้านโครงสร้างพื้นฐาน หรืออินฟราสตรัคเจอร์ต่างๆ ผู้ประกอบการภาคอสังหาฯก็จะเข้ามาสนับสนุนอย่างเต็มที่ เพราะหากมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในด้านใดขึ้น อสังหาฯจะเกิดขึ้นในละแวกนั้นเพิ่มตามไปด้วย
นายนณริฏกล่าวว่า จากสถิติในช่วงที่ผ่านมา หลังจากเกิดวิกฤตเศรษฐกิจขึ้น พบว่าตั้งแต่ปี 2541-2551 ภาค อสังหาฯไทยเติบโตขึ้น 6.3% จีดีพีโตเฉลี่ย 4.8% ประชากรโต 1.48% ต่อมาตั้งแต่ปี 2553-2561 อสังหาฯไทยโต 3.8% จีดีพีเฉลี่ยโต 3.7% ประชากรโต 0.14% สะท้อนให้เห็นว่าการเติบโตของอสังหาฯไทย เติบโตภายใต้โครงสร้างพื้นฐาน ที่มีความสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจและอัตราการเจริญเติบโตของประชากร ทำให้ในปี 2562-2571 คาดการณ์ว่าประชากรจะโตติดลบ 0.57% ทำให้กลุ่มเป้าหมายที่มีศักยภาพในการซื้ออสังหาฯจะลดลง ส่วนจีดีพี จะโต 2.1-3.7% ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าภาครัฐจะประสบความสำเร็จในการผลักดันเศรษฐกิจในประเทศให้เติบโตได้ดีมากน้อยเท่าใด ทำให้อสังหาฯในอีก 10 ปีข้างหน้าจะโตเพียง 1.5-3.0%
บ้านดีมีดาวน์กระตุ้นศก.ไม่มาก
นายวิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เปิดเผยว่า มาตรการด้านเศรษฐกิจของรัฐบาลในโครงการบ้านดีมีดาวน์ ที่ช่วยลดภาระการซื้อที่อยู่อาศัยผ่านการช่วยเหลือค่าผ่อนดาวน์ จะช่วยกระตุ้นให้มีการตัดสินใจซื้อบ้านง่ายมากขึ้นจากการช่วยลดภาระค่าผ่อนดาวน์ได้ส่วนหนึ่งและจะเร่งให้มีการโอนกรรมสิทธิ์ โดยบ้าน 2 ล้านบาท ดาวน์ไม่เกิน 10% หรือ 200,000 บาท หากเป็นบ้านหลังที่สอง ดาวน์ 20% หรือ 400,000 บาท การได้ส่วนลด 50,000 บาท สามารถนำมาเป็นค่าตกแต่งหรือค่าผ่อนบ้านได้ แต่ผลต่อเศรษฐกิจปีนี้อาจจะไม่มากนัก เพราะเหลือระยะเวลาประมาณ 1 เดือนก่อนจะสิ้นปี และต้องมีการกู้ขอสินเชื่อและได้รับการอนุมัติสินเชื่อก่อน ซึ่งจุดนี้อาจจะเป็นข้อจำกัดจุดหนึ่งหากผู้กู้มีภาระหนี้มากอาจจะได้รับการอนุมัติสินเชื่อน้อยหรือไม่ผ่านการอนุมัติ แต่การที่ใช้ฐานลูกค้าที่ผู้ที่อยู่ในระบบฐานภาษีอากรของกรมสรรพากรอาจจะมีโอกาสได้รับการอนุมัติง่ายเพราะมีหลักฐานรายได้ชัดเจน ไม่ได้เป็น กลุ่มอาชีพอิสระที่รายได้ไม่ชัดเจน
นายวิชัยกล่าวว่า มาตรการด้านอสังหาริมทรัพย์ของรัฐบาลที่ออกมา ทั้งมาตรการลดค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์และจดจำนองอสังหาริมทรัพย์เหลือ 0.01% และบ้านดีมีดาวน์ จะช่วยระบายสต๊อกสินค้าอสังหาริมทรัพย์ได้ โดยปัจจุบันศูนย์ข้อมูลคาดมีจำนวนยูนิตคงค้างในตลาดทั่วประเทศรวม 270,000 ยูนิต เฉลี่ยยูนิตละ 2.5-3.0 ล้านบาท มูลค่าราว 675,000-810,000 ล้านบาท แบ่งเป็นกรุงเทพฯและปริมณฑล 150,000 ยูนิต ต่างจังหวัด 120,000 ยูนิต คาดว่าจะมีการระบายออกไปในปีนี้ราว 12,000-15,000 ยูนิต และคาดจะระบายในช่วงครึ่งปีแรก 2563 ราว 30,000-40,000 ยูนิต และครึ่งปีหลังในระดับใกล้เคียงกัน อย่างไรก็ตาม ยูนิตที่เหลือคงค้างในตลาดอสังหาริมทรัพย์อาจจะต้องรอประเมินอีกครั้งเนื่องจากจะมียูนิตใหม่เข้ามาในตลาดเพิ่มเติมจากการพัฒนาโครงการเพิ่มขึ้นของผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์
ระบายสต๊อกท้ายปี1.77แสนยูนิต
รายงานข่าวจากศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินผลโครงการบ้านดีมีดาวน์ ว่าถือเป็นปัจจัยบวกท่ามกลางตลาดที่ยังต้องเผชิญกับความท้าทาย จะช่วยหนุนด้านการตลาดของผู้ประกอบการที่อยู่อาศัยในการที่จะทำแคมเปญกระตุ้นการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยในช่วงโค้งสุดท้ายของปีนี้ และก่อให้เกิดเม็ดเงินหมุนเวียนไปยังห่วงโซ่ของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อื่นๆ รวมถึงช่วยแบ่งเบาภาระรายจ่ายของผู้ซื้อที่อยู่อาศัย ซึ่งผู้ซื้อสามารถนำเงินไปผ่อนชำระที่อยู่อาศัยหรือใช้จ่ายเพื่อการอื่นได้ นับเป็นผลด้านบวกต่อตลาดที่อยู่อาศัย อย่างไรก็ดี เนื่องจากโครงการนี้ ผู้ที่จะได้รับเงินสนับสนุนจะต้องผ่านการอนุมัติสินเชื่อจากสถาบันการเงิน ซึ่งขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของผู้ขอสินเชื่อ ภาระหนี้ครัวเรือน ภาวะรายได้และการมีงานทำ รวมถึงคุณสมบัติต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนด โดยในช่วงโค้งสุดท้ายของปีนี้ ผู้ประกอบการคงจะให้น้ำหนักในการทำตลาดระบายที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จรอขายออกไประดับหนึ่ง คาดว่าโครงการที่อยู่อาศัยเปิดใหม่ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลในปีนี้ จะมีจำนวนประมาณ 105,000 หน่วย ติดลบ 16% จากปี 2561 ทั้งนี้ เหลือเวลาไม่นานก็จะจบปี 2562 คาดว่าการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลทั้งปี 2562 น่าจะขยับไปอยู่ที่ประมาณ 177,000 ยูนิต หรือติดลบประมาณ 10.0% จากกิจกรรมที่ชะลอลงในช่วงเวลาส่วนใหญ่ของปีนี้ จึงถือว่าเป็นภาพที่ดีขึ้น
ดัชนีอุตฯต.ค.หดตัวแรง8.45%
นายอดิทัต วะสีนนท์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (เอ็มพีไอ) เดือนตุลาคม 2562 อยู่ที่ระดับ 95.70 หดตัว 8.45% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนอยู่ที่ระดับ 104.54 หดตัวต่ำกว่าคาดการณ์เนื่องจากการหยุดซ่อมบำรุงของโรงกลั่นน้ำมัน 2 แห่ง สงครามการค้าระหว่างจีน-สหรัฐที่ยืดเยื้อมานาน 2 ปีแล้ว ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกและการค้าโลกที่ชะลอตัวต่อเนื่อง ประกอบกับค่าเงินบาที่แข็งค่าทำให้การผลิตอุตสาหกรรมเพื่อส่งออกหดตัว อัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ 62.83% ส่งผลให้ภาพรวมดัชนีเอ็มพีไอปีนี้คาดว่าจะหดตัว 3.8% และผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) ภาคอุตสาหกรรมคาดหดตัว 1.2% หดตัวต่ำกว่าเดือนสิงหาคม 2562 คาดการณ์ไว้ที่ 0-1% ส่วนแนวโน้มภาคอุตสาหกรรมปี 2563 ประเมินว่าจะมีปัจจัยบวกจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล นักลงทุนจากจีนย้ายสายการผลิตเข้ามาลงทุนในไทย และเทียบกับฐานปีนี้ที่ค่อนข้างต่ำ จึงคาดการณ์ปี 2563 เอ็มพีไอขยายตัว 2-3% และจีดีพีภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ 1.5-2.5% อย่างไรก็ตาม หากจำลองสถานการณ์การผลิตของโรงกลั่นน้ำมัน 2 แห่งที่ปิดซ่อมบำรุงให้มีการดำเนินการผลิตได้เท่ากับเดือนก่อนหน้า ดัชนีเอ็มพีไอเดือนตุลาคมจะหดตัวลงเพียง 5.77%
นายอดิทัตกล่าวว่า สำหรับแนวโน้มอุตสาหกรรมที่จะขยายตัวในปีหน้า อาทิ อุตสาหกรรมอาหารจากความต้องการบริโภคของต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นในตลาดหลักรองรับอานิสงส์ของญี่ปุ่นที่จะเป็นเจ้าภาพการจัดแข่งขันกีฬาโอลิมปิกครั้งที่ 32 และตลาดจีนที่มีคำสั่งซื้อไก่สดแช่เย็นแช่แข็งเพิ่มขึ้น อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่เริ่มมีสัญญาณฟื้นตัว แนวโน้มอุตสาหกรรมรถยนต์มีแนวโน้มทรงตัว อุตสาหกรรรมปิโตรเคมีขยายตัวเล็กน้อยจากราคาและสถานการณ์การส่งออกที่ได้รับแรงกดดันจากสงครามการค้า อุตสาหกรรมผลิตภัณ์ฑยางขยายตัวตามแนวโน้มการขยายตัวของตลาดต่างประเทศ อุตสาหกรรมพลาสติก และอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ขยายตัว เล็กน้อย
จับตาปี63หลายปัจจัยเสี่ยงรุมเร้า
นายอดิทัตกล่าวว่า อย่างไรก็ตาม ปีหน้ายังคงต้องติดตามปัจจัยเสี่ยงจากเศรษฐกิจโลกที่ยังคงชะลอตัว ทิศทางการแข็งค่าของเงินบาท ผลความคืบหน้ากรณีสหรัฐตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (จีเอสพี) ไทย และผลกระทบจากสงครามการค้าระหว่างจีน-สหรัฐที่ยังไม่มีข้อยุติ
"สศอ.มีข้อเสนอและแนวทางรองรับสถานการณ์ในระยะสั้นให้มีการเร่งรัดเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐ กำหนดสัดส่วนการใช้วัตถุดิบในประเทศสำหรับโครงการลงทุนภาครัฐ เสริมสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการเพื่อบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจ และดูแลสถานการณ์ค่าเงินเพื่อให้สินค้าและบริการของไทยแข่งขันได้ในตลาดโลก ส่วนในระยะกลางควรเร่งผลักดันการลงทุนในอุตสาหกรรมศักยภาพ ยกระดับเทคโนโลยีและนวัตกรรม พัฒนาทักษะแรงงาน หามาตรการจูงใจให้ผู้ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนลงทุนจริง" นายอดิทัตกล่าว
ข่าว reic จากสื่อสิ่งพิมพ์ อื่นๆ