ครม.ปลุกชีพตลาดอสังหาฯ แจกเงินดาวน์บ้าน 5หมื่น
วันที่ : 27 พฤศจิกายน 2562
ครม.ไฟเขียวมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจปลายปี 62 ใช้งบ 3.5 หมื่นล้าน คาดเงินลงระบบเศรษฐกิจ 1.4 แสนล้านบาท ช่วยค่าดาวน์บ้าน 5 หมื่นบาท "คลัง"คาดพยุงจีดีพีปีนี้ได้ 2.6% ภาคอสังหาฯ ยิ้มรับมาตรการรัฐ ชี้เป็นการช่วยตรงจุด คาดตลาดเริ่มฟื้นไตรมาส 2 ปีหน้า
ครม.ไฟเขียวมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจปลายปี 62 ใช้งบ 3.5 หมื่นล้าน คาดเงินลงระบบเศรษฐกิจ 1.4 แสนล้านบาท ช่วยค่าดาวน์บ้าน 5 หมื่นบาท "คลัง"คาดพยุงจีดีพีปีนี้ได้ 2.6% ภาคอสังหาฯ ยิ้มรับมาตรการรัฐ ชี้เป็นการช่วยตรงจุด คาดตลาดเริ่มฟื้นไตรมาส 2 ปีหน้า
คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงปลายปี 2562 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ โดยภายหลังจากที่ข้อมูลเศรษฐกิจของประเทศไทยในปี 2562 ยังคงขยายตัว ได้ต่ำกว่าที่คาดไว้ และมีความเสี่ยงจากภาวะเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอนภายนอกประเทศ ซึ่งอาจส่งผล กระทบต่อเศรษฐกิจได้ในระยะต่อไป ครม.จึงอนุมัติมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจในช่วงปลายปี 2562 จนถึงต้นปี 2563
นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า มาตรการดังกล่าวประกอบด้วย 3 มาตรการ คือ 1.โครงการเพิ่มความเข้มแข็งเศรษฐกิจฐานราก ประกอบด้วยการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานระดับหมู่บ้าน โดยจัดสรรเงินทุนให้กับกองทุนหมู่บ้าน 71,742 แห่ง แห่งละไม่เกิน 200,000 บาท วงเงิน 14,348 ล้านบาท โครงการสินเชื่อธุรกิจชุมชนสร้างไทย โดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สนับสนุนสินเชื่อ 50,000 ล้านบาท และโครงการพักชำระหนี้สมาชิกกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองตามความสมัครใจ 1 ปี
2.มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ผ่านโครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว ปีการผลิต 2562/63 เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้เกษตรกร โดยจะได้เงินช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าวไร่ละ 500 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 10,000 บาท
แคชแบ็คซื้อบ้าน5หมื่นบาท
3.มาตรการลดภาระการซื้อที่อยู่อาศัย ภายใต้โครงการ "บ้านดีมีดาวน์" เพื่อเป็นการลดภาระและสนับสนุนให้ประชาชนทั่วไปมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง โดยภาครัฐสนับสนุนเงินเพื่อลดภาระการผ่อนดาวน์ (Cash Back) 50,000 บาท ต่อราย ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมมาตรการต้องเป็นผู้ที่มีรายได้ไม่เกิน 100,000 บาทต่อเดือน จำนวน 100,000 ราย และผ่านเกณฑ์ ตามแนวทางที่กระทรวงการคลังกำหนด ระยะเวลาโครงการตั้งแต่วันที่ 27 พ.ย. 2562-31 มี.ค.2563
"กระทรวงการคลังคาดว่า มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงปลายปี 2562 จะช่วยกระตุ้น อุปสงค์ภายในประเทศทำให้เศรษฐกิจในไตรมาส 4 เติบโตต่อเนื่องสร้างแรงส่ง ให้เศรษฐกิจในปี 2563 ขยายตัว ช่วยให้จีดีพีปีนี้ขยายตัวได้มากกว่า 2.6% ส่วนจะต้องมีมาตรการอื่นๆเข้ามาเพิ่มเติมหรือไม่ในช่วงที่เหลือของปีนี้หรือช่วงต้นปีหน้าหากมีความจำเป็นก็พร้อมที่จะออกมาตรการเพิ่มเติมได้อีก"
งบหนุนอสังหาฯ5พันล้าน
นายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ ครม.เห็นชอบในครั้งนี้จะใช้งบประมาณรวม 35,833 ล้านบาท โดยได้รับการจัดสรรงบประมาณจากงบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น 5,000 ล้านบาท ส่วนค่าใช้จ่ายสำหรับมาตรการลดภาระการซื้อ ที่อยู่อาศัย ส่วนงบประมาณที่เหลือ ครม.อนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2564 และปีต่อไปในวงเงิน 30,833 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับโครงการสินเชื่อธุรกิจชุมชนสร้างไทย 707 ล้านบาท
โครงการสนับสนุนต้นทุนการผลิต ให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวปีการผลิต 2562/63 ในส่วนเพิ่มเติม 2,667 ล้านบาท โครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยว ปรับปรุงคุณภาพ ข้าวปีการผลิต 2562/63 จำนวน 27,458 ล้านบาท
มาตรการทั้งหมดจะทำให้มีเงินเข้าระบบเศรษฐกิจ 1.44 แสนล้านบาท แบ่งเป็นระยะสั้น 8 หมื่นล้านบาท ระยะกลาง 64,000 ล้านบาท และระยะยาวจากมาตรการ "บ้านดีมีดาวน์" ที่จ่ายเงินดาวน์ให้รวม 5,000 ล้านบาท แต่ส่งผลเท่าใดยังไม่ชัดเจน เพราะราคาบ้านเฉลี่ยหลังละ 3.9 ล้านบาท
ภาคอสังหาฯ ยิ้มรับมาตรการรัฐ
นางสาวอาภา อรรถบูรณ์วงศ์ นายกสมาคมอาคารชุดไทย และประธานกรรมการบริษัท ริชี่ เพลส 2002 จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เป็นมาตรการที่เข้ามาช่วยอสังหาริมทรัพย์ ได้ครบทั้งห่วงโซ่มากขึ้น หลังได้รับผล กระทบจากการคุมเข้มสินเชื่อ (LTV) ทำให้จำนวนที่อยู่อาศัยประเภทคอนโด คงค้าง (ซัพพลาย) ในตลาดมากขึ้น
โดยปีนี้มีคอนโดต่ำกว่า 3 ล้านบาท ซึ่งเป็นสัดส่วนใหญ่กว่า 50% เหลือ 3.5 หมื่นยูนิต ขณะที่ปี 2563 จะมีโครงการที่อยู่อาศัยตัวใหม่เข้ามาอีก 1.4 แสนยูนิต
การที่รัฐทยอยนำมาตรการกระตุ้น อสังหาฯ มาใช้จึงช่วยลดภาระผู้ซื้อได้บางส่วน
ทั้งนี้ มาตรการดังกล่าวออกมาในช่วงปลายปี เป็นช่วง 1 เดือนสุดท้ายก่อนสิ้นปี จึงคาดว่าจะไม่ส่งผลต่อภาพรวมของธุรกิจอสังหาฯ โดยเฉพาะกลุ่มตลาดคอนโด ในปี 2562 ที่คาดว่าจะติดลบ 10% ยังคงติดลบต่อ เพราะผู้บริโภคตัดสินใจซื้อซัพพลายใหม่ วันนี้อาจจะเริ่มทยอยโอนในต้นปีหน้า
ศูนย์ข้อมูลฯชี้มาตรการมาช้า
นายวิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ กล่าวว่า งบประมาณที่เข้ามาช่วยเงินดาวน์จะส่งผลทำให้เกิดแรงจูงใจทำให้คนตัดสินใจซื้อบ้านที่ในกลุ่มตลาดระดับล่างถึงกลาง แตมาตรการนี้ช่วยเพียง 1 แสนราย จึงอาจช่วยไดบางส่วน และเริ่มบังคับใช้ในปลายปี จึงไม่สามารถทำให้การคาดการณ์อสังหาฯ ปี 2562 มีตัวเลขดีขึ้น จึงยืนยันประมาณการเดิมที่คาดว่าจะติดลบ 2.2% และปีหน้าสถานการณ์จึงเริ่มดีขึ้น
"ทำให้คนตัดสินใจได้ง่ายขึ้น เพราะซื้อที่อยู่อาศัยและยังมีเงินเหลือไปใช้จ่ายกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเฉพาะกลุ่มรายได้ปานกลาง หรือที่อยู่อาศัยต่ำกว่า 3 ล้านบาท น่าจะทำสัญญาการโอนฯได้จากเดิมที่ต้องหาเงินดาวน์ตามข้อกำหนดของแบงก์ชาติ"
หวังตลาดฟื้นไตรมาส2ปีหน้า
นายไตรเตชะ ตั้งมติธรรม กรรมการผู้จัดการ บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) หรือ SPALI เปิดเผยว่า จะช่วยให้ตลาดอสังหาฯ ดีขึ้นพอสมควร เพราะเจาะจงไปยังกลุ่มลูกค้าที่มีรายได้ไม่เกิน 100,000 บาทต่อเดือน ซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้าหลัก
ทั้งนี้ ภาพรวมของตลาดอสังหาริมทรัพย์น่าจะเริ่มดีขึ้นอย่างชัดเจนในช่วงไตรมาส 2 ปี 2563 ซึ่งเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมานี้เริ่มได้รับผลกระทบจากมาตรการ LTV
"การให้ส่วนลดถึง 50,000 บาท คิดเป็น 50% ของรายได้ผู้ที่ต้องการซื้อ ทำให้มาตรการนี้น่าจะช่วยได้เยอะ สำหรับแนวโน้มปีหน้าจะเริ่มเห็นการฟื้นตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับปีนี้ เพราะปัจจัยบวกทั้งจากดอกเบี้ยต่ำ และมาตรการที่ออกมากระตุ้น"
นักวิเคราะห์เชื่อแค่พยุงศก.
นายนริศ สถาผลเดชา ผู้บริหาร ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ธนาคารทหารไทย กล่าวว่า มาตรการล่าสุด น่าจะกระตุ้นและช่วยพยุงเศรษฐกิจได้ในระดับหนึ่ง แต่ถ้าจะให้จีดีพีปีนี้ เติบโตที่ 2.6 % เศรษฐกิจไทย ในไตรมาสสุดท้ายปีนี้ควรต้องขยายตัว สูงถึง 2.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือต้องขยายตัว 1.3% เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา ดังนั้นเม็ดเงินที่รัฐบาลอัดฉีดเพิ่มอีก 8 หมื่นล้านบาท อาจจะยังไม่เพียงพอ
"ถ้าจะให้จีดีพีโตได้ 2.6% ไตรมาสสุดท้ายเม็ดเงินในระบบเศรษฐกิจต้องเพิ่มขึ้นถึง 2.3 แสนล้านบาท แต่มาตรการที่รัฐออกมามีเม็ดเงินรวมประมาณ 8 หมื่นล้านบาท จึงอาจยังไม่เพียงพอ และหลายมาตรการอาจยังไม่ส่งผลในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ด้วย เพราะ multplier effect ทางการคลังต้องใช้เวลาหนึ่งถึงสองไตรมาส"
กองทุนชี้เม็ดเงินกระตุ้นน้อยไป
นายพงค์ธาริน ทรัพยานนท์ หัวหน้าฝ่ายตราสารหนี้ บริษัทอเบอร์ดีน สแตนดาร์ด (ประเทศไทย)จำกัด กล่าวว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ภาครัฐออกมาล่าสุด แม้จะมีวงเงินรวมกว่า 8 หมื่นล้านบาท แต่ เม็ดเงินดังกล่าวถือ
"มูลค่าจีดีพีไทยอยู่ที่17 ล้านล้านบาท เม็ดเงินที่ออกมาจึงไม่ได้ช่วยกระตุ้น การเติบโตได้มากนัก เรายังคาดว่าจีดีพีไทยปีนี้น่าจะอยู่ในระดับ 2.5-2.6% ดังนั้น รัฐบาลจึงควรออกมาตรการกระตุ้น เศรษฐกิจที่มีมูลค่าสูง และมีระยะเวลากระตุ้นที่นานขึ้น ทำให้เงินหมุนเวียนเข้าสู่ระบบมากขึ้น"ว่ายังค่อนข้างน้อยจึงไม่น่าจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้มากนัก
คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงปลายปี 2562 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ โดยภายหลังจากที่ข้อมูลเศรษฐกิจของประเทศไทยในปี 2562 ยังคงขยายตัว ได้ต่ำกว่าที่คาดไว้ และมีความเสี่ยงจากภาวะเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอนภายนอกประเทศ ซึ่งอาจส่งผล กระทบต่อเศรษฐกิจได้ในระยะต่อไป ครม.จึงอนุมัติมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจในช่วงปลายปี 2562 จนถึงต้นปี 2563
นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า มาตรการดังกล่าวประกอบด้วย 3 มาตรการ คือ 1.โครงการเพิ่มความเข้มแข็งเศรษฐกิจฐานราก ประกอบด้วยการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานระดับหมู่บ้าน โดยจัดสรรเงินทุนให้กับกองทุนหมู่บ้าน 71,742 แห่ง แห่งละไม่เกิน 200,000 บาท วงเงิน 14,348 ล้านบาท โครงการสินเชื่อธุรกิจชุมชนสร้างไทย โดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สนับสนุนสินเชื่อ 50,000 ล้านบาท และโครงการพักชำระหนี้สมาชิกกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองตามความสมัครใจ 1 ปี
2.มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ผ่านโครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว ปีการผลิต 2562/63 เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้เกษตรกร โดยจะได้เงินช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าวไร่ละ 500 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 10,000 บาท
แคชแบ็คซื้อบ้าน5หมื่นบาท
3.มาตรการลดภาระการซื้อที่อยู่อาศัย ภายใต้โครงการ "บ้านดีมีดาวน์" เพื่อเป็นการลดภาระและสนับสนุนให้ประชาชนทั่วไปมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง โดยภาครัฐสนับสนุนเงินเพื่อลดภาระการผ่อนดาวน์ (Cash Back) 50,000 บาท ต่อราย ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมมาตรการต้องเป็นผู้ที่มีรายได้ไม่เกิน 100,000 บาทต่อเดือน จำนวน 100,000 ราย และผ่านเกณฑ์ ตามแนวทางที่กระทรวงการคลังกำหนด ระยะเวลาโครงการตั้งแต่วันที่ 27 พ.ย. 2562-31 มี.ค.2563
"กระทรวงการคลังคาดว่า มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงปลายปี 2562 จะช่วยกระตุ้น อุปสงค์ภายในประเทศทำให้เศรษฐกิจในไตรมาส 4 เติบโตต่อเนื่องสร้างแรงส่ง ให้เศรษฐกิจในปี 2563 ขยายตัว ช่วยให้จีดีพีปีนี้ขยายตัวได้มากกว่า 2.6% ส่วนจะต้องมีมาตรการอื่นๆเข้ามาเพิ่มเติมหรือไม่ในช่วงที่เหลือของปีนี้หรือช่วงต้นปีหน้าหากมีความจำเป็นก็พร้อมที่จะออกมาตรการเพิ่มเติมได้อีก"
งบหนุนอสังหาฯ5พันล้าน
นายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ ครม.เห็นชอบในครั้งนี้จะใช้งบประมาณรวม 35,833 ล้านบาท โดยได้รับการจัดสรรงบประมาณจากงบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น 5,000 ล้านบาท ส่วนค่าใช้จ่ายสำหรับมาตรการลดภาระการซื้อ ที่อยู่อาศัย ส่วนงบประมาณที่เหลือ ครม.อนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2564 และปีต่อไปในวงเงิน 30,833 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับโครงการสินเชื่อธุรกิจชุมชนสร้างไทย 707 ล้านบาท
โครงการสนับสนุนต้นทุนการผลิต ให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวปีการผลิต 2562/63 ในส่วนเพิ่มเติม 2,667 ล้านบาท โครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยว ปรับปรุงคุณภาพ ข้าวปีการผลิต 2562/63 จำนวน 27,458 ล้านบาท
มาตรการทั้งหมดจะทำให้มีเงินเข้าระบบเศรษฐกิจ 1.44 แสนล้านบาท แบ่งเป็นระยะสั้น 8 หมื่นล้านบาท ระยะกลาง 64,000 ล้านบาท และระยะยาวจากมาตรการ "บ้านดีมีดาวน์" ที่จ่ายเงินดาวน์ให้รวม 5,000 ล้านบาท แต่ส่งผลเท่าใดยังไม่ชัดเจน เพราะราคาบ้านเฉลี่ยหลังละ 3.9 ล้านบาท
ภาคอสังหาฯ ยิ้มรับมาตรการรัฐ
นางสาวอาภา อรรถบูรณ์วงศ์ นายกสมาคมอาคารชุดไทย และประธานกรรมการบริษัท ริชี่ เพลส 2002 จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เป็นมาตรการที่เข้ามาช่วยอสังหาริมทรัพย์ ได้ครบทั้งห่วงโซ่มากขึ้น หลังได้รับผล กระทบจากการคุมเข้มสินเชื่อ (LTV) ทำให้จำนวนที่อยู่อาศัยประเภทคอนโด คงค้าง (ซัพพลาย) ในตลาดมากขึ้น
โดยปีนี้มีคอนโดต่ำกว่า 3 ล้านบาท ซึ่งเป็นสัดส่วนใหญ่กว่า 50% เหลือ 3.5 หมื่นยูนิต ขณะที่ปี 2563 จะมีโครงการที่อยู่อาศัยตัวใหม่เข้ามาอีก 1.4 แสนยูนิต
การที่รัฐทยอยนำมาตรการกระตุ้น อสังหาฯ มาใช้จึงช่วยลดภาระผู้ซื้อได้บางส่วน
ทั้งนี้ มาตรการดังกล่าวออกมาในช่วงปลายปี เป็นช่วง 1 เดือนสุดท้ายก่อนสิ้นปี จึงคาดว่าจะไม่ส่งผลต่อภาพรวมของธุรกิจอสังหาฯ โดยเฉพาะกลุ่มตลาดคอนโด ในปี 2562 ที่คาดว่าจะติดลบ 10% ยังคงติดลบต่อ เพราะผู้บริโภคตัดสินใจซื้อซัพพลายใหม่ วันนี้อาจจะเริ่มทยอยโอนในต้นปีหน้า
ศูนย์ข้อมูลฯชี้มาตรการมาช้า
นายวิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ กล่าวว่า งบประมาณที่เข้ามาช่วยเงินดาวน์จะส่งผลทำให้เกิดแรงจูงใจทำให้คนตัดสินใจซื้อบ้านที่ในกลุ่มตลาดระดับล่างถึงกลาง แตมาตรการนี้ช่วยเพียง 1 แสนราย จึงอาจช่วยไดบางส่วน และเริ่มบังคับใช้ในปลายปี จึงไม่สามารถทำให้การคาดการณ์อสังหาฯ ปี 2562 มีตัวเลขดีขึ้น จึงยืนยันประมาณการเดิมที่คาดว่าจะติดลบ 2.2% และปีหน้าสถานการณ์จึงเริ่มดีขึ้น
"ทำให้คนตัดสินใจได้ง่ายขึ้น เพราะซื้อที่อยู่อาศัยและยังมีเงินเหลือไปใช้จ่ายกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเฉพาะกลุ่มรายได้ปานกลาง หรือที่อยู่อาศัยต่ำกว่า 3 ล้านบาท น่าจะทำสัญญาการโอนฯได้จากเดิมที่ต้องหาเงินดาวน์ตามข้อกำหนดของแบงก์ชาติ"
หวังตลาดฟื้นไตรมาส2ปีหน้า
นายไตรเตชะ ตั้งมติธรรม กรรมการผู้จัดการ บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) หรือ SPALI เปิดเผยว่า จะช่วยให้ตลาดอสังหาฯ ดีขึ้นพอสมควร เพราะเจาะจงไปยังกลุ่มลูกค้าที่มีรายได้ไม่เกิน 100,000 บาทต่อเดือน ซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้าหลัก
ทั้งนี้ ภาพรวมของตลาดอสังหาริมทรัพย์น่าจะเริ่มดีขึ้นอย่างชัดเจนในช่วงไตรมาส 2 ปี 2563 ซึ่งเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมานี้เริ่มได้รับผลกระทบจากมาตรการ LTV
"การให้ส่วนลดถึง 50,000 บาท คิดเป็น 50% ของรายได้ผู้ที่ต้องการซื้อ ทำให้มาตรการนี้น่าจะช่วยได้เยอะ สำหรับแนวโน้มปีหน้าจะเริ่มเห็นการฟื้นตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับปีนี้ เพราะปัจจัยบวกทั้งจากดอกเบี้ยต่ำ และมาตรการที่ออกมากระตุ้น"
นักวิเคราะห์เชื่อแค่พยุงศก.
นายนริศ สถาผลเดชา ผู้บริหาร ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ธนาคารทหารไทย กล่าวว่า มาตรการล่าสุด น่าจะกระตุ้นและช่วยพยุงเศรษฐกิจได้ในระดับหนึ่ง แต่ถ้าจะให้จีดีพีปีนี้ เติบโตที่ 2.6 % เศรษฐกิจไทย ในไตรมาสสุดท้ายปีนี้ควรต้องขยายตัว สูงถึง 2.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือต้องขยายตัว 1.3% เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา ดังนั้นเม็ดเงินที่รัฐบาลอัดฉีดเพิ่มอีก 8 หมื่นล้านบาท อาจจะยังไม่เพียงพอ
"ถ้าจะให้จีดีพีโตได้ 2.6% ไตรมาสสุดท้ายเม็ดเงินในระบบเศรษฐกิจต้องเพิ่มขึ้นถึง 2.3 แสนล้านบาท แต่มาตรการที่รัฐออกมามีเม็ดเงินรวมประมาณ 8 หมื่นล้านบาท จึงอาจยังไม่เพียงพอ และหลายมาตรการอาจยังไม่ส่งผลในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ด้วย เพราะ multplier effect ทางการคลังต้องใช้เวลาหนึ่งถึงสองไตรมาส"
กองทุนชี้เม็ดเงินกระตุ้นน้อยไป
นายพงค์ธาริน ทรัพยานนท์ หัวหน้าฝ่ายตราสารหนี้ บริษัทอเบอร์ดีน สแตนดาร์ด (ประเทศไทย)จำกัด กล่าวว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ภาครัฐออกมาล่าสุด แม้จะมีวงเงินรวมกว่า 8 หมื่นล้านบาท แต่ เม็ดเงินดังกล่าวถือ
"มูลค่าจีดีพีไทยอยู่ที่17 ล้านล้านบาท เม็ดเงินที่ออกมาจึงไม่ได้ช่วยกระตุ้น การเติบโตได้มากนัก เรายังคาดว่าจีดีพีไทยปีนี้น่าจะอยู่ในระดับ 2.5-2.6% ดังนั้น รัฐบาลจึงควรออกมาตรการกระตุ้น เศรษฐกิจที่มีมูลค่าสูง และมีระยะเวลากระตุ้นที่นานขึ้น ทำให้เงินหมุนเวียนเข้าสู่ระบบมากขึ้น"ว่ายังค่อนข้างน้อยจึงไม่น่าจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้มากนัก
ข่าว reic จากสื่อสิ่งพิมพ์ อื่นๆ