อสังหาฯแห่ปรับ บ้านต่ำ3ล้าน รับมาตรการลดโอน-จดจำนอง
วันที่ : 20 พฤศจิกายน 2562
ศูนย์ข้อมูลอสังหาฯเผยยอดเปิดตัวโครงการใหม่ไตรมาส 3 ยังติดลบกว่า 50% ประเมินมาตรการ ลดค่าโอน-จดจำนอง บ้านราคาไม่เกิน 3 ล้าน หนุนระบายสต็อกก่อนสิ้นปี ดันทั้งปีติดลบเหลือ 2.2% จากเดิม ติดลบเกิน 5% ขณะดีเวลลอปเปอร์ แห่รับราคาบ้านต่ำ 3 ล้านรับอานิสงส์
ศูนย์ข้อมูลอสังหาฯเผยยอดเปิดตัวโครงการใหม่ไตรมาส 3 ยังติดลบกว่า 50% ประเมินมาตรการ ลดค่าโอน-จดจำนอง บ้านราคาไม่เกิน 3 ล้าน หนุนระบายสต็อกก่อนสิ้นปี ดันทั้งปีติดลบเหลือ 2.2% จากเดิม ติดลบเกิน 5% ขณะดีเวลลอปเปอร์ แห่รับราคาบ้านต่ำ 3 ล้านรับอานิสงส์
นายวิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เปิดเผยถึงสถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยในไตรมาส 3 ของปีนี้ว่า การเปิดตัวโครงการใหม่ยังปรับตัว ลดลง โดยบ้านจัดสรรเปิดตัว 8,879 ยูนิต ลดลง 57.3% ซึ่งเป็นการ เปิดตัวลดลงต่อเนื่อง 3 ไตรมาส ขณะที่คอนโดมิเนียมเปิดตัว 11,984 ยูนิต ลดลง 56.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
ขณะที่ภาพรวมยอดโอนกรรมสิทธิ์ทั่วประเทศในไตรมาส 3 ปีนี้ มีจำนวน 101,704 ยูนิต เพิ่มขึ้น 11.1% เทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อน ในจำนวนนี้เป็นผลมาจากการโอนคอนโดราคาต่ำกว่า 1 ล้านบาท 16,179 ยูนิต มูลค่า 227,793 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 12.4%
ส่วนภาพรวมการเปิดตัวโครงการใหม่ในไตรมาส 4 ปีนี้ คาดว่า บ้านจัดสรร จะเปิดตัวโครงการใหม่ 14,954 ยูนิต และคอนโดเปิดตัวโครงการใหม่ 29,399 ยูนิต ส่งผลให้ภาพรวมการเปิดตัวโครงการใหม่ทั้งปีอยู่ที่ 112,044 ยูนิต ติดลบ 23.2% เมื่อเทียบกับปีก่อน
เขายังประเมินภาพรวมตลาด ที่อยู่อาศัยสิ้นปีนี้ว่า จะกลับมาดีขึ้นจากที่เคยคาดการณ์ว่าจะติดลบเกิน 5% เหลือติดลบ 2.2% เป็นผลจากมาตรการกระตุ้นตลาดอสังหาฯของภาครัฐ ด้วยการลดค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ และจดจำนองที่อยู่อาศัย เหลือ 0.01% ของราคาประเมิน สำหรับที่อยู่อาศัยราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท ตั้งแต่ 2 พ.ย. ปีนี้ ไปจนถึง 24 ธ.ค.ปีหน้า มีส่วนเพิ่มยอดโอนในไตรมาส 4 ของปีนี้ ที่คาดการณ์ ว่าจะอยู่ที่ 361,696 ยูนิต มูลค่า 820,624 ล้านบาท
นายวิชัย ยังกล่าวถึงแนวโน้มตลาด ที่อยู่อาศัยในปีหน้าว่า จะขยายตัวต่อเนื่อง จากปลายปีนี้ แต่ยังไม่มากนัก คาดว่าทั้งปีจะกลับมาฟื้นตัวเป็นบวก1.5% โดยมียอดโอน 367,000 หน่วย มูลค่า 850,800 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.7%
ขณะที่แนวโน้มที่ซัพพลาย ที่อยู่อาศัยในตลาดเริ่มลดลง โดยในช่วงครึ่งแรกของปีหน้าคาดว่าจะระบาย สต็อกเพิ่มอีก 26,000 ยูนิต และในช่วงครึ่งหลังของปีหน้า จะระบายสต็อก เพิ่มอีก 40,000 ยูนิต ทำให้ทั้งปีมีการระบายสต็อก 66,000 ยูนิต ส่งผลทำให้ภาพรวมการเปิดตัวในปีหน้าเพิ่มขึ้น โดยการเปิดตัวโครงการใหม่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล มี 113,000 ยูนิต เพิ่มขึ้น 1.4%
"ในปีหน้ามีปัจจัยบวกจากมาตรการรัฐ ทำให้สต็อกลดลง ประกอบกับอัตรา ดอกเบี้ยขาลง แต่ก็ยังต้องระมัดระวังปัจจัยเกี่ยวกับมาตรการคุมภาระหนี้ ต่อรายได้สูงสุด (DSR-Debt Service Ratio) ที่ส่งผลต่อการปล่อยสินเชื่อ ของธนาคารเริ่มลดลง ส่งผลต่อภาพรวม ของตลาดทำให้ติดลบ ขณะเดียวกัน ในปีหน้าผู้ประกอบการต้องให้ความ สำคัญกับการบริหาร Inventory และStock เพื่อให้หน่วยเหลือขาย ไม่ค้างมากเกินไป" เขากล่าว
นอกจากนี้ มาตรการรัฐด้วยการลดค่าโอน-จดจำนอง ที่อยู่อาศัยราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท ยังส่งผลผู้ประกอบการปรับรูปแบบที่อยู่อาศัยที่กำลังก่อสร้างในระดับราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาทมากขึ้น จากปัจจุบันที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯและปริมณฑลที่เหลือขาย มีสัดส่วนของ ราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท ประมาณ 50% หรือ 71,646 ยูนิต จาก151,993 ยูนิต คาดว่าปีหน้าสัดส่วนบ้านราคาต่ำกว่า 3 ล้านจะเพิ่มขึ้นมากกว่า 50%
นายวิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เปิดเผยถึงสถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยในไตรมาส 3 ของปีนี้ว่า การเปิดตัวโครงการใหม่ยังปรับตัว ลดลง โดยบ้านจัดสรรเปิดตัว 8,879 ยูนิต ลดลง 57.3% ซึ่งเป็นการ เปิดตัวลดลงต่อเนื่อง 3 ไตรมาส ขณะที่คอนโดมิเนียมเปิดตัว 11,984 ยูนิต ลดลง 56.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
ขณะที่ภาพรวมยอดโอนกรรมสิทธิ์ทั่วประเทศในไตรมาส 3 ปีนี้ มีจำนวน 101,704 ยูนิต เพิ่มขึ้น 11.1% เทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อน ในจำนวนนี้เป็นผลมาจากการโอนคอนโดราคาต่ำกว่า 1 ล้านบาท 16,179 ยูนิต มูลค่า 227,793 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 12.4%
ส่วนภาพรวมการเปิดตัวโครงการใหม่ในไตรมาส 4 ปีนี้ คาดว่า บ้านจัดสรร จะเปิดตัวโครงการใหม่ 14,954 ยูนิต และคอนโดเปิดตัวโครงการใหม่ 29,399 ยูนิต ส่งผลให้ภาพรวมการเปิดตัวโครงการใหม่ทั้งปีอยู่ที่ 112,044 ยูนิต ติดลบ 23.2% เมื่อเทียบกับปีก่อน
เขายังประเมินภาพรวมตลาด ที่อยู่อาศัยสิ้นปีนี้ว่า จะกลับมาดีขึ้นจากที่เคยคาดการณ์ว่าจะติดลบเกิน 5% เหลือติดลบ 2.2% เป็นผลจากมาตรการกระตุ้นตลาดอสังหาฯของภาครัฐ ด้วยการลดค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ และจดจำนองที่อยู่อาศัย เหลือ 0.01% ของราคาประเมิน สำหรับที่อยู่อาศัยราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท ตั้งแต่ 2 พ.ย. ปีนี้ ไปจนถึง 24 ธ.ค.ปีหน้า มีส่วนเพิ่มยอดโอนในไตรมาส 4 ของปีนี้ ที่คาดการณ์ ว่าจะอยู่ที่ 361,696 ยูนิต มูลค่า 820,624 ล้านบาท
นายวิชัย ยังกล่าวถึงแนวโน้มตลาด ที่อยู่อาศัยในปีหน้าว่า จะขยายตัวต่อเนื่อง จากปลายปีนี้ แต่ยังไม่มากนัก คาดว่าทั้งปีจะกลับมาฟื้นตัวเป็นบวก1.5% โดยมียอดโอน 367,000 หน่วย มูลค่า 850,800 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.7%
ขณะที่แนวโน้มที่ซัพพลาย ที่อยู่อาศัยในตลาดเริ่มลดลง โดยในช่วงครึ่งแรกของปีหน้าคาดว่าจะระบาย สต็อกเพิ่มอีก 26,000 ยูนิต และในช่วงครึ่งหลังของปีหน้า จะระบายสต็อก เพิ่มอีก 40,000 ยูนิต ทำให้ทั้งปีมีการระบายสต็อก 66,000 ยูนิต ส่งผลทำให้ภาพรวมการเปิดตัวในปีหน้าเพิ่มขึ้น โดยการเปิดตัวโครงการใหม่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล มี 113,000 ยูนิต เพิ่มขึ้น 1.4%
"ในปีหน้ามีปัจจัยบวกจากมาตรการรัฐ ทำให้สต็อกลดลง ประกอบกับอัตรา ดอกเบี้ยขาลง แต่ก็ยังต้องระมัดระวังปัจจัยเกี่ยวกับมาตรการคุมภาระหนี้ ต่อรายได้สูงสุด (DSR-Debt Service Ratio) ที่ส่งผลต่อการปล่อยสินเชื่อ ของธนาคารเริ่มลดลง ส่งผลต่อภาพรวม ของตลาดทำให้ติดลบ ขณะเดียวกัน ในปีหน้าผู้ประกอบการต้องให้ความ สำคัญกับการบริหาร Inventory และStock เพื่อให้หน่วยเหลือขาย ไม่ค้างมากเกินไป" เขากล่าว
นอกจากนี้ มาตรการรัฐด้วยการลดค่าโอน-จดจำนอง ที่อยู่อาศัยราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท ยังส่งผลผู้ประกอบการปรับรูปแบบที่อยู่อาศัยที่กำลังก่อสร้างในระดับราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาทมากขึ้น จากปัจจุบันที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯและปริมณฑลที่เหลือขาย มีสัดส่วนของ ราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท ประมาณ 50% หรือ 71,646 ยูนิต จาก151,993 ยูนิต คาดว่าปีหน้าสัดส่วนบ้านราคาต่ำกว่า 3 ล้านจะเพิ่มขึ้นมากกว่า 50%
ข่าว reic จากสื่อสิ่งพิมพ์ อื่นๆ