ศูนย์ข้อมูลอสังหาฯ ส่งซิกไม่แข่งทำซัพพลายล้น-ตลาดไปต่อได้
วันที่ : 21 ตุลาคม 2562
LTV พ่นพิษ ศูนย์ข้อมูลอสังหาฯ ชี้เทรนด์ปี'63 ซัพพลายสะสมเขย่าพอร์ตใหม่ แนวราบมี 58% แซงคอนโดฯที่ลดเหลือ 42%
LTV พ่นพิษ ศูนย์ข้อมูลอสังหาฯ ชี้เทรนด์ปี'63 ซัพพลายสะสมเขย่าพอร์ตใหม่ แนวราบมี 58% แซงคอนโดฯที่ลดเหลือ 42%
ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ รักษาการ ผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (REIC) เปิดเผย ในงานสัมมนา "วิเคราะห์ตลาดที่อยู่อาศัยกรุงเทพฯ-ปริมณฑล 2020" เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2562 ว่า ผลสำรวจ ครึ่งปีแรก 2562 มีโครงการอยู่ระหว่างขาย 1,670 โครงการ เพิ่มขึ้น 11.8% จำนวน 152,149 หน่วย เพิ่มขึ้น 15.4% มูลค่าเหลือขาย 669,670 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 28.2% เมื่อเทียบกับครึ่งปีแรก 2561 ที่มีโครงการอยู่ระหว่างขาย 1,494 โครงการ 131,819 หน่วย มูลค่าเหลือขาย 522,436 ล้านบาท
ทั้งนี้ ภาพรวมตลาด สถิติหน่วยเหลือขายสะสมในปี 2561 จำนวน 153,895 หน่วย เป็นบ้านจัดสรร 87,263 หน่วย คอนโดฯ 66,632 หน่วย คาดการณ์หน่วยเหลือขายสะสม ณ สิ้นครึ่งปีแรก 2562 อยู่ที่ 152,149 หน่วย เป็นบ้านจัดสรร 87,180 หน่วย คอนโดฯ 64,969 หน่วย
แนวโน้มซัพพลายเหลือขายปี 2563 คาดว่า กทม.-ปริมณฑลมีหน่วยเหลือขายรวมกัน 152,792 หน่วย สัดส่วนหลักเป็นโครงการแนวราบ 58.3% อยู่ที่ 84,469 หน่วย, คอนโดมิเนียมลดสัดส่วนเหลือ 41.7%
เจาะข้อมูลโครงการแนวราบสัดส่วนรวมกัน 58.3% แบ่งเป็นทาวน์เฮาส์มากสุด 32% บ้านเดี่ยว 16.8% ที่เหลือเป็น บ้านแฝด+อาคารพาณิชย์ 9.5%
"เราเชื่อว่าในปีนี้และปีหน้าซัพพลายน่าจะดรอปมาอยู่ที่ 150,000 หน่วย บนสมมุติฐานที่อัตราดูดซับบ้านจัดสรร 2.8% และคอนโดฯ 4.8% ถือว่า อัตราดูดซับไม่ดีมากนัก ดังนั้น หากซัพพลายใหม่ไม่เกิน 41,000-48,000 หน่วย จะทำให้ซัพพลายสะสมอยู่ใน จุดสมดุลได้โดยที่ยังไม่ได้มีมาตรการ กระตุ้นอสังหาฯจากภาครัฐ" ดร.วิชัย กล่าว
อีกตัวเลขเป็นของ "อัตราดูดซับต่อเดือน" เปรียบเทียบ 5 ปี (2557-ครึ่งปีแรก 2562) ตลาดคอนโดฯในเขต กทม.-ปริมณฑล อยู่ที่ 4.8%
เปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยช่วง 5 ปี ที่ 5.7% สถานการณ์ของครึ่งปีแรกจึงอาจเห็นภาพการชะลอตัวไปบ้าง
แต่ถือว่าไม่ได้น่าวิตกแต่อย่างใด เพราะเป็นภาวะใกล้เคียงกับช่วงปี 2557 ที่อัตราดูดซับไม่ถึง 5%
ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ รักษาการ ผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (REIC) เปิดเผย ในงานสัมมนา "วิเคราะห์ตลาดที่อยู่อาศัยกรุงเทพฯ-ปริมณฑล 2020" เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2562 ว่า ผลสำรวจ ครึ่งปีแรก 2562 มีโครงการอยู่ระหว่างขาย 1,670 โครงการ เพิ่มขึ้น 11.8% จำนวน 152,149 หน่วย เพิ่มขึ้น 15.4% มูลค่าเหลือขาย 669,670 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 28.2% เมื่อเทียบกับครึ่งปีแรก 2561 ที่มีโครงการอยู่ระหว่างขาย 1,494 โครงการ 131,819 หน่วย มูลค่าเหลือขาย 522,436 ล้านบาท
ทั้งนี้ ภาพรวมตลาด สถิติหน่วยเหลือขายสะสมในปี 2561 จำนวน 153,895 หน่วย เป็นบ้านจัดสรร 87,263 หน่วย คอนโดฯ 66,632 หน่วย คาดการณ์หน่วยเหลือขายสะสม ณ สิ้นครึ่งปีแรก 2562 อยู่ที่ 152,149 หน่วย เป็นบ้านจัดสรร 87,180 หน่วย คอนโดฯ 64,969 หน่วย
แนวโน้มซัพพลายเหลือขายปี 2563 คาดว่า กทม.-ปริมณฑลมีหน่วยเหลือขายรวมกัน 152,792 หน่วย สัดส่วนหลักเป็นโครงการแนวราบ 58.3% อยู่ที่ 84,469 หน่วย, คอนโดมิเนียมลดสัดส่วนเหลือ 41.7%
เจาะข้อมูลโครงการแนวราบสัดส่วนรวมกัน 58.3% แบ่งเป็นทาวน์เฮาส์มากสุด 32% บ้านเดี่ยว 16.8% ที่เหลือเป็น บ้านแฝด+อาคารพาณิชย์ 9.5%
"เราเชื่อว่าในปีนี้และปีหน้าซัพพลายน่าจะดรอปมาอยู่ที่ 150,000 หน่วย บนสมมุติฐานที่อัตราดูดซับบ้านจัดสรร 2.8% และคอนโดฯ 4.8% ถือว่า อัตราดูดซับไม่ดีมากนัก ดังนั้น หากซัพพลายใหม่ไม่เกิน 41,000-48,000 หน่วย จะทำให้ซัพพลายสะสมอยู่ใน จุดสมดุลได้โดยที่ยังไม่ได้มีมาตรการ กระตุ้นอสังหาฯจากภาครัฐ" ดร.วิชัย กล่าว
อีกตัวเลขเป็นของ "อัตราดูดซับต่อเดือน" เปรียบเทียบ 5 ปี (2557-ครึ่งปีแรก 2562) ตลาดคอนโดฯในเขต กทม.-ปริมณฑล อยู่ที่ 4.8%
เปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยช่วง 5 ปี ที่ 5.7% สถานการณ์ของครึ่งปีแรกจึงอาจเห็นภาพการชะลอตัวไปบ้าง
แต่ถือว่าไม่ได้น่าวิตกแต่อย่างใด เพราะเป็นภาวะใกล้เคียงกับช่วงปี 2557 ที่อัตราดูดซับไม่ถึง 5%
ข่าว reic จากสื่อสิ่งพิมพ์ อื่นๆ