คอนโด-ทาวน์เฮ้าส์ล้นตลาด วอนรัฐบาลออกมาตรการกระตุ้นกำลังซื้อ
วันที่ : 18 ตุลาคม 2562
นายวิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ กล่าวว่าต้องการให้รัฐบาลพิจารณาออกมาตรการกระตุ้นกำลังซื้อ ที่อยู่อาศัยในรูปแบบของมาตรการช่วยลดค่าใช้จ่ายต่างๆ เพื่อให้ผู้ซื้อบ้านสามารถโอนกรรมสิทธิ์ได้
นายวิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ กล่าวว่าต้องการให้รัฐบาลพิจารณาออกมาตรการกระตุ้นกำลังซื้อ ที่อยู่อาศัยในรูปแบบของมาตรการช่วยลดค่าใช้จ่ายต่างๆ เพื่อให้ผู้ซื้อบ้านสามารถโอนกรรมสิทธิ์ได้ เพราะจะช่วยสร้างความรู้สึกอยากซื้อบ้าน ส่วนมาตรการดูแลการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ยังมีความจำเป็น เพราะระยะยาวจะส่งผลดีมากกว่า
สาเหตุที่ขอให้รัฐบาลออกมาตรการกระตุ้นกำลังซื้อที่อยู่อาศัย เนื่องจากภาพรวมอสังหาริมทรัพย์ ในช่วงครึ่งแรกปี 2562 (มกราคม-มิถุนายน) ยอดขายตกต่อเนื่อง มีโครงการเหลือขายเพิ่มขึ้น หากไม่มีมาตรการกระตุ้นกำลังซื้อออกมาภาวะซบเซานี้จะต่อเนื่องไปในช่วงครึ่งหลังปีนี้ และส่งผลให้ภาพรวมอสังหาริมทรัพย์ไทยตลอดปี 2562 จะติดลบ 5-7% ซึ่งถือเป็นการปรับฐานกลับไปสู่ปี 2560 และภาวะซบเซาจะต่อเนื่องไปในปี 2563 สาเหตุหลักมาจากเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจในประเทศชะลอตัวลง ประชาชนจึงไม่มั่นใจที่จะก่อหนี้ผูกพัน ระยะยาว และผลจากการออกมาตรการดูแลการซื้อบ้านหลังที่ 2 ของ ธปท. การซื้อบ้านหลังที่ 2 จึงลดลง 20-30% รวมถึงเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น ส่งผลให้กำลังซื้อที่อยู่อาศัยของ ต่างชาติ เช่น จีน ลดลง
"ขณะนี้ห่วงโครงการอาคารชุดที่ยังมีจำนวนหน่วยเหลือขายมากเป็นภาระผู้ประกอบการ ส่วนบ้านแนวราบราคา 2-3 ล้านบาท จนถึงไม่เกินหลังละ 5 ล้านบาทยังขายได้ สำหรับโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกหรืออีอีซี ส่งผลให้ภาพรวมอสังหาริมทรัพย์ในจังหวัดชลบุรี ระยอง ดีขึ้น ขณะที่จังหวัดฉะเชิงเทรายังไม่กระเตื้อง ส่วนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน คาดว่าจะช่วยให้ภาคอสังหาริมทรัพย์คึกคักบางพื้นที่ที่รถไฟวิ่งผ่าน" นายวิชัย กล่าว
สำหรับภาพรวมอุปทานโครงการที่อยู่อาศัย ในกรุงเทพฯ - ปริมณฑล ช่วงครึ่งแรกปี 2562 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่ผ่านมา ทั้งโครงการบ้านจัดสรรและอาคารชุด เนื่องจากอัตราการดูดซับหรือการซื้อที่อยู่อาศัยลดลงทุกประเภท โดยเฉพาะทาวน์เฮ้าส์อัตราดูดซับต่อเดือน ลดลงมากที่สุดส่งผลให้ครึ่งแรกปี 2562 มีโครงการ ที่อยู่อาศัยรอการขายรวม 1,670 โครงการ เพิ่มขึ้น คิดเป็น 11.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ปีที่ผ่านมา มีหน่วยเหลือขาย 152,149 หน่วย มูลค่าเหลือขาย 669,670 ล้านบาท เพิ่มขึ้นคิดเป็น 15.4% และ 28.2% ตามลำดับ จากที่ช่วงครึ่งแรกปี 2561 โครงการอยู่ระหว่างขาย 1,494 โครงการ มีจำนวนหน่วยเหลือขาย 131,819 หน่วย มีมูลค่าเหลือขาย 522,436 ล้านบาท
แบ่งเป็นบ้านจัดสรร 1,137 โครงการ เหลือขาย 87,180 หน่วย คิดเป็นมูลค่าเหลือขาย 404,369 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2561 ถึง 9.2% 16.3% และ 22.3% ตามลำดับ เทียบกับครึ่งแรกปี 2561 มี 1,041 โครงการ เหลือขาย 74,976 หน่วย มีมูลค่าเหลือขาย 330,752 ล้านบาท อาคารชุด 533 โครงการ เหลือขาย 64,969 หน่วย คิดเป็นมูลค่าเหลือขาย 265,301 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2561 ถึง 17.7% 14.3% และ 38.4% ตามลำดับ เทียบกับช่วงครึ่งแรกปี 2561 มี 453 โครงการ เหลือขาย 56,843 หน่วย มีมูลค่าเหลือขาย 191,683 ล้านบาท
สาเหตุที่ขอให้รัฐบาลออกมาตรการกระตุ้นกำลังซื้อที่อยู่อาศัย เนื่องจากภาพรวมอสังหาริมทรัพย์ ในช่วงครึ่งแรกปี 2562 (มกราคม-มิถุนายน) ยอดขายตกต่อเนื่อง มีโครงการเหลือขายเพิ่มขึ้น หากไม่มีมาตรการกระตุ้นกำลังซื้อออกมาภาวะซบเซานี้จะต่อเนื่องไปในช่วงครึ่งหลังปีนี้ และส่งผลให้ภาพรวมอสังหาริมทรัพย์ไทยตลอดปี 2562 จะติดลบ 5-7% ซึ่งถือเป็นการปรับฐานกลับไปสู่ปี 2560 และภาวะซบเซาจะต่อเนื่องไปในปี 2563 สาเหตุหลักมาจากเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจในประเทศชะลอตัวลง ประชาชนจึงไม่มั่นใจที่จะก่อหนี้ผูกพัน ระยะยาว และผลจากการออกมาตรการดูแลการซื้อบ้านหลังที่ 2 ของ ธปท. การซื้อบ้านหลังที่ 2 จึงลดลง 20-30% รวมถึงเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น ส่งผลให้กำลังซื้อที่อยู่อาศัยของ ต่างชาติ เช่น จีน ลดลง
"ขณะนี้ห่วงโครงการอาคารชุดที่ยังมีจำนวนหน่วยเหลือขายมากเป็นภาระผู้ประกอบการ ส่วนบ้านแนวราบราคา 2-3 ล้านบาท จนถึงไม่เกินหลังละ 5 ล้านบาทยังขายได้ สำหรับโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกหรืออีอีซี ส่งผลให้ภาพรวมอสังหาริมทรัพย์ในจังหวัดชลบุรี ระยอง ดีขึ้น ขณะที่จังหวัดฉะเชิงเทรายังไม่กระเตื้อง ส่วนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน คาดว่าจะช่วยให้ภาคอสังหาริมทรัพย์คึกคักบางพื้นที่ที่รถไฟวิ่งผ่าน" นายวิชัย กล่าว
สำหรับภาพรวมอุปทานโครงการที่อยู่อาศัย ในกรุงเทพฯ - ปริมณฑล ช่วงครึ่งแรกปี 2562 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่ผ่านมา ทั้งโครงการบ้านจัดสรรและอาคารชุด เนื่องจากอัตราการดูดซับหรือการซื้อที่อยู่อาศัยลดลงทุกประเภท โดยเฉพาะทาวน์เฮ้าส์อัตราดูดซับต่อเดือน ลดลงมากที่สุดส่งผลให้ครึ่งแรกปี 2562 มีโครงการ ที่อยู่อาศัยรอการขายรวม 1,670 โครงการ เพิ่มขึ้น คิดเป็น 11.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ปีที่ผ่านมา มีหน่วยเหลือขาย 152,149 หน่วย มูลค่าเหลือขาย 669,670 ล้านบาท เพิ่มขึ้นคิดเป็น 15.4% และ 28.2% ตามลำดับ จากที่ช่วงครึ่งแรกปี 2561 โครงการอยู่ระหว่างขาย 1,494 โครงการ มีจำนวนหน่วยเหลือขาย 131,819 หน่วย มีมูลค่าเหลือขาย 522,436 ล้านบาท
แบ่งเป็นบ้านจัดสรร 1,137 โครงการ เหลือขาย 87,180 หน่วย คิดเป็นมูลค่าเหลือขาย 404,369 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2561 ถึง 9.2% 16.3% และ 22.3% ตามลำดับ เทียบกับครึ่งแรกปี 2561 มี 1,041 โครงการ เหลือขาย 74,976 หน่วย มีมูลค่าเหลือขาย 330,752 ล้านบาท อาคารชุด 533 โครงการ เหลือขาย 64,969 หน่วย คิดเป็นมูลค่าเหลือขาย 265,301 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2561 ถึง 17.7% 14.3% และ 38.4% ตามลำดับ เทียบกับช่วงครึ่งแรกปี 2561 มี 453 โครงการ เหลือขาย 56,843 หน่วย มีมูลค่าเหลือขาย 191,683 ล้านบาท
ข่าว reic จากสื่อสิ่งพิมพ์ อื่นๆ