นายกฯสั่ง-เร่งแจ้งเกิดตั้งบอร์ด 5จี
วันที่ : 8 ตุลาคม 2562
นายวิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล ในภาวะปัจจุบัน ช่วงไตรมาส 3 ปี 2562 มีค่าเท่ากับ 48.2 จุด เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 2 ที่อยู่ที่ 42.2 จุด
นายวิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล ในภาวะปัจจุบัน ช่วงไตรมาส 3 ปี 2562 มีค่าเท่ากับ 48.2 จุด เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 2 ที่อยู่ที่ 42.2 จุด สะท้อนว่าความเชื่อมั่นของผู้ประกอบกาต่อภาวะเศรษฐกิจของประเทศดีขึ้นกว่าไตรมาสก่อนซึ่งเป็นช่วงที่ยังไม่มีการจัดตั้งรัฐบาล แต่อย่างไรก็ตาม ดัชนียังคงอยู่ในระดับต่ำกว่าค่ากลางที่ระดับ 50 จุด ซึ่งเป็นค่าที่แสดงถึงความเชื่อมั่นที่ยังไม่สูงมากนัก สำหรับผู้ประกอบการบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มีค่าดัชนี 50.7 จุด เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนที่มีค่าดัชนีอยู่ที่ 41.9 จุด โดยความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการเพิ่มขึ้นในทุกปัจจัย แสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นในการดำเนินธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ในปัจจุบันในทิศทางที่เป็นบวกมากขึ้น ส่วนผู้ประกอบการกลุ่มนอกตลาดหลักทรัพย์ฯ มีค่าดัชนีเท่ากับ 44.5 จุด แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ระดับ 42.7 จุด สะท้อนว่ามีความเชื่อมั่นน้อยกว่าผู้ประกอบการบริษัทจดทะเบียน
ส่อเปิดโครงการใหม่-ยอดขายลด
นายวิชัยกล่าวว่า สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นในอีก 6 เดือนข้างหน้า มีค่าเท่ากับ 58.0 ลดลงเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งอยู่ที่ระดับ 58.4 จุด แต่ยังคงสูงกว่าค่ากลางที่ระดับ 50.0 จุด แสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการยังมีมุมมองที่เป็นบวกต่อทิศทางของธุรกิจการพัฒนาที่อยู่อาศัย โดยยังให้ความเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจจะมีโอกาสปรับตัวดีขึ้นภายหลังจากที่มีการจัดตั้งรัฐบาลเรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ดี ในส่วนดัชนีย่อยพบว่า ยอดขายอยู่ที่ 64.7 จุด ลดลงจาก 64.7 จุด การลงทุนจาก 61.0 จุด มาอยู่ที่ 60.6 จุด การเปิดโครงการใหม่ลดลงจาก 62.5 จุด อยู่ที่ 62.2 จุด ผู้ประกอบการบริษัทจดทะเบียน มีค่าดัชนีเท่ากับ 61.3 จุด เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนซึ่งอยู่ที่ระดับ 59.9 จุด ผู้ประกอบการ กลุ่มนี้ให้ความเชื่อมั่นว่า ภายหลังจัดตั้งรัฐบาลใหม่ ภาวะเศรษฐกิจและการลงทุนในธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัยในอีก 6 เดือนข้างหน้าจะปรับตัวดีขึ้น และจะส่งผลให้ยอดขายและผลประกอบการของบริษัทขยายตัวขึ้น ในขณะที่ผู้ประกอบการนอกตลาดหลักทรัพย์ฯ มีค่าดัชนีเท่ากับ 53.1 จุด ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 56.1 จุด แต่ยังคงสูงกว่าค่ากลางที่ระดับ 50.0 จุด สะท้อนให้เห็นว่า ผู้ประกอบการ กลุ่มนี้ก็ยังคงให้ความเชื่อมั่นว่าในอีก 6 เดือนข้างหน้าจะมีทิศทางที่ดีขึ้นกว่าปัจจุบัน แต่ยังคงลดลงกว่าไตรมาสก่อนหน้า
ส่อเปิดโครงการใหม่-ยอดขายลด
นายวิชัยกล่าวว่า สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นในอีก 6 เดือนข้างหน้า มีค่าเท่ากับ 58.0 ลดลงเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งอยู่ที่ระดับ 58.4 จุด แต่ยังคงสูงกว่าค่ากลางที่ระดับ 50.0 จุด แสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการยังมีมุมมองที่เป็นบวกต่อทิศทางของธุรกิจการพัฒนาที่อยู่อาศัย โดยยังให้ความเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจจะมีโอกาสปรับตัวดีขึ้นภายหลังจากที่มีการจัดตั้งรัฐบาลเรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ดี ในส่วนดัชนีย่อยพบว่า ยอดขายอยู่ที่ 64.7 จุด ลดลงจาก 64.7 จุด การลงทุนจาก 61.0 จุด มาอยู่ที่ 60.6 จุด การเปิดโครงการใหม่ลดลงจาก 62.5 จุด อยู่ที่ 62.2 จุด ผู้ประกอบการบริษัทจดทะเบียน มีค่าดัชนีเท่ากับ 61.3 จุด เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนซึ่งอยู่ที่ระดับ 59.9 จุด ผู้ประกอบการ กลุ่มนี้ให้ความเชื่อมั่นว่า ภายหลังจัดตั้งรัฐบาลใหม่ ภาวะเศรษฐกิจและการลงทุนในธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัยในอีก 6 เดือนข้างหน้าจะปรับตัวดีขึ้น และจะส่งผลให้ยอดขายและผลประกอบการของบริษัทขยายตัวขึ้น ในขณะที่ผู้ประกอบการนอกตลาดหลักทรัพย์ฯ มีค่าดัชนีเท่ากับ 53.1 จุด ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 56.1 จุด แต่ยังคงสูงกว่าค่ากลางที่ระดับ 50.0 จุด สะท้อนให้เห็นว่า ผู้ประกอบการ กลุ่มนี้ก็ยังคงให้ความเชื่อมั่นว่าในอีก 6 เดือนข้างหน้าจะมีทิศทางที่ดีขึ้นกว่าปัจจุบัน แต่ยังคงลดลงกว่าไตรมาสก่อนหน้า
ข่าว reic จากสื่อสิ่งพิมพ์ อื่นๆ