กูรูคอนโดแนะ สูตรรอด แก้เกมซัพพลายล้น..!!
Loading

กูรูคอนโดแนะ สูตรรอด แก้เกมซัพพลายล้น..!!

วันที่ : 7 ตุลาคม 2562
เหยียบเบรกให้มิด! คือคำแนะนำ จากทั้งผู้ประกอบการคอนโดมิเนียมรวมถึง หน่วยงานต่างๆ อย่างศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ขอให้ชะลอแผนเปิดตัวโครงการคอนโดใหม่ในไตรมาส 4 นี้ไปก่อน แต่ถ้าแตะเบรกไม่ทัน ตัดสินใจพุ่งชน อาจต้องเจอกับสถานการณ์โอเวอร์ซัพพลายคอนโด หลังจากครึ่งปีแรกมีมูลค่ายอดขายในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล 104,448 ล้านบาท ติดลบ 17%
            พรไพลิน จุลพันธ์
            กรุงเทพธุรกิจ
            เจน Z เป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ดีมานด์ยังแอคทีฟ พ้นจากการถูกตีกรอบ ของมาตรการ LTV ทำให้เป็นกลุ่มเวอร์จิ้นเครดิต ภารกิจของเราคือ รีบไปขายคอนโดให้เขาก่อนจะเป็นหนี้รถ หนี้บัตรเครดิต
เหยียบเบรกให้มิด! คือคำแนะนำ จากทั้งผู้ประกอบการคอนโดมิเนียมรวมถึง หน่วยงานต่างๆ อย่างศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ขอให้ชะลอแผนเปิดตัวโครงการคอนโดใหม่ในไตรมาส 4 นี้ไปก่อน แต่ถ้าแตะเบรกไม่ทัน ตัดสินใจพุ่งชน อาจต้องเจอกับสถานการณ์โอเวอร์ซัพพลายคอนโด หลังจากครึ่งปีแรกมีมูลค่ายอดขายในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล 104,448 ล้านบาท ติดลบ 17%
ขณะที่ภาพรวมมูลค่ายอดขายที่อยู่อาศัย ทั้งหมดในกรุงเทพฯและปริมณฑล ครึ่งปีแรก อยู่ที่ 200,650 ล้านบาท ติดลบ 13% จากจำนวน 51,866 ยูนิต ติดลบ 17% สวนทางกับตลาดที่มีการเปิดตัวโครงการใหม่มากกว่าครึ่งแรกปีที่แล้ว มูลค่าสูงขึ้น 17% และมีจำนวนยูนิตเปิดใหม่สูงขึ้น 21%
จึงเป็นที่มาของเหล่ากูรูคอนโด พร้อมใจยกมือปรามบอกพอก่อน! ก่อนจะเจ็บเนื้อเจ็บตัวไปมากกว่านี้!
            ประเสริฐ แต่ดุลยสาธิต ประธานเจ้าหน้าที่ บริหาร กลุ่มธุรกิจพฤกษาเรียลเอสเตทพรีเมียม บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) ฉายภาพรวมว่า จนถึงสิ้นปี 2562 ซัพพลายใหม่น่าจะติดลบ ถือเป็นสัญญาณที่ดี สะท้อนว่าผู้ประกอบการคอนโดเริ่ม "เจียมตัว" กันแล้ว ระมัดระวังความซ่ากันมากขึ้น
"หากเบรกได้อยากให้เบรกไปก่อน แต่ถ้าเบรกไม่ทัน เพราะดอกเบี้ยเดินแล้ว แถมต้นทุนคงที่ก็มี อาจจะเห็นการเปิดโครงการใหม่ไปบ้าง เปิดดีก็เดินหน้าต่อ เปิดไม่ดีก็ถอย             เปิดไม่ดีมากๆ ก็ยกเลิกบ้าง หรือคืนเงินบ้าง"
            แต่จะดิ้นอย่างไรให้รอดนี่สิโจทย์ใหญ่ นอกเหนือจากการเร่งระบายสต็อกคอนโดเหลือขายแล้ว ยังมี "สูตรปรับตัว" ที่รายใหญ่ อย่างพฤกษาฯอยากแบ่งปัน นั่นคือการ กระจายตัวไปในทุกเซ็กเมนท์ราคาคอนโด เพื่อรองรับความไม่แน่นอนว่าตลาดไหนจะไป  ตลาดไหนจะมา ผ่านกลยุทธ์ "Business Model Initiative"
            เพราะต้องยอมรับว่าตลาดบนเริ่มจำกัด เห็นสัญญาณนี้มา 2-3 ปีแล้ว พฤกษาฯจึงทำ พอร์ตโฟลิโอคอนโดให้อยู่ในราคาที่จับต้องได้ มากขึ้น ด้วยการเปิดโมเดลใหม่ ไม่ทำตลาดซูเปอร์ลักชัวรีแล้ว ทำตลาดไฮเอนด์ก็พอ อย่างโครงการเดอะแชปเตอร์ เจริญนคร ขนาด 568 ยูนิต มูลค่า 6,000 ล้านบาท เลือกจับดีมานด์ตั้งแต่ราคาขาย 1.5-2 แสนบาท ต่อตารางเมตร เมื่อเห็นว่าราคาขายเกิน 2 แสนบาทต่อตารางเมตรเริ่มตื้อ
            นอกจากนี้ยังต้องหาทำเลที่เป็น "ดีมานด์เฉพาะ" (Specific Demand Under Market Pressure) ถึงจะประสบความสำเร็จ รวมถึงระมัดระวังเรื่องจำนวนยูนิตในโครงการ ในยุคที่ดีมานด์ค่อนข้างจำกัดให้ดี ควบคู่ไปกับ เรื่อง "คุณภาพสินค้า" ลูกค้าเห็นของแล้วต้องช็อก!
            สอดคล้องกับ พีระพงศ์ จรูญเอก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) เล่าว่า สินค้าต้องเร้าใจ เกินกว่าคำว่าคุ้ม ทุกครั้งที่เปิดโครงการใหม่ต้องไปถึงระดับ "ซูเปอร์ว้าว!" ไม่ว่าจะอยู่ในราคาไหน เพราะถ้าไม่ว้าว ก็ขายไม่ได้ นอกจากนี้ตลาดเจน Z ยังเป็นตลาดที่น่าสนใจ
            "ทุกวันนี้ตลาดแรงงานเริ่มต้อนรับเจน Z  เป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ดีมานด์ยังแอคทีฟ พ้นจากการถูกตีกรอบของมาตรการ ควบคุมสัดส่วนการให้สินเชื่อบ้านต่อมูลค่าหลักประกันบ้าน (LTV) ของธนาคารแห่งประเทศไทย ทำให้เจน Z เป็นกลุ่มเวอร์จิ้นเครดิต ภารกิจของเราคือรีบไปขายคอนโดให้เขาก่อนจะเป็นหนี้รถ หนี้บัตรเครดิต และอื่นๆ จนกู้ไม่ได้ นี่คือการอ่านดีมานด์ให้ขาด เพราะตอนนี้หนี้สินกำลังพันตัวคนเจน Y ตอนต้นและกลาง"
            พร้อมนำเสนอ "โฮเทล เซอร์วิส" ขายคู่กับ คอนโดเป็นรายแรกๆ เพื่อให้ตรงกับจริตและพฤติกรรมที่ไม่มีเวลาดูแลคอนโดฯ ทุกวันนี้ลูกค้าจ้างให้ไปล้างจาน 100 บาทก็ทำ เพราะออริจิ้นฯมองว่าการทำคอนโดฯไม่ใช่แค่การขายกล่อง แต่เป็นการขาย "ลิฟวิ่ง โซลูชั่น"
            ด้าน อัษฎา แก้วเขียว ประธาน ผู้อำนวยการ-แบรนด์วิสซ์ดอม บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (MQDC) บอกว่า การปรับตัว ต้องสอดคล้องกับเมกะเทรนด์ เช่น สังคม ผู้สูงอายุ สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยี ทรัพยากร กฎข้อระเบียบ ตลอดจนการขยายตัว ของเมือง (Urbanization) เพราะทำให้ เกิดการเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคและ สังคม
            ขณะที่กรุงเทพฯเองก็ก้าวสู่การเป็น เมกะซิตี้ มีผู้อยู่อาศัยมากกว่า 10 ล้านคนแล้ว กำลังจะเป็นเมืองที่มีการเปลี่ยนแปลงในภาพใหญ่อย่างรุนแรง จากการเกิดขึ้นของโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะระบบรางที่ภายในปี 2580 จะมีพื้นที่ครอบคลุมรถไฟฟ้าเทียบเท่าญี่ปุ่น