ธปท.ห่วงหนี้ครัวเรือนเข้มปล่อยกู้
วันที่ : 30 สิงหาคม 2562
นายรณดล นุ่มนนท์ รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.ได้ออกมาตรการหลายส่วนเพื่อดูแลปัญหาหนี้ ครัวเรือน แต่ยังไม่มีแผนที่จะนำมาตรการคุมภาระหนี้ต่อรายได้สูงสุด
ยันปีนี้ยังไม่ใช้เกณฑ์คุมหนี้/รายได้สูงสุด
ศูนย์ข้อมูลชี้ถ้าออกช่วงนี้กระทบอสังหา
นายรณดล นุ่มนนท์ รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.ได้ออกมาตรการหลายส่วนเพื่อดูแลปัญหาหนี้ ครัวเรือน แต่ยังไม่มีแผนที่จะนำมาตรการคุมภาระหนี้ต่อรายได้สูงสุด (ดีเอสอาร์ลิมิต) มาบังคับใช้ในปีนี้ โดยปัจจุบัน ธปท. อยู่ระหว่างดำเนินการร่วมกับสถาบันการเงินใน 2 เรื่อง ได้แก่ 1.การกำหนดมาตรฐานกลางในการคำนวณดีเอสอาร์ ทั้งในส่วนภาระหนี้และ รายได้ของผู้กู้ ซึ่งปัจจุบันสถาบันการเงิน แต่ละแห่งมีวิธีการคำนวณที่แตกต่างกัน โดยล่าสุดได้มีข้อตกลงมาตรฐานกลาง ดีเอสอาร์ร่วมกันแล้ว คาดว่าจะเริ่มรายงานข้อมูลดีเอสอาร์ตามมาตรฐานกลางให้ ธปท. ได้ภายในไตรมาส 4 ปีนี้ และ 2.การผลักดันให้สถาบันการเงินนำหลักการการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบไปใช้โดยลูกหนี้ต้องมีเงินเพียงพอสำหรับดำรงชีพหลังชำระหนี้แล้ว
"ธปท.จะติดตามปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างใกล้ชิด ส่วนหนึ่งผ่านข้อมูลดีเอส อาร์ตามมาตรฐานกลางที่ธนาคารพาณิชย์รายงาน ซึ่งหากพบว่าสถานการณ์มีความเปราะบางมากขึ้น ธปท.อาจพิจารณาออกเกณฑ์การกำกับดูแลที่เหมาะสม โดยพิจารณาถึงสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและการเงิน กรอบการบังคับใช้และจังหวะเวลาที่เหมาะสม รวมทั้งคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน" นายรณดลกล่าว
นายวิชัย วิรัตกพันธ์ ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) และรักษาการ ผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ กล่าวว่า ไม่อยากให้ภาครัฐหรือ ธปท.ออกเกณฑ์ใหม่ๆ เพื่อมาคุมสินเชื่อโดยใช้เกณฑ์หนี้ต่อรายได้ หรือดีเอสอาร์ออกมาในช่วงนี้ โดยควรออกมาในช่วงที่เหมาะสม เพราะหากออกมาในช่วงนี้เท่ากับเป็นการซ้ำเติมภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โดยช่วงที่เหมาะสมคือต้องให้ภาพรวมเศรษฐกิจดีขึ้นก่อน
"หากมีการออกมาในช่วงนี้หรือเร็วๆ นี้ก็เชื่อว่าอสังหาริมทรัพย์จะแย่ลงอีก หลังจากที่มีการคาดหวังว่าช่วงครึ่งปีหลังจะดีขึ้นจากการคลายกฎสินเชื่อต่อหลักทรัพย์ (แอลทีวี) และหากเป็นเช่นนั้นก็จะส่งผลกระทบกับนโยบายบ้านล้านหลังได้ เพราะหากมีการใช้ดีเอสอาร์ที่นำค่าใช้จ่ายทั้งหมดมาหักรายได้ จะทำให้ผู้ที่จะซื้อบ้านกลุ่มนี้ได้ต้องมีเงินเหลือไม่น้อยกว่าเดือนละ 4,800 บาท ซึ่งเป็นเรื่องที่ยาก" นายวิชัยกล่าว
ศูนย์ข้อมูลชี้ถ้าออกช่วงนี้กระทบอสังหา
นายรณดล นุ่มนนท์ รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.ได้ออกมาตรการหลายส่วนเพื่อดูแลปัญหาหนี้ ครัวเรือน แต่ยังไม่มีแผนที่จะนำมาตรการคุมภาระหนี้ต่อรายได้สูงสุด (ดีเอสอาร์ลิมิต) มาบังคับใช้ในปีนี้ โดยปัจจุบัน ธปท. อยู่ระหว่างดำเนินการร่วมกับสถาบันการเงินใน 2 เรื่อง ได้แก่ 1.การกำหนดมาตรฐานกลางในการคำนวณดีเอสอาร์ ทั้งในส่วนภาระหนี้และ รายได้ของผู้กู้ ซึ่งปัจจุบันสถาบันการเงิน แต่ละแห่งมีวิธีการคำนวณที่แตกต่างกัน โดยล่าสุดได้มีข้อตกลงมาตรฐานกลาง ดีเอสอาร์ร่วมกันแล้ว คาดว่าจะเริ่มรายงานข้อมูลดีเอสอาร์ตามมาตรฐานกลางให้ ธปท. ได้ภายในไตรมาส 4 ปีนี้ และ 2.การผลักดันให้สถาบันการเงินนำหลักการการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบไปใช้โดยลูกหนี้ต้องมีเงินเพียงพอสำหรับดำรงชีพหลังชำระหนี้แล้ว
"ธปท.จะติดตามปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างใกล้ชิด ส่วนหนึ่งผ่านข้อมูลดีเอส อาร์ตามมาตรฐานกลางที่ธนาคารพาณิชย์รายงาน ซึ่งหากพบว่าสถานการณ์มีความเปราะบางมากขึ้น ธปท.อาจพิจารณาออกเกณฑ์การกำกับดูแลที่เหมาะสม โดยพิจารณาถึงสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและการเงิน กรอบการบังคับใช้และจังหวะเวลาที่เหมาะสม รวมทั้งคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน" นายรณดลกล่าว
นายวิชัย วิรัตกพันธ์ ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) และรักษาการ ผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ กล่าวว่า ไม่อยากให้ภาครัฐหรือ ธปท.ออกเกณฑ์ใหม่ๆ เพื่อมาคุมสินเชื่อโดยใช้เกณฑ์หนี้ต่อรายได้ หรือดีเอสอาร์ออกมาในช่วงนี้ โดยควรออกมาในช่วงที่เหมาะสม เพราะหากออกมาในช่วงนี้เท่ากับเป็นการซ้ำเติมภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โดยช่วงที่เหมาะสมคือต้องให้ภาพรวมเศรษฐกิจดีขึ้นก่อน
"หากมีการออกมาในช่วงนี้หรือเร็วๆ นี้ก็เชื่อว่าอสังหาริมทรัพย์จะแย่ลงอีก หลังจากที่มีการคาดหวังว่าช่วงครึ่งปีหลังจะดีขึ้นจากการคลายกฎสินเชื่อต่อหลักทรัพย์ (แอลทีวี) และหากเป็นเช่นนั้นก็จะส่งผลกระทบกับนโยบายบ้านล้านหลังได้ เพราะหากมีการใช้ดีเอสอาร์ที่นำค่าใช้จ่ายทั้งหมดมาหักรายได้ จะทำให้ผู้ที่จะซื้อบ้านกลุ่มนี้ได้ต้องมีเงินเหลือไม่น้อยกว่าเดือนละ 4,800 บาท ซึ่งเป็นเรื่องที่ยาก" นายวิชัยกล่าว
ข่าว reic จากสื่อสิ่งพิมพ์ อื่นๆ