เร่งเคลียร์ 'กทม.' สร้างสายสีส้ม ปลายปีเปิดไซต์พรึ่บศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี
Loading

เร่งเคลียร์ 'กทม.' สร้างสายสีส้ม ปลายปีเปิดไซต์พรึ่บศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี

วันที่ : 26 มิถุนายน 2560
เร่งเคลียร์ 'กทม.' สร้างสายสีส้ม ปลายปีเปิดไซต์พรึ่บศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี
"เร่งเคลียร์

          หลังแจ้งให้ผู้รับเหมาทั้ง 6 สัญญา เริ่มงานก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วง "ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี" (สุวินทวงศ์) ระยะทาง 23 กม. ค่าก่อสร้าง 79,221 ล้านบาท เมื่อต้นเดือน พ.ค. 2560 ที่ผ่านมา

          ล่าสุดผู้รับเหมางานโยธา 5 สัญญากำลังเจาะสำรวจพื้นที่ แยกเป็น

          1.อุโมงค์ใต้ดิน ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-รามคำแหง 12 ระยะทาง 6.29 กม. มีกลุ่ม ช.การช่างและซิโน-ไทยฯก่อสร้าง 20,633 ล้านบาท

      2.อุโมงค์ใต้ดิน ช่วงรามคำแหง 12-หัวหมาก 3.44 กม. มีกลุ่ม ช.การช่าง-ซิโน-ไทยฯ วงเงิน 21,057 ล้านบาท

        3.อุโมงค์ใต้ดิน ช่วงหัวหมาก-คลองบ้านม้า 4.04 กม. มี บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ วงเงิน 18,570 ล้านบาท

          4.โครงสร้างยกระดับ ช่วงคลองบ้านม้า -มีนบุรี 8.8 กม. ของ บมจ.ยูนิคฯ 9,990 ล้านบาท และ

       5.ศูนย์ซ่อมบำรุง-อาคารจอดแล้วจรที่สถานีบ้านม้า โดยกลุ่ม ช.การช่างและซิโน-ไทยฯ 4,831 ล้านบาท

          แหล่งข่าวจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวว่า รอกรุงเทพมหานคร (กทม.) อนุญาตให้เข้าใช้พื้นที่ถนนพระราม 9-ถนนรามคำแหง ตามแผนต้องได้รับอนุญาตไม่เกิน ก.ค.นี้ แต่เนื่องจากมีโครงการทับซ้อนทางยกระดับจากแยกลำสาลีที่ กทม.จะต่อขยายไปถึงบ้านม้า เขตทาง ถนนรามฯ กว้าง 27-28 เมตรไม่พอต่อการใช้พื้นที่ ทางกทม.ขอใช้โครงสร้างร่วมกับสายสีส้ม อยู่ระหว่างหารือร่วมกัน

          "ตอนนี้ผู้รับเหมาเริ่มเจาะสำรวจพื้นที่เตรียมการก่อสร้างแล้ว จะเริ่มปิดถนนและเข้าพื้นที่ก่อสร้างได้ปลายปี เริ่มสร้างจริง ๆ ปีหน้าเป็นต้นไป ใช้เวลา 5 ปี เสร็จปี 2566"

          แนวเส้นทางเริ่มจากสถานีศูนย์วัฒนธรรม จุดต่อเชื่อมกับรถไฟฟ้าใต้ดิน จากนั้นไปยังศูนย์ซ่อมบำรุง (เดโป้) สำนักงาน รฟม. แล้วเบี่ยงแนวไป ถ.พระราม 9 เลี้ยวเข้า ถ.รามคำแหง แยกลำสาลี กาญจนาภิเษก สิ้นสุดที่ สุวินทวงศ์ ใกล้จุดตัดกับ ถ.รามคำแหง ระยะทาง 21.2 กม. มีโครงสร้างใต้ดิน 12.2 กม. จากศูนย์วัฒนธรรม-สถานีคลองบ้านม้า จากนั้นเป็นโครงสร้างทางยกระดับ 9 กม. จนถึงสถานีสุวินทวงศ์ มีเวนคืนที่ดิน 594 แปลง สิ่งปลูกสร้าง 222 หลัง มีค่าเวนคืน 9,625 ล้านบาท

ที่มา : หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ

ข่าวพัฒนาสาธารณูปโภค อื่นๆ