7 เคล็ดลับเลือก “สินเชื่อ” เพื่ออยู่อาศัย
วันที่ : 27 กันยายน 2561
เดี๋ยวนี้คนซื้อบ้านอย่างเรา สบายใจไปได้เปราะใหญ่เลยล่ะค่ะ เพราะบรรดาบริษัททางการเงินต่างๆ ขยันจัดโปรโมชั่น ออกมาแข่งขันแย่งชิงตลาดกัน เรียกได้ว่า ลูกค้าอย่างเรา สามารถเปรียบเทียบเงื่อนไข และผลประโยชน์กันได้อย่างจุใจกันเลยทีเดียว แต่ปัญหามันอยู่ที่ว่า พอมันมีให้เลือกเยอะเกินไป ก็ทำให้เราตัดสินใจลำบาก กันใช่มั้ยล่ะคะ…ดังนั้น วันนี้เรามี 7 เงื่อนไขที่ควรรู้เมื่อจะขอ “สินเชื่อ” เพื่อที่อยู่อาศัย เป็นเคล็ดลับเล็กๆน้อยๆ มาแชร์กันค่ะ
วัตถุประสงค์ในการให้สินเชื่อ
หากท่านขอสินเชื่อเพื่อการอยู่อาศัยนั้น จะเป็นประโยชน์และง่ายต่อการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินมากกว่า วัตถุประสงค์เพื่อการพาณิชย์
คุณสมบัติของผู้กู้
การที่จะได้รับอนุมัติแบบราบรื่นจากทางสถาบันการเงินนั้น คุณจำเป็นต้องมีคุณสมบัติที่ครบถ้วน เช่น บรรลุนิติภาวะ, มีประวัติทางการเงินที่ดี, มีรายได้ประจำที่แน่นอน เป็นต้น
ทำเลที่ตั้งหลักประกัน
หากทำเลที่ตั้งของคุณตั้งอยู่ในที่ชุมชน เป็นบ้านจัดสรรที่มีสาธารณูปโภคพร้อม มีประกันอัคคีภัย ฯลฯ คุณก็สบายใจได้ไปส่วนหนึ่งแล้วล่ะค่ะ
วงเงินให้กู้
– ปลูกบ้านบนที่ดินของตัวเอง สถาบันทางการเงินจะให้กู้ไม่เกิน 100% ของราคาประเมิน
– ซื้อบ้านพร้อมที่ดิน หรือซื้อที่ดินเพื่อปลูกสร้างที่อยู่อาศัย ให้กู้ได้ไม่เกิน 80% ของราคาประเมิน
– ต่อเติม และรีไฟแนนซ์ กู้ได้ไม่เกิน 80% ของราคาประเมิน
ทั้งนี้ คุณสามารถพูดคุยเป็นกรณีๆไปกับสถาบันทางการเงินได้โดยตรงค่ะ
เงื่อนไขการผ่อนชำระ
จำนวนเงินผ่อนชำระต้องไม่เกิน 40% ของรายได้ หลังหักภาระหนี้อื่นๆ ส่วนระยะเวลาผ่อนชำระนั้น แบ่งได้ ดังนี้
– กู้ซื้อบ้านพร้อมที่ดิน, ทาวน์เฮ้าส์, รีไฟแนนซ์ ผ่อนชำระไม่เกิน 30 ปี
– อาคารชุด ผ่อนชำระไม่เกิน 20 ปี
– กู้เพื่อซื้อที่ดินเปล่า ผ่อนชำระไม่เกิน 10 ปี
– กู้เพื่อซื้ออาคารพาณิชย์ ผ่อนชำระได้ไม่เกิน 15 ปี
– กู้เพื่อต่อเติมที่อยู่อาศัย ผ่อนชำระไม่เกิน 10 ปี
ค่าธรรมเนียม
– ค่าธรรมเนียมประเมินราคาหลักทรัพย์ 1,500-2,500 บาท
– ค่าธรรมเนียมจัดการให้กู้ คิดในอัตรา 0-1% ของยอดวงเงินกู้
– ค่าธรรมเนียมการไถ่ถอนจำนองก่อนกำหนด กรณีคืนเงินกู้ก่อน 3 ปี คิดในอัตรา 0-2%
– ค่าประกันอัคคีภัยประมาณ 2,000 บาท ต่อ ราคาบ้าน 1 ล้านบาท
– ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียน เช่น ค่าธรรมเนียมจำนอง ร้อยละ 1 ของวงเงินกู้ หรือ มูลค่าการจดจำนอง แต่ไม่เกิน 200,000 บาท และอากรแสตมป์เสียในอัตรา 0.05% ของวงเงินกู้ แต่ไม่เกิน 10,000 บาท
อัตราดอกเบี้ย
อัตราดอกเบี้ยที่มีอยู่ในปัจจุบัน อาจจะแยกได้เป็น 6 ลักษณะด้วยกัน ได้แก่
– อัตราดอกเบี้ยลอยตัว คือ ขึ้นลงตามสภาวะตลาด
– อัตราดอกเบี้ยคงที่ตลอดระยะเวลากู้
– อัตราดอกเบี้ยคงที่ระยะสั้นในช่วงแรก จากนั้นเปลี่ยนเป็นลอยตัว
– อัตราดอกเบี้ยคงที่ระยะสั้นแบบขั้นบันได
– อัตราดอกเบี้ยคงที่ระยะหนึ่ง และปรับเป็นคงที่ใหม่ทุกรอบเวลา
– อัตราดอกเบี้ยลอยตัวที่อยู่ในขอบเขตที่กำหนดไว้
เป็นยังไงกันบ้างคะ สำหรับเคล็ดลับเล็กๆน้อย หากคุณพร้อมตามที่เราแนะนำ พูดเลยว่า การยื่นขอสินเชื่อเพื่อกู้บ้าน ไม่ยากอย่างที่คิดแน่นอนค่ะ
วัตถุประสงค์ในการให้สินเชื่อ
หากท่านขอสินเชื่อเพื่อการอยู่อาศัยนั้น จะเป็นประโยชน์และง่ายต่อการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินมากกว่า วัตถุประสงค์เพื่อการพาณิชย์
คุณสมบัติของผู้กู้
การที่จะได้รับอนุมัติแบบราบรื่นจากทางสถาบันการเงินนั้น คุณจำเป็นต้องมีคุณสมบัติที่ครบถ้วน เช่น บรรลุนิติภาวะ, มีประวัติทางการเงินที่ดี, มีรายได้ประจำที่แน่นอน เป็นต้น
ทำเลที่ตั้งหลักประกัน
หากทำเลที่ตั้งของคุณตั้งอยู่ในที่ชุมชน เป็นบ้านจัดสรรที่มีสาธารณูปโภคพร้อม มีประกันอัคคีภัย ฯลฯ คุณก็สบายใจได้ไปส่วนหนึ่งแล้วล่ะค่ะ
วงเงินให้กู้
– ปลูกบ้านบนที่ดินของตัวเอง สถาบันทางการเงินจะให้กู้ไม่เกิน 100% ของราคาประเมิน
– ซื้อบ้านพร้อมที่ดิน หรือซื้อที่ดินเพื่อปลูกสร้างที่อยู่อาศัย ให้กู้ได้ไม่เกิน 80% ของราคาประเมิน
– ต่อเติม และรีไฟแนนซ์ กู้ได้ไม่เกิน 80% ของราคาประเมิน
ทั้งนี้ คุณสามารถพูดคุยเป็นกรณีๆไปกับสถาบันทางการเงินได้โดยตรงค่ะ
เงื่อนไขการผ่อนชำระ
จำนวนเงินผ่อนชำระต้องไม่เกิน 40% ของรายได้ หลังหักภาระหนี้อื่นๆ ส่วนระยะเวลาผ่อนชำระนั้น แบ่งได้ ดังนี้
– กู้ซื้อบ้านพร้อมที่ดิน, ทาวน์เฮ้าส์, รีไฟแนนซ์ ผ่อนชำระไม่เกิน 30 ปี
– อาคารชุด ผ่อนชำระไม่เกิน 20 ปี
– กู้เพื่อซื้อที่ดินเปล่า ผ่อนชำระไม่เกิน 10 ปี
– กู้เพื่อซื้ออาคารพาณิชย์ ผ่อนชำระได้ไม่เกิน 15 ปี
– กู้เพื่อต่อเติมที่อยู่อาศัย ผ่อนชำระไม่เกิน 10 ปี
ค่าธรรมเนียม
– ค่าธรรมเนียมประเมินราคาหลักทรัพย์ 1,500-2,500 บาท
– ค่าธรรมเนียมจัดการให้กู้ คิดในอัตรา 0-1% ของยอดวงเงินกู้
– ค่าธรรมเนียมการไถ่ถอนจำนองก่อนกำหนด กรณีคืนเงินกู้ก่อน 3 ปี คิดในอัตรา 0-2%
– ค่าประกันอัคคีภัยประมาณ 2,000 บาท ต่อ ราคาบ้าน 1 ล้านบาท
– ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียน เช่น ค่าธรรมเนียมจำนอง ร้อยละ 1 ของวงเงินกู้ หรือ มูลค่าการจดจำนอง แต่ไม่เกิน 200,000 บาท และอากรแสตมป์เสียในอัตรา 0.05% ของวงเงินกู้ แต่ไม่เกิน 10,000 บาท
อัตราดอกเบี้ย
อัตราดอกเบี้ยที่มีอยู่ในปัจจุบัน อาจจะแยกได้เป็น 6 ลักษณะด้วยกัน ได้แก่
– อัตราดอกเบี้ยลอยตัว คือ ขึ้นลงตามสภาวะตลาด
– อัตราดอกเบี้ยคงที่ตลอดระยะเวลากู้
– อัตราดอกเบี้ยคงที่ระยะสั้นในช่วงแรก จากนั้นเปลี่ยนเป็นลอยตัว
– อัตราดอกเบี้ยคงที่ระยะสั้นแบบขั้นบันได
– อัตราดอกเบี้ยคงที่ระยะหนึ่ง และปรับเป็นคงที่ใหม่ทุกรอบเวลา
– อัตราดอกเบี้ยลอยตัวที่อยู่ในขอบเขตที่กำหนดไว้
เป็นยังไงกันบ้างคะ สำหรับเคล็ดลับเล็กๆน้อย หากคุณพร้อมตามที่เราแนะนำ พูดเลยว่า การยื่นขอสินเชื่อเพื่อกู้บ้าน ไม่ยากอย่างที่คิดแน่นอนค่ะ