กู้ร่วมซื้อบ้าน กู้ร่วมกับใครได้บ้าง
Loading

กู้ร่วมซื้อบ้าน กู้ร่วมกับใครได้บ้าง

วันที่ : 21 กรกฎาคม 2566
กู้ร่วมซื้อบ้าน กู้ร่วมกับใครได้บ้าง

81_40382_1689931367_65533 การ “กู้ร่วม” คือหนึ่งในวิธีการที่จะช่วยให้ความฝันในการอยากมีบ้านเป็นของตัวเองสำเร็จได้ง่ายมากขึ้น เพราะการกู้ร่วมมีสิทธิ์ที่จะทำให้เราขออนุมัติสินเชื่อกู้ซื้อบ้านผ่านได้มากกว่าเดิมที่ยื่นกู้คนเดียว โดยเหตุผลก็เพราะการกู้ร่วมจะหมายถึงการนำเอารายได้และความสามารถในการชำระหนี้ของเราและผู้ที่กู้ร่วมกับเรามารวมกัน ทำให้มีคนมาช่วยรับผิดชอบชำระหนี้เพิ่มขึ้น ธนาคารจึงมีแนวโน้มที่จะอนุมัติผ่านได้ง่ายขึ้นนั่นเอง

 

แต่อย่างไรก็ตาม การจะกู้ร่วมได้นั้น ก็ไม่ใช่ว่าเราจะกู้ร่วมกับใครก็ได้ แต่ผู้ที่เราสามารถขอให้มากู้ร่วมซื้อบ้านซื้อคอนโดกับเราได้นั้น ได้แก่

  1. ครอบครัวที่มีนามสกุลเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็น พ่อ แม่ พี่ น้อง หรือว่าลูกของเรา
  2. พี่น้องที่คนละนามสกุล แต่จำเป็นจะต้องใช้หลักฐานยืนยันตัวตนให้ได้ว่า ผู้กู้ร่วมเป็นพี่น้องร่วมพ่อแม่เดียวกันกับเรา
  3. สามี-ภรรยา ซึ่งจะจดทะเบียนสมรสกันหรือไม่ก็ได้ โดยในกรณีที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย ก็จะต้องแสดงหลักฐานยืนยันให้เห็นว่าเป็นสามีภรรยากันจริง อยู่ร่วมกันจริง เช่น เอกสารรับรองบุตร

 

คู่รัก LGBT ขอกู้ร่วม

ได้หรือไม่

 

ปัจจุบันความเท่าเทียมและความหลากหลายทางเศได้รับการยอมรับในวงกว้าง จึงทำให้คู่รัก LGBT จำนวนไม่น้อยที่มีข้อสงสัยว่าจะสามารถกู้ร่วมซื้อบ้านได้หรือไม่ ทั้งนี้ ถ้าตอบโดยพิจารณาตามหลักการกู้ร่วมแล้ว จะไม่สามารถที่จะกู้ร่วมได้ เพราะไม่มีหลักฐานที่แสดงถึงความสัมพันธ์ในทางกฎหมาย เช่นเป็นพ่อแม่ พี่น้อง หรือว่าเป็นสามีภรรยา แต่อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันกฎหมายสมรสเท่าเทียมก็กำลังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณา และมีแนวโน้มว่าจะได้รับการอนุมัติ เพื่อให้สิทธิ์กับทุกคนอย่างเท่าเทียม จึงทำให้ทุกวันนี้ มีธนาคารหลายแห่ง ที่สามารถให้คู่รัก LGBT ทำการกู้ร่วมซื้อบ้านได้ อาทิ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารกสิกรไทย ฯลฯ ซึ่งเงื่อนไขก็จะเป็นไปตามที่แต่ละธนาคารกำหนด

 

การกู้ร่วมซื้อบ้าน

มีข้อควรระวังใดบ้าง

ที่ต้องคำนึงถึงเป็นพิเศษ

 

แม้โดยหลักการแล้วการกู้ร่วมจะให้กู้ร่วมได้เฉพาะกับครอบครัวและคนรักตามกฎหมาย เพื่อให้ลดความเสี่ยงเรื่องความบาดหมางทะเลาะเบาะแว้งกันในระหว่างการเป็นหนี้ร่วมกัน แต่ในความเป็นจริงด้วยระยะเวลาในการกู้ร่วมที่ยาวนาน จึงอาจทำให้เกิดปัญหาขึ้นได้เสมอ ดังนั้น ผู้กู้ร่วมทั้ง 2 คน จึงต้องพิจารณาอย่างรอบคอบถึงผลได้ผลเสีย เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาความขัดแย้งตามมาภายหลัง ที่สำคัญคือ สุดท้ายแล้วหากมีเหตุการณ์ใดก็ตามที่ทำให้ไม่สามารถผ่อนชำระค่างวดได้ตามเงื่อนไข ก็จะมีสิทธิ์ถูกยึดบ้านได้อยู่ดี การกู้ร่วมจึงไม่ใช่แค่เรื่องของการหาวิธีกู้ให้ผ่านได้เท่านั้น แต่ยังเป็นเรื่องของความรับผิดชอบร่วมกันที่จะผ่อนชำระหนี้ไปให้ผ่านได้จนถึงงวดสุดท้ายด้วย

 

การกู้ร่วมซื้อบ้านมีโอกาสทำให้เราขอกู้ซื้อบ้านผ่านได้ง่ายขึ้นจริง แต่นั่นก็หมายความว่า ผู้ที่เราพามากู้ร่วมด้วยนั้นจะต้องมีรายได้มั่นคง ไม่มีหนี้มากเกินไป และมีความสามารถในการผ่อนชำระด้วยเช่นกัน ไม่เช่นนั้นแล้ว ถึงกู้ร่วม 2 คนก็อาจไม่เพียงพอให้ธนาคารพิจารณาอนุมัติผ่านได้อยู่ดี ทั้งนี้ ยังต้องรวมไปถึงราคาของบ้านหรือคอนโดที่ซื้อด้วยว่าไม่ควรสูงเกินกว่าความสามารถในการผ่อนชำระของเรา และสุดท้ายเพื่อให้การกู้ร่วมซื้อบ้านผ่านไปได้อย่างราบรื่นจนสามารถผ่อนจบโอนกรรมสิทธิ์เป็นเจ้าของได้สำเร็จ ผู้กู้และผู้กู้ร่วมจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีวินัยทางการเงินอย่างเคร่งครัด

 

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

กรุงไทย. ธอส.

TTBBank

SanSiri

Tags :  กู้ร่วมซื้อบ้าน กู้ร่วมกับใครได้บ้าง