รวมประเด็นฮ็อต! ทำไมกู้บ้านไม่ผ่าน?
วันที่ : 27 กันยายน 2561
รวมประเด็นฮ็อต! ทำไมกู้บ้านไม่ผ่าน?
หลายคนคงมีคำถามเวลาที่เราจะกู้เงินผ่อนบ้านกับธนาคารแล้วเกิดปัญหา “กู้ไม่ผ่าน” ขึ้น ทำไมฉันกู้ไม่ผ่านล่ะ หรือทำไมธนาคารถึงไม่อนุมัติ งั้นวันนี้เรามาหาคำตอบถึงเรื่องนี้กันว่าสาเหตุประเด็นที่เเท้จริงแล้วมันมาจากอะไรบ้าง แล้วเราอยู่ในกลุ่มเสี่ยงแบบนั้นหรือเปล่า
1.เริ่มต้นจากมีเงินดาวน์ไม่พอ ไม่พอแล้วมันเกี่ยวอะไรด้วยอะ...เกี่ยวเเน่นอนเลย เพราะปกติแล้วธนาคารจะพิจารณาการปล่อยกู้ให้วงเงินกับเรา 70-80% ของราคาประเมิน (ไม่ใช่ราคาที่ซื้อขายกันนะ) แปลว่าอีก 20-30% ที่เหลือเป็นส่วนที่เราต้องหามาจ่ายเอง ซึ่งนี่ก็คือเงินดาวน์ เพื่อเเสดงให้แบงก์เห็นถึงความมุ่งมั่นตั้งใจของเรา เราก็ต้องมีเงินออมสักก้อนไว้ซื้อบ้าน ดังนั้นถ้าเราไม่มีเงินก้อนที่ออมหรือเงินก้อนสะสมมาวางเป็นสัดส่วน 15-20% ของราคาซื้อบ้าน ธนาคารก็จะไม่อนุมัตินั่นเอง เพราะความมั่นคงทางการเงินเราเปราะบางเกินไป
2.ต่อมาก็เรื่องการงาน ไหนมาลองดูงานที่เราทำกันอยู่ทุกวันก่อน ทำที่ไหน มั่นคงมั้ย รับเงินเดือนแบบไหน ทุกอย่างเป็นส่วนประกอบที่ธนาคารจะนำมาคิด เพราะการกู้บ้านต้องผ่อนในระยะยาว ถ้าเราไม่มีความมั่นคงทางการเงินแล้วล่ะก็ยากที่จะผ่านการอนุมัติ
3.สุดท้ายก็รายได้ของผู้ขอกู้เมื่อหักค่าใช้จ่ายส่วนตัวของเราแล้ว ถ้าหักค่าใช้จ่ายทั้งหมดแล้วยังไม่พอค่างวดในเเต่ละเดือน อันนี้เเหละเริ่มเป็นเรื่องใหญ่แล้ว โดยปกติถ้าผ่อน 1 ล้านบาท 15 ปี ต้องมีงวดละ 7,000-8,000 บาทต่อเดือน สมมติว่าเรามีเงินเดือน 30,000 บาท หักค่าผ่อนรถ ผ่อนบัตรเครดิต ฯลฯ บวกกับค่าใช้จ่ายกินอยู่เเต่ละเดือนไปอีก เงินก็อาจเหลือไม่พอผ่อนค่าบ้าน
ทีนี้จะมีทางออกให้มั้ย...อยากมีบ้านเเต่ยังไม่พร้อม
สำหรับคนที่มีอาชีพอิสระ ไม่มีสลิปเงินเดือนประจำ มีประวัติค้างชำระ หรือผ่อนติดๆ ขัดๆ เราอาจต้องแก้ไขด้วยการออมเงินให้เห็นความตั้งใจก่อนช่วงเวลาหนึ่ง ประมาณสัก 6-12 เดือน โดยเงินออมในเเต่ละเดือนเท่ากับเงินที่ต้องผ่อนในเเต่ละงวดนั่นเอง ลองคิดง่ายๆ เป็น “การออมคือการซ้อมกู้” ส่วนถ้าใครคิดว่าเราไม่ค่อยมีระเบียบวินัยในตัวเองก็ลองไปเข้าโครงการของธนาคารของรัฐได้ เช่น ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ได้เปิดตัว “โครงการ ธอส.โรงเรียนการเงิน” โครงการที่เป็นตัวอย่างของการเตรียมพร้อมสู่การมีบ้าน ซึ่งโครงการนี้เหมาะกับคนที่มีรายได้ไม่พอกับราคาบ้านที่ต้องการ หรือกลุ่มคนที่ประกอบอาชีพอิสระที่ไม่มีหลักฐานทางการเงินหรือสลิปเงินเดือน พอเข้าโครงการนี้ก็จะได้รับคำเเนะนำให้ทำสมุดบัญชีรายรับ-รายจ่ายตามแบบฟอร์มของธนาคารต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 9 เดือน และเปิดบัญชีนำเงินมาฝาก ส่วนคนขอกู้ที่เคยมีประวัติค้างชำระหนี้ เเต่เคลียร์ยอดค้างชำระไปแล้ว ธนาคารก็จะถือว่าเป็นลูกค้าที่ดี ก็กลับมาสร้างประวัติทางการเงินที่ดีใหม่ได้ผ่านการออมนี่เเหละ นอกจากนี้ทางธนาคารยังมอบสิทธิพิเศษอื่นๆ ให้ผู้เข้าร่วมโครงการด้วย ใครสนใจลองไปศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมหรือเข้าร่วมโครงการดูได้
ตอบคำถามที่ค้างคาใจไปแล้วว่าทำไมถึงกู้บ้านไม่ผ่าน? สรุปแล้วเราอยู่ในกลุ่มเสี่ยงไหน? ถ้ารู้เเล้วก็มาเปลี่ยนตัวเองกันใหม่ อย่างเรื่องการออมก็สามารถเริ่มต้นกันได้ไม่ยาก ทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย เพื่อให้เห็นภาพรวบว่าเราใช้อะไรในเเต่ละวัน อันไหนควรลดและเก็บออม ถ้าเราตั้งใจซะอย่างเราทำได้อยู่เเล้ว
1.เริ่มต้นจากมีเงินดาวน์ไม่พอ ไม่พอแล้วมันเกี่ยวอะไรด้วยอะ...เกี่ยวเเน่นอนเลย เพราะปกติแล้วธนาคารจะพิจารณาการปล่อยกู้ให้วงเงินกับเรา 70-80% ของราคาประเมิน (ไม่ใช่ราคาที่ซื้อขายกันนะ) แปลว่าอีก 20-30% ที่เหลือเป็นส่วนที่เราต้องหามาจ่ายเอง ซึ่งนี่ก็คือเงินดาวน์ เพื่อเเสดงให้แบงก์เห็นถึงความมุ่งมั่นตั้งใจของเรา เราก็ต้องมีเงินออมสักก้อนไว้ซื้อบ้าน ดังนั้นถ้าเราไม่มีเงินก้อนที่ออมหรือเงินก้อนสะสมมาวางเป็นสัดส่วน 15-20% ของราคาซื้อบ้าน ธนาคารก็จะไม่อนุมัตินั่นเอง เพราะความมั่นคงทางการเงินเราเปราะบางเกินไป
2.ต่อมาก็เรื่องการงาน ไหนมาลองดูงานที่เราทำกันอยู่ทุกวันก่อน ทำที่ไหน มั่นคงมั้ย รับเงินเดือนแบบไหน ทุกอย่างเป็นส่วนประกอบที่ธนาคารจะนำมาคิด เพราะการกู้บ้านต้องผ่อนในระยะยาว ถ้าเราไม่มีความมั่นคงทางการเงินแล้วล่ะก็ยากที่จะผ่านการอนุมัติ
3.สุดท้ายก็รายได้ของผู้ขอกู้เมื่อหักค่าใช้จ่ายส่วนตัวของเราแล้ว ถ้าหักค่าใช้จ่ายทั้งหมดแล้วยังไม่พอค่างวดในเเต่ละเดือน อันนี้เเหละเริ่มเป็นเรื่องใหญ่แล้ว โดยปกติถ้าผ่อน 1 ล้านบาท 15 ปี ต้องมีงวดละ 7,000-8,000 บาทต่อเดือน สมมติว่าเรามีเงินเดือน 30,000 บาท หักค่าผ่อนรถ ผ่อนบัตรเครดิต ฯลฯ บวกกับค่าใช้จ่ายกินอยู่เเต่ละเดือนไปอีก เงินก็อาจเหลือไม่พอผ่อนค่าบ้าน
ทีนี้จะมีทางออกให้มั้ย...อยากมีบ้านเเต่ยังไม่พร้อม
สำหรับคนที่มีอาชีพอิสระ ไม่มีสลิปเงินเดือนประจำ มีประวัติค้างชำระ หรือผ่อนติดๆ ขัดๆ เราอาจต้องแก้ไขด้วยการออมเงินให้เห็นความตั้งใจก่อนช่วงเวลาหนึ่ง ประมาณสัก 6-12 เดือน โดยเงินออมในเเต่ละเดือนเท่ากับเงินที่ต้องผ่อนในเเต่ละงวดนั่นเอง ลองคิดง่ายๆ เป็น “การออมคือการซ้อมกู้” ส่วนถ้าใครคิดว่าเราไม่ค่อยมีระเบียบวินัยในตัวเองก็ลองไปเข้าโครงการของธนาคารของรัฐได้ เช่น ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ได้เปิดตัว “โครงการ ธอส.โรงเรียนการเงิน” โครงการที่เป็นตัวอย่างของการเตรียมพร้อมสู่การมีบ้าน ซึ่งโครงการนี้เหมาะกับคนที่มีรายได้ไม่พอกับราคาบ้านที่ต้องการ หรือกลุ่มคนที่ประกอบอาชีพอิสระที่ไม่มีหลักฐานทางการเงินหรือสลิปเงินเดือน พอเข้าโครงการนี้ก็จะได้รับคำเเนะนำให้ทำสมุดบัญชีรายรับ-รายจ่ายตามแบบฟอร์มของธนาคารต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 9 เดือน และเปิดบัญชีนำเงินมาฝาก ส่วนคนขอกู้ที่เคยมีประวัติค้างชำระหนี้ เเต่เคลียร์ยอดค้างชำระไปแล้ว ธนาคารก็จะถือว่าเป็นลูกค้าที่ดี ก็กลับมาสร้างประวัติทางการเงินที่ดีใหม่ได้ผ่านการออมนี่เเหละ นอกจากนี้ทางธนาคารยังมอบสิทธิพิเศษอื่นๆ ให้ผู้เข้าร่วมโครงการด้วย ใครสนใจลองไปศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมหรือเข้าร่วมโครงการดูได้
ตอบคำถามที่ค้างคาใจไปแล้วว่าทำไมถึงกู้บ้านไม่ผ่าน? สรุปแล้วเราอยู่ในกลุ่มเสี่ยงไหน? ถ้ารู้เเล้วก็มาเปลี่ยนตัวเองกันใหม่ อย่างเรื่องการออมก็สามารถเริ่มต้นกันได้ไม่ยาก ทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย เพื่อให้เห็นภาพรวบว่าเราใช้อะไรในเเต่ละวัน อันไหนควรลดและเก็บออม ถ้าเราตั้งใจซะอย่างเราทำได้อยู่เเล้ว