สถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยทั่วประเทศ ไตรมาส 1 ปี 2567
วันที่ : 19 มิถุนายน 2567
จากรายงานภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 1 ปี 2567 มีขยายตัวของ GDP เพียงร้อยละ 1.5 ต่อเนื่องจากการขยายตัวร้อยละ 1.7 ในไตรมาส 4 ปี 2566 ปัจจัยหลักมาจากการผลิตภาคนอกเกษตรขยายตัวจากบริการที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว ขณะที่ภาคการเกษตรและหมวดอุตสาหกรรมลดลง ด้านการใช้จ่ายรัฐบาล และการลงทุนรวมลดลงต่อเนื่อง ขณะที่การส่งออกสินค้าและบริการ และการบริโภคอุปโภคขั้นสุดท้ายของเอกชนชะลอลง ประกอบกับปัจจัยลบที่สำคัญที่เกี่ยวกับการยกเลิกมาตรการผ่อนปรน LTV ภาวะหนี้ครัวเรือนที่สูงเกินกว่าร้อยละ 90 ของ GDP ภาวะดอกเบี้ยนโยบายยังทรงตัวอยู่ในระดับสูงที่ร้อยละ 2.50 ประกอบกับ สถาบันการเงินได้พิจารณาสินเชื่อด้วยเกณฑ์ที่เข้มงวดมากในปัจจุบัน
เศรษฐกิจในภาพรวมที่ชะลอตัวลง และปัจจัยลบต่าง ๆ ข้างต้นได้ส่งผลกระทบต่อภาวะของตลาดที่อยู่อาศัยของประเทศไทยทั้งด้านอุปสงค์ที่มีความสามารถในการซื้อที่อยู่อาศัยลดลง และด้านอุปทานที่มีการชะลอตัวของอุปทานตามการชะลอตัวของอุปสงค์ โดยในไตรมาส 1 ปี 2567 พบว่า ด้านอุปสงค์ การโอนกรรมสิทธิ์ลดลงทั้งจำนวนหน่วยและมูลค่าร้อยละ –13.8 และร้อยละ –13.4 ตามลำดับ ซึ่งยังพบว่า ในกลุ่มที่อยู่อาศัยราคาสูงเป็นกลุ่มผู้ซื้อที่อยู่อาศัยที่ยังมีกำลังซื้อสูในกลุ่มระดับราคาที่มากกว่า 10.00 ล้านบาทขึ้นไป มีมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.002 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นในส่วนของที่อยู่อาศัยแนวราบร้อยละ 9.9 ขณะที่มูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ในกลุ่มระดับราคาไม่เกิน 10.00 ล้านบาท ลดลงทุกระดับราคา นอกจากนี้ภาวะสินเชื่อที่อยู่อาศัยบุคคลปล่อยใหม่ทั่วประเทศลดลงร้อยละ –20.5 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้พบการปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องของอุปสงค์มาจากไตรมาสก่อนหน้า...อ่านต่อฉบับเต็ม ... Download PDF
เศรษฐกิจในภาพรวมที่ชะลอตัวลง และปัจจัยลบต่าง ๆ ข้างต้นได้ส่งผลกระทบต่อภาวะของตลาดที่อยู่อาศัยของประเทศไทยทั้งด้านอุปสงค์ที่มีความสามารถในการซื้อที่อยู่อาศัยลดลง และด้านอุปทานที่มีการชะลอตัวของอุปทานตามการชะลอตัวของอุปสงค์ โดยในไตรมาส 1 ปี 2567 พบว่า ด้านอุปสงค์ การโอนกรรมสิทธิ์ลดลงทั้งจำนวนหน่วยและมูลค่าร้อยละ –13.8 และร้อยละ –13.4 ตามลำดับ ซึ่งยังพบว่า ในกลุ่มที่อยู่อาศัยราคาสูงเป็นกลุ่มผู้ซื้อที่อยู่อาศัยที่ยังมีกำลังซื้อสูในกลุ่มระดับราคาที่มากกว่า 10.00 ล้านบาทขึ้นไป มีมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.002 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นในส่วนของที่อยู่อาศัยแนวราบร้อยละ 9.9 ขณะที่มูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ในกลุ่มระดับราคาไม่เกิน 10.00 ล้านบาท ลดลงทุกระดับราคา นอกจากนี้ภาวะสินเชื่อที่อยู่อาศัยบุคคลปล่อยใหม่ทั่วประเทศลดลงร้อยละ –20.5 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้พบการปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องของอุปสงค์มาจากไตรมาสก่อนหน้า...อ่านต่อฉบับเต็ม ... Download PDF
สามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่