สรุปสถานการณ์อสังหาริมทรัพย์
Loading

สถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยทั่วประเทศ ไตรมาส 2 ปี 2566 และครึ่งแรกปี 2566

วันที่ : 18 กันยายน 2566
          จากสภาวะทางเศรษฐกิจของประเทศไทยในไตรมาส 2 ปี 2566 ที่ขยายตัวของ GDP ร้อยละ 1.8 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน และยังขยายตัวร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า โดยมีปัจจัยสำคัญมาจากการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของเอกชนที่ขยายตัวสูง ภาคการบริการที่ขยายตัวได้ดี ส่วนภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์รัฐบาลได้ต่อมาตรการโดยลดค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์จากร้อยละ 2 เหลือร้อยละ 1 และค่าจดจำนองจากร้อยละ 1 เหลือร้อยละ 0.01 สำหรับที่อยู่อาศัยที่ไม่เกิน 3 ล้านบาท ซึ่งครอบคลุมทั้งบ้านมือหนึ่งและบ้านมือสอง ตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม 2566 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566 เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไทยและเพื่อช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายสำหรับคนที่ต้องการซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง ส่งผลให้การโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยทั่วประเทศในภาพรวมไตรมาส 2 ปี 2566 เพิ่มขึ้นทั้งจำนวนหน่วยและมูลค่าร้อยละ 7.6 และ ร้อยละ 7.0 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า แต่เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน พบว่า การโอนกรรมสิทธิ์ในเชิงมูลค่าเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.5 ส่วนในเชิงจำนวนหน่วยลดลงร้อยละ -4.4 คาดว่าอาจเป็นผลจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว และปัจจัยลบต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกลับมาใช้มาตรการ LTV ตามเดิม ทำให้จังหวัดหลักที่สำคัญมีการขยายตัวลดลงทั้งจำนวนหน่วยและมูลค่า ได้แก่ นนทบุรี ปทุมธานี ระยอง นครราชสีมา สมุทรสาคร ...อ่านต่อฉบับเต็ม ... Download PDF
 
สามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่