สถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยมือสองทั่วประเทศ ไตรมาส 1 ปี 2566
วันที่ : 12 มิถุนายน 2566
REIC พบว่า ณ ไตรมาส 1 ปี 2566 ตลาดที่อยู่อาศัยมือสองที่ประกาศขาย มีการขยายตัวของจำนวนหน่วยร้อยละ 2.7 และแต่มีมูลค่าปรับตัวลดลงร้อยละ -15.3 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยประเภทบ้านหลักที่มีการประกาศขายมากสุดยังคงเป็น บ้านเดี่ยว ทาวเฮ้าส์ และ ห้องชุด สำหรับ อาคารพาณิชย์ และ บ้านแฝด เป็นประเภทที่มีสัดส่วนจำนวนหน่วยและมูลค่าประกาศขายน้อยที่สุด ซึ่งสัมพันธ์กับปริมาณที่มีการพัฒนาบ้านใหม่ไม่มากในปัจจุบัน ทั้งนี้ บ้านแฝดมีอัตราการเปลี่ยนแปลงของจำนวนหน่วยเพิ่มขึ้นมากที่สุดอยู่ที่ร้อยละ 48.0 และ ห้องชุด ลดลงร้อยละ -13.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า
สำหรับราคาขายของที่อยู่อาศัยมือสองที่ประกาศขายยังมีการขยายตัวมากในกลุ่มระดับราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท เนื่องจากรัฐบาลได้มีปัจจัยกระตุ้นที่สำคัญจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภาคอสังหาริมทรัพย์ที่เปิดเงื่อนไขให้กับตลาดที่อยู่อาศัยมือสองที่มีราคาไม่เกิน 3 ล้านบาทได้รับสิทธิ์ในการลดค่าธรรมเนียมต่อเนื่องจากปี 2565 โดยลดค่าธรรมเนียมการโอนเหลือร้อยละ 1 และค่าจดจำนองเหลือร้อยละ 0.01 แต่มีสัญญาณว่า ที่อยู่อาศัยมือสอง ในระดับราคาไม่เกิน 1.50 ล้านบาท ที่เริ่มมีทิศทางของจำนวนหน่วยเข้าสู่ตลาดที่ลดลง นอกจากนี้ยังพบว่า ส่วนใหญ่ผู้ประกาศขายบ้านและผู้ซื้อบ้านได้อยู่ในพื้นที่ 10 อันดับ คือ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี สมุทรปราการ ปทุมธานี ชลบุรี เชียงใหม่ ระยอง ภูเก็ต นครราชสีมา และสงขลา และพบว่าที่อยู่อาศัยของกรุงเทพมหานครมีทิศทางที่เริ่มปรับตัวลดลง ในขณะที่จังหวัดหลักใน EEC และจังหวัดปริมณฑลของกรุงเทพฯ ประกอบด้วย ชลบุรี ระยอง สมุทรปราการ นนทบุรี และ ปทุมธานี มีการเพิ่มขึ้นของสัดส่วนทั้งหน่วยและมูลค่าที่อยู่อาศัยที่มีการประกาศขายอย่างต่อเนื่อง...อ่านต่อฉบับเต็ม .... Download
สำหรับราคาขายของที่อยู่อาศัยมือสองที่ประกาศขายยังมีการขยายตัวมากในกลุ่มระดับราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท เนื่องจากรัฐบาลได้มีปัจจัยกระตุ้นที่สำคัญจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภาคอสังหาริมทรัพย์ที่เปิดเงื่อนไขให้กับตลาดที่อยู่อาศัยมือสองที่มีราคาไม่เกิน 3 ล้านบาทได้รับสิทธิ์ในการลดค่าธรรมเนียมต่อเนื่องจากปี 2565 โดยลดค่าธรรมเนียมการโอนเหลือร้อยละ 1 และค่าจดจำนองเหลือร้อยละ 0.01 แต่มีสัญญาณว่า ที่อยู่อาศัยมือสอง ในระดับราคาไม่เกิน 1.50 ล้านบาท ที่เริ่มมีทิศทางของจำนวนหน่วยเข้าสู่ตลาดที่ลดลง นอกจากนี้ยังพบว่า ส่วนใหญ่ผู้ประกาศขายบ้านและผู้ซื้อบ้านได้อยู่ในพื้นที่ 10 อันดับ คือ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี สมุทรปราการ ปทุมธานี ชลบุรี เชียงใหม่ ระยอง ภูเก็ต นครราชสีมา และสงขลา และพบว่าที่อยู่อาศัยของกรุงเทพมหานครมีทิศทางที่เริ่มปรับตัวลดลง ในขณะที่จังหวัดหลักใน EEC และจังหวัดปริมณฑลของกรุงเทพฯ ประกอบด้วย ชลบุรี ระยอง สมุทรปราการ นนทบุรี และ ปทุมธานี มีการเพิ่มขึ้นของสัดส่วนทั้งหน่วยและมูลค่าที่อยู่อาศัยที่มีการประกาศขายอย่างต่อเนื่อง...อ่านต่อฉบับเต็ม .... Download
สามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่
สถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยมือสอง อื่นๆ