สรุปสถานการณ์อสังหาริมทรัพย์
Loading

สถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยทั่วประเทศ ไตรมาส 1 ปี 2565

วันที่ : 17 มิถุนายน 2565
          จากภาวะที่เศรษฐกิจไทยในช่วงไตรมาส 1 ปี 2565 เริ่มพบสัญญาณการฟื้นตัว โดยมีอัตราการขยายร้อยละ 2.2 ซึ่งเป็นการฟื้นตัวจากภาคการใช้จ่ายและภาคการผลิต อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจไทยยังคงมีปัจจัยเสี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อที่สูงขึ้นจากราคาน้ำมันที่กระทบราคาสินค้าในปัจจุบัน ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดภาวะทิศทางอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นในปัจจุบัน แต่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) ยังคงคาดว่าภาพรวมทั้งปี เศรษฐกิจไทยจะยังคงขยายตัวในช่วงร้อยละ 2.5 - 3.5 โดยมีปัจจัยสนับสนุนสำคัญจากการปรับตัวดีขึ้นของอุปสงค์ภายในประเทศการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว และการขยายตัวของการส่งออกสินค้า
          สำหรับภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ในปี 2565 มีปัจจัยบวกที่สำคัญ คือรัฐบาลได้ขยายมาตรการให้มีการลดค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์และการจดจำนองสำหรับที่อยู่อาศัยที่ไม่เกิน 3 ล้านบาท และขยายครอบคลุมไปถึงบ้านมือสอง และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีประกาศผ่อนคลายมาตรการ LTV ชั่วคราว สำหรับสัญญาเงินกู้ที่ทำสัญญาตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม 2564 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565 แต่ในช่วงไตรมาส 1 ปี 2565 ยังแสดงผลไม่ชัดเจนเนื่องจากมีภาวการณ์ระบาดของไวรัส ซึ่งส่งผลให้ภาพรวมอุปทานของตลาดที่อยู่อาศัยในไตรมาส 1 ปี 2565 มีการปรับตัวลดลง โดยจำนวนโครงการใบอนุญาตจัดสรรที่ดินลดลงร้อยละ -17.7 และจำนวนหน่วยที่ได้รับใบอนุญาตจัดสรรลดลงร้อยละ -9.7 ส่วนจำนวนหน่วยที่ได้รับใบอนุญาตก่อสร้างอาคารชุดลดลงร้อยละ -12.5 ขณะที่แนวราบเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.8 ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการที่อยู่อาศัยในปัจจุบัน สำหรับด้านอุปสงค์ การโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยลดลงทั้งจำนวนหน่วยและมูลค่าร้อยละ -2.7 และร้อยละ -4.6 ตามลำดับ แต่เมื่อแยกรายประเภทของการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัย พบว่า ที่อยู่อาศัยแนวราบจำนวนหน่วยลดลงเพียงร้อยละ -0.3 แต่มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 ซึ่งคาดว่าน่าจะเกิด
          จากการฟื้นตัวของ Real Demand ในตลาดที่อยู่อาศัย และรัฐบาลมีประกาศต่ออายุมาตรการลดค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์และการจดจำนองสำหรับที่อยู่อาศัยที่ไม่เกิน 3 ล้านบาท และขยายครอบคลุมไปถึงบ้านมือสอง ส่งผลดีต่อการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยในระดับราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท มีสัดส่วนการโอนกรรมสิทธิ์ในไตรมาส 1 ปี 2565 ร้อยละ 44.3 เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนที่มีสัดส่วนร้อยละ 41.6  ...อ่านต่อฉบับเต็ม .... Download PDF
สามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่