สรุปสถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยไตรมาส 2 ปี 2564 และครึ่งแรกของปี 2564 ทั่วประเทศ
วันที่ : 16 กันยายน 2564
จากสภาวะทางเศรษฐกิจของประเทศไทยในไตรมาส 2 ปี 2564 ที่ขยายตัวร้อยละ 7.5 ซึ่งมีการตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ -2.6 ในไตรมาสแรกของปี 2564 และเป็นการกลับมาขยายตัวครั้งแรกในรอบ 6 ไตรมาส ส่วนหนึ่งเป็นผลจากฐานการหดตัวที่ต่ำอย่างมากในช่วงเดียวกันของปีก่อนจากผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 ระลอกแรกในเดือนเมษายน 2563 และยังมีการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่องเป็นระลอกที่ 2 และ ระลอกที่ 3 จนถึงไตรมาส 2 ปี 2564 ตั้งแต่ช่วงเดือนเมษายน 2564 โดยมีการควบคุมการดำเนินธุรกิจบางประเภท การจำกัดการเดินทางเข้า-ออกบางจังหวัดที่เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด ซึ่งส่งผลให้สถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยทั่วประเทศมีการชะลอตัวอย่างต่อเนื่องจนถึงไตรมาส 2 ปี 2564 ทั้งด้านอุปทานด้านการออกใบอนุญาตสรรที่ดิน การออกใบอนุญาตก่อสร้าง และอุปสงค์ด้านการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัย ซึ่งเป็นผลมาจากกำลังซื้อและความมั่นใจในการซื้อของที่อยู่อาศัยของประชาชนมาก
ในภาพรวมครึ่งแรกของปี 2564 ที่เศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 สองระลอก มีอัตราการขยายตัวร้อยละ 2.0 แต่เป็นการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากภาวะเศรษฐกิจที่ต่ำผิดปกติในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้ทั้งอุปทานและอุปสงค์ของตลาดที่อยู่อาศัยหดตัวลง โดยเฉพาะตลาดอาคารชุด ซึ่งได้รับผลกระทบจากกำลังซื้อชาวต่างชาติที่ไม่สามารถเดินทางเข้าประเทศได้
อย่างไรก็ตาม จากการที่รัฐบาลได้ออกมาตรการกระตุ้นภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์โดยการลดค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์และการจดจำนองสำหรับที่อยู่อาศัยสร้างใหม่ (ไม่นับรวมบ้านมือสอง) ในราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท ขยายระยะเวลาไปจนถึงสิ้นปี 2564 รวมทั้งการที่ผู้ประกอบการยังได้จัดรายการส่งเสริมการขาย เช่น การลดราคาขายของที่อยู่อาศัยลง การช่วยเงินค่าผ่อนบ้าน การให้อยู่ฟรี 1 – 2 ปี นอกจากนี้ ธนาคารแห่งประเทศได้ผ่อนปรนมาตรการ LTV ครั้งที่ 3 ยังมีการปรับเกณฑ์ของสัญญาการกู้บ้านหลังที่ 2 ที่สามารถขอกู้ได้ร้อยละ 90 จากเดิมกู้ได้เพียงร้อยละ 80 สำหรับสินเชื่อที่ที่อยู่อาศัยทั้งบ้านใหม่และบ้านเก่าที่ราคาไม่เกิน 10 ล้านบาท ฯลฯ นับเป็นปัจจัยที่มีส่วนช่วยกระตุ้นทำให้ยอดโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยทั่วประเทศลดลงไม่รุนแรงตามที่คาดการณ์กันไว้ตั้งแต่ต้นปี
อ่านต่อฉบับเต็ม .... Download PDF
ในภาพรวมครึ่งแรกของปี 2564 ที่เศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 สองระลอก มีอัตราการขยายตัวร้อยละ 2.0 แต่เป็นการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากภาวะเศรษฐกิจที่ต่ำผิดปกติในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้ทั้งอุปทานและอุปสงค์ของตลาดที่อยู่อาศัยหดตัวลง โดยเฉพาะตลาดอาคารชุด ซึ่งได้รับผลกระทบจากกำลังซื้อชาวต่างชาติที่ไม่สามารถเดินทางเข้าประเทศได้
อย่างไรก็ตาม จากการที่รัฐบาลได้ออกมาตรการกระตุ้นภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์โดยการลดค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์และการจดจำนองสำหรับที่อยู่อาศัยสร้างใหม่ (ไม่นับรวมบ้านมือสอง) ในราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท ขยายระยะเวลาไปจนถึงสิ้นปี 2564 รวมทั้งการที่ผู้ประกอบการยังได้จัดรายการส่งเสริมการขาย เช่น การลดราคาขายของที่อยู่อาศัยลง การช่วยเงินค่าผ่อนบ้าน การให้อยู่ฟรี 1 – 2 ปี นอกจากนี้ ธนาคารแห่งประเทศได้ผ่อนปรนมาตรการ LTV ครั้งที่ 3 ยังมีการปรับเกณฑ์ของสัญญาการกู้บ้านหลังที่ 2 ที่สามารถขอกู้ได้ร้อยละ 90 จากเดิมกู้ได้เพียงร้อยละ 80 สำหรับสินเชื่อที่ที่อยู่อาศัยทั้งบ้านใหม่และบ้านเก่าที่ราคาไม่เกิน 10 ล้านบาท ฯลฯ นับเป็นปัจจัยที่มีส่วนช่วยกระตุ้นทำให้ยอดโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยทั่วประเทศลดลงไม่รุนแรงตามที่คาดการณ์กันไว้ตั้งแต่ต้นปี
อ่านต่อฉบับเต็ม .... Download PDF
สามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่
สถานการณ์อสังหาริมทรัพย์ ทั่วประเทศ อื่นๆ