สถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยทั่วประเทศ ไตรมาส 2 ปี 2567 และครึ่งแรกปี 2567
วันที่ : 18 กันยายน 2567
จากรายงานภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 2 ปี 2567 มีขยายตัวของ GDP เพียงร้อยละ 2.3 ต่อเนื่องจากการขยายตัวร้อยละ 1.6 ในไตรมาส 1 ปี 2567 แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2567 คาดว่าจะขยายตัวในช่วงร้อยละ 2.3 – 2.8 โดยมีปัจจัยสนับสนุน คือ การฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยว การขยายตัวในเกณฑ์ดีของการอุปโภคบริโภคภายในประเทศ การเพิ่มขึ้นของแรงขับเคลื่อนจากการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ และการกลับมาขยายตัวอย่างช้าๆ ของภาคการส่งออก ส่วนข้อจำกัดและปัจจัยเสี่ยง คือ หนี้สินครัวเรือนและภาคธุรกิจที่อยู่ในเกณฑ์สูงและมาตรฐานสินเชื่อที่มีความเข้มงวด การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และความผันผวนของระบบเศรษฐกิจและการเงินโลก สำหรับภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทย พบว่า ผลกระทบในด้านลบต่อเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งแรกของปี 2567 คือ ภาวะเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น และภาวะดอกเบี้ยขาขึ้น รวมถึงภาวะหนี้ครัวเรือนอยู่ในระดับที่สูงถึงประมาณร้อยละ 90.00 ของ GDP เมื่อพิจารณาอัตราดอกเบี้ยนโยบายของคณะกรรมการนโยบายการเงิน ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2567 พบว่า คงอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.50 ซึ่งมีผลต่อความสามารถในการซื้อที่อยู่อาศัย
เศรษฐกิจในภาพรวมที่ชะลอตัวลง และปัจจัยลบต่าง ๆ ข้างต้นได้ส่งผลกระทบต่อภาวะของตลาดที่อยู่อาศัยของประเทศไทยทั้งด้านอุปสงค์ที่มีความสามารถในการซื้อที่อยู่อาศัยลดลง และในด้านอุปทานที่มีการชะลอตัวลงของอุปทานตามการชะลอตัวของอุปสงค์ โดยในไตรมาส 2 ปี 2567 พบว่า ด้านอุปสงค์ การโอนกรรมสิทธิ์ลดลงทั้งจำนวนหน่วยและมูลค่าร้อยละ –4.5 และร้อยละ –5.7 ตามลำดับ นอกจากนี้ภาวะสินเชื่อที่อยู่อาศัยบุคคลปล่อยใหม่ทั่วประเทศลดลงร้อยละ –10.1 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน การปรับตัวลดลงของอุปสงค์ได้ส่งผลต่อการชะลอตัวลงในด้านอุปทานด้วย ซึ่งพบการลดลงทั้งใบอนุญาตจัดสรรที่ดินและพื้นที่อนุญาตก่อสร้างที่อยู่อาศัย โดยใบอนุญาตจัดสรรที่ดินทั่วประเทศมีจำนวนหน่วยลดลงร้อยละ –16.8 และพื้นที่อนุญาตก่อสร้างที่อยู่อาศัยทั่วประเทศลดลงร้อยละ –19.0 โดยพื้นที่อนุญาตก่อสร้างที่อยู่อาศัยลดลงทั้งแนวราบและอาคารชุด ร้อยละ –19.3 และ –16.2 ตามลำดับ ...อ่านต่อฉบับเต็ม ... Download PDF
เศรษฐกิจในภาพรวมที่ชะลอตัวลง และปัจจัยลบต่าง ๆ ข้างต้นได้ส่งผลกระทบต่อภาวะของตลาดที่อยู่อาศัยของประเทศไทยทั้งด้านอุปสงค์ที่มีความสามารถในการซื้อที่อยู่อาศัยลดลง และในด้านอุปทานที่มีการชะลอตัวลงของอุปทานตามการชะลอตัวของอุปสงค์ โดยในไตรมาส 2 ปี 2567 พบว่า ด้านอุปสงค์ การโอนกรรมสิทธิ์ลดลงทั้งจำนวนหน่วยและมูลค่าร้อยละ –4.5 และร้อยละ –5.7 ตามลำดับ นอกจากนี้ภาวะสินเชื่อที่อยู่อาศัยบุคคลปล่อยใหม่ทั่วประเทศลดลงร้อยละ –10.1 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน การปรับตัวลดลงของอุปสงค์ได้ส่งผลต่อการชะลอตัวลงในด้านอุปทานด้วย ซึ่งพบการลดลงทั้งใบอนุญาตจัดสรรที่ดินและพื้นที่อนุญาตก่อสร้างที่อยู่อาศัย โดยใบอนุญาตจัดสรรที่ดินทั่วประเทศมีจำนวนหน่วยลดลงร้อยละ –16.8 และพื้นที่อนุญาตก่อสร้างที่อยู่อาศัยทั่วประเทศลดลงร้อยละ –19.0 โดยพื้นที่อนุญาตก่อสร้างที่อยู่อาศัยลดลงทั้งแนวราบและอาคารชุด ร้อยละ –19.3 และ –16.2 ตามลำดับ ...อ่านต่อฉบับเต็ม ... Download PDF
สามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่
สถานการณ์อสังหาริมทรัพย์ ทั่วประเทศ อื่นๆ