สถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยกรุงเทพฯ - ปริมณฑล ไตรมาส 2 ปี 2563 และครึ่งแรกปี 2563
Loading

สถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยกรุงเทพฯ - ปริมณฑล ไตรมาส 2 ปี 2563 และครึ่งแรกปี 2563

วันที่ : 31 สิงหาคม 2563
                      ในไตรมาส 2 ปี 2563 สถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยมีการชะลอตัวอย่างต่อเนื่องจากไตรมาส 1 ปี 2563 จากผลกระทบของการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID -19 และการล็อคดาวน์ทางเศรษฐกิจ จำกัดการเดินทางเข้า-ออกประเทศ มีผลทำให้เศรษฐกิจหดตัว มีการเลิกจ้างงานและลดค่าจ้างแรงงานเพิ่มมากขึ้น มีผลทำให้กำลังซื้อที่อยู่อาศัยหดตัวและถูกปฏิเสธสินเชื่อเพิ่มมากขึ้น
                      ในด้านอุปสงค์การโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยในไตรมาสนี้ มีการชะลอตัวลงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 เนื่องจากการโอนกรรมสิทธิ์ในไตรมาส 2 ปี 2562 มีฐานต่ำจากการประกาศใช้มาตรการ Macroprudential ของธนาคารแห่งประเทศไทยอยู่ก่อนแล้ว
                      ในด้านอุปทานโครงการเปิดขายใหม่ลดลงกว่าครึ่งเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นการลดลงของทั้งโครงการอาคารชุดและโครงการบ้านจัดสรร แต่โครงการอาคารชุดมีอัตราการชะลอตัวของการเปิดขายใหม่ลดลงมากกว่าโครงการบ้านจัดสรร เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2562 
                      ในด้านราคาที่ดินเปล่าก่อนการพัฒนา ในไตรมาส 2 ของปีนี้ยังปรับเพิ่มขึ้น แสดงให้เห็นว่า ผู้ประกอบการยังมีการซื้อที่ดินสะสม โดยเฉพาะที่ดินบริเวณปลายสายของรถไฟฟ้าที่กำลังก่อสร้าง ส่วนราคาที่อยู่อาศัยในไตรมาสนี้ก็มีการปรับราคาเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่มีที่น่าสังเกตคือ อัตราการขยายตัวของราคาห้องชุด มีทิศทางลดลงเมื่อเทียบระหว่างไตรมาส (QoQ) ติดต่อกันมาแล้ว 2 ไตรมาส และราคาที่อยู่อาศัยแนวราบ (บ้านเดี่ยวและทาวน์เฮ้าส์) มีการปรับลดลงเมื่อเทียบระหว่างไตรมาส (QoQ) ต่อเนื่องเป็นไตรมาสแรก แสดงให้เห็นว่า ในภาวการณ์ชะลอตัวของกำลังซื้อ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ประกาศลดราคาขายเพื่อเร่งรัดการตัดสินใจของผู้ซื้อ
                      สำหรับภาพรวมในครึ่งแรกปี 2563 (เดือนมกราคม - มิถุนายน) สถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยในด้านอุปสงค์การโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัย และด้านอุปทาน โครงการที่อยู่อาศัยใหม่ มีทิศทางชะลอตัวลงเช่นเดียวกันกับ
ไตรมาส 2 ปี 2563 


      อ่านต่อฉบับเต็ม .... Download PDF                      
สามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่