ประชาชาติธุรกิจ: หนี้เสียสินเชื่อบ้าน...แก้ปัญหาให้ตรงจุด
วันที่ : 1 ตุลาคม 2561
ปัญหาหนี้เสียจากการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยของ ธนาคารพาณิชย์ที่ยังพุ่งขึ้นไม่หยุด โดยไตรมาส 1/2561 ที่ผ่านมาอยู่ที่ 3.4% จาก 3.2% ช่วงปลาย ปี 2560 ทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกมา ส่งสัญญาณเตือนบ่อยครั้งในช่วงนี้ สะเทือนทั้งสถาบันการเงิน และแวดวงธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
ปัญหาหนี้เสียจากการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยของ ธนาคารพาณิชย์ที่ยังพุ่งขึ้นไม่หยุด โดยไตรมาส 1/2561 ที่ผ่านมาอยู่ที่ 3.4% จาก 3.2% ช่วงปลาย ปี 2560 ทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกมา ส่งสัญญาณเตือนบ่อยครั้งในช่วงนี้ สะเทือนทั้งสถาบันการเงิน และแวดวงธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
มองลึก ๆ ถึงเจตนาที่แท้จริงของแบงก์ชาติ น่าจะเข้า ทำนอง "ไม่มีไฟ ย่อมไม่มีควัน" หากไม่มีข้อมูลบ่ง ชี้ชัดว่า หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) สินเชื่อบ้าน ส่อจะมีปัญหา ก็คงไม่ออกมาปรามล่วงหน้า
ธปท.ชี้ว่าต้นตอปัญหามาจากตลาดสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่ แข่งกันรุนแรง ทำให้ธนาคารพาณิชย์นำเสนอแพ็กเกจสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ผ่อนยาว ลดแจกแถมดึงดูดลูกค้า รวมทั้งปล่อยวงเงินกู้เกินเกณฑ์ที่กำหนด
อย่างการอนุมัติวงเงินสินเชื่อต่อมูลค่าหลักทรัพย์ ค้ำประกัน (LTV) เกิน 90 หรือ 95% โดยเพิ่มวงเงินกู้ให้ด้วยการพ่วงสินเชื่อที่เกี่ยวเนื่องกับที่อยู่อาศัย หรือที่เรียกว่าปล่อยกู้แบบมีเงินทอน
นอกจากนี้ ยังมีปัญหาการซื้อบ้านและคอนโดฯเก็งกำไร กับสัญญาณฟองสบู่ เนื่องจากซัพพลายคอนโดฯ ล้นในบางทำเล
สอดคล้องกับมุมมองของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ที่จับตามองสถานการณ์สินเชื่อที่อยู่อาศัย และระบุว่าแม้ยังไม่เกิดปัญหาหนัก แต่เห็นถึงความเปราะบาง ตั้งแต่การประชุม กนง. เดือนกรกฎาคม สิงหาคม และการประชุม กนง.ล่าสุด วันที่ 19 กันยายน 2561 ที่ผ่านมา ทำให้ กนง.ส่งสัญญาณเตือนซ้ำ
พร้อมชี้ว่าความเสี่ยงสินเชื่อที่อยู่อาศัยยังไม่ลดลง ยังไม่เห็นแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของยอดหนี้ NPLs ลดลงในระดับที่มั่นใจได้ว่าจะไม่มีปัญหา กนง.จึงย้ำเตือน ให้สถาบันการเงินระมัดระวังเรื่องการผ่อนเกณฑ์การปล่อยกู้ ผลพวงจากการแข่งขันในตลาดที่รุนแรง จนทำให้มาตรฐานการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยด้อยลง
สวนทางกับข้อมูลของดีเวลอปเปอร์ที่เชื่อมั่นว่าจะไม่เกิดฟองสบู่ธุรกิจอสังหาฯ เช่นเดียวกับประเด็นเรื่องการเก็งกำไร ที่ผู้ประกอบการยืนยันตรงกันว่า ไม่มีปัญหา เนื่องจากลูกค้าที่ซื้อบ้านและคอนโดฯ ในปัจจุบัน ส่วนใหญ่เป็นเรียลดีมานด์ หรือกลุ่มที่ต้องการซื้อบ้านอยู่อาศัยจริง
เท่ากับเป็นข้อมูลอีกด้านหนึ่ง ซึ่ง ธปท.ในฐานะผู้กำกับ ดูแลสถาบันการเงินต้องรับฟัง เพื่อนำไปประกอบการ ตัดสินใจว่า สถานการณ์ตลาดสินเชื่อที่อยู่อาศัย กับตลาดบ้านคอนโดฯ เวลานี้น่าจะทำแค่ส่งสัญญาณเตือน หรือจำเป็นต้องออกมาตรการควบคุมดูแล
ขณะที่สถาบันการเงิน ผู้ประกอบการอสังหา ฯ ก็ต้อง ทำตามกติกา ที่สำคัญต้องร่วมหาทางออก ให้การแก้โจทย์ หนี้เสียถูกทาง และไม่สร้างปัญหาอื่นตามมา
มองลึก ๆ ถึงเจตนาที่แท้จริงของแบงก์ชาติ น่าจะเข้า ทำนอง "ไม่มีไฟ ย่อมไม่มีควัน" หากไม่มีข้อมูลบ่ง ชี้ชัดว่า หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) สินเชื่อบ้าน ส่อจะมีปัญหา ก็คงไม่ออกมาปรามล่วงหน้า
ธปท.ชี้ว่าต้นตอปัญหามาจากตลาดสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่ แข่งกันรุนแรง ทำให้ธนาคารพาณิชย์นำเสนอแพ็กเกจสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ผ่อนยาว ลดแจกแถมดึงดูดลูกค้า รวมทั้งปล่อยวงเงินกู้เกินเกณฑ์ที่กำหนด
อย่างการอนุมัติวงเงินสินเชื่อต่อมูลค่าหลักทรัพย์ ค้ำประกัน (LTV) เกิน 90 หรือ 95% โดยเพิ่มวงเงินกู้ให้ด้วยการพ่วงสินเชื่อที่เกี่ยวเนื่องกับที่อยู่อาศัย หรือที่เรียกว่าปล่อยกู้แบบมีเงินทอน
นอกจากนี้ ยังมีปัญหาการซื้อบ้านและคอนโดฯเก็งกำไร กับสัญญาณฟองสบู่ เนื่องจากซัพพลายคอนโดฯ ล้นในบางทำเล
สอดคล้องกับมุมมองของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ที่จับตามองสถานการณ์สินเชื่อที่อยู่อาศัย และระบุว่าแม้ยังไม่เกิดปัญหาหนัก แต่เห็นถึงความเปราะบาง ตั้งแต่การประชุม กนง. เดือนกรกฎาคม สิงหาคม และการประชุม กนง.ล่าสุด วันที่ 19 กันยายน 2561 ที่ผ่านมา ทำให้ กนง.ส่งสัญญาณเตือนซ้ำ
พร้อมชี้ว่าความเสี่ยงสินเชื่อที่อยู่อาศัยยังไม่ลดลง ยังไม่เห็นแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของยอดหนี้ NPLs ลดลงในระดับที่มั่นใจได้ว่าจะไม่มีปัญหา กนง.จึงย้ำเตือน ให้สถาบันการเงินระมัดระวังเรื่องการผ่อนเกณฑ์การปล่อยกู้ ผลพวงจากการแข่งขันในตลาดที่รุนแรง จนทำให้มาตรฐานการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยด้อยลง
สวนทางกับข้อมูลของดีเวลอปเปอร์ที่เชื่อมั่นว่าจะไม่เกิดฟองสบู่ธุรกิจอสังหาฯ เช่นเดียวกับประเด็นเรื่องการเก็งกำไร ที่ผู้ประกอบการยืนยันตรงกันว่า ไม่มีปัญหา เนื่องจากลูกค้าที่ซื้อบ้านและคอนโดฯ ในปัจจุบัน ส่วนใหญ่เป็นเรียลดีมานด์ หรือกลุ่มที่ต้องการซื้อบ้านอยู่อาศัยจริง
เท่ากับเป็นข้อมูลอีกด้านหนึ่ง ซึ่ง ธปท.ในฐานะผู้กำกับ ดูแลสถาบันการเงินต้องรับฟัง เพื่อนำไปประกอบการ ตัดสินใจว่า สถานการณ์ตลาดสินเชื่อที่อยู่อาศัย กับตลาดบ้านคอนโดฯ เวลานี้น่าจะทำแค่ส่งสัญญาณเตือน หรือจำเป็นต้องออกมาตรการควบคุมดูแล
ขณะที่สถาบันการเงิน ผู้ประกอบการอสังหา ฯ ก็ต้อง ทำตามกติกา ที่สำคัญต้องร่วมหาทางออก ให้การแก้โจทย์ หนี้เสียถูกทาง และไม่สร้างปัญหาอื่นตามมา
ข่าวนโยบายการเงิน-การคลัง อื่นๆ