สศค.ลุ้น นโยบายรัฐ หนุนจีดีพีปี 68 โต 3.5%
วันที่ : 1 กุมภาพันธ์ 2568
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เกาะติดนโยบายทรัมป์ 2.0 ใกล้ชิด เหตุกระทบห่วงโช่อุปทานเศรษฐกิจโลกและประเทศคู่ค้าไทย พร้อมปรับลดเศรษฐกิจไทยปี 2567 จาก 2.7% เหลือ 2.5% ลุ้นปี 2568 โตได้ถึง 3.5% จากคาดการณ์ 3% หากภาพรวมเอื้อ นโยบายรัฐเดินหน้าตามเป้า
นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังยังอยู่ระหว่างติดตามและประเมินผลกระทบด้านเศรษฐกิจจากนโยบายของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ซึ่งหลายนโยบายค่อนข้างดุเดือด ชัดเจน และดำเนินการทันที ขณะที่มีอีกหลายนโยบายที่ยังไม่ได้ดำเนินการ จึงต้องมีการติดตามอย่างใกล้ชิด
เบื้องต้นมองว่า ผลจากนโยบายของนายโดนัลด์ ทรัมป์ จะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของห่วงโซ่อุปทานของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจคู่ค้า ซึ่งอาจมีผลต่อภาคการส่งออกของไทย โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าคอมพิวเตอร์ ยางพารา และอิเล็กทรอนิกส์
ขณะเดียวกันอาจจะมีผลทำให้เศรษฐกิจจีนชะลอตัวลง แม้ว่า มาตรการด้านภาษีที่จะดำเนินการกับจีนจะยังไม่ชัดเจน ซึ่งในส่วนนี้อาจส่งผลให้ความต้องการสินค้าไทยจากจีนลดลง ตลอดจนจีนอาจจะมีการเร่งระบายสินค้าออกมา ทำให้สินค้าไทยต้องเผชิญการแข่งขันที่ดุเดือดมากขึ้น
นายพรชัยกล่าวต่อว่า ภารวมเศรษฐกิจไทยในปี 2567 สศค.มองว่า จะขยายตัวอยู่ที่ระดับ 2.5% ลดลงจากเดิมที่คาดโต 2.7% เนื่องจากการขยายตัวของเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 4/67 แตกต่างจากคาดการณ์มาก ซึ่งเป็นผลจากตัวเลขภาคอุตสาหกรรมที่ลดลงมากกว่าประมาณการ โดยเฉพาะการชะลอตัวลงของอุตสาหกรรมยานยนต์สันดาป ซึ่งยอดขายเดือนพฤศจิกายน 2567 ติดลบสูงถึงกว่า 20% รวมถึงนักลงทุนชะลอการลงทุน ตลอดจนการผลิตที่ลดลงด้วย ซึ่งภาคอุตสาหกรรมมีน้ำหนักคิดเป็น 26% ของ GDP
สำหรับเศรษฐกิจไทยปี 2568 สศค.ประมาณการว่า จะขยายตัวเร่งขึ้นสู่ 3% โดยมี 4 ปัจจัยบวกหลักคือ การบริโภคภาคเอกชนการส่งออกการท่องเที่ยวและการลงทุนทั้งภาครัฐและเอกชน อย่างไรก็ตาม มองว่าเ ศรษฐกิจปีนี้มีโอกาสเติบโตได้ถึง 3.5% หากภาวะทั้งในและนอกประเทศเอื้ออำนวย รวมถึงมีการเร่งรัดและติดตามผลการดำเนินของนโยบายต่าง ๆ ของภาครัฐอย่างเต็มที่คือ
1.การเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี 2568 ทั้งรายจ่ายประจำและรายจ่ายลงทุนให้เป็นไปตามเป้าหมายโดยเฉพาะรายจ่ายลงทุนให้ได้ 80% จากเป้าหมาย 75% ซึ่งการเพิ่มขึ้น 5%คิดเป็นวงเงิน 4.56 หมื่นล้านบาท จะช่วยให้ GDP โตเพิ่ม 0.11%
2.การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายของประชาชนผู้ได้รับสิทธิภายใต้โครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่านดิจิทัลวอลเล็ต (ระยะที่ 3) เพื่อทำให้เม็ดเงินทั้งหมดถูกใช้จ่ายหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจได้อย่างเต็มที่และทำให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากที่สุด ซึ่งคาดว่าเม็ดเงินจะเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจไม่เกินไตรมาส 2/68 โดยในส่วนนี้จะทำให้ GDP โตเพิ่ม 0.1% จากกรณีปกติ
3.การเร่งรัดการลงทุนในโครงการบ้านเพื่อคนไทยเพื่อให้เกิดการลงทุนตามแผนงาน โดยเบื้องต้นคาดว่าจะมีเม็ดเงินลงทุนในปีนี้ ราว 830 ล้านบาท ซึ่งจะช่วยสนับสนุนให้ GDP โตเพิ่มได้ 0.002% ไม่นับรวม Forward Linkage
4.การกระตุ้นการท่องเที่ยวในภาพรวมและช่วงปลายปีที่ประเทศไทยจะได้เป็นเจ้าภาพการแข่งขันมหกรรมกีฬาซีเกมส์ครั้งที่ 33 ในปลายปีนี้ ซึ่งหากกระตุ้นให้มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้นได้ 5 แสนรายจากเป้าหมาย จะช่วยให้ GDP โตเพิ่ม 0.15%
5.การเร่งรัดโครงการการลงทุนของภาคเอกชนหลังได้รับการออกบัตรส่งเสริมการลงทุนแล้ว โดยเฉพาะโครงการที่เกี่ยวข้องกับ Data Center และ Cloud Region เพื่อให้เกิดเม็ดเงินลงทุนจริงสู่ระบบเศรษฐกิจและเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลของประเทศไทย หากลงทุนจริงได้รวม 7.5 หมื่นล้านบาท จะช่วยสนับสนุน GDP โต 0.19%
"หากสามารถผลักดันแนวทางการเร่งรัดได้เต็มศักยภาพแล้ว คาดว่าจะเพิ่มอัตราการขยายตัวได้อีก 0.5% ทำให้เศรษฐกิจไทยสามารถขยายตัวได้ถึง 3.5% ตามกรอบบนของช่วงคาดการณ์"นายพรชัยกล่าว
เบื้องต้นมองว่า ผลจากนโยบายของนายโดนัลด์ ทรัมป์ จะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของห่วงโซ่อุปทานของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจคู่ค้า ซึ่งอาจมีผลต่อภาคการส่งออกของไทย โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าคอมพิวเตอร์ ยางพารา และอิเล็กทรอนิกส์
ขณะเดียวกันอาจจะมีผลทำให้เศรษฐกิจจีนชะลอตัวลง แม้ว่า มาตรการด้านภาษีที่จะดำเนินการกับจีนจะยังไม่ชัดเจน ซึ่งในส่วนนี้อาจส่งผลให้ความต้องการสินค้าไทยจากจีนลดลง ตลอดจนจีนอาจจะมีการเร่งระบายสินค้าออกมา ทำให้สินค้าไทยต้องเผชิญการแข่งขันที่ดุเดือดมากขึ้น
นายพรชัยกล่าวต่อว่า ภารวมเศรษฐกิจไทยในปี 2567 สศค.มองว่า จะขยายตัวอยู่ที่ระดับ 2.5% ลดลงจากเดิมที่คาดโต 2.7% เนื่องจากการขยายตัวของเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 4/67 แตกต่างจากคาดการณ์มาก ซึ่งเป็นผลจากตัวเลขภาคอุตสาหกรรมที่ลดลงมากกว่าประมาณการ โดยเฉพาะการชะลอตัวลงของอุตสาหกรรมยานยนต์สันดาป ซึ่งยอดขายเดือนพฤศจิกายน 2567 ติดลบสูงถึงกว่า 20% รวมถึงนักลงทุนชะลอการลงทุน ตลอดจนการผลิตที่ลดลงด้วย ซึ่งภาคอุตสาหกรรมมีน้ำหนักคิดเป็น 26% ของ GDP
สำหรับเศรษฐกิจไทยปี 2568 สศค.ประมาณการว่า จะขยายตัวเร่งขึ้นสู่ 3% โดยมี 4 ปัจจัยบวกหลักคือ การบริโภคภาคเอกชนการส่งออกการท่องเที่ยวและการลงทุนทั้งภาครัฐและเอกชน อย่างไรก็ตาม มองว่าเ ศรษฐกิจปีนี้มีโอกาสเติบโตได้ถึง 3.5% หากภาวะทั้งในและนอกประเทศเอื้ออำนวย รวมถึงมีการเร่งรัดและติดตามผลการดำเนินของนโยบายต่าง ๆ ของภาครัฐอย่างเต็มที่คือ
1.การเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี 2568 ทั้งรายจ่ายประจำและรายจ่ายลงทุนให้เป็นไปตามเป้าหมายโดยเฉพาะรายจ่ายลงทุนให้ได้ 80% จากเป้าหมาย 75% ซึ่งการเพิ่มขึ้น 5%คิดเป็นวงเงิน 4.56 หมื่นล้านบาท จะช่วยให้ GDP โตเพิ่ม 0.11%
2.การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายของประชาชนผู้ได้รับสิทธิภายใต้โครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่านดิจิทัลวอลเล็ต (ระยะที่ 3) เพื่อทำให้เม็ดเงินทั้งหมดถูกใช้จ่ายหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจได้อย่างเต็มที่และทำให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากที่สุด ซึ่งคาดว่าเม็ดเงินจะเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจไม่เกินไตรมาส 2/68 โดยในส่วนนี้จะทำให้ GDP โตเพิ่ม 0.1% จากกรณีปกติ
3.การเร่งรัดการลงทุนในโครงการบ้านเพื่อคนไทยเพื่อให้เกิดการลงทุนตามแผนงาน โดยเบื้องต้นคาดว่าจะมีเม็ดเงินลงทุนในปีนี้ ราว 830 ล้านบาท ซึ่งจะช่วยสนับสนุนให้ GDP โตเพิ่มได้ 0.002% ไม่นับรวม Forward Linkage
4.การกระตุ้นการท่องเที่ยวในภาพรวมและช่วงปลายปีที่ประเทศไทยจะได้เป็นเจ้าภาพการแข่งขันมหกรรมกีฬาซีเกมส์ครั้งที่ 33 ในปลายปีนี้ ซึ่งหากกระตุ้นให้มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้นได้ 5 แสนรายจากเป้าหมาย จะช่วยให้ GDP โตเพิ่ม 0.15%
5.การเร่งรัดโครงการการลงทุนของภาคเอกชนหลังได้รับการออกบัตรส่งเสริมการลงทุนแล้ว โดยเฉพาะโครงการที่เกี่ยวข้องกับ Data Center และ Cloud Region เพื่อให้เกิดเม็ดเงินลงทุนจริงสู่ระบบเศรษฐกิจและเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลของประเทศไทย หากลงทุนจริงได้รวม 7.5 หมื่นล้านบาท จะช่วยสนับสนุน GDP โต 0.19%
"หากสามารถผลักดันแนวทางการเร่งรัดได้เต็มศักยภาพแล้ว คาดว่าจะเพิ่มอัตราการขยายตัวได้อีก 0.5% ทำให้เศรษฐกิจไทยสามารถขยายตัวได้ถึง 3.5% ตามกรอบบนของช่วงคาดการณ์"นายพรชัยกล่าว
ข่าวนโยบายการเงิน-การคลัง อื่นๆ