ธปท.ห่วงระบบการเงินป่วน
วันที่ : 25 เมษายน 2568
ธปท.เปิดรายงานระบบการเงินไทยมีเสถียรภาพ แต่หนี้เสียเพิ่ม กังวล 4 เรื่อง คนไทยเงินช็อต กู้ไม่ได้ สินทรัพย์ราคาตกจับตาบริษัทขนาดใหญ่-อสังหาฯ ที่เจอพิษเศรษฐกิจทรุด-แผ่นดินไหว หวั่นเจอแจ็กพอตส่งหนี้ไม่ได้อาจลามทั้งระบบ ขณะที่ "JP MorganMoody'sS&P" คงเรตติ้งไทยในระดับมีเสถียรภาพ
จับตา "บริษัทใหญ่-อสังหาฯ" ฐานะอ่อนไหว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกรายงานการประเมินเสถียรภาพระบบการเงินไทย 2567 โดยระบุว่า ระบบการเงินไทยโดยรวมมีเสถียรภาพ แม้พบว่าคุณภาพหนี้จะด้อยลง อย่างไรก็ดีท่ามกลางผลกระทบจากนโยบายการค้าและนโยบายภาษีของประเทศต่างๆ ปัญหาเชิงโครงสร้างของบางภาคธุรกิจ เหตุการณ์แผ่นดินไหว และหนี้ครัวเรือนที่ยังอยู่ในระดับสูงยังต้องติดตามความเสี่ยงต่อระบบการเงินในระยะข้างหน้า 4 เรื่อง
1.ความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่เปราะบางและอ่อนไหวรวมทั้งตลาดเงิน และตลาดทุนโลกที่มีความผันผวนสูงมาก อาจนำไปสู่การขายสินทรัพย์ทำให้ราคาสินทรัพย์โดยรวมปรับลดลง ซึ่งจะกระทบต่อฐานะการเงินของนักลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายย่อย รวมถึงจะทำให้ต้นทุนการกู้ยืมผ่านตลาดทุนและความเสี่ยงในการออกหุ้นกู้ใหม่เพื่อทดแทนหุ้นกู้เดิมที่ปรับเพิ่มขึ้น ซึ่งจะกระทบต่อระบบการเงินโดยรวม
2.ภาวะการเงินในระยะต่อไปอาจตึงตัวมากขึ้น และส่งผลต่อสภาพคล่องของธุรกิจและครัวเรือนรวมถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจในระยะต่อไป โดยต้องจับตาความสามารถการชำระหนี้ของภาคธุรกิจและครัวเรือนลดลง ขณะที่สถาบันการเงินระมัดระวังในการให้สินเชื่อใหม่
3.บริษัทขนาดใหญ่บางรายมีการก่อหนี้ในระดับสูง และเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ทั้งนี้ หากระดับหนี้ที่สูงขึ้นต่อเนื่องจะเป็นการสะสมความเปราะบางโดยเฉพาะบริษัทที่มีระดับหนี้สูง มีรายได้และความสามารถชำระหนี้ที่อ่อนไหวต่อภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งหากเศรษฐกิจโลกและไทยได้รับผลกระทบมากกว่าที่คาด อาจส่งผลกระทบต่อฐานะการเงิน และการชำระหนี้บริษัท และส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังความเชื่อมั่นนักลงทุนผู้ฝากเงิน รวมถึงส่งผลต่อเสถียรภาพระบบการเงิน หากความเชื่อมั่นลดลงเป็นวงกว้าง
4.ฐานะการเงินของผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์บางรายที่ได้รับผลกระทบเพิ่มเติมจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวล่าสุด กำลังซื้อที่อ่อนแอ และหนี้ครัวเรือนสูง ส่งผลต่อการชำระหนี้ในอนาคต
ขณะที่ นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รมช.คลังเปิดเผยว่า ในช่วงการประชุมสภาผู้ว่าการธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ประจำปี 68 ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกา ได้หารือกับสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ โดยมีแนวโน้มสูงที่ไทยคงการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับ BBB+ ของ S&P และ Baa1 ของ Moody's และมุมมองความน่าเชื่อถือของประเทศอยู่ในระดับมีเสถียรภาพ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกรายงานการประเมินเสถียรภาพระบบการเงินไทย 2567 โดยระบุว่า ระบบการเงินไทยโดยรวมมีเสถียรภาพ แม้พบว่าคุณภาพหนี้จะด้อยลง อย่างไรก็ดีท่ามกลางผลกระทบจากนโยบายการค้าและนโยบายภาษีของประเทศต่างๆ ปัญหาเชิงโครงสร้างของบางภาคธุรกิจ เหตุการณ์แผ่นดินไหว และหนี้ครัวเรือนที่ยังอยู่ในระดับสูงยังต้องติดตามความเสี่ยงต่อระบบการเงินในระยะข้างหน้า 4 เรื่อง
1.ความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่เปราะบางและอ่อนไหวรวมทั้งตลาดเงิน และตลาดทุนโลกที่มีความผันผวนสูงมาก อาจนำไปสู่การขายสินทรัพย์ทำให้ราคาสินทรัพย์โดยรวมปรับลดลง ซึ่งจะกระทบต่อฐานะการเงินของนักลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายย่อย รวมถึงจะทำให้ต้นทุนการกู้ยืมผ่านตลาดทุนและความเสี่ยงในการออกหุ้นกู้ใหม่เพื่อทดแทนหุ้นกู้เดิมที่ปรับเพิ่มขึ้น ซึ่งจะกระทบต่อระบบการเงินโดยรวม
2.ภาวะการเงินในระยะต่อไปอาจตึงตัวมากขึ้น และส่งผลต่อสภาพคล่องของธุรกิจและครัวเรือนรวมถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจในระยะต่อไป โดยต้องจับตาความสามารถการชำระหนี้ของภาคธุรกิจและครัวเรือนลดลง ขณะที่สถาบันการเงินระมัดระวังในการให้สินเชื่อใหม่
3.บริษัทขนาดใหญ่บางรายมีการก่อหนี้ในระดับสูง และเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ทั้งนี้ หากระดับหนี้ที่สูงขึ้นต่อเนื่องจะเป็นการสะสมความเปราะบางโดยเฉพาะบริษัทที่มีระดับหนี้สูง มีรายได้และความสามารถชำระหนี้ที่อ่อนไหวต่อภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งหากเศรษฐกิจโลกและไทยได้รับผลกระทบมากกว่าที่คาด อาจส่งผลกระทบต่อฐานะการเงิน และการชำระหนี้บริษัท และส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังความเชื่อมั่นนักลงทุนผู้ฝากเงิน รวมถึงส่งผลต่อเสถียรภาพระบบการเงิน หากความเชื่อมั่นลดลงเป็นวงกว้าง
4.ฐานะการเงินของผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์บางรายที่ได้รับผลกระทบเพิ่มเติมจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวล่าสุด กำลังซื้อที่อ่อนแอ และหนี้ครัวเรือนสูง ส่งผลต่อการชำระหนี้ในอนาคต
ขณะที่ นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รมช.คลังเปิดเผยว่า ในช่วงการประชุมสภาผู้ว่าการธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ประจำปี 68 ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกา ได้หารือกับสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ โดยมีแนวโน้มสูงที่ไทยคงการจัดอันดับความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับ BBB+ ของ S&P และ Baa1 ของ Moody's และมุมมองความน่าเชื่อถือของประเทศอยู่ในระดับมีเสถียรภาพ