ตรวจชีพจร 'อสังหาฯ' ครึ่งปีแรกมาตรการรัฐพอพยุงยอดขาย-ลุ้นโอนฯ
วันที่ : 24 กรกฎาคม 2568
ASW กล่าวว่า ครึ่งแรกของปี 68 เป็นช่วงเวลาที่ท้าทายสำหรับตลาดอสังหาฯไทย จากการชะลอตัวของเศรษฐกิจ และปัจจัยกดดันจากต่างประเทศ ทั้งนโยบายภาษีทรัมป์ และสงครามการค้าสหรัฐ-จีน
บ้านต่ำ 7 ล้านสร้างเสร็จเหลือขายอื้อ!
อสังหาริมทรัพย์
เศรษฐกิจของประเทศไทยในปี 2568 ชะลอตัวลงชัดเจนและต่อเนื่องสะสมมาหลายปี ซึ่งปัจจัยลบที่มีผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยมีมาก ลึกและ ซ้ำซ้อน ทั้งปัจจัยลบภายในประเทศและปัญหาภายนอกประเทศที่เกิดขึ้น แต่มีผลต่อประเทศไทยทั้งในเรื่องของภาพลักษณ์ ราคาน้ำมัน และความเชื่อมั่นในการมาประเทศไทย
โดยปัจจัยนอกประเทศที่เหนือการควบคุม เช่น ปัญหาความขัดแย้งในภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก และอาจจะมีผลกระทบค่อนข้างมากทั้งในเรื่องของการท่องเที่ยวที่มีผลต่อการเดินทางของคนในบางภูมิภาคที่ต้องใช้เวลาในการเดินทางหรือค่าใช้จ่ายที่มากขึ้น เช่น ปัญหาความขัดแย้งในตะวันออกกลาง ส่งผลต่อการเดินทางของคนในตะวันออกกลาง และยุโรปที่ต้องงดเว้นการใช้เส้นทางการบินผ่านประเทศนั้นๆ ช่วงที่มีปัญหา หรือการดีเลย์ของเที่ยวบินในบางประเทศ ที่ส่งผลต่อความไม่เชื่อมั่นหรือความปลอดภัยในการเดินทาง รวมไปถึงถ้าปัญหารุนแรง จนอาจจะมีผลต่อราคาน้ำมันแบบที่เกิดขึ้นช่วงก่อนหน้านี้ ซึ่งเมื่อราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นย่อมมีผลต่อราคาสินค้าอุปโภค และบริโภคโดยตรงเช่นกัน
นายสุรเชษฐ กองชีพ หัวหน้าฝ่ายวิจัยและที่ปรึกษา บริษัท คุชแมน แอนด์ เวคฟีลด์ ประเทศไทย จำกัด ที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ กล่าวว่า ตอนนี้ภาพลักษณ์ของประเทศไทย ที่สื่อออกไปในทางที่ไม่ดีในสายตาคนบางประเทศ มีผลต่อความเชื่อมั่นในการเดินทางมาประเทศไทยค่อนข้างมาก โดยเฉพาะคนจีนที่มองว่าประเทศไทยไม่ปลอดภัย และพวกเขาให้ความสำคัญกับเรื่องการทุจริต หรือการไม่ทำหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ราชการในประเทศไทย เพราะในประเทศจีนเรื่องนี้สำคัญ และคนจีนเห็นความเข้มงวดเอาจริงเอาจังในประเทศของตนเองจนนำมาเปรียบเทียบกับประเทศต่างๆ และเกิดกระแสการไม่ยอมรับขึ้นจนสร้างค่านิยมใหม่ๆ ในการท่องเที่ยว อีกทั้งความปลอดภัยในประเทศจีนค่อนข้างสูงจึงเกิดการเปรียบเทียบค่อนข้างมาก แม้ว่าจะยังมีคนจีนเข้ามาในประเทศไทยไม่น้อยในช่วง 6 เดือนแรกของปี พ.ศ. 2568 โดยมีจำนวน 2,265,556 คนมากเป็นอันดับที่ 2 รองจากมาเลเซียที่มีจำนวน 2,299,897 คน แต่คนจีนลดลง ประมาณ 34% จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งแน่นอนว่ามีผลต่อธุรกิจการท่องเที่ยวในประเทศไทยแน่นอน
ปัจจัยลบภายในประเทศ การเบิกจ่ายงบประมาณของรัฐบาลทำได้ช้าในช่วงที่ผ่านมา คดีความหรือปัญหาต่างๆ ที่อยู่ระหว่างการพิจารณา ล้วนมีผลต่อการตัดสินใจของพรรคร่วมรัฐบาลทั้งสิ้น ทำให้นโยบายหรือมาตรการต่างๆ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านเศรษฐกิจหรือด้านต่างๆ คงยังไม่มีออกมาในช่วงนี้ กำลังซื้อของคนไทยเองก็ลดลงต่อเนื่องมาตั้งแต่หลังจากโควิด-19 แม้ว่าจะดูเหมือนว่าดีขึ้นในช่วงปีพ.ศ.2566-2567 แต่สุดท้ายแล้วก็แบบที่เห็นได้ชัดเจนในปีนี้ว่า ไม่ได้ดีขึ้น กลับทรุดหนักลงด้วยซ้ำไป เพราะภาระหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นช่วงสถานการณ์โควิด-19 ซึ่งอาจจะมาจากปัญหาการขาดรายได้ช่วงนั้น และความคาดหวังว่าจะดีขึ้นจึงสร้างภาระหนี้สินมากขึ้น แล้วไม่เป็นไปตามที่คาดคิด GDP หรือการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศไทยในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 68 ที่ผ่านมาขยายตัว 3.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) และเพิ่มขึ้น เพียง 0.7% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (QoQ) อีกทั้งมีความ เป็นไปได้ที่ GDP ปีนี้จะมีการขยายตัวเฉลี่ยทั้งปีเพียง 1.8% เพราะนักท่องเที่ยวชาวจีนที่ลดลง ปัญหาเรื่องของอัตราภาษีส่งออกไปสหรัฐฯที่อาจจะคงอยู่ที่ 36% ทั้งเรื่องการท่องเที่ยวและส่งออกเป็นเครื่องยนต์หลักที่สร้างรายได้เข้าประเทศไทย ถ้ามีปัญหาย่อมกระทบกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และสุดท้ายจะกระทบกับความเชื่อมั่นของคนไทย ทำให้การใช้จ่ายเงินลดลงถึงกระทบกับการจ้างงานโดยตรง
ลุ้นยอดโอนฯไตรมาส 2 ดีขึ้น
สำหรับกำลังซื้อของคนไทยในตลาดที่อยู่อาศัยนั้น เห็นได้ชัดเจนว่าลดลงไปค่อนข้างมาก จากข้อมูลการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยที่ทางศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์เผยแพร่ออกมาเห็นได้ชัดเจนว่าการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยลดลงในช่วงไตรมาสที่ 1 พ.ศ.2568 โดยมีที่อยู่อาศัยโอนกรรมสิทธิ์ไป 66,276 ยูนิตลดลงไปประมาณ 10.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยการโอนฯลดลงในทุกระดับราคาและลดลงทั้งบ้านและคอนโดมิเนียม ซึ่งช่วงไตรมาสที่ 1 ที่ชะลอตัว ผู้ซื้อจำนวนไม่น้อยเลือกรอมาตรการภาษีจากภาครัฐ แต่คาดว่า ไตรมาส 2 ยอดโอนฯ อาจจะลดลงไม่มาก เนื่องจากอยู่ในช่วงของ การใช้มาตรการลดค่าธรรมเนียมการโอนฯ ที่ออกมากระตุ้นกำลังซื้อ รวมไปถึงการผ่อนคลายมาตรการ LTV ของธปท.ที่ออกมาพร้อมกัน ดังนั้น จึงเป็นไปได้ที่การโอนฯไตรมาสที่ 2 จะมากขึ้น
ปัญหาอีกอย่างที่เป็นปัญหามานานหลายปีต่อเนื่องกัน คือ การขอสินเชื่อที่อยู่อาศัยจากสถาบันการเงินต่างๆ คนไทยเกือบ 100% ใช้สินเชื่อที่อยู่อาศัยในการซื้อบ้านหรือคอนโดฯเป็นหลัก ซึ่งสถาบันการเงินมีความเข้มงวดในการพิจารณามากเหลือเกิน โดยเฉพาะช่วงที่เศรษฐกิจชะลอตัว และช่วงที่กำลังซื้อภายในประเทศค่อนข้างมีความเสี่ยง ซึ่งจะเห็นจากตัวเลขสินเชื่อที่อยู่อาศัยสำหรับบุคคลทั่วไปที่ปล่อยใหม่ในไตรมาสที่ 1 พ.ศ. 2568 อยู่ที่ 109,368 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าถึง 34.7% และเป็นยอดสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่ต่ำที่สุดในรอบ 2-3 ปี
เอกชนชะลอขึ้นโครงการใหม่ รอกำลังซื้อฟื้น
เมื่อทั้งภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว กำลังซื้อในประเทศชะลอตัวลงแบบชัดเจน ผู้ประกอบการเองก็เลือกที่จะลดการเปิดขายโครงการใหม่ออกไป ทั้งในส่วนของคอนโดมิเนียมที่เปิดขายลดลงแบบชัดเจนในกรุงเทพมหานครในช่วงครึ่งแรกของปี พ.ศ. 2568 โดยมีคอนโดฯ เปิดขายใหม่เพียง 6,986 ยูนิต น้อยกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้วประมาณ 20% โดยในส่วนของบ้านจัดสรรก็เช่นกัน พบว่าในไตรมาสที่ 1 พ.ศ. 2568 มีจำนวน 87 โครงการ รวม 10,143 ยูนิต ลดลง (YOY) ประมาณ 43.1%
ตลาดบ้านจัดสรร อาจจะเป็นตลาดที่ดูแล้วมีความน่าสนใจในสายตาของผู้ประกอบการ แม้ว่าตัวเลขของการขออนุญาตจัดสรรจะลดลง แต่ภาพรวมแล้วยังดูมีความเคลื่อนไหว หรือการเปิดขายโครงการใหม่มากกว่าคอนโดฯ เพราะบ้านจัดสรรสามารถทยอยเปิดการขายหรือทยอยก่อสร้างเป็นเฟสไปเรื่อยๆ ต่างจากคอนโดฯที่ต้องเปิดขายและก่อสร้างพร้อมกันทั้งโครงการ ผู้ประกอบการเพิ่มสัดส่วนของบ้านราคาไม่แพงหรือทาวน์เฮาส์มากขึ้น ผู้ประกอบการบางรายอาจจะยังคงให้ความสำคัญกับบ้านราคาแพงเช่นเดิม แต่มีโครงการบ้านจัดสรรราคาเข้าถึงได้ เปิดขายควบคู่ไปด้วย
"โครงการที่อยู่อาศัยราคาแพง ยังคงเดินหน้าต่อไป แต่ในอัตราเร่งที่ลดลง เริ่มมีการออกแบบหรือมีรูปแบบโครงการที่จำเพาะเจาะจงมากกว่าที่ผ่านมา เปิดขายอาจจะไม่มาก หรืออาจจะเปิดขายกันแบบเงียบๆ กับกลุ่มลูกค้าที่พวกเขามีอยู่แล้ว จากนั้นจึงประกาศออกมาว่าปิดการขายไปแล้วหรือขายไปเกือบหมดแล้ว"
"เงินสด" ตัวชี้วัด "ความอยู่รอด" ของอสังหาฯ
กระแสเงินสดกลายเป็น 1 ในเรื่องที่ผู้ประกอบการทุกรายให้ความสนใจ โดยเฉพาะในช่วงที่เศรษฐกิจชะลอตัว และกำลังซื้อทั้งในกลุ่มคนไทย และต่างชาติลดลง โดยเฉพาะกำลังซื้อคนไทยที่ลดลง อีกทั้งมีความเป็นไปได้ที่จะลดลงต่อเนื่อง รวมไปถึงมีความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาในการโอนฯด้วย ผู้ประกอบการหลายรายเลือกที่จะเร่งระบายบ้านและคอนโดฯที่สร้างเสร็จ โดยออกมาตรการทางการตลาดหรือทางด้านราคาแบบชัดเจน เพื่อสร้างความน่าสนใจ และกระตุ้นความต้องการซื้อในกลุ่มผู้ซื้อคนไทยให้มากขึ้น
นอกจากนี้ การร่วมทุนของผู้ประกอบการไทยและต่างชาติยังคงมีให้เห็นต่อเนื่อง เพราะผู้ประกอบการไทยไม่ต้องรับความเสี่ยงจากการลงทุนเองทั้งหมด แม้ว่าต้องแบ่งผลตอบแทนกันก็ตาม แต่พวกเขาก็ยินดีที่จะเปิดรับผู้ร่วมทุนต่างชาติ ซึ่งช่วงที่ผ่านมามีการร่วมทุนเพื่อพัฒนาโครงการบ้านจัดสรรมากขึ้นแบบชัดเจน ในขณะที่โครงการคอนโดฯมีน้อยลง และมีการจับคู่การร่วมทุนใหม่มากขึ้นในช่วง 1-2 ปีนี้ โดยเฉพาะนักลงทุนต่างชาติที่เคยร่วมทุนกับผู้ประกอบการไทยมาก่อนหน้านี้
การขอสินเชื่อธนาคาร ไม่ใช่ปัญหาของคนทั่วไปที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัยเท่านั้น แต่ยังเป็นปัญหาของผู้ประกอบการด้วยเช่นกัน เพราะสถาบันการเงินมีความเข้มงวดในการพิจารณามากเช่นกัน ก่อนหน้านี้ผู้ประกอบการหลายรายเลือกการออกหุ้นกู้เพื่อระดมทุนมาพัฒนาโครงการ หรือสร้างระแสเงินสดในบริษัท แต่เมื่อการออกหุ้นกู้มีมากขึ้น ประกอบกับความเชื่อมั่นเริ่มลดน้อยลง การให้เรตติ้งหุ้นกู้เริ่มด้อยลง ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยของหุ้นกู้เพิ่มขึ้น กระทบต่อต้นทุนมากขึ้น ประกอบกับผู้ประกอบการบางรายมีปัญหาในการหาเงินมาจ่ายคืนจนต้องออกหุ้นกู้มา Rollover ของเดิม อีกทั้งหุ้นกู้ของผู้ประกอบการบางรายขายได้ต่ำกว่าที่ต้องการ สะท้อนความไม่เชื่อมั่นทั้งในตัวผู้ประกอบการ และตลาดที่อยู่อาศัยแบบชัดเจน และมีผู้ประกอบการบางราย ออกหนังสือชี้แจงว่าไม่สามารถชำระคืนหุ้นกู้ได้ขอเลื่อนการชำระออกไปก่อน
ดังนั้น ผู้ประกอบการหลายรายเลือก ที่ลดการเปิดขายโครงการใหม่ลง กลับมาเร่งปิดการขายโครงการที่พร้อมโอนฯเพื่อสร้างกระแสเงินสดกลับคืนมา ลดภาระดอกเบี้ย มากกว่าเร่งเปิดขายโครงการใหม่ในช่วงที่มีความเสี่ยงมากแบบนี้ แต่ก็มีผู้ประกอบการบางรายที่สร้างรายได้ในช่วง 6 เดือนแรกของปีได้ถึง 50% ของเป้ารายได้ทั้งปี 68 แต่ตัวเลขกำไรอาจมีสัดส่วนที่ลดลง เนื่องจากใช้แผนการตลาดมาลดราคาสะท้อนไปยังมาร์จิ้นที่อาจจะบางลง
บิ๊กอสังหาฯฝ่ามรสุมปั๊มยอดขายครึ่งปีแรก
แม้ว่าในภาพรวมตลาดอสังหาฯในไตรมาสแรกของปี 68 ที่ผ่านมา ตัวเลขที่โชคออกมาของ บมจ.อสังหาฯไม่ได้สวยหรู แต่เป็นไปตามสภาวะที่ชะลอตัวลง โดย 38 บมจ.อสังหาฯ มีรายได้รวมลดลง 21.04% และกำไรสุทธิลดฮวบถึง 47.63% สาเหตุมาจากกลยุทธ์การเร่งระบายโครงการในพอร์ตออกไป ผ่านแคมเปญลดราคาอย่างต่อเนื่องนั้น
นายวิชาญ วิริยะภูษิต ประธานผู้บริหารสายงานการเงิน บริษัทแสนสิริ จำกัด (มหาชน) หรือ SIRI กล่าวว่า แสนสิริ ยังคงรักษาระดับการเติบโตของยอดขายได้อย่างแข็งแกร่ง ครึ่งปีแรก (สิ้นสุด 30 มิ.ย. 68) ทำได้ 26,000 ล้านบาท (ราว 50% จากเป้าทั้งปีที่ตั้งไว้ 53,000 ล้านบาท) ครึ่งปีหลังพร้อมเดินหน้าเปิดโครงการใหม่อย่างต่อเนื่อง มองภาพรวมอสังหาฯ ยังคงท้าทาย
โดยครึ่งปีแรกแสนสิริ สร้างปรากฏการณ์ Sold Out รวม 13 โครงการ มูลค่ากว่า 15,500 ล้านบาท พร้อมเดินหน้าต่อไตรมาส 3 เปิด 5 โครงการใหม่ มูลค่ากว่า 15,300 ล้านบาท และยังมี Backlog หรือยอดขายรอโอนกว่า 20,000 ล้านบาท เป็นยอดรับรู้รายได้ในปีนี้ 50% พร้อมโครงการจ่อ Sold Out กว่า 10 โครงการ ซึ่งจะเป็นแรงหนุนสำคัญสำหรับรายได้ในครึ่งปีหลัง
ด้าน นายกรมเชษฐ์ วิพันธ์พงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอสเซทไวส์ จำกัด (มหาชน) หรือ ASW กล่าวว่า ครึ่งแรกของปี 68 เป็นช่วงเวลาที่ท้าทายสำหรับตลาดอสังหาฯไทย จากการชะลอตัวของเศรษฐกิจ และปัจจัยกดดันจากต่างประเทศ ทั้งนโยบายภาษีทรัมป์ และสงครามการค้าสหรัฐ-จีน อย่างไรก็ตาม ASW ได้วางกลยุทธ์กระจายความเสี่ยง พัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยในทำเลหัวเมืองท่องเที่ยวอย่างภูเก็ต ทำให้ในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ บริษัทมียอดขายถึง 12,957 ล้านบาท เติบโตขึ้น 21% และคิดเป็น 66% ของเป้าหมายยอดขายทั้งปีซึ่งตั้งไว้ที่ 19,500 ล้านบาท
ทั้งนี้ ช่วงที่ผ่านมา บริษัทฯได้เปิด 5 โครงการใหม่ มูลค่า 10,700 ล้านบาท โดยโครงการที่ทำยอดขายโดดเด่น คือกลุ่ม Leisure Residences ในภูเก็ตที่พัฒนาโดยบริษัท ร่มโพธิ์ พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด(มหาชน) หรือ TITLE บริษัทย่อยในเครือ
ทั้งนี้ ณ สิ้นไตรมาส 1/68 บริษัทมีโครงการคอนโดฯและบ้านที่สร้างเสร็จพร้อมอยู่ มูลค่ารวมทั้งสิ้น 9,968 ล้านบาท โดยกว่า 90% ของมูลค่าโครงการพร้อมอยู่ทั้งหมด เป็นกลุ่มราคา 1-7 ล้านบาท เข้ามาตรการลดค่าโอนฯของภาครัฐ
"เอพีฯ-เฟรเซอร์สฯ" เปิดแบรนด์ "ทาวน์โฮมพรีเมียม"
นายเมธา รักธรรม รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานพัฒนาธุรกิจกลุ่มสินค้าบ้านแฝดและทาวน์โฮม บมจ.เอพี ไทยแลนด์ จำกัด(มหาชน) หรือ AP กล่าวว่า ไฮไลต์แรกในไตรมาส 3 ปีนี้ เตรียมเปิดตัวบ้านกลางเมือง THE EDITION กับแบบบ้านโมเดลใหม่ล่าสุด "XAVIER" (ซาเวียร์) ดีไซน์ทาวน์โฮม 3 ชั้นเล่นระดับ โดดเด่นด้วยเพดานสูงถึง 3.6 เมตร สูงกว่าในตลาด และเป็นที่สุดของชีวิตที่ลงตัว ตอกย้ำความเข้าใจในอินไซต์ลูกค้าเซกเมนต์กลางบน โดยเฉพาะกลุ่มคนเมืองรุ่นใหม่ ที่มองหา Exclusivity & Long-term Value ในการลงทุนซื้อทาวน์โฮมหลังใหม่ ที่ไม่ได้ตอบแค่การอยู่อาศัย แต่เป็นการลงทุนในคุณภาพชีวิต และอนาคตระยะยาว ที่จะเพิ่มโอกาสในเรื่องของราคาที่ดินปรับเพิ่มขึ้น
ซึ่งในแผนจะมีเปิดตัวดีไซน์ทาวน์โฮม 3 ชั้นเล่นระดับบน 2 ทำเลศักยภาพสูง ได้แก่ บ้านกลางเมือง THE EDITION สาทรกัลปพฤกษ์ (โครงการใหม่) จำนวน 82 หลัง บนพื้นที่ 20 ไร่ ราคาเริ่มต้น 7.99 ล้านบาท และ บ้านกลางเมือง THE EDITION พระราม 9-พัฒนาการ 2 (เปิดโซนใหม่) จำนวน 125 หลัง บนพื้นที่ 22 ไร่ ราคาเริ่มต้น 6.99 ล้านบาท ทั้ง 2 โครงการจะเปิดจองในรอบงาน VIP DAY วันที่ 19-20 ก.ค.นี้
ด้าน นายภวรัญชน์ อุดมศิริ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มอสังหาริมทรัพย์เพื่อที่อยู่อาศัย บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในปีนี้ เรายังคงยึดตามแผนเปิด 8 โครงการใหม่ มูลค่าประมาณ 8,000-9,000 ล้านบาท โดยเน้นรุกตลาดแนวราบเป็นส่วนใหญ่ ผ่านการบุกตลาดทาวน์โฮมต่อเนื่อง
"แม้ตลาดทาวน์โฮมยังไม่มีสัญญาณบวก แต่เราต้องรุกหนัก เราต้องทำ เพราะเป็นตลาดหลัก และสินค้าทาวน์โฮมเป็นพื้นฐานธุรกิจของเรามาตั้งแต่แรก ปีนี้ เรากลับมาอีกครั้ง โดยมองว่าตลาดทาวน์โฮมเริ่มปรับตัว คู่แข่งที่เคยเข้ามา ก็เริ่มน้อยลง ซึ่งเรามีการเปิด แบรนด์ใหม่รุกตลาดทาวน์โฮมพรีเมียมมากยิ่งขึ้น จุดเด่นอยู่ทำเล ที่ดี มีศักยภาพ สามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้ซื้อ ที่ต้องการอยู่อาศัยในแต่ละโลเกชันที่อยู่ในซีบีดีแต่ละแห่ง"
ประเดิมด้วย "โกลดีน่า สุขุมวิท-แบริ่ง" ต่อยอดความสำเร็จระดับตำนานจาก โกลเด้น ทาวน์ โครงการใหม่ ได้เปิดตัวตั่งแต่ เดือนมิถุนายน ประสบความสำเร็จยอดขายสูงถึง 350 ล้านบาท จากมูลค่าโครงการ 1,100 ล้านบาท ตั้งอยู่บนพื้นที่ 20 กว่าไร่ จำนวน 207 ล้านบาท
สำหรับโครงการโกลดีน่า สุขุมวิท-แบริ่ง มาพร้อมแบบบ้าน 3 แบบ ซึ่งมีที่ดินเริ่มต้น 16.25-19.04 ตารางวา ทาวน์โฮม 3 ชั้น พื้นที่ใช้สอย 160 ตร.ม.โดยมีราคาเริ่มต้นที่ 3.59-6 ล้านบาท โดยราคาเริ่มต้นจะปรับขึ้นกว่าแบรนด์โกลเด้น ทาวน์ ประมาณ 15-20% แต่ทางบริษัทจะพยายามพัฒนาแบรนด์ โกลดีน่า ไม่ให้ทำราคาเกินกว่า 7 ล้านบาท ซึ่งจะไปทับกับแบรนด์บ้านแฝดของบริษัทฯได้
อย่างไรก็ตาม ทิศทางของตลาดที่อยู่อาศัยหลังจากนี้ อาจจะกระเตื้องขึ้นในแง่ของกำลังซื้อและการโอนฯ เพราะมาตรการรัฐบาลและ ธปท.รวมไปถึงผู้ประกอบการที่ช่วยกันกระตุ้นการซื้อขายที่อยู่อาศัยในช่วงไตรมาสที่ 2 แต่ก็ยังมีความเป็นไปได้ที่ตลาดที่อยู่อาศัยทั้งในฝั่งของอุปทานและอุปสงค์จะชะลอตัวต่อเนื่องในไตรมาสที่ 3 และ 4 เพราะปัจจัยลบหลายอย่างยังคงอยู่
อสังหาริมทรัพย์
เศรษฐกิจของประเทศไทยในปี 2568 ชะลอตัวลงชัดเจนและต่อเนื่องสะสมมาหลายปี ซึ่งปัจจัยลบที่มีผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยมีมาก ลึกและ ซ้ำซ้อน ทั้งปัจจัยลบภายในประเทศและปัญหาภายนอกประเทศที่เกิดขึ้น แต่มีผลต่อประเทศไทยทั้งในเรื่องของภาพลักษณ์ ราคาน้ำมัน และความเชื่อมั่นในการมาประเทศไทย
โดยปัจจัยนอกประเทศที่เหนือการควบคุม เช่น ปัญหาความขัดแย้งในภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก และอาจจะมีผลกระทบค่อนข้างมากทั้งในเรื่องของการท่องเที่ยวที่มีผลต่อการเดินทางของคนในบางภูมิภาคที่ต้องใช้เวลาในการเดินทางหรือค่าใช้จ่ายที่มากขึ้น เช่น ปัญหาความขัดแย้งในตะวันออกกลาง ส่งผลต่อการเดินทางของคนในตะวันออกกลาง และยุโรปที่ต้องงดเว้นการใช้เส้นทางการบินผ่านประเทศนั้นๆ ช่วงที่มีปัญหา หรือการดีเลย์ของเที่ยวบินในบางประเทศ ที่ส่งผลต่อความไม่เชื่อมั่นหรือความปลอดภัยในการเดินทาง รวมไปถึงถ้าปัญหารุนแรง จนอาจจะมีผลต่อราคาน้ำมันแบบที่เกิดขึ้นช่วงก่อนหน้านี้ ซึ่งเมื่อราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นย่อมมีผลต่อราคาสินค้าอุปโภค และบริโภคโดยตรงเช่นกัน
นายสุรเชษฐ กองชีพ หัวหน้าฝ่ายวิจัยและที่ปรึกษา บริษัท คุชแมน แอนด์ เวคฟีลด์ ประเทศไทย จำกัด ที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ กล่าวว่า ตอนนี้ภาพลักษณ์ของประเทศไทย ที่สื่อออกไปในทางที่ไม่ดีในสายตาคนบางประเทศ มีผลต่อความเชื่อมั่นในการเดินทางมาประเทศไทยค่อนข้างมาก โดยเฉพาะคนจีนที่มองว่าประเทศไทยไม่ปลอดภัย และพวกเขาให้ความสำคัญกับเรื่องการทุจริต หรือการไม่ทำหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ราชการในประเทศไทย เพราะในประเทศจีนเรื่องนี้สำคัญ และคนจีนเห็นความเข้มงวดเอาจริงเอาจังในประเทศของตนเองจนนำมาเปรียบเทียบกับประเทศต่างๆ และเกิดกระแสการไม่ยอมรับขึ้นจนสร้างค่านิยมใหม่ๆ ในการท่องเที่ยว อีกทั้งความปลอดภัยในประเทศจีนค่อนข้างสูงจึงเกิดการเปรียบเทียบค่อนข้างมาก แม้ว่าจะยังมีคนจีนเข้ามาในประเทศไทยไม่น้อยในช่วง 6 เดือนแรกของปี พ.ศ. 2568 โดยมีจำนวน 2,265,556 คนมากเป็นอันดับที่ 2 รองจากมาเลเซียที่มีจำนวน 2,299,897 คน แต่คนจีนลดลง ประมาณ 34% จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งแน่นอนว่ามีผลต่อธุรกิจการท่องเที่ยวในประเทศไทยแน่นอน
ปัจจัยลบภายในประเทศ การเบิกจ่ายงบประมาณของรัฐบาลทำได้ช้าในช่วงที่ผ่านมา คดีความหรือปัญหาต่างๆ ที่อยู่ระหว่างการพิจารณา ล้วนมีผลต่อการตัดสินใจของพรรคร่วมรัฐบาลทั้งสิ้น ทำให้นโยบายหรือมาตรการต่างๆ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านเศรษฐกิจหรือด้านต่างๆ คงยังไม่มีออกมาในช่วงนี้ กำลังซื้อของคนไทยเองก็ลดลงต่อเนื่องมาตั้งแต่หลังจากโควิด-19 แม้ว่าจะดูเหมือนว่าดีขึ้นในช่วงปีพ.ศ.2566-2567 แต่สุดท้ายแล้วก็แบบที่เห็นได้ชัดเจนในปีนี้ว่า ไม่ได้ดีขึ้น กลับทรุดหนักลงด้วยซ้ำไป เพราะภาระหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นช่วงสถานการณ์โควิด-19 ซึ่งอาจจะมาจากปัญหาการขาดรายได้ช่วงนั้น และความคาดหวังว่าจะดีขึ้นจึงสร้างภาระหนี้สินมากขึ้น แล้วไม่เป็นไปตามที่คาดคิด GDP หรือการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศไทยในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 68 ที่ผ่านมาขยายตัว 3.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) และเพิ่มขึ้น เพียง 0.7% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (QoQ) อีกทั้งมีความ เป็นไปได้ที่ GDP ปีนี้จะมีการขยายตัวเฉลี่ยทั้งปีเพียง 1.8% เพราะนักท่องเที่ยวชาวจีนที่ลดลง ปัญหาเรื่องของอัตราภาษีส่งออกไปสหรัฐฯที่อาจจะคงอยู่ที่ 36% ทั้งเรื่องการท่องเที่ยวและส่งออกเป็นเครื่องยนต์หลักที่สร้างรายได้เข้าประเทศไทย ถ้ามีปัญหาย่อมกระทบกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และสุดท้ายจะกระทบกับความเชื่อมั่นของคนไทย ทำให้การใช้จ่ายเงินลดลงถึงกระทบกับการจ้างงานโดยตรง
ลุ้นยอดโอนฯไตรมาส 2 ดีขึ้น
สำหรับกำลังซื้อของคนไทยในตลาดที่อยู่อาศัยนั้น เห็นได้ชัดเจนว่าลดลงไปค่อนข้างมาก จากข้อมูลการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยที่ทางศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์เผยแพร่ออกมาเห็นได้ชัดเจนว่าการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยลดลงในช่วงไตรมาสที่ 1 พ.ศ.2568 โดยมีที่อยู่อาศัยโอนกรรมสิทธิ์ไป 66,276 ยูนิตลดลงไปประมาณ 10.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยการโอนฯลดลงในทุกระดับราคาและลดลงทั้งบ้านและคอนโดมิเนียม ซึ่งช่วงไตรมาสที่ 1 ที่ชะลอตัว ผู้ซื้อจำนวนไม่น้อยเลือกรอมาตรการภาษีจากภาครัฐ แต่คาดว่า ไตรมาส 2 ยอดโอนฯ อาจจะลดลงไม่มาก เนื่องจากอยู่ในช่วงของ การใช้มาตรการลดค่าธรรมเนียมการโอนฯ ที่ออกมากระตุ้นกำลังซื้อ รวมไปถึงการผ่อนคลายมาตรการ LTV ของธปท.ที่ออกมาพร้อมกัน ดังนั้น จึงเป็นไปได้ที่การโอนฯไตรมาสที่ 2 จะมากขึ้น
ปัญหาอีกอย่างที่เป็นปัญหามานานหลายปีต่อเนื่องกัน คือ การขอสินเชื่อที่อยู่อาศัยจากสถาบันการเงินต่างๆ คนไทยเกือบ 100% ใช้สินเชื่อที่อยู่อาศัยในการซื้อบ้านหรือคอนโดฯเป็นหลัก ซึ่งสถาบันการเงินมีความเข้มงวดในการพิจารณามากเหลือเกิน โดยเฉพาะช่วงที่เศรษฐกิจชะลอตัว และช่วงที่กำลังซื้อภายในประเทศค่อนข้างมีความเสี่ยง ซึ่งจะเห็นจากตัวเลขสินเชื่อที่อยู่อาศัยสำหรับบุคคลทั่วไปที่ปล่อยใหม่ในไตรมาสที่ 1 พ.ศ. 2568 อยู่ที่ 109,368 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าถึง 34.7% และเป็นยอดสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่ต่ำที่สุดในรอบ 2-3 ปี
เอกชนชะลอขึ้นโครงการใหม่ รอกำลังซื้อฟื้น
เมื่อทั้งภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว กำลังซื้อในประเทศชะลอตัวลงแบบชัดเจน ผู้ประกอบการเองก็เลือกที่จะลดการเปิดขายโครงการใหม่ออกไป ทั้งในส่วนของคอนโดมิเนียมที่เปิดขายลดลงแบบชัดเจนในกรุงเทพมหานครในช่วงครึ่งแรกของปี พ.ศ. 2568 โดยมีคอนโดฯ เปิดขายใหม่เพียง 6,986 ยูนิต น้อยกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้วประมาณ 20% โดยในส่วนของบ้านจัดสรรก็เช่นกัน พบว่าในไตรมาสที่ 1 พ.ศ. 2568 มีจำนวน 87 โครงการ รวม 10,143 ยูนิต ลดลง (YOY) ประมาณ 43.1%
ตลาดบ้านจัดสรร อาจจะเป็นตลาดที่ดูแล้วมีความน่าสนใจในสายตาของผู้ประกอบการ แม้ว่าตัวเลขของการขออนุญาตจัดสรรจะลดลง แต่ภาพรวมแล้วยังดูมีความเคลื่อนไหว หรือการเปิดขายโครงการใหม่มากกว่าคอนโดฯ เพราะบ้านจัดสรรสามารถทยอยเปิดการขายหรือทยอยก่อสร้างเป็นเฟสไปเรื่อยๆ ต่างจากคอนโดฯที่ต้องเปิดขายและก่อสร้างพร้อมกันทั้งโครงการ ผู้ประกอบการเพิ่มสัดส่วนของบ้านราคาไม่แพงหรือทาวน์เฮาส์มากขึ้น ผู้ประกอบการบางรายอาจจะยังคงให้ความสำคัญกับบ้านราคาแพงเช่นเดิม แต่มีโครงการบ้านจัดสรรราคาเข้าถึงได้ เปิดขายควบคู่ไปด้วย
"โครงการที่อยู่อาศัยราคาแพง ยังคงเดินหน้าต่อไป แต่ในอัตราเร่งที่ลดลง เริ่มมีการออกแบบหรือมีรูปแบบโครงการที่จำเพาะเจาะจงมากกว่าที่ผ่านมา เปิดขายอาจจะไม่มาก หรืออาจจะเปิดขายกันแบบเงียบๆ กับกลุ่มลูกค้าที่พวกเขามีอยู่แล้ว จากนั้นจึงประกาศออกมาว่าปิดการขายไปแล้วหรือขายไปเกือบหมดแล้ว"
"เงินสด" ตัวชี้วัด "ความอยู่รอด" ของอสังหาฯ
กระแสเงินสดกลายเป็น 1 ในเรื่องที่ผู้ประกอบการทุกรายให้ความสนใจ โดยเฉพาะในช่วงที่เศรษฐกิจชะลอตัว และกำลังซื้อทั้งในกลุ่มคนไทย และต่างชาติลดลง โดยเฉพาะกำลังซื้อคนไทยที่ลดลง อีกทั้งมีความเป็นไปได้ที่จะลดลงต่อเนื่อง รวมไปถึงมีความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาในการโอนฯด้วย ผู้ประกอบการหลายรายเลือกที่จะเร่งระบายบ้านและคอนโดฯที่สร้างเสร็จ โดยออกมาตรการทางการตลาดหรือทางด้านราคาแบบชัดเจน เพื่อสร้างความน่าสนใจ และกระตุ้นความต้องการซื้อในกลุ่มผู้ซื้อคนไทยให้มากขึ้น
นอกจากนี้ การร่วมทุนของผู้ประกอบการไทยและต่างชาติยังคงมีให้เห็นต่อเนื่อง เพราะผู้ประกอบการไทยไม่ต้องรับความเสี่ยงจากการลงทุนเองทั้งหมด แม้ว่าต้องแบ่งผลตอบแทนกันก็ตาม แต่พวกเขาก็ยินดีที่จะเปิดรับผู้ร่วมทุนต่างชาติ ซึ่งช่วงที่ผ่านมามีการร่วมทุนเพื่อพัฒนาโครงการบ้านจัดสรรมากขึ้นแบบชัดเจน ในขณะที่โครงการคอนโดฯมีน้อยลง และมีการจับคู่การร่วมทุนใหม่มากขึ้นในช่วง 1-2 ปีนี้ โดยเฉพาะนักลงทุนต่างชาติที่เคยร่วมทุนกับผู้ประกอบการไทยมาก่อนหน้านี้
การขอสินเชื่อธนาคาร ไม่ใช่ปัญหาของคนทั่วไปที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัยเท่านั้น แต่ยังเป็นปัญหาของผู้ประกอบการด้วยเช่นกัน เพราะสถาบันการเงินมีความเข้มงวดในการพิจารณามากเช่นกัน ก่อนหน้านี้ผู้ประกอบการหลายรายเลือกการออกหุ้นกู้เพื่อระดมทุนมาพัฒนาโครงการ หรือสร้างระแสเงินสดในบริษัท แต่เมื่อการออกหุ้นกู้มีมากขึ้น ประกอบกับความเชื่อมั่นเริ่มลดน้อยลง การให้เรตติ้งหุ้นกู้เริ่มด้อยลง ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยของหุ้นกู้เพิ่มขึ้น กระทบต่อต้นทุนมากขึ้น ประกอบกับผู้ประกอบการบางรายมีปัญหาในการหาเงินมาจ่ายคืนจนต้องออกหุ้นกู้มา Rollover ของเดิม อีกทั้งหุ้นกู้ของผู้ประกอบการบางรายขายได้ต่ำกว่าที่ต้องการ สะท้อนความไม่เชื่อมั่นทั้งในตัวผู้ประกอบการ และตลาดที่อยู่อาศัยแบบชัดเจน และมีผู้ประกอบการบางราย ออกหนังสือชี้แจงว่าไม่สามารถชำระคืนหุ้นกู้ได้ขอเลื่อนการชำระออกไปก่อน
ดังนั้น ผู้ประกอบการหลายรายเลือก ที่ลดการเปิดขายโครงการใหม่ลง กลับมาเร่งปิดการขายโครงการที่พร้อมโอนฯเพื่อสร้างกระแสเงินสดกลับคืนมา ลดภาระดอกเบี้ย มากกว่าเร่งเปิดขายโครงการใหม่ในช่วงที่มีความเสี่ยงมากแบบนี้ แต่ก็มีผู้ประกอบการบางรายที่สร้างรายได้ในช่วง 6 เดือนแรกของปีได้ถึง 50% ของเป้ารายได้ทั้งปี 68 แต่ตัวเลขกำไรอาจมีสัดส่วนที่ลดลง เนื่องจากใช้แผนการตลาดมาลดราคาสะท้อนไปยังมาร์จิ้นที่อาจจะบางลง
บิ๊กอสังหาฯฝ่ามรสุมปั๊มยอดขายครึ่งปีแรก
แม้ว่าในภาพรวมตลาดอสังหาฯในไตรมาสแรกของปี 68 ที่ผ่านมา ตัวเลขที่โชคออกมาของ บมจ.อสังหาฯไม่ได้สวยหรู แต่เป็นไปตามสภาวะที่ชะลอตัวลง โดย 38 บมจ.อสังหาฯ มีรายได้รวมลดลง 21.04% และกำไรสุทธิลดฮวบถึง 47.63% สาเหตุมาจากกลยุทธ์การเร่งระบายโครงการในพอร์ตออกไป ผ่านแคมเปญลดราคาอย่างต่อเนื่องนั้น
นายวิชาญ วิริยะภูษิต ประธานผู้บริหารสายงานการเงิน บริษัทแสนสิริ จำกัด (มหาชน) หรือ SIRI กล่าวว่า แสนสิริ ยังคงรักษาระดับการเติบโตของยอดขายได้อย่างแข็งแกร่ง ครึ่งปีแรก (สิ้นสุด 30 มิ.ย. 68) ทำได้ 26,000 ล้านบาท (ราว 50% จากเป้าทั้งปีที่ตั้งไว้ 53,000 ล้านบาท) ครึ่งปีหลังพร้อมเดินหน้าเปิดโครงการใหม่อย่างต่อเนื่อง มองภาพรวมอสังหาฯ ยังคงท้าทาย
โดยครึ่งปีแรกแสนสิริ สร้างปรากฏการณ์ Sold Out รวม 13 โครงการ มูลค่ากว่า 15,500 ล้านบาท พร้อมเดินหน้าต่อไตรมาส 3 เปิด 5 โครงการใหม่ มูลค่ากว่า 15,300 ล้านบาท และยังมี Backlog หรือยอดขายรอโอนกว่า 20,000 ล้านบาท เป็นยอดรับรู้รายได้ในปีนี้ 50% พร้อมโครงการจ่อ Sold Out กว่า 10 โครงการ ซึ่งจะเป็นแรงหนุนสำคัญสำหรับรายได้ในครึ่งปีหลัง
ด้าน นายกรมเชษฐ์ วิพันธ์พงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอสเซทไวส์ จำกัด (มหาชน) หรือ ASW กล่าวว่า ครึ่งแรกของปี 68 เป็นช่วงเวลาที่ท้าทายสำหรับตลาดอสังหาฯไทย จากการชะลอตัวของเศรษฐกิจ และปัจจัยกดดันจากต่างประเทศ ทั้งนโยบายภาษีทรัมป์ และสงครามการค้าสหรัฐ-จีน อย่างไรก็ตาม ASW ได้วางกลยุทธ์กระจายความเสี่ยง พัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยในทำเลหัวเมืองท่องเที่ยวอย่างภูเก็ต ทำให้ในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ บริษัทมียอดขายถึง 12,957 ล้านบาท เติบโตขึ้น 21% และคิดเป็น 66% ของเป้าหมายยอดขายทั้งปีซึ่งตั้งไว้ที่ 19,500 ล้านบาท
ทั้งนี้ ช่วงที่ผ่านมา บริษัทฯได้เปิด 5 โครงการใหม่ มูลค่า 10,700 ล้านบาท โดยโครงการที่ทำยอดขายโดดเด่น คือกลุ่ม Leisure Residences ในภูเก็ตที่พัฒนาโดยบริษัท ร่มโพธิ์ พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด(มหาชน) หรือ TITLE บริษัทย่อยในเครือ
ทั้งนี้ ณ สิ้นไตรมาส 1/68 บริษัทมีโครงการคอนโดฯและบ้านที่สร้างเสร็จพร้อมอยู่ มูลค่ารวมทั้งสิ้น 9,968 ล้านบาท โดยกว่า 90% ของมูลค่าโครงการพร้อมอยู่ทั้งหมด เป็นกลุ่มราคา 1-7 ล้านบาท เข้ามาตรการลดค่าโอนฯของภาครัฐ
"เอพีฯ-เฟรเซอร์สฯ" เปิดแบรนด์ "ทาวน์โฮมพรีเมียม"
นายเมธา รักธรรม รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานพัฒนาธุรกิจกลุ่มสินค้าบ้านแฝดและทาวน์โฮม บมจ.เอพี ไทยแลนด์ จำกัด(มหาชน) หรือ AP กล่าวว่า ไฮไลต์แรกในไตรมาส 3 ปีนี้ เตรียมเปิดตัวบ้านกลางเมือง THE EDITION กับแบบบ้านโมเดลใหม่ล่าสุด "XAVIER" (ซาเวียร์) ดีไซน์ทาวน์โฮม 3 ชั้นเล่นระดับ โดดเด่นด้วยเพดานสูงถึง 3.6 เมตร สูงกว่าในตลาด และเป็นที่สุดของชีวิตที่ลงตัว ตอกย้ำความเข้าใจในอินไซต์ลูกค้าเซกเมนต์กลางบน โดยเฉพาะกลุ่มคนเมืองรุ่นใหม่ ที่มองหา Exclusivity & Long-term Value ในการลงทุนซื้อทาวน์โฮมหลังใหม่ ที่ไม่ได้ตอบแค่การอยู่อาศัย แต่เป็นการลงทุนในคุณภาพชีวิต และอนาคตระยะยาว ที่จะเพิ่มโอกาสในเรื่องของราคาที่ดินปรับเพิ่มขึ้น
ซึ่งในแผนจะมีเปิดตัวดีไซน์ทาวน์โฮม 3 ชั้นเล่นระดับบน 2 ทำเลศักยภาพสูง ได้แก่ บ้านกลางเมือง THE EDITION สาทรกัลปพฤกษ์ (โครงการใหม่) จำนวน 82 หลัง บนพื้นที่ 20 ไร่ ราคาเริ่มต้น 7.99 ล้านบาท และ บ้านกลางเมือง THE EDITION พระราม 9-พัฒนาการ 2 (เปิดโซนใหม่) จำนวน 125 หลัง บนพื้นที่ 22 ไร่ ราคาเริ่มต้น 6.99 ล้านบาท ทั้ง 2 โครงการจะเปิดจองในรอบงาน VIP DAY วันที่ 19-20 ก.ค.นี้
ด้าน นายภวรัญชน์ อุดมศิริ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มอสังหาริมทรัพย์เพื่อที่อยู่อาศัย บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในปีนี้ เรายังคงยึดตามแผนเปิด 8 โครงการใหม่ มูลค่าประมาณ 8,000-9,000 ล้านบาท โดยเน้นรุกตลาดแนวราบเป็นส่วนใหญ่ ผ่านการบุกตลาดทาวน์โฮมต่อเนื่อง
"แม้ตลาดทาวน์โฮมยังไม่มีสัญญาณบวก แต่เราต้องรุกหนัก เราต้องทำ เพราะเป็นตลาดหลัก และสินค้าทาวน์โฮมเป็นพื้นฐานธุรกิจของเรามาตั้งแต่แรก ปีนี้ เรากลับมาอีกครั้ง โดยมองว่าตลาดทาวน์โฮมเริ่มปรับตัว คู่แข่งที่เคยเข้ามา ก็เริ่มน้อยลง ซึ่งเรามีการเปิด แบรนด์ใหม่รุกตลาดทาวน์โฮมพรีเมียมมากยิ่งขึ้น จุดเด่นอยู่ทำเล ที่ดี มีศักยภาพ สามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้ซื้อ ที่ต้องการอยู่อาศัยในแต่ละโลเกชันที่อยู่ในซีบีดีแต่ละแห่ง"
ประเดิมด้วย "โกลดีน่า สุขุมวิท-แบริ่ง" ต่อยอดความสำเร็จระดับตำนานจาก โกลเด้น ทาวน์ โครงการใหม่ ได้เปิดตัวตั่งแต่ เดือนมิถุนายน ประสบความสำเร็จยอดขายสูงถึง 350 ล้านบาท จากมูลค่าโครงการ 1,100 ล้านบาท ตั้งอยู่บนพื้นที่ 20 กว่าไร่ จำนวน 207 ล้านบาท
สำหรับโครงการโกลดีน่า สุขุมวิท-แบริ่ง มาพร้อมแบบบ้าน 3 แบบ ซึ่งมีที่ดินเริ่มต้น 16.25-19.04 ตารางวา ทาวน์โฮม 3 ชั้น พื้นที่ใช้สอย 160 ตร.ม.โดยมีราคาเริ่มต้นที่ 3.59-6 ล้านบาท โดยราคาเริ่มต้นจะปรับขึ้นกว่าแบรนด์โกลเด้น ทาวน์ ประมาณ 15-20% แต่ทางบริษัทจะพยายามพัฒนาแบรนด์ โกลดีน่า ไม่ให้ทำราคาเกินกว่า 7 ล้านบาท ซึ่งจะไปทับกับแบรนด์บ้านแฝดของบริษัทฯได้
อย่างไรก็ตาม ทิศทางของตลาดที่อยู่อาศัยหลังจากนี้ อาจจะกระเตื้องขึ้นในแง่ของกำลังซื้อและการโอนฯ เพราะมาตรการรัฐบาลและ ธปท.รวมไปถึงผู้ประกอบการที่ช่วยกันกระตุ้นการซื้อขายที่อยู่อาศัยในช่วงไตรมาสที่ 2 แต่ก็ยังมีความเป็นไปได้ที่ตลาดที่อยู่อาศัยทั้งในฝั่งของอุปทานและอุปสงค์จะชะลอตัวต่อเนื่องในไตรมาสที่ 3 และ 4 เพราะปัจจัยลบหลายอย่างยังคงอยู่
ข่าวโครงการอสังหาฯ ภาคเอกชน อื่นๆ