'โรงแรม' มาแรงแซง 'คอนโด' ทางเลือกนักลงทุนยุคใหม่ปั๊มรายได้ระยะยาว
วันที่ : 10 กรกฎาคม 2568
คุชแมน แอนด์ เวคฟีลด์ ประเทศไทย อธิบายต่อว่า หากพิจารณาจากข้อมูลพบว่า มีโรงแรมระดับ 4-5 ดาว ในกรุงเทพฯ ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างและเตรียมเปิดให้บริการในช่วงปี 2568-2572 มากถึง 8,900 ห้อง และหากรวมโรงแรม ระดับอื่นๆ จะมีห้องพักใหม่เพิ่มขึ้นมากกว่า 20,000 ห้องทั่วเมือง ซึ่งเป็นการเติบโตที่น่าสนใจ เมื่อพิจารณาจากจำนวนนักท่องเที่ยว ต่างชาติที่ยังลดลงเล็กน้อยในช่วงครึ่งแรกของปี 2568
บุษกร ภู่แส
กรุงเทพธุรกิจ
ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยโดยรวมเผชิญภาวะชะลอตัว และประเภทที่อยู่อาศัยตลาดซบเซาอย่างต่อเนื่องตามภาวะเศรษฐกิจ สะท้อนผ่านการเปิดขายโครงการใหม่ลดลงอย่างชัดเจน ในทางกลับกันเกิดความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจในกลุ่ม "ธุรกิจโรงแรม" กลับกลายเป็นสินทรัพย์ดาวรุ่ง! ดึงเม็ดเงินลงทุนทั้งไทยและต่างชาติ โดยเฉพาะในเขตเมืองกรุงเทพฯ และปริมณฑล
ซึ่งแปลงที่ดินกลางเมืองหลายผืนที่เคยมีแผนจะพัฒนาเป็นคอนโดมิเนียม กลับกลายเป็นโครงการโรงแรมแห่ผุดทั่วเมือง แม้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยยังไม่ฟื้นแรง แต่ตอบโจทย์การลงทุนระยะยาวมากกว่า "คอนโดมิเนียม" ทั้งยังยืดหยุ่นกว่า และขายเข้ากองทุนสร้างผลตอบแทนได้ทันที
"หลายคนอาจแปลกใจว่าทำไมธุรกิจโรงแรมถึงมาแรง ทั้งๆ ที่ตลาดนักท่องเที่ยว ต่างชาติยังไม่กลับมาเต็มที่ นั่นคือการลงทุน เพื่ออนาคตระยะยาว"
สุรเชษฐ กองชีพ หัวหน้าฝ่ายวิจัยและที่ปรึกษา บริษัท คุชแมน แอนด์ เวคฟีลด์ ประเทศไทย อธิบายต่อว่า หากพิจารณาจากข้อมูลพบว่า มีโรงแรมระดับ 4-5 ดาว ในกรุงเทพฯ ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างและเตรียมเปิดให้บริการในช่วงปี 2568-2572 มากถึง 8,900 ห้อง และหากรวมโรงแรม ระดับอื่นๆ จะมีห้องพักใหม่เพิ่มขึ้นมากกว่า 20,000 ห้องทั่วเมือง ซึ่งเป็นการเติบโตที่น่าสนใจ เมื่อพิจารณาจากจำนวนนักท่องเที่ยว ต่างชาติที่ยังลดลงเล็กน้อยในช่วงครึ่งแรกของปี 2568
แม้แนวโน้มท่องเที่ยวยังไม่ฟื้นตัว นักลงทุนก็ยังตัดสินใจลงทุนในโครงการโรงแรม เนื่องจากเป็นสินทรัพย์ที่สร้างกระแสรายได้ต่อเนื่องได้ และให้ผลตอบแทนในระยะยาว แตกต่างจากคอนโดมิเนียม ที่มักเน้นการขายขาดเพื่อปิดยอดในเวลาอันสั้น
"คอนโดมิเนียม ส่วนใหญ่หวังคืนทุน ในระยะ 3-5 ปี แต่โรงแรมให้มุมมอง ยาวถึง 10-12 ปี"
ทางเลือกนักลงทุนยุคใหม่
นักลงทุนยุคใหม่หลายรายยังเลือกใช้ เครื่องมือทางการเงินอย่าง REITs (ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์) เพื่อเปลี่ยนโรงแรมที่สร้างเสร็จให้เป็นทรัพย์สินในกองทุน และขายหน่วยลงทุนให้กับผู้ร่วมทุนหรือประชาชนทั่วไป นักลงทุนผู้พัฒนาโครงการสามารถนำเงินกลับมา และยังถือหน่วยในกองทุนต่อเพื่อรับรายได้ประจำต่อเนื่องทุกปี
จุดเด่นอีกประการของธุรกิจโรงแรมคือความยืดหยุ่นในการใช้สอย ไม่จำกัดเฉพาะกลุ่มนักท่องเที่ยวเท่านั้น แต่ยังตอบโจทย์กลุ่มพำนักระยะยาว เช่น ชาวต่างชาติที่ทำงานในไทย หรือคนไทยที่ต้องการที่พักระยะยาวในราคาย่อมเยา ทำให้โรงแรมยุคใหม่มีทั้งรูปแบบรายวัน รายเดือน รวมถึงเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ผสมผสาน
"โรงแรม" สินทรัพย์สร้างรายได้ระยะยาว
บางกรณี โรงแรมยังเป็นสินทรัพย์ที่เหมาะกับนักลงทุนที่ไม่ต้องการถือกรรมสิทธิ์ระยะยาว เพราะสามารถพัฒนาให้เสร็จแล้วขายเข้ากองทุนทั้งในและต่างประเทศ ได้ทันที เป็นแนวทางที่ต่างจากการถือครองคอนโดมิเนียมเพื่อขายรายยูนิตซึ่งใช้เวลานานและเผชิญความเสี่ยงจากดีมานด์ที่ลดลง
"โรงแรมไม่ใช่แค่ที่พัก แต่คือสินทรัพย์ที่สร้างรายได้ระยะยาว และปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ได้ตามภาวะตลาด"
สำหรับ นักลงทุนที่มองการณ์ไกล โครงการโรงแรมจึงกลายเป็นอีกทางเลือกสำคัญ โดยเฉพาะในทำเลทองกลางเมือง ที่แม้ราคาที่ดินจะทรงตัว ไม่ได้พุ่งแรงเหมือนในอดีต แต่ยังมีศักยภาพต่อยอดให้เกิดรายได้ที่มั่นคงในระยะยาว ผ่าน การบริหารจัดการและการใช้เครื่องมือการเงินที่ยืดหยุ่น
ไม่ใช่เรื่องแปลก หากในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า เราจะได้เห็นภาพโรงแรมใหม่ผุดขึ้นแทนคอนโดมิเนียมในหลายทำเลใจกลางเมือง เพราะในยุคที่ "ความไม่แน่นอนคือความแน่นอน" การถือสินทรัพย์ที่สร้างกระแสเงินสดอย่างสม่ำเสมอ อาจเป็นเกมที่ คุ้มกว่าแค่รอขายขาดแล้วปิดจ๊อบ
ในบริบทเช่นนี้ โรงแรมจึงกลายเป็น "ทางเลือกที่ตอบโจทย์ทั้งสองด้าน" คือ ทั้งในแง่ความต้องการของผู้ใช้ที่ หลากหลาย และในมุมของนักลงทุนที่ต้องการกระแสรายได้มั่นคงในระยะยาว โดย "ไม่ยึดติด" กับรูปแบบการลงทุนแบบเดิมอีกต่อไป
กรุงเทพธุรกิจ
ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยโดยรวมเผชิญภาวะชะลอตัว และประเภทที่อยู่อาศัยตลาดซบเซาอย่างต่อเนื่องตามภาวะเศรษฐกิจ สะท้อนผ่านการเปิดขายโครงการใหม่ลดลงอย่างชัดเจน ในทางกลับกันเกิดความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจในกลุ่ม "ธุรกิจโรงแรม" กลับกลายเป็นสินทรัพย์ดาวรุ่ง! ดึงเม็ดเงินลงทุนทั้งไทยและต่างชาติ โดยเฉพาะในเขตเมืองกรุงเทพฯ และปริมณฑล
ซึ่งแปลงที่ดินกลางเมืองหลายผืนที่เคยมีแผนจะพัฒนาเป็นคอนโดมิเนียม กลับกลายเป็นโครงการโรงแรมแห่ผุดทั่วเมือง แม้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยยังไม่ฟื้นแรง แต่ตอบโจทย์การลงทุนระยะยาวมากกว่า "คอนโดมิเนียม" ทั้งยังยืดหยุ่นกว่า และขายเข้ากองทุนสร้างผลตอบแทนได้ทันที
"หลายคนอาจแปลกใจว่าทำไมธุรกิจโรงแรมถึงมาแรง ทั้งๆ ที่ตลาดนักท่องเที่ยว ต่างชาติยังไม่กลับมาเต็มที่ นั่นคือการลงทุน เพื่ออนาคตระยะยาว"
สุรเชษฐ กองชีพ หัวหน้าฝ่ายวิจัยและที่ปรึกษา บริษัท คุชแมน แอนด์ เวคฟีลด์ ประเทศไทย อธิบายต่อว่า หากพิจารณาจากข้อมูลพบว่า มีโรงแรมระดับ 4-5 ดาว ในกรุงเทพฯ ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างและเตรียมเปิดให้บริการในช่วงปี 2568-2572 มากถึง 8,900 ห้อง และหากรวมโรงแรม ระดับอื่นๆ จะมีห้องพักใหม่เพิ่มขึ้นมากกว่า 20,000 ห้องทั่วเมือง ซึ่งเป็นการเติบโตที่น่าสนใจ เมื่อพิจารณาจากจำนวนนักท่องเที่ยว ต่างชาติที่ยังลดลงเล็กน้อยในช่วงครึ่งแรกของปี 2568
แม้แนวโน้มท่องเที่ยวยังไม่ฟื้นตัว นักลงทุนก็ยังตัดสินใจลงทุนในโครงการโรงแรม เนื่องจากเป็นสินทรัพย์ที่สร้างกระแสรายได้ต่อเนื่องได้ และให้ผลตอบแทนในระยะยาว แตกต่างจากคอนโดมิเนียม ที่มักเน้นการขายขาดเพื่อปิดยอดในเวลาอันสั้น
"คอนโดมิเนียม ส่วนใหญ่หวังคืนทุน ในระยะ 3-5 ปี แต่โรงแรมให้มุมมอง ยาวถึง 10-12 ปี"
ทางเลือกนักลงทุนยุคใหม่
นักลงทุนยุคใหม่หลายรายยังเลือกใช้ เครื่องมือทางการเงินอย่าง REITs (ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์) เพื่อเปลี่ยนโรงแรมที่สร้างเสร็จให้เป็นทรัพย์สินในกองทุน และขายหน่วยลงทุนให้กับผู้ร่วมทุนหรือประชาชนทั่วไป นักลงทุนผู้พัฒนาโครงการสามารถนำเงินกลับมา และยังถือหน่วยในกองทุนต่อเพื่อรับรายได้ประจำต่อเนื่องทุกปี
จุดเด่นอีกประการของธุรกิจโรงแรมคือความยืดหยุ่นในการใช้สอย ไม่จำกัดเฉพาะกลุ่มนักท่องเที่ยวเท่านั้น แต่ยังตอบโจทย์กลุ่มพำนักระยะยาว เช่น ชาวต่างชาติที่ทำงานในไทย หรือคนไทยที่ต้องการที่พักระยะยาวในราคาย่อมเยา ทำให้โรงแรมยุคใหม่มีทั้งรูปแบบรายวัน รายเดือน รวมถึงเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ผสมผสาน
"โรงแรม" สินทรัพย์สร้างรายได้ระยะยาว
บางกรณี โรงแรมยังเป็นสินทรัพย์ที่เหมาะกับนักลงทุนที่ไม่ต้องการถือกรรมสิทธิ์ระยะยาว เพราะสามารถพัฒนาให้เสร็จแล้วขายเข้ากองทุนทั้งในและต่างประเทศ ได้ทันที เป็นแนวทางที่ต่างจากการถือครองคอนโดมิเนียมเพื่อขายรายยูนิตซึ่งใช้เวลานานและเผชิญความเสี่ยงจากดีมานด์ที่ลดลง
"โรงแรมไม่ใช่แค่ที่พัก แต่คือสินทรัพย์ที่สร้างรายได้ระยะยาว และปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ได้ตามภาวะตลาด"
สำหรับ นักลงทุนที่มองการณ์ไกล โครงการโรงแรมจึงกลายเป็นอีกทางเลือกสำคัญ โดยเฉพาะในทำเลทองกลางเมือง ที่แม้ราคาที่ดินจะทรงตัว ไม่ได้พุ่งแรงเหมือนในอดีต แต่ยังมีศักยภาพต่อยอดให้เกิดรายได้ที่มั่นคงในระยะยาว ผ่าน การบริหารจัดการและการใช้เครื่องมือการเงินที่ยืดหยุ่น
ไม่ใช่เรื่องแปลก หากในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า เราจะได้เห็นภาพโรงแรมใหม่ผุดขึ้นแทนคอนโดมิเนียมในหลายทำเลใจกลางเมือง เพราะในยุคที่ "ความไม่แน่นอนคือความแน่นอน" การถือสินทรัพย์ที่สร้างกระแสเงินสดอย่างสม่ำเสมอ อาจเป็นเกมที่ คุ้มกว่าแค่รอขายขาดแล้วปิดจ๊อบ
ในบริบทเช่นนี้ โรงแรมจึงกลายเป็น "ทางเลือกที่ตอบโจทย์ทั้งสองด้าน" คือ ทั้งในแง่ความต้องการของผู้ใช้ที่ หลากหลาย และในมุมของนักลงทุนที่ต้องการกระแสรายได้มั่นคงในระยะยาว โดย "ไม่ยึดติด" กับรูปแบบการลงทุนแบบเดิมอีกต่อไป
ข่าวโครงการอสังหาฯ ภาคเอกชน อื่นๆ