REIC ชี้ลดค่าโอน-จำนองช่วยอุ้มธุรกิจอสังหาได้จริง
วันที่ : 26 มีนาคม 2568
REIC มีข้อมูลยืนยันว่าการมีมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ ตามที่ภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มีข้อเรียกร้องให้รัฐบาลแพทองธารดำเนินการ โดยลดค่าโอน-จดจำนองที่อยู่อาศัย มีผลบวกกับการซื้อและโอนที่อยู่อาศัย ช่วยทำให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์คึกคักขึ้นได้จริง
นางสาวสิทธิเพ็ญ สิทธัตถพงษ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ หรือ REIC กล่าวว่า จากการที่ภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มีข้อเรียกร้องให้รัฐบาลแพทองธาร ชินวัตร ดำเนินมาตรการลดค่าโอน-จดจำนองที่อยู่อาศัยราคาไม่เกิน 7 ล้านบาท หลังจากที่มาตรการนี้ที่ออกโดยรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2567 ได้หมดอายุโครงการไปเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2567 นั้น ทาง REIC มีข้อมูลยืนยันว่าการมีมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวมีผลบวกกับการซื้อและโอนที่อยู่อาศัยในปี 2567 โดยมาตรการมีจุดเน้นช่วยเหลือกลุ่มผู้ซื้อระดับกลาง-ล่างเป็นหลัก
ทั้งนี้จากตัวเลขยืนยันว่า ข้อมูลการโอนกรรมสิทธิ์ทั่วประเทศไตรมาส 1/2567 มียอดการโอนอสังหาริมทรัพย์ติดลบหนักถึง 13.8% เหลือ 72,954 หน่วย เทียบกับไตรมาส 1/2566 ที่มีการโอน 84,619 หน่วย เหตุผลหลักมาจากงบประมาณแผ่นดินไม่เต็มปีเพราะเป็นช่วงรอยต่อเปลี่ยนรัฐบาล ทำให้เป็นตัวฉุดยอดการโอนทั่วประเทศ ต่อมาในไตรมาส 2/2567 ซึ่งรัฐบาลเศรษฐา ได้ออกมาตรการกระตุ้นอสังหาฯ ทำให้การติดลบลดลงเหลือ 4.7% ยอดโอน 86,805 หน่วย, ไตรมาส 3/2567 ติดลบลดลงเหลือ 4.5% มียอดโอนเพิ่มเป็น 90,627 หน่วย และในไตรมาส 4/2567 ซึ่งเป็นไตรมาสสุดท้ายของมาตรการรัฐบาลเศรษฐา ยอดโอนทั่วประเทศกลับขึ้นมาเป็นบวก 1.3% ที่ 97,413 หน่วย เพราะคนเร่งปิดโอนกรรมสิทธิ์ด้วยกลัวว่าจะหมดระยะเวลามาตรการสิ้นปีและไม่มีการต่ออายุ
โดยสรุปภาพรวมจำนวนหน่วยและมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ทั่วประเทศในปี 2567 พบว่า กลุ่มราคาไม่เกิน 7 ล้านบาท มีการโอนเพิ่มขึ้น 9.1% จำนวน 111,257 หน่วย เทียบกับปี 2566 ที่มีการโอน 101,981 หน่วย ในขณะที่การโอนราคาเกิน 7 ล้านบาทขึ้นไปติดลบ 15.2% จำนวน 5,182 หน่วย เทียบกับ 6,109 หน่วยในปี 2566
ด้านมูลค่าการโอนทั่วประเทศของกลุ่มราคาไม่เกิน 7.5 ล้านบาท ณ ปี 2566 โอนรวม 209,630 ล้านบาท เพิ่มเป็น 219,951 ล้านบาท เติบโต 4.9% ขณะที่การโอนในกลุ่มราคาเกิน 7.5 ล้านบาทขึ้นไป ติดลบ 18.7% มูลค่า 77,108 ล้านบาท เทียบกับมูลค่าโอน 94,898 ล้านบาทในปี 2566
สำหรับแนวโน้มปี 2568 ในกรณีปกติ ถ้ากำลังซื้อปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น การโอนมีแนวโน้มเพิ่มได้ที่ 1.6% แต่ถ้าหากรัฐบาลมีการต่ออายุมาตรการลดค่าโอน-จดจำนอง และผ่อนปรน LTV-loan to value จะเป็นปัจจัยบวกที่คาดว่าทำให้การโอนกรรมสิทธิ์ทั่วประเทศกลับมาบวกได้มากถึง 10% มาตรการลดค่าโอน-จดจำนอง จาก 3% เหลือ 0.01% หรือค่าใช้จ่ายจากล้านละ 30,000 บาท ลดเหลือล้านละ 300 บาทในปี 2567 ที่มีอายุมาตรการระหว่าง 9 เมษายน-31 ธันวาคม 2567 รายได้จัดเก็บค่าโอนและจดจำนอง ณ กรมที่ดินลดลง 25.8% วงเงินรวม 5,000 กว่าล้านบาท โดยปี 2567 จัดเก็บได้ 14,117 ล้านบาท เทียบกับรายได้จัดเก็บปี 2566 จำนวน 19,031 ล้านบาท ซึ่งเป็นโจทย์ของรัฐบาลเช่นเดียวกันว่าหากต่ออายุมาตรการในปีนี้จะต้องนำงบประมาณแผ่นดินส่วนไหนมาอุดหนุนเพื่อกระตุ้นการซื้อและโอนที่อยู่อาศัยในปี 2568
ทั้งนี้จากตัวเลขยืนยันว่า ข้อมูลการโอนกรรมสิทธิ์ทั่วประเทศไตรมาส 1/2567 มียอดการโอนอสังหาริมทรัพย์ติดลบหนักถึง 13.8% เหลือ 72,954 หน่วย เทียบกับไตรมาส 1/2566 ที่มีการโอน 84,619 หน่วย เหตุผลหลักมาจากงบประมาณแผ่นดินไม่เต็มปีเพราะเป็นช่วงรอยต่อเปลี่ยนรัฐบาล ทำให้เป็นตัวฉุดยอดการโอนทั่วประเทศ ต่อมาในไตรมาส 2/2567 ซึ่งรัฐบาลเศรษฐา ได้ออกมาตรการกระตุ้นอสังหาฯ ทำให้การติดลบลดลงเหลือ 4.7% ยอดโอน 86,805 หน่วย, ไตรมาส 3/2567 ติดลบลดลงเหลือ 4.5% มียอดโอนเพิ่มเป็น 90,627 หน่วย และในไตรมาส 4/2567 ซึ่งเป็นไตรมาสสุดท้ายของมาตรการรัฐบาลเศรษฐา ยอดโอนทั่วประเทศกลับขึ้นมาเป็นบวก 1.3% ที่ 97,413 หน่วย เพราะคนเร่งปิดโอนกรรมสิทธิ์ด้วยกลัวว่าจะหมดระยะเวลามาตรการสิ้นปีและไม่มีการต่ออายุ
โดยสรุปภาพรวมจำนวนหน่วยและมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ทั่วประเทศในปี 2567 พบว่า กลุ่มราคาไม่เกิน 7 ล้านบาท มีการโอนเพิ่มขึ้น 9.1% จำนวน 111,257 หน่วย เทียบกับปี 2566 ที่มีการโอน 101,981 หน่วย ในขณะที่การโอนราคาเกิน 7 ล้านบาทขึ้นไปติดลบ 15.2% จำนวน 5,182 หน่วย เทียบกับ 6,109 หน่วยในปี 2566
ด้านมูลค่าการโอนทั่วประเทศของกลุ่มราคาไม่เกิน 7.5 ล้านบาท ณ ปี 2566 โอนรวม 209,630 ล้านบาท เพิ่มเป็น 219,951 ล้านบาท เติบโต 4.9% ขณะที่การโอนในกลุ่มราคาเกิน 7.5 ล้านบาทขึ้นไป ติดลบ 18.7% มูลค่า 77,108 ล้านบาท เทียบกับมูลค่าโอน 94,898 ล้านบาทในปี 2566
สำหรับแนวโน้มปี 2568 ในกรณีปกติ ถ้ากำลังซื้อปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น การโอนมีแนวโน้มเพิ่มได้ที่ 1.6% แต่ถ้าหากรัฐบาลมีการต่ออายุมาตรการลดค่าโอน-จดจำนอง และผ่อนปรน LTV-loan to value จะเป็นปัจจัยบวกที่คาดว่าทำให้การโอนกรรมสิทธิ์ทั่วประเทศกลับมาบวกได้มากถึง 10% มาตรการลดค่าโอน-จดจำนอง จาก 3% เหลือ 0.01% หรือค่าใช้จ่ายจากล้านละ 30,000 บาท ลดเหลือล้านละ 300 บาทในปี 2567 ที่มีอายุมาตรการระหว่าง 9 เมษายน-31 ธันวาคม 2567 รายได้จัดเก็บค่าโอนและจดจำนอง ณ กรมที่ดินลดลง 25.8% วงเงินรวม 5,000 กว่าล้านบาท โดยปี 2567 จัดเก็บได้ 14,117 ล้านบาท เทียบกับรายได้จัดเก็บปี 2566 จำนวน 19,031 ล้านบาท ซึ่งเป็นโจทย์ของรัฐบาลเช่นเดียวกันว่าหากต่ออายุมาตรการในปีนี้จะต้องนำงบประมาณแผ่นดินส่วนไหนมาอุดหนุนเพื่อกระตุ้นการซื้อและโอนที่อยู่อาศัยในปี 2568
ข่าว reic จากสื่อสิ่งพิมพ์ อื่นๆ