อสังหาฯ ห่วงครึ่งหลังยอดโอนฯวืด ผนึกแบงก์แก้เกมลดเสี่ยง 'รีเจกต์เรต' จับตาสต๊อกเหลือขาย 27 จว.พุ่ง 3.16 แสนหน่วย
วันที่ : 29 สิงหาคม 2567
ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC) เปิดเผยว่า ที่ผ่านมา ดีเวลลอปเปอร์ อาจจะเปิดโครงการเร็ว ให้ทุกโครงการสร้างแบ็กล็อกใหม่ๆ เข้ามาในบริษัทได้ ทำให้ผลการดำเนินงานยังดี มีแบ็กล็อกเยอะ แต่ในทุกๆ โครงการ ยังมีส่วนที่ยังขายไม่หมดสะสมอยู่ เป็นต้นทุนการบริหารจัดการสต๊อก และสินค้าคงค้างเป็นเรื่องที่สำคัญตอนนี้
ตลาดธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โคจรเข้าสู่ไตรมาส 3 ซึ่งสถานการณ์โดยรวมของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในช่วง 2 ไตรมาสที่ผ่านมา แม้ผู้ประกอบการจะสามารถสร้างยอดขาย (พรีเซล) และรักษายอดโอนกรรมสิทธิ์ ซึ่งหมายถึง ธุรกิจอสังหาฯจะมีรายได้เข้ามาในมือ (เงินสดที่มากขึ้น) เพื่อให้ธุรกิจมีความแข็งแรงมากขึ้น ท่ามกลางที่ภาวะเศรษฐกิจไม่เอื้ออำนวยให้ทำธุรกิจได้ปกตี เนื่องจากตัวเลขการเติบโต จีดีพี ของประเทศไทย ยังอยู่ระดับที่ตำกว่า 4% เรียกว่า อยู่อันดับ ท้ายๆ เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน
เกิดเป็นคำถามดังๆ ประเทศไทย ยังมีเสน่ห์ ที่จะเข้ามาลงทุนหรือไม่ !!
ขณะที่กำลังซื้อในประเทศ ก็อ่อนแอลง เนื่องจากบอบช้ำสะสมตั้งแต่ช่วงโควิด จนถึงปัจจุบัน ธุรกิจต่างๆ โดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ประสบกับการดำเนินธุรกิจ ต้องมีการปิดกิจการเป็นจำนวนมากและต่อเนื่อง ตัวเลขผู้ว่างงานเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ภาพใหญ่ของหนี้ในระบบขยับขึ้นสูง โดยเฉพาะสินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย สถาบันการเงิน ค่อนข้างกังวลต่อความเสี่ยงหนี้เสียสูงขึ้นจนนำไปสู่การที่ธนาคารพาณิชย์และธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ ตั้งสำรองเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเกินกว่าเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)กำหนดไว้ และเพิ่มความระมัดระวังและเข้มงวดในการอนุมัติปล่อยสินเชื่อให้กับลูกค้า
อย่างไรก็ดี นโยบายการลดภาระค่าครองชีพของรัฐบาล ค่าน้ำค่าไฟ และรถไฟฟ้า 20 บาท เฉพาะในส่วนของรถไฟฟ้าสายสีม่วง และสายสีแดง (รถไฟชานเมือง) และประเด็นที่ต้องติดตาม คือ นโยบายเติมเงินให้กับประชาชน "ดิจิทัลหมื่นบาท" ที่ชัดเจนแล้ว ก้อนแรก 5,000 บาท ในเดือนกันยายนนี้ (ปีงบประมาณ 2567 และต้องรอปีงบประมาณใหม่ 2568 ที่จะเติมให้อีก 5,000 บาท ในรูปแบบดิจิทัล) เม็ดเงินมหาศาลที่ไหลเติบเข้าสู่ระบบ แน่นอน ทุกๆ ฝ่ายคาดหวังให้เกิด การกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจภายใน ให้ขยายตัว เกิดเม็ดเงินเข้าสู่ภาคธุรกิจระดับรากหญ้า
แต่หลายฝ่าย ก็มองว่า ปริมาณเงินที่เข้ามา ก็คล้ายๆ กับการปรับขึ้นเงินเดือน แต่ก็คงไม่ใช่ทั้งหมด โดยคำถามคือ จะทำให้ราคาสินค้าปรับขึ้นหรือไม่ เพราะนั่นหมายถึง "Infation" ที่จะเกิดขึ้น ตามมา!!
"ที่ผ่านมา ดีเวลลอปเปอร์ อาจจะเปิดโครงการเร็ว ให้ทุกโครงการสร้างแบ็กล็อกใหม่ๆ เข้ามาในบริษัทได้ ทำให้ผลการดำเนินงานยังดี มีแบ็กล็อกเยอะ แต่ในทุกๆ โครงการ ยังมีส่วนที่ยังขายไม่หมดสะสมอยู่ เป็นต้นทุนการบริหารจัดการสต๊อก และสินค้าคงค้างเป็นเรื่องที่สำคัญตอนนี้ การขยายโครงการใหม่ๆ ก็ควรที่จะเคลียร์โปรเจกต์ เก่าๆ ให้เหลือในปริมาณที่ไม่มากเกินไป ตรงนี้ จะได้ไม่ต้องไปแบกภาระต้นทุน เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายในเรื่องค่า ส่วนกลาง และสต๊อกที่สะสมค้างเกินกว่า 3 ปี จะต้องจ่ายชำระค่าภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง ต้องบริหารจัดการให้ดีๆ และเมื่อมีเม็ดเงินใหม่เข้ามา ก็อยากให้ขยายลงทุนให้เกิดการจ้างงาน เศรษฐกิจจะได้หมุนเวียน" ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคาร และรักษาการ ผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ กล่าว
และจากการติดตามภาพรวม 27 จังหวัด เราจะพบเห็นตัวเลขสต๊อกที่เพิ่มขึ้นจากปลายปี 2566 โดยครึ่งแรกของปี 2567 หน่วยที่เหลือขาย 315,900 หน่วย บวกร้อยละ 8.5 แต่มูลค่ากลับเพิ่มสูงขึ้นมาอยู่ที่ 1.68 ล้านล้านบาท บวกเพิ่มถึงร้อยละ 27.6 สามารถแบ่งแยกเป็นประเภทคอนโดฯ 120,500 หน่วย มูลค่า 541,400 ล้านบาทและบ้านจัดสรร 195,300 หน่วย มูลค่า 1.139 ล้านล้านบาท ที่มูลค่าสต๊อกบ้านจัดสรรมีสูง เนื่องจากผู้ประกอบการยังคงมาขยาย โครงการบ้านราคาแพง และจะเพิ่มสะสมมากขึ้น หลักๆ จะอยู่ใน พื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล เป็นสิ่งที่บอกได้ว่าขายไม่ดี แต่การผลิตก็ยังเยอะอยู่ ดังนั้น ถ้าสามารถโอนฯบ้านแพงได้ จะช่วยลดมูลค่าลงได้เนื่องจากราคาต่อหน่วยสูง เป็นต้น
ดีเวลลอปเปอร์ รักษาเงินสด ชะลอลงทุน ฉุดยอดเปิดสะสม 7 เดือนแรก ลดต่ำลงอีก
นายประพันธ์ศักดิ์ รักษ์ไชยวรรณ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอล ดับเบิลยู เอส วิสดอม แอนด์ โซลูชั่นส์ จำกัด (LWS) บริษัทวิจัยและพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในเครือบริษัท แอล พี เอ็น ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด(มหาชน) ระบุถึงปัจจัยเสี่ยงที่จะกระทบต่อภาคอสังหา ริมทรัพย์ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2567 (มกราคม-กรกฎาคม) ว่า ยังคงเป็นในเรื่องของอัตราดอกเบี้ยที่ทรงตัวในระดับสูง ภาระหนี้ ครัวเรือนที่สูงถึง 91.4% อัตราเงินเฟ้อในเดือนกรกฎาคมที่เพิ่มขึ้น 0.83% เมื่อเทียบกับปี 2566 ความเข้มงวดของสถาบันการเงินในการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย โดยมีอัตราการปฏิเสธสินเชื่อสูงถึง 75% ส่งผลให้มูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยครึ่งปีแรก ลดลง-9.4% เมื่อเทียบกับปี 2566 รวมถึงสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง ซึ่งจะกระทบกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจล่าช้าจากเดิม จากปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวทำให้ผู้ประกอบการอสังหาฯ ชะลอการเปิดตัวโครงการใหม่ทั้งบ้านพักอาศัยและอาคารชุด แต่จะเน้นเปิดเฉพาะโครงการบ้านระดับพรีเมียมและเร่งระบายสินค้าคงเหลือให้เร็วที่สุด
โดยทาง LWS ฉายภาพให้เห็นว่า การเปิดตัวโครงการที่พักอาศัยใหม่ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลสะสมในช่วง 7 เดือนแรก(มกราคม-กรกฎาคม) ปี 2567 ปรับตัวลดลง ทั้งจำนวนหน่วยและมูลค่าการเปิดตัว เป็นผลจากการเปิดตัวโครงการบ้านพักอาศัย ระดับราคาต่ำกว่า 10 ล้านบาท และอาคารชุดพักอาศัยลดลง ถึงแม้จะมีการเปิดตัวบ้านพักอาศัยระดับพรีเมียมมากขึ้นก็ตาม
โดยในเดือน มกราคม-กรกฎาคม 2567 มีจำนวนโครงการ เปิดใหม่ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล รวมทั้งสิ้น 204 โครงการ เป็นจำนวน 35,100 หน่วย คิดเป็นมูลค่ารวม 221,865 ล้านบาท ลดลง 35% และ 12% ตามลำดับ เมื่อเทียบกับจำนวนหน่วย และมูลค่าการเปิดตัวโครงการใหม่ในระยะเดียวกันของปี 66 ซึ่งมีหน่วยเปิดตัว 53,791 หน่วย และมีมูลค่า 251,803 ล้านบาท ตามลำดับ โดยมีอัตราการขายได้เฉลี่ย ณ วันเปิดตัวที่ 16% ลดลงจากอัตราการขายได้เฉลี่ยที่ 18% ในช่วงเดียวกันของปี 2566
โดยแบ่งเป็นการเปิดตัวโครงการใหม่อาคารชุดพักอาศัย ในเดือน มกราคม-กรกฎาคม 2567 มีจำนวน 36 โครงการ คิดเป็นจำนวนเปิดตัวใหม่ทั้งหมด 13,868 หน่วย และมูลค่าการเปิดตัว 54,330 ล้านบาท ลดลง 49% และลดลง 28% ตามลำดับ เมื่อเทียบกับจำนวนหน่วยเปิดตัวและมูลค่าเปิดตัวในระยะเดียวกันของปี 66 ที่มีจำนวนหน่วยเปิดตัวใหม่ 27,252 หน่วย และมูลค่า 75,782 ล้านบาท ตามลำดับ โดยมีอัตราการขายได้เฉลี่ย ณ วันเปิดตัว 27% ลดลงจากระยะเดียวกันของปี 2566 ที่มีอัตราการขายเฉลี่ยที่ 29% โดยที่มีราคาขายเฉลี่ยต่อหน่วย 3.92 ล้านบาท สูงขึ้น 41% จากในระยะเดียวกันของปี 2566 ที่มีราคาขายเฉลี่ยต่อหน่วยที่ 2.78 ล้านบาทต่อหน่วย โดยทำเลที่มีการเปิดตัวมากสะสมสูงสุดได้แก่ ทำเลบึงกุ่ม และมีอัตราการขายเฉลี่ยดีที่สุดในทำเลสุขุมวิท
ในส่วนการเปิดตัวโครงการใหม่ ในกลุ่มบ้านพักอาศัยราคาต่ำกว่า 10 ล้านบาทในเดือน มกราคม-กรกฎาคม 2567 มีจำนวน 105 โครงการ ทั้งหมด 17,148 หน่วย และมีมูลค่าเปิดตัว 76,042 ล้านบาท ลดลง 26% และลดลง 19% ตามลำดับ เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปี 2566 ที่มีจำนวนหน่วย เปิดตัว 23,121 หน่วยและมูลค่า 94,237 ล้านบาท โดยมีอัตราการขายเฉลี่ยเปิด ตัว 8% เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของ ปี 2566 ที่มีอัตราการขายเฉลี่ยเปิดตัว 7% โดยมีราคาเฉลี่ยต่อหน่วยที่ 4.43 ล้านบาทต่อหน่วย เพิ่มขึ้น 9% จากราคาขายเฉลี่ยที่ 4.08 ล้านบาทต่อหน่วย ในระยะเดียวกันของปี 2566 และเปิดตัวสะสมสูงสุดในทำเลสมุทรสาครและขายดีที่สุดใน ทำเลเพชรเกษม โดยขายได้ดีในประเภททาวน์เฮาส์ระดับราคา 2-3 ล้านบาท
เติมซัปพลายบ้านแพงเกิน 10 ล้าน เพิ่มขึ้น 20%
ส่วนการเปิดตัวโครงการบ้านพักอาศัยที่ระดับราคาเกิน 10 ล้านบาท มีจำนวน 63 โครงการ คิดเป็นจำนวน เปิดตัวใหม่ทั้งหมด 4,084 หน่วย คิดเป็นมูลค่าการเปิดตัว 91,493 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 20% และ 12% ตามลำดับ เมื่อเทียบกับจำนวนและมูลค่า เปิดตัวใน ระยะเดียวกันของปี 2566 ซึ่งมีจำนวน 3,418 หน่วย และมูลค่าการเปิดตัวที่ 81,332 ล้านบาท ตามลำดับ
โดยบ้านเดี่ยวและทาวน์เฮาส์มี ราคาขายเฉลี่ยต่อหน่วยที่ 23 ล้านบาท และ 15.7 ล้านบาท ตามลำดับ ลดลง 3% และ 27% ในระยะเดียวกันของปี 2566 และมีอัตราการขายได้เฉลี่ย 9% และ 6% ตามลำดับ ในส่วนของ ทาวน์เฮาส์มีราคาขายเฉลี่ยต่อหน่วยที่ 17.8 ล้านบาท ลดลง 38% จากปี 2566 แต่มีอัตราการขายได้เฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 19% จาก 6% ในปี 2566 โดยทำเลเปิดตัวสะสมและขายดีสูงสุดคือทำเลวัชรพล ในระดับราคา 10-20 ล้านบาท
ความสามารถทำกำไรเริ่มลดลง
ในขณะที่ผลประกอบการของบริษัทอสังหาฯที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในช่วงครึ่งแรกของปี 2567 ทั้ง 40 บริษัท พบว่า รายได้รวมและกำไรสุทธิ ของ 40 บริษัทอสังหาฯ ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ครึ่งปีแรก 2567 มีมูลค่ารวม 154,767.62 ล้านบาท และกำไรสุทธิที่ 13,322.01 ล้านบาท ลดลง 0.08% และ 23.33 % ตามลำดับ เมื่อเทียบกับรายได้รวม และกำไรสุทธิ ของ 40 บริษัทอสังหาฯ ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯในครึ่งปีแรก 2566 ที่มีมูลค่ารวม 154,894.87 ล้านบาท และกำไรสุทธิรวม 17,376.28 ล้านบาท
โดยมีความสามารถในการทำกำไรเฉลี่ยของทั้ง 40 บริษัท ในครึ่งปีแรก 2567 อยู่ที่ 8.60% ดีกว่าไตรมาสแรกของปี 2567 ที่มีความสามารถในการทำกำไรที่ 7.68% แต่ลดลง จากความสามารถในการทำกำไร ที่ 11.22% ในช่วงครึ่งแรกของปี 2566
จุกอก! สินค้าคงเหลือ 40 บริษัทพุ่ง 7 แสนลบ.
นายประพันธ์ศักดิ์ กล่าวถึงภาพรวมสินค้าคงเหลือบวกกับสินค้า ที่อยู่ระหว่างการพัฒนาของบริษัทอสังหาฯ ทั้ง 40 บริษัท ในครึ่งแรกของปี 2567 อยู่ที่ 707,738.38. ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.02% จาก 686,956.35 ล้านบาท ณ สิ้นไตรมาสแรกของปี 2567 ซึ่งเมื่อเทียบกับรายได้ ในครึ่งแรกของปี 2567 แล้ว สินค้าคงเหลือบวกกับสินค้าที่อยู่ระหว่างการพัฒนาของบริษัทอสังหาฯ ทั้ง 40 บริษัท จะใช้เวลาในการขายประมาณ 27-28 เดือน ในกรณีที่ไม่มีการเปิดตัวโครงการใหม่
บริษัท แสนสิริ จำกัด(มหาชน) มีสินค้าคงเหลือและที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างสูงสุดเมื่อเทียบกับทั้ง 40 บริษัท โดยมีสินค้าคงเหลือ และที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างที่ 103,970.83 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 14.69% ของสินค้าคงเหลือและที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างของทั้ง 40 บริษัท
แสนสิริระบุสินค้าคงเหลือสร้างเสร็จราว1.2หมื่นลบ.
นายอุทัย อุทัยแสงสุข กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) หรือ SIRI บริษัทอสังหาริมทรัพย์เบอร์ 1 กล่าวกับ "ผู้จัดการรายวัน 360 องศา" ว่าสินค้าคงเหลือ (สต๊อก) ของแสนสิริจะหมายถึงโครงการที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ ยังไม่นับรวมที่ดิน หรือโครงการที่อยู่ระหว่างเตรียมดำเนินการหรืออยู่ระหว่างการก่อสร้าง โดยบริษัทสามารถบริหารสต๊อกขายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ปัจจุบัน มีอยู่ประมาณ 12,000 ล้านบาท แบ่งเป็น โครงการแนวราบ 8,000 ล้านบาท และคอนโดฯ อีก 4,000 ล้านบาท จากตัวเลขจะ เห็นได้ว่าสต๊อกคอนโดฯ อยู่ในระดับที่ไม่สอดคล้องกับยอดขายในแต่ละปี ดังนั้น ภายใน 1-2 ปีจากนี้ จะขยับสต๊อกสินค้าคอนโดฯ ให้อยู่ในจุดสมดุลให้ได้ 10,000 ล้านบาท ทำให้มูลค่าสต๊อกรวมขยับเพิ่มขึ้นไปอยู่ราว 18,000 ล้านบาท
"การเปิดโครงการยังเป็นไปตามแผน แนวราบคงไม่มีปัญหา แต่เรากังวลเรื่องโครงการแนวสูง ที่ต้องรอการอนุมัติเรื่องรายงาน ผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ EIA ก่อน ซึ่งตอนนี้มีอยู่ 3-4 โครงการ มูลค่าโครงการละ 1,000 ล้านบาท ส่วนโครงการใหญ่ที่เป็นแฟลกชิปโปรเจกต์บน "ถนนสารสิน" เจาะกลุ่มลูกค้าไฮเอนด์ เช่นกัน ยังไม่ได้ยื่น EIA ยกเว้น โครงการแปลงชิดลม ที่ขอใบอนุญาตจาก EIA คาดโครงการนี้ ราคาขายต่อ ตร.ม.แตะ 1 ล้านบาท รวมทั้งสองโครงการมูลค่าสูงกว่าหมื่นล้านบาท"นายอุทัย กล่าว
บิ๊กอสังหาฯลดความเสี่ยงเจอ'รีเจกต์เรต'จับมือแบงก์ชูสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ-เจาะ ขรก.-รสก.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ผู้ประกอบการในภาคธุรกิจ ได้ปรับกลยุทธ์ในการขายและโอนฯ โดยเข้าไปเจาะกลุ่มผู้ซื้อที่มีรายได้ที่มั่นคงและสม่ำเสมอ เช่น ข้าราชการ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ เอกชน โดยนำโปรเจตก์เข้าร่วมโครงการบ้านสวัสดิการสำหรับข้าราชการ อาทิเช่น บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) ที่วางแผนในครึ่งปีหลัง กับกลยุทธ์การตลาดเชิงรุกกับลูกค้าเฉพาะกลุ่มที่มี กำลังซื้อแข็งแกร่งเพื่อเพิ่มยอดขายบ้านระดับบน มีการพัฒนา สินค้าใหม่เพื่อรองรับความต้องการของกลุ่มลูกค้าบ้านระดับกลาง และกลาง-บน ทั้งบ้านเดี่ยวรุ่นใหม่ในโครงการเพอร์เฟค เพลส ทุกทำเล และทาวน์โฮมรุ่นใหม่ในโครงการ เดอะเมทโทร แจ้งวัฒนะ รวมถึงยังจัดโครงการอยู่รวยคอนโดฯ และโมดิ วิลล่า ทาวน์โฮม เข้าร่วมในโครงการบ้านสวัสดิการสำหรับข้าราชการ พนักงาน รัฐวิสาหกิจและเอกชน โดยได้รับการสนับสนุนสินเชื่อสวัสดิการ พิเศษอัตราดอกเบี้ยต่ำจากสถาบันการเงิน เพื่อสร้างโอกาสให้กลุ่มซื้อบ้านหลังแรกสามารถเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยได้ง่ายขึ้น เป็นต้น
ขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการรายใหญ่ ได้ผนึกกับสถาบันการเงินชั้นนำหลายแห่ง ในการจัดแคมเปญสินเชื่อบ้านดอกเบี้ยต่ำ ไม่ว่าจะเป็น เอพี ไทยแลนด์, แสนสิริ, ศุภาลัย, พฤกษา และเพอร์เฟค สะท้อนให้เห็นว่าผู้ประกอบการรายใหญ่ต้องการลด "ความเสี่ยง" ที่จะเกิดการถูกปฏิเสธสินเชื่อจากสถาบัน การเงิน โดยการสกรีนลูกค้าส่งให้กับธนาคารที่เป็นพันธมิตร อย่างน้อยก็สร้างความมั่นใจได้ว่าลูกค้า รายนั้นๆ ได้รับวงเงินสินเชื่อ
นอกจากนี้ บางดีเวลลอปเปอร์ ก็ปรับมาใช้เรื่อง "การเช่าอยู่" ปรับหักค่าเช่าบางส่วนมาเป็นเงิน สะสม หรือเตรียมเป็นเงินงวดในการขอยื่นกับสถาบันการเงินเช่น พฤกษา หรือ แม้แต่บริษัท เสนา ดีเวลลอปเม้นท์ฯ เป็นต้น ซึ่งวิธีนี้จะสร้างความรู้สึก และความเป็นเจ้าของบ้าน ทำให้ลูกค้าพยายามที่จะรักษาวินัยในการชำระเพื่ออย่างน้อยช่วง 1-2 ปีข้างหน้า บริษัทที่ทำงานอยู่มีความมั่นคง ส่งผลให้มีรายได้ที่สูงขึ้น เพิ่มโอกาสในการขอสินเชื่อได้อย่างมาก
แต่ทั้งหมด คงไม่ใช่ "สูตรสำเร็จ" เพราะยังต้องพิจารณาในเรื่อง "เศรษฐกิจจะฟืนตัวแค่ไหน" เพราะถ้าหากภาพใหญ่ ไม่ดีขึ้น หรือไม่ได้สร้างความมั่นใจแล้ว การลงทุนใหม่ๆ อาจจะไม่ได้เกิดขึ้นใน 1-2 ปีจากนี้ การจ้างงานไม่ได้ปรับสูงขึ้น ไม่เกิดการกระจายรายได้ ทำให้กลุ่มระดับกลาง และล่าง ขาดโอกาสที่จะมีรายได้ที่มากขึ้น ทำให้อาจจะชะลอการตัดสินใจ ซื้อที่อยู่อาศัยได้ ซึ่งโจทย์เช่าอยู่ของคนรุ่นใหม่ กำลังเป็นเทรนด์ที่มาแรงเช่นกัน!
เกิดเป็นคำถามดังๆ ประเทศไทย ยังมีเสน่ห์ ที่จะเข้ามาลงทุนหรือไม่ !!
ขณะที่กำลังซื้อในประเทศ ก็อ่อนแอลง เนื่องจากบอบช้ำสะสมตั้งแต่ช่วงโควิด จนถึงปัจจุบัน ธุรกิจต่างๆ โดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ประสบกับการดำเนินธุรกิจ ต้องมีการปิดกิจการเป็นจำนวนมากและต่อเนื่อง ตัวเลขผู้ว่างงานเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ภาพใหญ่ของหนี้ในระบบขยับขึ้นสูง โดยเฉพาะสินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย สถาบันการเงิน ค่อนข้างกังวลต่อความเสี่ยงหนี้เสียสูงขึ้นจนนำไปสู่การที่ธนาคารพาณิชย์และธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ ตั้งสำรองเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเกินกว่าเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)กำหนดไว้ และเพิ่มความระมัดระวังและเข้มงวดในการอนุมัติปล่อยสินเชื่อให้กับลูกค้า
อย่างไรก็ดี นโยบายการลดภาระค่าครองชีพของรัฐบาล ค่าน้ำค่าไฟ และรถไฟฟ้า 20 บาท เฉพาะในส่วนของรถไฟฟ้าสายสีม่วง และสายสีแดง (รถไฟชานเมือง) และประเด็นที่ต้องติดตาม คือ นโยบายเติมเงินให้กับประชาชน "ดิจิทัลหมื่นบาท" ที่ชัดเจนแล้ว ก้อนแรก 5,000 บาท ในเดือนกันยายนนี้ (ปีงบประมาณ 2567 และต้องรอปีงบประมาณใหม่ 2568 ที่จะเติมให้อีก 5,000 บาท ในรูปแบบดิจิทัล) เม็ดเงินมหาศาลที่ไหลเติบเข้าสู่ระบบ แน่นอน ทุกๆ ฝ่ายคาดหวังให้เกิด การกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจภายใน ให้ขยายตัว เกิดเม็ดเงินเข้าสู่ภาคธุรกิจระดับรากหญ้า
แต่หลายฝ่าย ก็มองว่า ปริมาณเงินที่เข้ามา ก็คล้ายๆ กับการปรับขึ้นเงินเดือน แต่ก็คงไม่ใช่ทั้งหมด โดยคำถามคือ จะทำให้ราคาสินค้าปรับขึ้นหรือไม่ เพราะนั่นหมายถึง "Infation" ที่จะเกิดขึ้น ตามมา!!
"ที่ผ่านมา ดีเวลลอปเปอร์ อาจจะเปิดโครงการเร็ว ให้ทุกโครงการสร้างแบ็กล็อกใหม่ๆ เข้ามาในบริษัทได้ ทำให้ผลการดำเนินงานยังดี มีแบ็กล็อกเยอะ แต่ในทุกๆ โครงการ ยังมีส่วนที่ยังขายไม่หมดสะสมอยู่ เป็นต้นทุนการบริหารจัดการสต๊อก และสินค้าคงค้างเป็นเรื่องที่สำคัญตอนนี้ การขยายโครงการใหม่ๆ ก็ควรที่จะเคลียร์โปรเจกต์ เก่าๆ ให้เหลือในปริมาณที่ไม่มากเกินไป ตรงนี้ จะได้ไม่ต้องไปแบกภาระต้นทุน เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายในเรื่องค่า ส่วนกลาง และสต๊อกที่สะสมค้างเกินกว่า 3 ปี จะต้องจ่ายชำระค่าภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง ต้องบริหารจัดการให้ดีๆ และเมื่อมีเม็ดเงินใหม่เข้ามา ก็อยากให้ขยายลงทุนให้เกิดการจ้างงาน เศรษฐกิจจะได้หมุนเวียน" ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคาร และรักษาการ ผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ กล่าว
และจากการติดตามภาพรวม 27 จังหวัด เราจะพบเห็นตัวเลขสต๊อกที่เพิ่มขึ้นจากปลายปี 2566 โดยครึ่งแรกของปี 2567 หน่วยที่เหลือขาย 315,900 หน่วย บวกร้อยละ 8.5 แต่มูลค่ากลับเพิ่มสูงขึ้นมาอยู่ที่ 1.68 ล้านล้านบาท บวกเพิ่มถึงร้อยละ 27.6 สามารถแบ่งแยกเป็นประเภทคอนโดฯ 120,500 หน่วย มูลค่า 541,400 ล้านบาทและบ้านจัดสรร 195,300 หน่วย มูลค่า 1.139 ล้านล้านบาท ที่มูลค่าสต๊อกบ้านจัดสรรมีสูง เนื่องจากผู้ประกอบการยังคงมาขยาย โครงการบ้านราคาแพง และจะเพิ่มสะสมมากขึ้น หลักๆ จะอยู่ใน พื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล เป็นสิ่งที่บอกได้ว่าขายไม่ดี แต่การผลิตก็ยังเยอะอยู่ ดังนั้น ถ้าสามารถโอนฯบ้านแพงได้ จะช่วยลดมูลค่าลงได้เนื่องจากราคาต่อหน่วยสูง เป็นต้น
ดีเวลลอปเปอร์ รักษาเงินสด ชะลอลงทุน ฉุดยอดเปิดสะสม 7 เดือนแรก ลดต่ำลงอีก
นายประพันธ์ศักดิ์ รักษ์ไชยวรรณ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอล ดับเบิลยู เอส วิสดอม แอนด์ โซลูชั่นส์ จำกัด (LWS) บริษัทวิจัยและพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในเครือบริษัท แอล พี เอ็น ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด(มหาชน) ระบุถึงปัจจัยเสี่ยงที่จะกระทบต่อภาคอสังหา ริมทรัพย์ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2567 (มกราคม-กรกฎาคม) ว่า ยังคงเป็นในเรื่องของอัตราดอกเบี้ยที่ทรงตัวในระดับสูง ภาระหนี้ ครัวเรือนที่สูงถึง 91.4% อัตราเงินเฟ้อในเดือนกรกฎาคมที่เพิ่มขึ้น 0.83% เมื่อเทียบกับปี 2566 ความเข้มงวดของสถาบันการเงินในการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย โดยมีอัตราการปฏิเสธสินเชื่อสูงถึง 75% ส่งผลให้มูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยครึ่งปีแรก ลดลง-9.4% เมื่อเทียบกับปี 2566 รวมถึงสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง ซึ่งจะกระทบกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจล่าช้าจากเดิม จากปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวทำให้ผู้ประกอบการอสังหาฯ ชะลอการเปิดตัวโครงการใหม่ทั้งบ้านพักอาศัยและอาคารชุด แต่จะเน้นเปิดเฉพาะโครงการบ้านระดับพรีเมียมและเร่งระบายสินค้าคงเหลือให้เร็วที่สุด
โดยทาง LWS ฉายภาพให้เห็นว่า การเปิดตัวโครงการที่พักอาศัยใหม่ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลสะสมในช่วง 7 เดือนแรก(มกราคม-กรกฎาคม) ปี 2567 ปรับตัวลดลง ทั้งจำนวนหน่วยและมูลค่าการเปิดตัว เป็นผลจากการเปิดตัวโครงการบ้านพักอาศัย ระดับราคาต่ำกว่า 10 ล้านบาท และอาคารชุดพักอาศัยลดลง ถึงแม้จะมีการเปิดตัวบ้านพักอาศัยระดับพรีเมียมมากขึ้นก็ตาม
โดยในเดือน มกราคม-กรกฎาคม 2567 มีจำนวนโครงการ เปิดใหม่ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล รวมทั้งสิ้น 204 โครงการ เป็นจำนวน 35,100 หน่วย คิดเป็นมูลค่ารวม 221,865 ล้านบาท ลดลง 35% และ 12% ตามลำดับ เมื่อเทียบกับจำนวนหน่วย และมูลค่าการเปิดตัวโครงการใหม่ในระยะเดียวกันของปี 66 ซึ่งมีหน่วยเปิดตัว 53,791 หน่วย และมีมูลค่า 251,803 ล้านบาท ตามลำดับ โดยมีอัตราการขายได้เฉลี่ย ณ วันเปิดตัวที่ 16% ลดลงจากอัตราการขายได้เฉลี่ยที่ 18% ในช่วงเดียวกันของปี 2566
โดยแบ่งเป็นการเปิดตัวโครงการใหม่อาคารชุดพักอาศัย ในเดือน มกราคม-กรกฎาคม 2567 มีจำนวน 36 โครงการ คิดเป็นจำนวนเปิดตัวใหม่ทั้งหมด 13,868 หน่วย และมูลค่าการเปิดตัว 54,330 ล้านบาท ลดลง 49% และลดลง 28% ตามลำดับ เมื่อเทียบกับจำนวนหน่วยเปิดตัวและมูลค่าเปิดตัวในระยะเดียวกันของปี 66 ที่มีจำนวนหน่วยเปิดตัวใหม่ 27,252 หน่วย และมูลค่า 75,782 ล้านบาท ตามลำดับ โดยมีอัตราการขายได้เฉลี่ย ณ วันเปิดตัว 27% ลดลงจากระยะเดียวกันของปี 2566 ที่มีอัตราการขายเฉลี่ยที่ 29% โดยที่มีราคาขายเฉลี่ยต่อหน่วย 3.92 ล้านบาท สูงขึ้น 41% จากในระยะเดียวกันของปี 2566 ที่มีราคาขายเฉลี่ยต่อหน่วยที่ 2.78 ล้านบาทต่อหน่วย โดยทำเลที่มีการเปิดตัวมากสะสมสูงสุดได้แก่ ทำเลบึงกุ่ม และมีอัตราการขายเฉลี่ยดีที่สุดในทำเลสุขุมวิท
ในส่วนการเปิดตัวโครงการใหม่ ในกลุ่มบ้านพักอาศัยราคาต่ำกว่า 10 ล้านบาทในเดือน มกราคม-กรกฎาคม 2567 มีจำนวน 105 โครงการ ทั้งหมด 17,148 หน่วย และมีมูลค่าเปิดตัว 76,042 ล้านบาท ลดลง 26% และลดลง 19% ตามลำดับ เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปี 2566 ที่มีจำนวนหน่วย เปิดตัว 23,121 หน่วยและมูลค่า 94,237 ล้านบาท โดยมีอัตราการขายเฉลี่ยเปิด ตัว 8% เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของ ปี 2566 ที่มีอัตราการขายเฉลี่ยเปิดตัว 7% โดยมีราคาเฉลี่ยต่อหน่วยที่ 4.43 ล้านบาทต่อหน่วย เพิ่มขึ้น 9% จากราคาขายเฉลี่ยที่ 4.08 ล้านบาทต่อหน่วย ในระยะเดียวกันของปี 2566 และเปิดตัวสะสมสูงสุดในทำเลสมุทรสาครและขายดีที่สุดใน ทำเลเพชรเกษม โดยขายได้ดีในประเภททาวน์เฮาส์ระดับราคา 2-3 ล้านบาท
เติมซัปพลายบ้านแพงเกิน 10 ล้าน เพิ่มขึ้น 20%
ส่วนการเปิดตัวโครงการบ้านพักอาศัยที่ระดับราคาเกิน 10 ล้านบาท มีจำนวน 63 โครงการ คิดเป็นจำนวน เปิดตัวใหม่ทั้งหมด 4,084 หน่วย คิดเป็นมูลค่าการเปิดตัว 91,493 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 20% และ 12% ตามลำดับ เมื่อเทียบกับจำนวนและมูลค่า เปิดตัวใน ระยะเดียวกันของปี 2566 ซึ่งมีจำนวน 3,418 หน่วย และมูลค่าการเปิดตัวที่ 81,332 ล้านบาท ตามลำดับ
โดยบ้านเดี่ยวและทาวน์เฮาส์มี ราคาขายเฉลี่ยต่อหน่วยที่ 23 ล้านบาท และ 15.7 ล้านบาท ตามลำดับ ลดลง 3% และ 27% ในระยะเดียวกันของปี 2566 และมีอัตราการขายได้เฉลี่ย 9% และ 6% ตามลำดับ ในส่วนของ ทาวน์เฮาส์มีราคาขายเฉลี่ยต่อหน่วยที่ 17.8 ล้านบาท ลดลง 38% จากปี 2566 แต่มีอัตราการขายได้เฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 19% จาก 6% ในปี 2566 โดยทำเลเปิดตัวสะสมและขายดีสูงสุดคือทำเลวัชรพล ในระดับราคา 10-20 ล้านบาท
ความสามารถทำกำไรเริ่มลดลง
ในขณะที่ผลประกอบการของบริษัทอสังหาฯที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในช่วงครึ่งแรกของปี 2567 ทั้ง 40 บริษัท พบว่า รายได้รวมและกำไรสุทธิ ของ 40 บริษัทอสังหาฯ ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ครึ่งปีแรก 2567 มีมูลค่ารวม 154,767.62 ล้านบาท และกำไรสุทธิที่ 13,322.01 ล้านบาท ลดลง 0.08% และ 23.33 % ตามลำดับ เมื่อเทียบกับรายได้รวม และกำไรสุทธิ ของ 40 บริษัทอสังหาฯ ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯในครึ่งปีแรก 2566 ที่มีมูลค่ารวม 154,894.87 ล้านบาท และกำไรสุทธิรวม 17,376.28 ล้านบาท
โดยมีความสามารถในการทำกำไรเฉลี่ยของทั้ง 40 บริษัท ในครึ่งปีแรก 2567 อยู่ที่ 8.60% ดีกว่าไตรมาสแรกของปี 2567 ที่มีความสามารถในการทำกำไรที่ 7.68% แต่ลดลง จากความสามารถในการทำกำไร ที่ 11.22% ในช่วงครึ่งแรกของปี 2566
จุกอก! สินค้าคงเหลือ 40 บริษัทพุ่ง 7 แสนลบ.
นายประพันธ์ศักดิ์ กล่าวถึงภาพรวมสินค้าคงเหลือบวกกับสินค้า ที่อยู่ระหว่างการพัฒนาของบริษัทอสังหาฯ ทั้ง 40 บริษัท ในครึ่งแรกของปี 2567 อยู่ที่ 707,738.38. ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.02% จาก 686,956.35 ล้านบาท ณ สิ้นไตรมาสแรกของปี 2567 ซึ่งเมื่อเทียบกับรายได้ ในครึ่งแรกของปี 2567 แล้ว สินค้าคงเหลือบวกกับสินค้าที่อยู่ระหว่างการพัฒนาของบริษัทอสังหาฯ ทั้ง 40 บริษัท จะใช้เวลาในการขายประมาณ 27-28 เดือน ในกรณีที่ไม่มีการเปิดตัวโครงการใหม่
บริษัท แสนสิริ จำกัด(มหาชน) มีสินค้าคงเหลือและที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างสูงสุดเมื่อเทียบกับทั้ง 40 บริษัท โดยมีสินค้าคงเหลือ และที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างที่ 103,970.83 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 14.69% ของสินค้าคงเหลือและที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างของทั้ง 40 บริษัท
แสนสิริระบุสินค้าคงเหลือสร้างเสร็จราว1.2หมื่นลบ.
นายอุทัย อุทัยแสงสุข กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) หรือ SIRI บริษัทอสังหาริมทรัพย์เบอร์ 1 กล่าวกับ "ผู้จัดการรายวัน 360 องศา" ว่าสินค้าคงเหลือ (สต๊อก) ของแสนสิริจะหมายถึงโครงการที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ ยังไม่นับรวมที่ดิน หรือโครงการที่อยู่ระหว่างเตรียมดำเนินการหรืออยู่ระหว่างการก่อสร้าง โดยบริษัทสามารถบริหารสต๊อกขายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ปัจจุบัน มีอยู่ประมาณ 12,000 ล้านบาท แบ่งเป็น โครงการแนวราบ 8,000 ล้านบาท และคอนโดฯ อีก 4,000 ล้านบาท จากตัวเลขจะ เห็นได้ว่าสต๊อกคอนโดฯ อยู่ในระดับที่ไม่สอดคล้องกับยอดขายในแต่ละปี ดังนั้น ภายใน 1-2 ปีจากนี้ จะขยับสต๊อกสินค้าคอนโดฯ ให้อยู่ในจุดสมดุลให้ได้ 10,000 ล้านบาท ทำให้มูลค่าสต๊อกรวมขยับเพิ่มขึ้นไปอยู่ราว 18,000 ล้านบาท
"การเปิดโครงการยังเป็นไปตามแผน แนวราบคงไม่มีปัญหา แต่เรากังวลเรื่องโครงการแนวสูง ที่ต้องรอการอนุมัติเรื่องรายงาน ผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ EIA ก่อน ซึ่งตอนนี้มีอยู่ 3-4 โครงการ มูลค่าโครงการละ 1,000 ล้านบาท ส่วนโครงการใหญ่ที่เป็นแฟลกชิปโปรเจกต์บน "ถนนสารสิน" เจาะกลุ่มลูกค้าไฮเอนด์ เช่นกัน ยังไม่ได้ยื่น EIA ยกเว้น โครงการแปลงชิดลม ที่ขอใบอนุญาตจาก EIA คาดโครงการนี้ ราคาขายต่อ ตร.ม.แตะ 1 ล้านบาท รวมทั้งสองโครงการมูลค่าสูงกว่าหมื่นล้านบาท"นายอุทัย กล่าว
บิ๊กอสังหาฯลดความเสี่ยงเจอ'รีเจกต์เรต'จับมือแบงก์ชูสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ-เจาะ ขรก.-รสก.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ผู้ประกอบการในภาคธุรกิจ ได้ปรับกลยุทธ์ในการขายและโอนฯ โดยเข้าไปเจาะกลุ่มผู้ซื้อที่มีรายได้ที่มั่นคงและสม่ำเสมอ เช่น ข้าราชการ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ เอกชน โดยนำโปรเจตก์เข้าร่วมโครงการบ้านสวัสดิการสำหรับข้าราชการ อาทิเช่น บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) ที่วางแผนในครึ่งปีหลัง กับกลยุทธ์การตลาดเชิงรุกกับลูกค้าเฉพาะกลุ่มที่มี กำลังซื้อแข็งแกร่งเพื่อเพิ่มยอดขายบ้านระดับบน มีการพัฒนา สินค้าใหม่เพื่อรองรับความต้องการของกลุ่มลูกค้าบ้านระดับกลาง และกลาง-บน ทั้งบ้านเดี่ยวรุ่นใหม่ในโครงการเพอร์เฟค เพลส ทุกทำเล และทาวน์โฮมรุ่นใหม่ในโครงการ เดอะเมทโทร แจ้งวัฒนะ รวมถึงยังจัดโครงการอยู่รวยคอนโดฯ และโมดิ วิลล่า ทาวน์โฮม เข้าร่วมในโครงการบ้านสวัสดิการสำหรับข้าราชการ พนักงาน รัฐวิสาหกิจและเอกชน โดยได้รับการสนับสนุนสินเชื่อสวัสดิการ พิเศษอัตราดอกเบี้ยต่ำจากสถาบันการเงิน เพื่อสร้างโอกาสให้กลุ่มซื้อบ้านหลังแรกสามารถเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยได้ง่ายขึ้น เป็นต้น
ขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการรายใหญ่ ได้ผนึกกับสถาบันการเงินชั้นนำหลายแห่ง ในการจัดแคมเปญสินเชื่อบ้านดอกเบี้ยต่ำ ไม่ว่าจะเป็น เอพี ไทยแลนด์, แสนสิริ, ศุภาลัย, พฤกษา และเพอร์เฟค สะท้อนให้เห็นว่าผู้ประกอบการรายใหญ่ต้องการลด "ความเสี่ยง" ที่จะเกิดการถูกปฏิเสธสินเชื่อจากสถาบัน การเงิน โดยการสกรีนลูกค้าส่งให้กับธนาคารที่เป็นพันธมิตร อย่างน้อยก็สร้างความมั่นใจได้ว่าลูกค้า รายนั้นๆ ได้รับวงเงินสินเชื่อ
นอกจากนี้ บางดีเวลลอปเปอร์ ก็ปรับมาใช้เรื่อง "การเช่าอยู่" ปรับหักค่าเช่าบางส่วนมาเป็นเงิน สะสม หรือเตรียมเป็นเงินงวดในการขอยื่นกับสถาบันการเงินเช่น พฤกษา หรือ แม้แต่บริษัท เสนา ดีเวลลอปเม้นท์ฯ เป็นต้น ซึ่งวิธีนี้จะสร้างความรู้สึก และความเป็นเจ้าของบ้าน ทำให้ลูกค้าพยายามที่จะรักษาวินัยในการชำระเพื่ออย่างน้อยช่วง 1-2 ปีข้างหน้า บริษัทที่ทำงานอยู่มีความมั่นคง ส่งผลให้มีรายได้ที่สูงขึ้น เพิ่มโอกาสในการขอสินเชื่อได้อย่างมาก
แต่ทั้งหมด คงไม่ใช่ "สูตรสำเร็จ" เพราะยังต้องพิจารณาในเรื่อง "เศรษฐกิจจะฟืนตัวแค่ไหน" เพราะถ้าหากภาพใหญ่ ไม่ดีขึ้น หรือไม่ได้สร้างความมั่นใจแล้ว การลงทุนใหม่ๆ อาจจะไม่ได้เกิดขึ้นใน 1-2 ปีจากนี้ การจ้างงานไม่ได้ปรับสูงขึ้น ไม่เกิดการกระจายรายได้ ทำให้กลุ่มระดับกลาง และล่าง ขาดโอกาสที่จะมีรายได้ที่มากขึ้น ทำให้อาจจะชะลอการตัดสินใจ ซื้อที่อยู่อาศัยได้ ซึ่งโจทย์เช่าอยู่ของคนรุ่นใหม่ กำลังเป็นเทรนด์ที่มาแรงเช่นกัน!
ข่าว reic จากสื่อสิ่งพิมพ์ อื่นๆ