อสังหาฯ กุมขมับ ธปท.คง LTV ย้ำชัดไม่ใช่ต้นตอปัญหาภาคอสังหาริมทรัพย์
วันที่ : 27 มิถุนายน 2567
ธปท. ระบุว่า สำหรับภาพเศรษฐกิจไตรมาส 3-4 รวมถึงต้นปี 2568 มีทิศทางเข้าสู่ศักยภาพ ขณะที่นโยบายการเงินขณะนี้ ไม่ใช่เป็นนโยบายการเงินในลักษณะที่มาเสริมหรือมากระตุ้นเศรษฐกิจ แต่เป็นการให้เกิดสมดุล
แบงก์ชาติ ยัน เกณฑ์ LTV ไม่ใช่ต้นตอของปัญหาภาคอสังหาริมทรัพย์ในปัจจุบัน ย้ำ มีการทบทวนสม่ำเสมอ ชี้ Digital Wallet คาดส่งผลบวกต่อจีดีพี 0.3-0.4% มองมีผลจริงต่อจีดีพีปีหน้า ส่วนเศรษฐกิจไตรมาส 3-4 รวมถึงต้นปี 68 ทิศทางเข้าสู่ศักยภาพ ขณะเดียวกัน สศอ.เปิดตัวเลข 5 เดือนยอดเปิดโรงงานใหม่สูงกว่าปิดถึง 74% กระทรวงอุตสาหกรรมส่งมาตรการระยะสั้นดันธุรกิจโตต่อ
นายปิติ ดิษยทัต ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยในงาน Monetary Policy Forum ครั้งที่ 2/2567 ว่า สำหรับข้อเสนอในการผ่อนปรนมาตรการควบคุมสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (มาตรการ LTV : Loan to Value Ratio ) ยืนยันว่า ปัจจุบัน ธปท.มีการทบทวนสม่ำเสมอ หากพิจารณาบ้านหลังแรก มาตรการดังกล่าวไม่ได้เป็นปัญหาและไม่ใช่ต้นตอของปัญหาภาคอสังหาริมทรัพย์ในปัจจุบัน
ขณะเดียวกัน เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวจากอุปสงค์ในประเทศและภาคการท่องเที่ยว เริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัวในภาคการผลิตและการส่งออกบางหมวด ขณะที่มาตรการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet ประเมินว่าจะเกิดผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ใกล้เคียงกับที่หลายฝ่ายประเมินไว้ ธปท.คาดส่งผลบวกต่อจีดีพีที่ 0.3-0.4% โดยผลจะเกิดจริงในปี 2568 มากกว่าปีนี้
สำหรับภาพเศรษฐกิจไตรมาส 3-4 รวมถึงต้นปี 2568 มีทิศทางเข้าสู่ศักยภาพ ขณะที่นโยบายการเงินขณะนี้ ไม่ใช่เป็นนโยบายการเงินในลักษณะที่มาเสริมหรือมากระตุ้นเศรษฐกิจ แต่เป็นการให้เกิดสมดุล เนื่องจากนโยบายการเงินควรจะเป็นกลางและไม่ฉุดรั้ง ดังนั้น การปรับอัตราดอกเบี้ยหรือไม่ปรับอัตราดอกเบี้ย ขึ้นอยู่กับปัจจัยพื้นฐานมากกว่าว่าอัตราดอกเบี้ยควรจะอยู่ที่ระดับใด
“หนี้ครัวเรือนที่สูงยังเป็นจุดเปราะบางของครัวเรือน ความยากลำบาก คือ มูลหนี้ ดอกเบี้ยเป็นส่วนหนึ่ง ดังนั้น วิธีการ คือ ต้องหาวิธีแก้มูลหนี้ให้ได้ ยืนยันว่านโยบายการเงินไม่ได้เป็นเป้าหมายในการแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือน” นายปิติ กล่าว
ขณะที่ นางสาวปราณี สุทธศรี ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยปีนี้คาดขยายตัว 2.6% ปี 2568 มีโอกาสขยายตัวที่ 3% โดยมีภาคการท่องเที่ยวเป็นตัวขับเคลื่อน รวมถึงการบริโภคภาคเอกชน โดยเฉพาะปรับตัวสูงในสินค้าหมวดบริการ ประกอบกับเริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัวของการส่งออกและภาคการผลิตบางหมวดอุตสาหกรรม ภาครัฐเริ่มมีการเร่งการเบิกจ่ายปรับตัวดีขึ้น สำหรับสินค้าหมวดยานยนต์เริ่มมีสัญญาณการชะลอตัวลง โดยภาพรวมการส่งออกปีนี้ขยายตัว 1.8% ปี 2568 ที่ 2.6%
สศอ. โชว์ 5 เดือนแรกยอดเปิดโรงงานใหม่สูงกว่าปิด 74%
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดตัวเลขเปิด-ปิดโรงงานช่วง 5 เดือนแรกปีนี้ พบว่า มีโรงงานปิดกิจการ 488 โรงงาน ขณะเดียวกันมีโรงงานเปิดกิจการใหม่ 848 โรงงาน จำนวนโรงงานเปิดใหม่สูงกว่าปิดถึง 74% ขณะที่โรงงานเปิดใหม่มีเงินลงทุนถึง 149,889 ล้านบาท มากกว่าปิดกิจการกว่า 10 เท่า ขณะที่การปิดกิจการมีการเลิกจ้างงาน 12,551 คน ส่วนเปิดโรงงานใหม่จ้างงานถึง 33,787 คน มีความต้องการแรงงานมากกว่า 21,236 คน เมื่อรวมกับโรงงานเดิมที่มีการขยายกิจการอีกจำนวนกว่า 126 แห่ง เกิดการลงทุนเพิ่มขึ้น 11,748 ล้านบาท และเกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้นกว่า 4,989 คน
ด้าน นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ภาพรวมการดำเนินกิจการโรงงานในปัจจุบันยังขยายตัวดี พร้อมให้ความสำคัญกับความอยู่รอดของผู้ประกอบการ โดยเฉพาะกลุ่ม SME สั่งการให้กำหนดมาตรการเพื่อช่วยขับเคลื่อนให้ภาคอุตสาหกรรมเติบโตและแข่งขันได้มากขึ้น โดยเฉพาะกับผู้ประกอบการที่อยู่ในห่วงโซ่การผลิต ผู้จัดหาวัตถุดิบ หรือผู้กระจายสินค้า ผ่านมาตรการเร่งด่วนระยะสั้น เช่น เข้มงวดเรื่องการตรวจสินค้านำเข้าที่ไม่ได้มาตรฐาน พัฒนาสมรรถนะแรงงานด้านเทคโนโลยี การกระตุ้นตลาดในประเทศ สนับสนุนเงินทุน เพื่อแก้ปัญหาสภาพคล่องของภาคอุตสาหกรรม เช่น เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำเพื่อ SMEs โดย SME D Bank เป็นต้น
นายปิติ ดิษยทัต ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยในงาน Monetary Policy Forum ครั้งที่ 2/2567 ว่า สำหรับข้อเสนอในการผ่อนปรนมาตรการควบคุมสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (มาตรการ LTV : Loan to Value Ratio ) ยืนยันว่า ปัจจุบัน ธปท.มีการทบทวนสม่ำเสมอ หากพิจารณาบ้านหลังแรก มาตรการดังกล่าวไม่ได้เป็นปัญหาและไม่ใช่ต้นตอของปัญหาภาคอสังหาริมทรัพย์ในปัจจุบัน
ขณะเดียวกัน เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวจากอุปสงค์ในประเทศและภาคการท่องเที่ยว เริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัวในภาคการผลิตและการส่งออกบางหมวด ขณะที่มาตรการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet ประเมินว่าจะเกิดผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ใกล้เคียงกับที่หลายฝ่ายประเมินไว้ ธปท.คาดส่งผลบวกต่อจีดีพีที่ 0.3-0.4% โดยผลจะเกิดจริงในปี 2568 มากกว่าปีนี้
สำหรับภาพเศรษฐกิจไตรมาส 3-4 รวมถึงต้นปี 2568 มีทิศทางเข้าสู่ศักยภาพ ขณะที่นโยบายการเงินขณะนี้ ไม่ใช่เป็นนโยบายการเงินในลักษณะที่มาเสริมหรือมากระตุ้นเศรษฐกิจ แต่เป็นการให้เกิดสมดุล เนื่องจากนโยบายการเงินควรจะเป็นกลางและไม่ฉุดรั้ง ดังนั้น การปรับอัตราดอกเบี้ยหรือไม่ปรับอัตราดอกเบี้ย ขึ้นอยู่กับปัจจัยพื้นฐานมากกว่าว่าอัตราดอกเบี้ยควรจะอยู่ที่ระดับใด
“หนี้ครัวเรือนที่สูงยังเป็นจุดเปราะบางของครัวเรือน ความยากลำบาก คือ มูลหนี้ ดอกเบี้ยเป็นส่วนหนึ่ง ดังนั้น วิธีการ คือ ต้องหาวิธีแก้มูลหนี้ให้ได้ ยืนยันว่านโยบายการเงินไม่ได้เป็นเป้าหมายในการแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือน” นายปิติ กล่าว
ขณะที่ นางสาวปราณี สุทธศรี ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยปีนี้คาดขยายตัว 2.6% ปี 2568 มีโอกาสขยายตัวที่ 3% โดยมีภาคการท่องเที่ยวเป็นตัวขับเคลื่อน รวมถึงการบริโภคภาคเอกชน โดยเฉพาะปรับตัวสูงในสินค้าหมวดบริการ ประกอบกับเริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัวของการส่งออกและภาคการผลิตบางหมวดอุตสาหกรรม ภาครัฐเริ่มมีการเร่งการเบิกจ่ายปรับตัวดีขึ้น สำหรับสินค้าหมวดยานยนต์เริ่มมีสัญญาณการชะลอตัวลง โดยภาพรวมการส่งออกปีนี้ขยายตัว 1.8% ปี 2568 ที่ 2.6%
สศอ. โชว์ 5 เดือนแรกยอดเปิดโรงงานใหม่สูงกว่าปิด 74%
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดตัวเลขเปิด-ปิดโรงงานช่วง 5 เดือนแรกปีนี้ พบว่า มีโรงงานปิดกิจการ 488 โรงงาน ขณะเดียวกันมีโรงงานเปิดกิจการใหม่ 848 โรงงาน จำนวนโรงงานเปิดใหม่สูงกว่าปิดถึง 74% ขณะที่โรงงานเปิดใหม่มีเงินลงทุนถึง 149,889 ล้านบาท มากกว่าปิดกิจการกว่า 10 เท่า ขณะที่การปิดกิจการมีการเลิกจ้างงาน 12,551 คน ส่วนเปิดโรงงานใหม่จ้างงานถึง 33,787 คน มีความต้องการแรงงานมากกว่า 21,236 คน เมื่อรวมกับโรงงานเดิมที่มีการขยายกิจการอีกจำนวนกว่า 126 แห่ง เกิดการลงทุนเพิ่มขึ้น 11,748 ล้านบาท และเกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้นกว่า 4,989 คน
ด้าน นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ภาพรวมการดำเนินกิจการโรงงานในปัจจุบันยังขยายตัวดี พร้อมให้ความสำคัญกับความอยู่รอดของผู้ประกอบการ โดยเฉพาะกลุ่ม SME สั่งการให้กำหนดมาตรการเพื่อช่วยขับเคลื่อนให้ภาคอุตสาหกรรมเติบโตและแข่งขันได้มากขึ้น โดยเฉพาะกับผู้ประกอบการที่อยู่ในห่วงโซ่การผลิต ผู้จัดหาวัตถุดิบ หรือผู้กระจายสินค้า ผ่านมาตรการเร่งด่วนระยะสั้น เช่น เข้มงวดเรื่องการตรวจสินค้านำเข้าที่ไม่ได้มาตรฐาน พัฒนาสมรรถนะแรงงานด้านเทคโนโลยี การกระตุ้นตลาดในประเทศ สนับสนุนเงินทุน เพื่อแก้ปัญหาสภาพคล่องของภาคอุตสาหกรรม เช่น เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำเพื่อ SMEs โดย SME D Bank เป็นต้น
ข่าวนโยบายการเงิน-การคลัง อื่นๆ