BAM เปิดแผนกลยุทธ์ปี 67 เร่งขยายพอร์ตสินทรัพย์อีก 7 หมื่นล้าน
วันที่ : 6 กุมภาพันธ์ 2567
BAM ระบุว่า ความท้าทายของการดำเนินงานปี 2567 คือ การจัดเก็บและการตามลูกหนี้ เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ค่อยดี การส่งออกที่มีความผันผวน การบริโภคในประเทศที่เกิดการชะลอตัวขึ้น ทำให้รายได้ของคนมีผลกระทบ ส่งผลต่อความสามารถในการชำระหนี้
นายบัณฑิต อนันตมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.บริษัทบริหารสินทรัพย์กรุงเทพพาณิชย์ (BAM) เปิดเผยแผนกลยุทธ์ในการดำเนินงานปี 2567 ว่า BAM ได้กำหนดกลยุทธ์ทางธุรกิจเพื่อสร้างผลเรียกเก็บให้เป็นไปตามเป้าที่ 2 หมื่นล้านบาท และมีเป้าระยะกลางในปี 2569 ที่ 2.33 หมื่นล้านบาท ขณะที่การขยายฐานสินทรัพย์มีเป้าหมายลงทุนซื้อคิดเป็นเงินต้นคงค้าง 7 หมื่นล้านบาท เพื่อรักษาขนาดสินทรัพย์และโอกาสทางธุรกิจของ BAM
ในขณะที่งบลงทุนการซื้อหนี้ NPA และ NPLs ในปี 2567 วางไว้ 1 หมื่นล้านบาท โดยมองว่าปี 2567 มีโอกาสเข้าซื้อหนี้ได้อย่างต่อเนื่อง เพราะสถาบันการเงินต่างๆ ยังมีความต้องการบริหารจัดการหนี้เสียที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งประเมินว่าสถาบันการเงินยังมีหนี้ที่ยังไม่ถูกจัดชั้นประมาณ 1 ล้านล้านบาท ซึ่งเป็นสัญญาณว่าจะมีการทยอยขายหนี้ออกมาต่อเนื่อง โดยในช่วงเดือนมกราคม BAM ได้เข้าไปยื่นประมูลหนี้กว่า 4 หมื่นล้านบาท ปัจจุบัน BAM มี NPLs อยู่ที่ 4.73 แสนล้านบาท และมี NPAs อยู่ที่ 6.98 หมื่นล้านบาท ขณะเดียวกัน BAM สามารถช่วยเหลือลูกหนี้ให้ได้ข้อยุติจากการแก้ไขปัญหาหนี้ 154,187 ราย คิดเป็นภาระหนี้เงินต้น 4.79 แสนล้านบาท และสามารถจำหน่ายทรัพย์ไปแล้ว 51,420 รายการ คิดเป็นราคาประเมิน 1.21 แสนล้านบาท
"ความท้าทายของการดำเนินงานปี 2567 คือ การจัดเก็บและการตามลูกหนี้ เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ค่อยดี การส่งออกที่มีความผันผวน การบริโภคในประเทศที่เกิดการชะลอตัวขึ้น ทำให้รายได้ของคนมีผลกระทบ ส่งผลต่อความสามารถในการชำระหนี้ ทำให้บริษัทอาจจะเก็บหนี้ยากขึ้น ซึ่งบริษัทจะต้องช่วยลูกหนี้ในการให้คำปรึกษาเรื่องศักยภาพของลูกหนี้ลดลงหรือเพิ่มขึ้น ประกอบกับการเจรจาปรับโครงสร้างและการประนอมหนี้ โดยปี 2567 จะประนอมหนี้แบบยืดหยุ่น เพราะสถานการณ์ไม่เอื้อ แม้ดอกเบี้ยจะเป็นเทรนด์ลดลง แต่ก็ยังมีความไม่แน่นอน"นายบัณฑิต กล่าว
สำหรับกลยุทธ์เชิงรุกในปี 2567 เพื่อให้บรรลุผลตามที่วางไว้ ประกอบด้วย การขยายธุรกิจ โดยจะเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการ Clean Loan ด้วยการจัดกลุ่มลูกหนี้ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่บริหารเอง และกลุ่มที่ให้ทนายนอก / Collector บริหารจัดการ เพื่อลดเวลาติดตามหนี้ รวมทั้งการดำเนินโครงการกิจการค้าร่วม ขณะนี้อยู่ระหว่างเจรจากับผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ 2-3 ราย โดยในเบื้องต้น BAM จะคัดเลือกทรัพย์ประเภทโครงการเพื่อกำหนดมาตรฐานเงื่อนไข รวมทั้งการกำหนดหน่วยงานขึ้นมาดูแลโดยเฉพาะ
ในขณะที่การดำเนินธุรกิจใหม่ วางแนวทางการร่วมทุนกับสถาบันการเงิน BAM จะได้ค่าบริหารจัดการตามสัดส่วนที่มีข้อสรุปร่วมกัน การสร้างรายได้จากค่าธรรมเนียม ด้วยการ พัฒนาระบบด้านการสำรวจและประเมินราคาทรัพย์ เพื่อสร้างรายได้จากค่าธรรมเนียมในการดำเนินงาน (แผนระยะกลาง) การพัฒนา Pricing Model ด้วยการลงทุนแบบ Selective เพื่อรับซื้อรับโอนสินทรัพย์ในราคาที่เหมาะสม และยังคงบทบาทหลักในการเป็นแก้มลิงเพื่อรองรับ NPL/NPA เพื่อช่วยพลิกฟื้นระบบเศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานด้วยแผนการลดขั้นตอนและระยะเวลาในกระบวนการทางคดี กระบวนการประเมินราคาทรัพย์ รวมถึงปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มีความยืดหยุ่น ตลอดจนการปรับปรุงระเบียบ/คำสั่งต่างๆ เพื่อความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน
ในขณะที่งบลงทุนการซื้อหนี้ NPA และ NPLs ในปี 2567 วางไว้ 1 หมื่นล้านบาท โดยมองว่าปี 2567 มีโอกาสเข้าซื้อหนี้ได้อย่างต่อเนื่อง เพราะสถาบันการเงินต่างๆ ยังมีความต้องการบริหารจัดการหนี้เสียที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งประเมินว่าสถาบันการเงินยังมีหนี้ที่ยังไม่ถูกจัดชั้นประมาณ 1 ล้านล้านบาท ซึ่งเป็นสัญญาณว่าจะมีการทยอยขายหนี้ออกมาต่อเนื่อง โดยในช่วงเดือนมกราคม BAM ได้เข้าไปยื่นประมูลหนี้กว่า 4 หมื่นล้านบาท ปัจจุบัน BAM มี NPLs อยู่ที่ 4.73 แสนล้านบาท และมี NPAs อยู่ที่ 6.98 หมื่นล้านบาท ขณะเดียวกัน BAM สามารถช่วยเหลือลูกหนี้ให้ได้ข้อยุติจากการแก้ไขปัญหาหนี้ 154,187 ราย คิดเป็นภาระหนี้เงินต้น 4.79 แสนล้านบาท และสามารถจำหน่ายทรัพย์ไปแล้ว 51,420 รายการ คิดเป็นราคาประเมิน 1.21 แสนล้านบาท
"ความท้าทายของการดำเนินงานปี 2567 คือ การจัดเก็บและการตามลูกหนี้ เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ค่อยดี การส่งออกที่มีความผันผวน การบริโภคในประเทศที่เกิดการชะลอตัวขึ้น ทำให้รายได้ของคนมีผลกระทบ ส่งผลต่อความสามารถในการชำระหนี้ ทำให้บริษัทอาจจะเก็บหนี้ยากขึ้น ซึ่งบริษัทจะต้องช่วยลูกหนี้ในการให้คำปรึกษาเรื่องศักยภาพของลูกหนี้ลดลงหรือเพิ่มขึ้น ประกอบกับการเจรจาปรับโครงสร้างและการประนอมหนี้ โดยปี 2567 จะประนอมหนี้แบบยืดหยุ่น เพราะสถานการณ์ไม่เอื้อ แม้ดอกเบี้ยจะเป็นเทรนด์ลดลง แต่ก็ยังมีความไม่แน่นอน"นายบัณฑิต กล่าว
สำหรับกลยุทธ์เชิงรุกในปี 2567 เพื่อให้บรรลุผลตามที่วางไว้ ประกอบด้วย การขยายธุรกิจ โดยจะเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการ Clean Loan ด้วยการจัดกลุ่มลูกหนี้ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่บริหารเอง และกลุ่มที่ให้ทนายนอก / Collector บริหารจัดการ เพื่อลดเวลาติดตามหนี้ รวมทั้งการดำเนินโครงการกิจการค้าร่วม ขณะนี้อยู่ระหว่างเจรจากับผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ 2-3 ราย โดยในเบื้องต้น BAM จะคัดเลือกทรัพย์ประเภทโครงการเพื่อกำหนดมาตรฐานเงื่อนไข รวมทั้งการกำหนดหน่วยงานขึ้นมาดูแลโดยเฉพาะ
ในขณะที่การดำเนินธุรกิจใหม่ วางแนวทางการร่วมทุนกับสถาบันการเงิน BAM จะได้ค่าบริหารจัดการตามสัดส่วนที่มีข้อสรุปร่วมกัน การสร้างรายได้จากค่าธรรมเนียม ด้วยการ พัฒนาระบบด้านการสำรวจและประเมินราคาทรัพย์ เพื่อสร้างรายได้จากค่าธรรมเนียมในการดำเนินงาน (แผนระยะกลาง) การพัฒนา Pricing Model ด้วยการลงทุนแบบ Selective เพื่อรับซื้อรับโอนสินทรัพย์ในราคาที่เหมาะสม และยังคงบทบาทหลักในการเป็นแก้มลิงเพื่อรองรับ NPL/NPA เพื่อช่วยพลิกฟื้นระบบเศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานด้วยแผนการลดขั้นตอนและระยะเวลาในกระบวนการทางคดี กระบวนการประเมินราคาทรัพย์ รวมถึงปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มีความยืดหยุ่น ตลอดจนการปรับปรุงระเบียบ/คำสั่งต่างๆ เพื่อความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน
ข่าวบ้านมือสอง อื่นๆ