สศช. ชี้ปี67ความเสี่ยงรุมจีดีพีโต3.2%
วันที่ : 22 พฤศจิกายน 2566
สภาพัฒน์ จี้รัฐเร่งปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ มุ่งลงทุน ส่งออก ท่องเที่ยวหนุนจีดีพีโตแตะ 5% ส่วนปี 2567 คาดขยายตัว 3.2% และปี 2566 คาดโตต่ำเตี้ย 2.5%
จี้รัฐปรับโครงสร้างเศรษฐกิจมุ่งลงทุนหนุนส่งออก
นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า ปี 2566 คาดว่าจีดีพีจะขยายตัว 2.5% จากคาดการณ์ทั้งปี 2.5-3.0% ขณะที่อัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะอยู่ที่ 1.4% และดุลบัญชีเดินสะพัดจะ เกินดุล 1.0% ของจีดีพี และปี 2567 คาดว่าขยายตัว 3.2% ยังไม่ได้รวมผลจากนโยบายดิจิทัลวอลเล็ต 1 หมื่นบาทของรัฐบาล จากคาดการณ์ 2.7-3.7% โดยได้รับการสนับสนุนจากการส่งออก การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน และการฟื้นตัวภาคการท่องเที่ยว การส่งออกคาดว่าจะขยายตัว 3.8% ขณะที่ไตรมาส 3 ปี 2566 จีดีพีขยายตัว 1.5% เศรษฐกิจไทยในปี 2567 ยังมีความเสี่ยงและข้อจำกัด ซึ่งอาจทำให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวต่ำกว่าที่คาดการณ์ อาทิ ข้อจำกัดของแรงขับเคลื่อนทางการคลัง จากความล่าช้าของกระบวนการงบประมาณ ประจำปี 2567, ภาระหนี้ครัวเรือนและภาคธุรกิจที่ยังอยู่ในระดับสูง, ปัญหาภัยแล้งต่อผลผลิตภาคเกษตร และความเสี่ยงจากการชะลอตัวมากกว่าที่คาดของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลกจากปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ สงครามอิสราเอล-กลุ่มฮามาส และรัสเซีย-ยูเครน
ทั้งนี้ แนวทางบริหารจัดการเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปี 2566 และปี 2567 เช่น การดำเนินนโยบายการเงินการคลัง อย่างเหมาะสมกับเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ เพิ่มศักยภาพทางการคลังจัดลำดับความสำคัญในการใช้จ่ายภาครัฐ, เตรียมมาตรการรองรับสถานการณ์ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์, การขับเคลื่อนการส่งออกสินค้า, สร้างความเชื่อมั่นและสนับสนุนการขยายตัวการลงทุนภาคเอกชน, สนับสนุนการฟื้นตัวการท่องเที่ยว, ดูแลการผลิตภาคเกษตรและรายได้เกษตรกร และรักษาแรงขับเคลื่อนการขยายตัวทางเศรษฐกิจจากการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ
ทั้งนี้ เศรษฐกิจไทยมีความจำเป็นต้องปรับโครงสร้าง ไม่เช่นนั้นการเติบโตจะอยู่ในระดับแค่ 3% กว่าไปแบบนี้ โดยต้องเร่งปรับโครงสร้างการผลิตภาคอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นภาคใหญ่ที่มีผลต่อการเติบโตของประเทศ ส่วนประมาณการเศรษฐกิจไทยในปี 2566 ที่คาดว่าจะโตได้ 2.5% และปี 2567 โตได้ 3.2% นั้นถือว่าเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวต่อเนื่องและยังมีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวได้ต่อ
ส่วนที่รัฐบาลตั้งเป้าหมายการเติบโตเศรษฐกิจไทยในปีหน้าไว้ที่ระดับ 5% นั้น นายดนุชากล่าวว่า เป็นเป้าหมายในการบริหารด้านเศรษฐกิจของรัฐบาล ซึ่งต้องอาศัยการขับเคลื่อนจากทั้งด้าน อาทิ การส่งออก และการลงทุน เร่งส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย เป็นต้น
นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า ปี 2566 คาดว่าจีดีพีจะขยายตัว 2.5% จากคาดการณ์ทั้งปี 2.5-3.0% ขณะที่อัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะอยู่ที่ 1.4% และดุลบัญชีเดินสะพัดจะ เกินดุล 1.0% ของจีดีพี และปี 2567 คาดว่าขยายตัว 3.2% ยังไม่ได้รวมผลจากนโยบายดิจิทัลวอลเล็ต 1 หมื่นบาทของรัฐบาล จากคาดการณ์ 2.7-3.7% โดยได้รับการสนับสนุนจากการส่งออก การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน และการฟื้นตัวภาคการท่องเที่ยว การส่งออกคาดว่าจะขยายตัว 3.8% ขณะที่ไตรมาส 3 ปี 2566 จีดีพีขยายตัว 1.5% เศรษฐกิจไทยในปี 2567 ยังมีความเสี่ยงและข้อจำกัด ซึ่งอาจทำให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวต่ำกว่าที่คาดการณ์ อาทิ ข้อจำกัดของแรงขับเคลื่อนทางการคลัง จากความล่าช้าของกระบวนการงบประมาณ ประจำปี 2567, ภาระหนี้ครัวเรือนและภาคธุรกิจที่ยังอยู่ในระดับสูง, ปัญหาภัยแล้งต่อผลผลิตภาคเกษตร และความเสี่ยงจากการชะลอตัวมากกว่าที่คาดของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลกจากปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ สงครามอิสราเอล-กลุ่มฮามาส และรัสเซีย-ยูเครน
ทั้งนี้ แนวทางบริหารจัดการเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปี 2566 และปี 2567 เช่น การดำเนินนโยบายการเงินการคลัง อย่างเหมาะสมกับเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ เพิ่มศักยภาพทางการคลังจัดลำดับความสำคัญในการใช้จ่ายภาครัฐ, เตรียมมาตรการรองรับสถานการณ์ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์, การขับเคลื่อนการส่งออกสินค้า, สร้างความเชื่อมั่นและสนับสนุนการขยายตัวการลงทุนภาคเอกชน, สนับสนุนการฟื้นตัวการท่องเที่ยว, ดูแลการผลิตภาคเกษตรและรายได้เกษตรกร และรักษาแรงขับเคลื่อนการขยายตัวทางเศรษฐกิจจากการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ
ทั้งนี้ เศรษฐกิจไทยมีความจำเป็นต้องปรับโครงสร้าง ไม่เช่นนั้นการเติบโตจะอยู่ในระดับแค่ 3% กว่าไปแบบนี้ โดยต้องเร่งปรับโครงสร้างการผลิตภาคอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นภาคใหญ่ที่มีผลต่อการเติบโตของประเทศ ส่วนประมาณการเศรษฐกิจไทยในปี 2566 ที่คาดว่าจะโตได้ 2.5% และปี 2567 โตได้ 3.2% นั้นถือว่าเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวต่อเนื่องและยังมีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวได้ต่อ
ส่วนที่รัฐบาลตั้งเป้าหมายการเติบโตเศรษฐกิจไทยในปีหน้าไว้ที่ระดับ 5% นั้น นายดนุชากล่าวว่า เป็นเป้าหมายในการบริหารด้านเศรษฐกิจของรัฐบาล ซึ่งต้องอาศัยการขับเคลื่อนจากทั้งด้าน อาทิ การส่งออก และการลงทุน เร่งส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย เป็นต้น
ข่าวนโยบายการเงิน-การคลัง อื่นๆ