เชียงใหม่ ไชน่าทาวน์ทุนจีนยึด สันกำแพง-หางดง
วันที่ : 16 กุมภาพันธ์ 2566
CIC เผยว่า แนวโน้มสำคัญที่คนจีนเลือกมาอยู่เชียงใหม่ เพราะเชียงใหม่เป็นเมืองการศึกษาทั้งระดับประถม มัธยม ที่นิยมเข้ามาเรียนคือโรงเรียนนานาชาติ มีผู้ปกครองดูแล โดยเช่าบ้านอยู่ ถ้าเรียนยาวจากประถมถึงมัธยมก็อาจซื้อบ้านเป็นของตัวเอง ส่วนระดับมหาวิทยาลัยก็เช่นเดียวกัน
กระแสทุนจีนกลับคืนสู่จังหวัดเชียงใหม่อีกครั้ง หลังโควิด-19 คลี่คลายและจีนเปิดประเทศ โดยเฉพาะการลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเข้มข้นขึ้นกว่าเดิม
"ประชาชาติธุรกิจ" ลงพื้นที่สำรวจ พบว่ามี 3 ทำเลในเชียงใหม่ที่กลุ่มทุนจีนปักหมุดทำโครงการบ้านจัดสรร รองรับดีมานด์คนจีนด้วยกันเรียกว่าเป็นหมู่บ้านที่คนจีนอาศัยอยู่ 100% ได้แก่ อ.หางดง อ.สันกำแพง และ อ.สันทราย ที่หางดง อยู่บริเวณ ต.สันผักหวาน หมู่ 1 มีโครงการขนาด 10 ไร่ ชื่อว่า REEYAP VILLA มูลค่าลงทุนประมาณ 350 ล้านบาท
แหล่งข่าวที่ดูแลโครงการ REEYAP VILLA เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า โครงการนี้สร้างขึ้นเพื่อรองรับการอยู่อาศัยของคนจีนโดยเฉพาะ จะไม่ขายให้คนไทยหรือคนต่างชาติ มีทั้งหมด 43 หลัง และขายหมดแล้ว
ปัจจุบันสร้างเสร็จแล้ว 34 หลัง อีก 10 หลังอยู่ระหว่างก่อสร้าง กลุ่มลูกค้าคนจีนกำลังเริ่มทยอยเดินทางมา และจะอยู่อาศัยในโครงการนี้ภายในปี 2566 ราคาบ้านอยู่ที่ 5-7 ล้านบาท ขึ้นอยู่กับแบบบ้านและขนาดที่ดิน บ้านที่มีสระว่ายน้ำ ราคาประมาณ 10 ล้านบาท
ที่ใกล้กันคือ ต.บ้านแหวน อ.หางดง ถือเป็นชุมชนที่มีชาวจีนอยู่พักอาศัยเป็นจำนวนมาก เช่น กุลพันธ์วิลล์ โครงการ 9 เป็นหมู่บ้านจัดสรรขนาดใหญ่ของทุนท้องถิ่นที่เชียงใหม่ ภายในโครงการมีทั้งบ้านเดี่ยว ทาวน์โฮม อาคารพาณิชย์ และสนามกอล์ฟ คนจีนส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณโซนทาวน์โฮมและอาคารพาณิชย์ พร้อมประกอบธุรกิจ ร้านอาหาร ร้านกาแฟ ร้านมินิมาร์ต ฯลฯ ด้านหลังโครงการกุลพันธ์วิลล์ ฝั่งตรงข้ามโรงเรียนนานาชาติลานนา มีโครงการจัดสรรชื่อ "รักเชียงใหม่" หรือ ICM RESORT ก็เป็นหมู่บ้านคนจีนอีกเช่นกัน
ส่วน อ.สันกำแพง มีคอมมิวนิตี้ขนาดใหญ่ภายในโครงการสนามไดรฟ์กอล์ฟ M Sport บนถนนเชียงใหม่-สันกำแพง (สายเก่า) ที่นี่เน้นเปิดร้านอาหาร ร้านหมาล่าหมูจุ่ม ร้านข้าวต้ม ร้านนวดสปา ร้านคาร์แคร์ เพื่อรองรับกลุ่มคนจีนโดยเฉพาะ
ขณะที่สนามไดรฟ์กอล์ฟ M Sport ลูกค้ากลุ่มหลักก็คือ คนจีนที่อาศัยอยู่ในโครงการจัดสรรโดยรอบ ซึ่งมีหมู่บ้านคนจีนอยู่เต็มทุกหลัง 2 โครงการ ได้แก่ โครงการพิมพ์พิชฎา (PIMPICHADA) ถนนเชียงใหม่-สันกำแพง (สายเก่า) ฝั่งตรงข้ามสนามไดรฟ์กอล์ฟ ซึ่งมีโซนคอมมิวนิตี้อยู่ติดโครงการหมู่บ้าน แล้วเปิดเป็นร้านอาหารจีน ร้านหมาล่า ร้านก๋วยเตี๋ยวยูนนาน ร้านขนมจีนยูนนานร้านซาลาเปา ซูเปอร์มาร์เก็ต (ขายสินค้าจีนโดยเฉพาะ) ธุรกิจชิปปิ้ง และขนส่งสินค้า
อีกโครงการคือ TAIMEIFU ตั้งอยู่ถนนสันกำแพง-เชียงใหม่ (สายใหม่) เป็นหมู่บ้านจัดสรรที่เจาะกลุ่มลูกค้าคนจีน ลักษณะเป็นบ้านเดี่ยวสไตล์วิลล่า ราคาขายเริ่มต้นหลังละ 5 ล้านบาท ขณะที่ อ.สันทราย ทางเข้าสนามกอล์ฟแม่โจ้ กอล์ฟคลับ กลุ่มทุนจีนก็มาลงทุนสร้างหมู่บ้านติดริมทะเลสาบ เพื่อรองรับชาวจีนด้วยกันมาพำนักอาศัย
จีนยึดเชียงใหม่บ้านหลังที่ 2
ดร.ดนัยธัญ พงษ์พัชราธรเทพ รองคณบดี วิทยาลัยศิลปะ สื่อและเทคโนโลยี และหัวหน้าศูนย์ China Intelligence Center (CIC) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ขณะนี้นักลงทุนจีนที่เคยวางแผนจะทำธุรกิจเกี่ยวกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและลงทุนสร้างบ้านหลังที่สองในเชียงใหม่ได้เริ่มดำเนินการแล้ว พร้อมกับเอาลูกมาเรียนที่นี่ด้วย ขณะที่ผู้สูงอายุชาวจีนก็พำนักยาวเช่นกัน การลงทุนมีทั้งรูปแบบบริษัทจีน และร่วมทุนกับคนไทย
การกลับมาครั้งนี้ คนจีนตั้งเป้าให้เชียงใหม่เป็นบ้านหลังที่สอง และแนวโน้มจะเป็นซีรีส์จากนักท่องเที่ยวสู่นักลงทุน หมายความว่า เมื่อเข้ามาท่องเที่ยวแล้วก็จะมี direct flight จากเมืองใหญ่ ๆ เข้ามาสู่เชียงใหม่มากขึ้น เพราะเดินทางสะดวก มีต้นทุนต่ำ จากเมืองสำหรับการพักผ่อนกลายมาเป็นบ้านหลังที่สอง ด้วยเหตุผลหลักคือ 1.ต้นทุนการเดินทางถูก 2.ราคาที่พักหรืออสังหาริมทรัพย์ของเชียงใหม่ถูกกว่าในจีน กล่าวคือ คนจีนซื้อบ้านราคา 3 ล้านบาทในเชียงใหม่ แต่ถ้าซื้อบ้านในจีนต้องใช้เงินมากกว่าถึง 5 เท่า
ดังนั้น คนจีนจึงเลือกที่จะมาซื้อบ้านในเชียงใหม่แทน แต่ยังคงทำงานในประเทศจีน เมื่อถึง long weekend ก็นั่ง direct flight เข้ามา ใช้เวลาบิน 2-3 ชั่วโมง ด้วยค่าตั๋วที่ไม่แพง เป็น low cost airlines โมเดลนี้เริ่มเป็นที่นิยม และมีบริษัทตัวแทนเข้ามาลงทุนหรือหาบ้านหลังที่สองให้ลูกค้าคนจีนชนชั้นกลางที่มีกำลังซื้อ โดยเลือกประเทศไทยหรือเชียงใหม่เป็นเป้าหมายอันดับต้น ๆ
ดีมานด์การศึกษาพุ่ง
ดร.ดนัยธัญกล่าวอีกว่า แนวโน้มสำคัญที่คนจีนเลือกมาอยู่เชียงใหม่ เพราะเชียงใหม่เป็นเมืองการศึกษาทั้งระดับประถม มัธยม ที่นิยมเข้ามาเรียนคือโรงเรียนนานาชาติ มีผู้ปกครองดูแล โดยเช่าบ้านอยู่ ถ้าเรียนยาวจากประถมถึงมัธยมก็อาจซื้อบ้านเป็นของตัวเอง ส่วนระดับมหาวิทยาลัยก็เช่นเดียวกัน ตัวอย่างคณะวิทยาลัยศิลปะ สื่อและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปัจจุบันมีนักศึกษาปริญญาตรีจากประเทศจีนเข้ามาเรียนมากขึ้น มีสัดส่วนนักศึกษาต่างชาติอยู่ 10-15% หรือราว 50 คนต่อรุ่น ในจำนวนนี้เป็นนักศึกษาจีน 90% ถือเป็นกลุ่มหลักที่มาเรียนปริญญาตรี เช่นเดียวกับปริญญาโท หลักสูตร Knowledge and Innovation Management จะมีนักศึกษาจีนเข้ามาเรียนรุ่นละ 20 คน และหลักสูตร Cross Border e-Commerce รุ่นละ 25 คน
ทำให้เกิดธุรกิจมีบริษัทจีนมาลงทุนพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และเปิดให้คนจีนซื้อ แต่ทำสัญญากันในประเทศจีน ซึ่งเป็นรูปแบบของการผูกมัดให้คนจีนรู้สึกเป็นเจ้าของที่มีบ้านอยู่ในไทย
ทุนเวินโจว-เจ้อเจียงบุกอสังหาฯ
ดร.ดนัยธัญกล่าวว่า ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ถือเป็นประเด็นใหญ่ และเป็นแกนกลางของกลุ่มทุนจีนที่เข้ามาลงทุนในเชียงใหม่และเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เช่น การซื้อโรงแรม การลงทุนด้านที่พักอย่างโครงการจัดสรร ส่วนใหญ่เป็นการพัฒนาจากนักท่องเที่ยวสู่นักลงทุน ที่ผ่านมาคนจีนในมณฑลยูนนานถูกมองว่า เป็นคนจีนกลุ่มใหญ่ที่เข้ามาลงทุนในเชียงใหม่ เนื่องจากเป็นมณฑลที่อยู่ใกล้สุด
แต่ปัจจุบันพบว่า นักลงทุนกระจายมาจากหลายมณฑล ทั้งปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ กว่างโจว หางโจว เฉิงตู รวมถึงนักลงทุนมืออาชีพด้านอสังหาฯจากนครเวินโจว มณฑลเจ้อเจียง ที่เริ่มเคลื่อนย้ายทุนมาที่เชียงใหม่ด้วย การขยายตัวของธุรกิจอสังหาฯที่รวดเร็วนี้ ถือเป็นความร่วมมือระหว่างทุนไทยกับทุนจีน ไม่ใช่ทุนไทยอย่างเดียว
จีนเกษียณชอบเชียงใหม่
"ดีมานด์สังคมผู้สูงวัยของจีนชอบเชียงใหม่ แม้รัฐบาลจีนเร่งสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่จะรองรับคนกลุ่มนี้แต่ก็ไม่ทัน ซึ่งถือเป็นปัญหาใหญ่ของจีนในขณะนี้ ดังนั้น นโยบายรัฐบาลจีนจึงสนับสนุนให้เอกชนออกไปหาพื้นที่ที่จะรองรับคนเกษียณในต่างประเทศ ซึ่งเชียงใหม่คือหนึ่งในเป้าหมาย" ดร.ดนัยธัญกล่าว และว่า เอกชนที่ทำโครงการลักษณะนี้ก็จะได้รับการอุดหนุนจากรัฐบาลจีน เช่น ได้ลดภาษี ในอนาคตเชื่อว่าจะมีบริการในเชิงรักษาพยาบาลแบบครบวงจรในชุมชนด้วย
หวั่นผลกระทบคลื่นทุนจีน
ผลดีและผลเสียที่คนจีนเข้ามาลงทุนในเชียงใหม่นั้น ดร.ดนัยธัญกล่าวว่า ข้อดีคือเศรษฐกิจเชียงใหม่จะบรรเทาความซบเซาได้ อสังหาฯที่เคยดรอปก็จะกลับฟี้นคืนมา แต่ข้อกังวลอาจทำให้คนไทยสงสัยว่า มูลค่าและผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจจะตกอยู่กับประเทศไทย อยู่กับเชียงใหม่หรือไม่
แล้วคนจีนที่เข้ามาอยู่เป็นจำนวนมากจะสร้างผลกระทบรบกวนชุมชนในเชียงใหม่หรือไม่ อย่างไร โดยไม่นับรวมการเข้ามาของ "คลื่นทุนจีน" ซึ่งกฎหมายหรือข้อระเบียบปฏิบัติของไทยจะรับมือด้านบริหารจัดการได้ทันท่วงทีหรือไม่ หากเกิดปัญหาขึ้นกับเมืองเชียงใหม่ที่กำลังแปรสภาพไปสู่ชุมชนไชน่าทาวน์
"ประชาชาติธุรกิจ" ลงพื้นที่สำรวจ พบว่ามี 3 ทำเลในเชียงใหม่ที่กลุ่มทุนจีนปักหมุดทำโครงการบ้านจัดสรร รองรับดีมานด์คนจีนด้วยกันเรียกว่าเป็นหมู่บ้านที่คนจีนอาศัยอยู่ 100% ได้แก่ อ.หางดง อ.สันกำแพง และ อ.สันทราย ที่หางดง อยู่บริเวณ ต.สันผักหวาน หมู่ 1 มีโครงการขนาด 10 ไร่ ชื่อว่า REEYAP VILLA มูลค่าลงทุนประมาณ 350 ล้านบาท
แหล่งข่าวที่ดูแลโครงการ REEYAP VILLA เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า โครงการนี้สร้างขึ้นเพื่อรองรับการอยู่อาศัยของคนจีนโดยเฉพาะ จะไม่ขายให้คนไทยหรือคนต่างชาติ มีทั้งหมด 43 หลัง และขายหมดแล้ว
ปัจจุบันสร้างเสร็จแล้ว 34 หลัง อีก 10 หลังอยู่ระหว่างก่อสร้าง กลุ่มลูกค้าคนจีนกำลังเริ่มทยอยเดินทางมา และจะอยู่อาศัยในโครงการนี้ภายในปี 2566 ราคาบ้านอยู่ที่ 5-7 ล้านบาท ขึ้นอยู่กับแบบบ้านและขนาดที่ดิน บ้านที่มีสระว่ายน้ำ ราคาประมาณ 10 ล้านบาท
ที่ใกล้กันคือ ต.บ้านแหวน อ.หางดง ถือเป็นชุมชนที่มีชาวจีนอยู่พักอาศัยเป็นจำนวนมาก เช่น กุลพันธ์วิลล์ โครงการ 9 เป็นหมู่บ้านจัดสรรขนาดใหญ่ของทุนท้องถิ่นที่เชียงใหม่ ภายในโครงการมีทั้งบ้านเดี่ยว ทาวน์โฮม อาคารพาณิชย์ และสนามกอล์ฟ คนจีนส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณโซนทาวน์โฮมและอาคารพาณิชย์ พร้อมประกอบธุรกิจ ร้านอาหาร ร้านกาแฟ ร้านมินิมาร์ต ฯลฯ ด้านหลังโครงการกุลพันธ์วิลล์ ฝั่งตรงข้ามโรงเรียนนานาชาติลานนา มีโครงการจัดสรรชื่อ "รักเชียงใหม่" หรือ ICM RESORT ก็เป็นหมู่บ้านคนจีนอีกเช่นกัน
ส่วน อ.สันกำแพง มีคอมมิวนิตี้ขนาดใหญ่ภายในโครงการสนามไดรฟ์กอล์ฟ M Sport บนถนนเชียงใหม่-สันกำแพง (สายเก่า) ที่นี่เน้นเปิดร้านอาหาร ร้านหมาล่าหมูจุ่ม ร้านข้าวต้ม ร้านนวดสปา ร้านคาร์แคร์ เพื่อรองรับกลุ่มคนจีนโดยเฉพาะ
ขณะที่สนามไดรฟ์กอล์ฟ M Sport ลูกค้ากลุ่มหลักก็คือ คนจีนที่อาศัยอยู่ในโครงการจัดสรรโดยรอบ ซึ่งมีหมู่บ้านคนจีนอยู่เต็มทุกหลัง 2 โครงการ ได้แก่ โครงการพิมพ์พิชฎา (PIMPICHADA) ถนนเชียงใหม่-สันกำแพง (สายเก่า) ฝั่งตรงข้ามสนามไดรฟ์กอล์ฟ ซึ่งมีโซนคอมมิวนิตี้อยู่ติดโครงการหมู่บ้าน แล้วเปิดเป็นร้านอาหารจีน ร้านหมาล่า ร้านก๋วยเตี๋ยวยูนนาน ร้านขนมจีนยูนนานร้านซาลาเปา ซูเปอร์มาร์เก็ต (ขายสินค้าจีนโดยเฉพาะ) ธุรกิจชิปปิ้ง และขนส่งสินค้า
อีกโครงการคือ TAIMEIFU ตั้งอยู่ถนนสันกำแพง-เชียงใหม่ (สายใหม่) เป็นหมู่บ้านจัดสรรที่เจาะกลุ่มลูกค้าคนจีน ลักษณะเป็นบ้านเดี่ยวสไตล์วิลล่า ราคาขายเริ่มต้นหลังละ 5 ล้านบาท ขณะที่ อ.สันทราย ทางเข้าสนามกอล์ฟแม่โจ้ กอล์ฟคลับ กลุ่มทุนจีนก็มาลงทุนสร้างหมู่บ้านติดริมทะเลสาบ เพื่อรองรับชาวจีนด้วยกันมาพำนักอาศัย
จีนยึดเชียงใหม่บ้านหลังที่ 2
ดร.ดนัยธัญ พงษ์พัชราธรเทพ รองคณบดี วิทยาลัยศิลปะ สื่อและเทคโนโลยี และหัวหน้าศูนย์ China Intelligence Center (CIC) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ขณะนี้นักลงทุนจีนที่เคยวางแผนจะทำธุรกิจเกี่ยวกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและลงทุนสร้างบ้านหลังที่สองในเชียงใหม่ได้เริ่มดำเนินการแล้ว พร้อมกับเอาลูกมาเรียนที่นี่ด้วย ขณะที่ผู้สูงอายุชาวจีนก็พำนักยาวเช่นกัน การลงทุนมีทั้งรูปแบบบริษัทจีน และร่วมทุนกับคนไทย
การกลับมาครั้งนี้ คนจีนตั้งเป้าให้เชียงใหม่เป็นบ้านหลังที่สอง และแนวโน้มจะเป็นซีรีส์จากนักท่องเที่ยวสู่นักลงทุน หมายความว่า เมื่อเข้ามาท่องเที่ยวแล้วก็จะมี direct flight จากเมืองใหญ่ ๆ เข้ามาสู่เชียงใหม่มากขึ้น เพราะเดินทางสะดวก มีต้นทุนต่ำ จากเมืองสำหรับการพักผ่อนกลายมาเป็นบ้านหลังที่สอง ด้วยเหตุผลหลักคือ 1.ต้นทุนการเดินทางถูก 2.ราคาที่พักหรืออสังหาริมทรัพย์ของเชียงใหม่ถูกกว่าในจีน กล่าวคือ คนจีนซื้อบ้านราคา 3 ล้านบาทในเชียงใหม่ แต่ถ้าซื้อบ้านในจีนต้องใช้เงินมากกว่าถึง 5 เท่า
ดังนั้น คนจีนจึงเลือกที่จะมาซื้อบ้านในเชียงใหม่แทน แต่ยังคงทำงานในประเทศจีน เมื่อถึง long weekend ก็นั่ง direct flight เข้ามา ใช้เวลาบิน 2-3 ชั่วโมง ด้วยค่าตั๋วที่ไม่แพง เป็น low cost airlines โมเดลนี้เริ่มเป็นที่นิยม และมีบริษัทตัวแทนเข้ามาลงทุนหรือหาบ้านหลังที่สองให้ลูกค้าคนจีนชนชั้นกลางที่มีกำลังซื้อ โดยเลือกประเทศไทยหรือเชียงใหม่เป็นเป้าหมายอันดับต้น ๆ
ดีมานด์การศึกษาพุ่ง
ดร.ดนัยธัญกล่าวอีกว่า แนวโน้มสำคัญที่คนจีนเลือกมาอยู่เชียงใหม่ เพราะเชียงใหม่เป็นเมืองการศึกษาทั้งระดับประถม มัธยม ที่นิยมเข้ามาเรียนคือโรงเรียนนานาชาติ มีผู้ปกครองดูแล โดยเช่าบ้านอยู่ ถ้าเรียนยาวจากประถมถึงมัธยมก็อาจซื้อบ้านเป็นของตัวเอง ส่วนระดับมหาวิทยาลัยก็เช่นเดียวกัน ตัวอย่างคณะวิทยาลัยศิลปะ สื่อและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปัจจุบันมีนักศึกษาปริญญาตรีจากประเทศจีนเข้ามาเรียนมากขึ้น มีสัดส่วนนักศึกษาต่างชาติอยู่ 10-15% หรือราว 50 คนต่อรุ่น ในจำนวนนี้เป็นนักศึกษาจีน 90% ถือเป็นกลุ่มหลักที่มาเรียนปริญญาตรี เช่นเดียวกับปริญญาโท หลักสูตร Knowledge and Innovation Management จะมีนักศึกษาจีนเข้ามาเรียนรุ่นละ 20 คน และหลักสูตร Cross Border e-Commerce รุ่นละ 25 คน
ทำให้เกิดธุรกิจมีบริษัทจีนมาลงทุนพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และเปิดให้คนจีนซื้อ แต่ทำสัญญากันในประเทศจีน ซึ่งเป็นรูปแบบของการผูกมัดให้คนจีนรู้สึกเป็นเจ้าของที่มีบ้านอยู่ในไทย
ทุนเวินโจว-เจ้อเจียงบุกอสังหาฯ
ดร.ดนัยธัญกล่าวว่า ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ถือเป็นประเด็นใหญ่ และเป็นแกนกลางของกลุ่มทุนจีนที่เข้ามาลงทุนในเชียงใหม่และเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เช่น การซื้อโรงแรม การลงทุนด้านที่พักอย่างโครงการจัดสรร ส่วนใหญ่เป็นการพัฒนาจากนักท่องเที่ยวสู่นักลงทุน ที่ผ่านมาคนจีนในมณฑลยูนนานถูกมองว่า เป็นคนจีนกลุ่มใหญ่ที่เข้ามาลงทุนในเชียงใหม่ เนื่องจากเป็นมณฑลที่อยู่ใกล้สุด
แต่ปัจจุบันพบว่า นักลงทุนกระจายมาจากหลายมณฑล ทั้งปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ กว่างโจว หางโจว เฉิงตู รวมถึงนักลงทุนมืออาชีพด้านอสังหาฯจากนครเวินโจว มณฑลเจ้อเจียง ที่เริ่มเคลื่อนย้ายทุนมาที่เชียงใหม่ด้วย การขยายตัวของธุรกิจอสังหาฯที่รวดเร็วนี้ ถือเป็นความร่วมมือระหว่างทุนไทยกับทุนจีน ไม่ใช่ทุนไทยอย่างเดียว
จีนเกษียณชอบเชียงใหม่
"ดีมานด์สังคมผู้สูงวัยของจีนชอบเชียงใหม่ แม้รัฐบาลจีนเร่งสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่จะรองรับคนกลุ่มนี้แต่ก็ไม่ทัน ซึ่งถือเป็นปัญหาใหญ่ของจีนในขณะนี้ ดังนั้น นโยบายรัฐบาลจีนจึงสนับสนุนให้เอกชนออกไปหาพื้นที่ที่จะรองรับคนเกษียณในต่างประเทศ ซึ่งเชียงใหม่คือหนึ่งในเป้าหมาย" ดร.ดนัยธัญกล่าว และว่า เอกชนที่ทำโครงการลักษณะนี้ก็จะได้รับการอุดหนุนจากรัฐบาลจีน เช่น ได้ลดภาษี ในอนาคตเชื่อว่าจะมีบริการในเชิงรักษาพยาบาลแบบครบวงจรในชุมชนด้วย
หวั่นผลกระทบคลื่นทุนจีน
ผลดีและผลเสียที่คนจีนเข้ามาลงทุนในเชียงใหม่นั้น ดร.ดนัยธัญกล่าวว่า ข้อดีคือเศรษฐกิจเชียงใหม่จะบรรเทาความซบเซาได้ อสังหาฯที่เคยดรอปก็จะกลับฟี้นคืนมา แต่ข้อกังวลอาจทำให้คนไทยสงสัยว่า มูลค่าและผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจจะตกอยู่กับประเทศไทย อยู่กับเชียงใหม่หรือไม่
แล้วคนจีนที่เข้ามาอยู่เป็นจำนวนมากจะสร้างผลกระทบรบกวนชุมชนในเชียงใหม่หรือไม่ อย่างไร โดยไม่นับรวมการเข้ามาของ "คลื่นทุนจีน" ซึ่งกฎหมายหรือข้อระเบียบปฏิบัติของไทยจะรับมือด้านบริหารจัดการได้ทันท่วงทีหรือไม่ หากเกิดปัญหาขึ้นกับเมืองเชียงใหม่ที่กำลังแปรสภาพไปสู่ชุมชนไชน่าทาวน์
ข่าวอสังหาริมทรัพย์ภูมิภาค อื่นๆ