ชงรัฐขยายเกณฑ์ราคา บ้านล้านหลัง ไม่เกิน1.8ล.ช่วยดูดซัปพลายอสังหาฯ
วันที่ : 20 กันยายน 2564
โซนอีอีซี บ้านระดับราคาไม่เกิน 1.2 ล้านบาท ไม่ได้มีนัยสำคัญต่อตลาดมากนัก ส่วนมากจะมีการซื้อขายอยู่ที่ 1.5-1.8 ล้านบาท ซึ่งจะช่วยอัตราการดูดซับบ้านในระดับราคาดังกล่าวได้ดีขึ้น
โครงการ สินเชื่อ "บ้านล้านหลัง" เฟส 2 ที่ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ได้เปิดให้ประชาชนลงทะเบียนเพื่อจองสิทธิ์ในการเข้าโครงการ โดยที่ ธอส.จะให้กู้เพื่อซื้อที่อยู่อาศัยใหม่ของผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ บ้านมือสอง และทรัพย์สินรอการขาย (NPA) หรือเพื่อปลูกสร้าง ในระดับราคา ซื้อขายไม่เกิน 1,200,000 บาท เป็นโครงการที่ช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย ผู้ที่ กำลังสร้างครอบครัว ได้มีโอกาสเข้าถึงแหล่งสินเชื่อและมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง ซึ่งตัวเลขล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ก.ย. 64 ที่ผ่านมา มีลูกค้าทั่วประเทศ ลงทะเบียนเข้าร่วมแล้ว 34,926 ราย วงเงินสินเชื่อรวมกว่า 41,911 ล้านบาท จากกรอบวงเงินที่วางไว้ 20,000 ล้านบาท ขณะที่ในเฟสที่ 1 ได้อนุมัติวงเงินไปแล้ว 50,000 ล้านบาท
นายมีศักดิ์ ชุนหรักษ์โชติ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไลฟ แอนด์ ลีฟวิ่ง จำกัด เปิดเผยในงานเสวนา ซึ่งจัดโดยศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) กล่าวในงานสัมมนาของศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ในหัวข้อ "การ คาดการณ์แนวโน้มการฟื้นตัวของกำลังซื้อคนไทย และชาวต่างชาติ หลัง โควิด-19" โดยระบุว่า ผลกระทบและสภาวะอสังหาริมทรัพย์ในพื้นที่โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ประสบปัญหาซบเซา เนื่องจากผลกระทบจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้ลูกค้าเข้าชมโครงการลดลง เพราะไม่มั่นใจในเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบต่อรายได้ ซึ่งจะมีผลให้ตลาดอสังหาฯเกิดภาวะถดถอยอย่างต่อเนื่องแน่นอน
จึงอยากเสนอแนะให้ภาครัฐช่วยเหลือในเรื่อง การขยายโครงการบ้านล้านหลัง ของ ธอส. ซึ่งเป็นโครงการที่มีประโยชน์และช่วยเหลือผู้มีรายได้ ซึ่งมีประเด็นที่อยากให้มีการปรับเพดานจากวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 1.2 ล้านบาท เพิ่มเป็นไม่เกิน 1.8 ล้านบาท
"เรามองว่า ในโซนอีอีซี บ้านระดับราคาไม่เกิน 1.2 ล้านบาท ไม่ได้มีนัยสำคัญต่อตลาดมากนัก ส่วนมากจะมีการซื้อขายอยู่ที่ 1.5-1.8 ล้านบาท ซึ่งจะช่วยอัตราการดูดซับบ้านในระดับราคาดังกล่าวได้ดีขึ้น"
ด้าน ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารและรักษาการ ผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธอส. กล่าวถึงภาพรวมตลาดที่อยู่ภาค ตะวันออก อีอีซี 3 จังหวัด (ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา) ว่า แนวโน้มอสังหาฯ ในปี 2565 เริ่มมีแนวโน้มที่ปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะอสังหาฯในจังหวัดชลบุรี มีมูลค่าตลาดสูงสุดในโซนอีอีซี พบเห็นการเปลี่ยนแปลงในเทรนด์ขาขึ้น ประเมินหน่วยเปิดตัวใหม่ 12,421 หน่วย เพิ่มขึ้น 67.4% มูลค่าอยู่ที่ 43,703 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 110% หน่วยขายได้ใหม่ 13,773 หน่วย เพิ่มขึ้น 15.1% มูลค่าประมาณ 45,919 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 17.9% อัตราดูดซับต่อเดือนปรับดีขึ้นแต่ยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ส่งผลให้หน่วยเหลือขายปรับลดลงคงเหลือ 40,770 หน่วย ลดลง -3.8% มูลค่าคงเหลือ 143,980 ล้านบาท ลดลง -7.2% โดยหน่วยโอนฯ เพิ่มขึ้นอยู่ที่ 28,240 หน่วย เพิ่มขึ้น 22.1% มูลค่า 58,210 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10.5%
"อุปทานคงเหลือในครึ่งแรกปี 64 ส่วนใหญ่ในจังหวัดชลบุรีประมาณกว่า 80% ทั้งโครงการบ้านจัดสรร และคอนโดฯ อยู่ในกลุ่มของบริษัท อสังหาฯ ที่ไม่ได้อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งในกลุ่มสินค้าบ้านเดี่ยว บ้านแฝดและทาวน์เฮาส์ อสังหาฯที่อยู่ในตลาดหุ้น มีสินค้าคงเหลือและมูลค่าที่อยู่ในตลาดในสัดส่วนไม่มาก โดยตัวเลขของยอดขายพบว่า ครึ่งปีแรก บ้านจัดสรรและอาคารชุดลดลง -23% มูลค่าลดลง -29.8% เป็นการลดลงในทุกกลุ่มที่อยู่อาศัย อัตราดูดซับที่เห็น บ้านระดับราคาต่ำจะดูดซับได้ดี ยกเว้นบ้านระดับราคาสูง จะช้า แต่สิ่งที่เรากังวล คือ ที่อยู่อาศัยระหว่างก่อสร้างประมาณ 10,000 ยูนิต จะไหลเข้ามาเติมกับหน่วยเหลือขายครึ่งปีแรกที่มีอยู่ 39,984 หน่วย"
นายมีศักดิ์ ชุนหรักษ์โชติ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไลฟ แอนด์ ลีฟวิ่ง จำกัด เปิดเผยในงานเสวนา ซึ่งจัดโดยศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) กล่าวในงานสัมมนาของศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ในหัวข้อ "การ คาดการณ์แนวโน้มการฟื้นตัวของกำลังซื้อคนไทย และชาวต่างชาติ หลัง โควิด-19" โดยระบุว่า ผลกระทบและสภาวะอสังหาริมทรัพย์ในพื้นที่โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ประสบปัญหาซบเซา เนื่องจากผลกระทบจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้ลูกค้าเข้าชมโครงการลดลง เพราะไม่มั่นใจในเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบต่อรายได้ ซึ่งจะมีผลให้ตลาดอสังหาฯเกิดภาวะถดถอยอย่างต่อเนื่องแน่นอน
จึงอยากเสนอแนะให้ภาครัฐช่วยเหลือในเรื่อง การขยายโครงการบ้านล้านหลัง ของ ธอส. ซึ่งเป็นโครงการที่มีประโยชน์และช่วยเหลือผู้มีรายได้ ซึ่งมีประเด็นที่อยากให้มีการปรับเพดานจากวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 1.2 ล้านบาท เพิ่มเป็นไม่เกิน 1.8 ล้านบาท
"เรามองว่า ในโซนอีอีซี บ้านระดับราคาไม่เกิน 1.2 ล้านบาท ไม่ได้มีนัยสำคัญต่อตลาดมากนัก ส่วนมากจะมีการซื้อขายอยู่ที่ 1.5-1.8 ล้านบาท ซึ่งจะช่วยอัตราการดูดซับบ้านในระดับราคาดังกล่าวได้ดีขึ้น"
ด้าน ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารและรักษาการ ผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธอส. กล่าวถึงภาพรวมตลาดที่อยู่ภาค ตะวันออก อีอีซี 3 จังหวัด (ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา) ว่า แนวโน้มอสังหาฯ ในปี 2565 เริ่มมีแนวโน้มที่ปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะอสังหาฯในจังหวัดชลบุรี มีมูลค่าตลาดสูงสุดในโซนอีอีซี พบเห็นการเปลี่ยนแปลงในเทรนด์ขาขึ้น ประเมินหน่วยเปิดตัวใหม่ 12,421 หน่วย เพิ่มขึ้น 67.4% มูลค่าอยู่ที่ 43,703 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 110% หน่วยขายได้ใหม่ 13,773 หน่วย เพิ่มขึ้น 15.1% มูลค่าประมาณ 45,919 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 17.9% อัตราดูดซับต่อเดือนปรับดีขึ้นแต่ยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ส่งผลให้หน่วยเหลือขายปรับลดลงคงเหลือ 40,770 หน่วย ลดลง -3.8% มูลค่าคงเหลือ 143,980 ล้านบาท ลดลง -7.2% โดยหน่วยโอนฯ เพิ่มขึ้นอยู่ที่ 28,240 หน่วย เพิ่มขึ้น 22.1% มูลค่า 58,210 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10.5%
"อุปทานคงเหลือในครึ่งแรกปี 64 ส่วนใหญ่ในจังหวัดชลบุรีประมาณกว่า 80% ทั้งโครงการบ้านจัดสรร และคอนโดฯ อยู่ในกลุ่มของบริษัท อสังหาฯ ที่ไม่ได้อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งในกลุ่มสินค้าบ้านเดี่ยว บ้านแฝดและทาวน์เฮาส์ อสังหาฯที่อยู่ในตลาดหุ้น มีสินค้าคงเหลือและมูลค่าที่อยู่ในตลาดในสัดส่วนไม่มาก โดยตัวเลขของยอดขายพบว่า ครึ่งปีแรก บ้านจัดสรรและอาคารชุดลดลง -23% มูลค่าลดลง -29.8% เป็นการลดลงในทุกกลุ่มที่อยู่อาศัย อัตราดูดซับที่เห็น บ้านระดับราคาต่ำจะดูดซับได้ดี ยกเว้นบ้านระดับราคาสูง จะช้า แต่สิ่งที่เรากังวล คือ ที่อยู่อาศัยระหว่างก่อสร้างประมาณ 10,000 ยูนิต จะไหลเข้ามาเติมกับหน่วยเหลือขายครึ่งปีแรกที่มีอยู่ 39,984 หน่วย"
ข่าวเขตเศรษฐกิจพิเศษ อื่นๆ