อสังหาฯ สงขลา อัตราดูดซับต่ำเป้า 50%
Loading

อสังหาฯ สงขลา อัตราดูดซับต่ำเป้า 50%

วันที่ : 12 กรกฎาคม 2564
โควิด-19 ระลอก 3 ฉุดกำลังซื้อลดลง ส่งผลให้อัตราดูดซับโดยรวมลดลงไม่เป็นไปตามเป้า
          สงขลา หนึ่งในจังหวัดภาคใต้ ที่มีสถานการณ์แพร่ระบาดของ โควิด-19 รุนแรง และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ณ วันที่ 7 ก.ค. 64 ยอดผู้ติดเชื้อสะสมอยู่ที่ 5,921 ราย ตั้งแต่วันที่ 30 มิ.ย.-29 ก.ค. 2564 ผู้ว่าราชการจังหวัดได้สั่งควบคุมการ เดินทางข้า-ออกจังหวัด และขอความร่วมมืองดออกนอกเคหสถานตั้งแต่เวลา 22.00-04.00 น.

          นายธนวัฒน์ พูนศิลป์ ประธานหอการค้าจังหวัดสงขลา เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า สถานการณ์โควิด-19 ระลอก 3 มีผลกระทบหนักลุกลามเข้าสู่โรงงานอุตสาหกรรมหลายอำเภอ เช่น อ.จะนะ หาดใหญ่ สะเดา สิงหนคร ฯลฯ ซึ่งเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมการผลิตแปรรูป อันดับต้น ๆ ของภาคใต้ ทำให้ สูญเสียรายได้เข้าประเทศอย่างมากใน ระยะเวลาที่หยุด 14 วัน และกระทบถึงแรงงานรากหญ้าโดยตรง เป็นระลอกหนักที่สุด ตอนโควิดระลอก 1 และ 2 กระทบธุรกิจท่องเที่ยว โรงแรม บริษัททัวร์ ร้านอาหาร มัคคุเทศก์ รถบริการ ฯลฯ กิจการยังพอเปิดได้บ้าง แต่ระลอก 3 กิจการปิดทั้งหมด เป็นสัญญาณอันตรายต่อการจ้างงาน ขณะที่พนักงานต้องมีภาระผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ฯลฯ ต้องชะงักหมด และส่งผลกระทบต่อภาคอสังหาริมทรัพย์

          โดยมีหยุดชำระค่าผ่อนบ้านแล้ว จึงได้นำเสนอไปยังรัฐบาลขอสนับ สนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ การปรับโครงสร้างหนี้ ขอหยุดชำระเงินต้นดอกเบี้ย หรือส่งดอกเบี้ยหยุดเงินต้น ลดส่งเงินประกันสังคม ลดภาษีไปถึงสิ้นปี 2564

          สำหรับนโยบายการเปิดประเทศภายใน 120 วัน เฉพาะ จ.สงขลา ไม่สามารถเปิดได้ เนื่องจากเป็นศูนย์กลางทางผ่านการเดินทางระหว่างจังหวัดและระหว่าง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ต่างกับ จ.ภูเก็ตเป็นเกาะ มีเส้นทางเข้าออกจำกัด สามารถบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขณะเดียวกันให้รัฐเร่งจัดสรรวัคซีนเข้ามา เพราะผู้ประกอบการอาการหนักมากแล้ว ไม่มีรายได้พอที่จะไปสั่งซื้อวัคซีน"

          นายศุภชัย รุจิเรืองโรจน์ กรรมการ ผู้จัดการ บริษัท ปุณณกัณฑ์วัลเลย์ จำกัด ในฐานะนายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์จังหวัดสงขลา เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ปี 2564 สมาคมอสังหาริมทรัพย์จังหวัดสงขลาได้ตั้งเป้าไว้ จะขึ้นโครงการประมาณ 1,000 ยูนิต มูลค่ากว่า 3,000 ล้านบาท แต่ต้องประสบกับภาวะโควิด-19 ระลอก 3 กำลังซื้อที่ลดลงส่งผลให้อัตราดูดซับโดยรวมลดลงไม่เป็นไปตามเป้า หดหายไปประมาณ 50% เช่น ยอดขายประมาณ 2 หลัง จะเหลืออยู่ 1 หลัง เป็นต้น ทั้งนี้ น่าจะเกิดมาจากความกังวลตื่นตระหนกกับสถานการณ์ของโควิด-19 ดังนั้น การตัดสินใจซื้อบ้านต้องขยายเวลาออกไป รวมถึงมีการหยุดผ่อนชำระค่าบ้าน เนื่องจากว่างงาน ส่วนผู้ประกอบการบางส่วนมีการ ชะลอโครงการหรือการประกอบกิจการจากผลกระทบโควิด-19 ประมาณครึ่งหลังของปี 2564 จะเห็นการเคลื่อนไหวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่มาจากปัจจัยการฉีดวัคซีน

          มองข้างหน้าว่าเมื่อมีการฉีดวัคซีนโควิด-19 แล้ว สถานการณ์ต่าง ๆ คงเริ่มคลี่คลาย แต่ใน ส่วนธุรกิจการท่องเที่ยวยังน่ากังวล กว่าจะฟื้นตัวต้องใช้เวลา โดย นักท่องเที่ยวจีนจะปล่อยออกมาหรือไม่ ส่วนนักท่องเที่ยวหลัก ๆ ของ จ.สงขลา และภาคใต้ ตอนล่าง เช่น ประเทศมาเลเซีย ยังล็อกดาวน์ประเทศ"
ข่าวอสังหาริมทรัพย์ภูมิภาค อื่นๆ