หอการค้าแปดริ้วชี้ศก.เริ่มดี ทุนใหญ่ปักหมุด-รออีอีซีเกิด
วันที่ : 7 ธันวาคม 2563
ประธานหอการค้าจังหวัดฉะเชิงเทรา เผย เเนวโน้ม ศก.เริ่มดี
หอการค้าแปดริ้วฉายภาพ "อนาคต" ของจังหวัด เริ่มเห็นโอกาสเติบโต หลังกลุ่มทุนปักหมุดสร้างโรงงานผลิตแบตเตอรี่ไฟฟ้าในนิคมอุตสาหกรรม ขับเคลื่อนเศรษฐกิจจ้างงาน 10,000 อัตรา หลังฉะเชิงเทรา 1 ใน 3 จังหวัดอีอีซีที่พัฒนาช้าสุด นายกอสังหาฯฉะเชิงเทราชี้ที่ดินถูกแช่แข็ง ผังเมือง-ตัดถนนไร้ข้อสรุป
นายประโยชน์ โสรัจจกิจ ประธานหอการค้าจังหวัดฉะเชิงเทรา เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า เมื่อเทียบภาพรวมของจังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็น 1 ใน 3 ของจังหวัดในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ฉะเชิงเทรายังคงเป็นจังหวัดที่มีสภาพเศรษฐกิจและค่าครองชีพต่ำกว่าจังหวัดอื่น ๆ ในเขต EEC แม้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ GDP จะอยู่เป็นอันดับต้น ๆ ของประเทศ
เนื่องจากเป็นจังหวัดที่มีประกอบอุตสาหกรรมในสัดส่วนน้อยมากเพียงประมาณ 3% ของพื้นที่ ขณะที่อาชีพหลักของประชาชนยังคงเป็นเกษตรกรรม ซึ่งรายได้เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 20,000 บาท/คน/ปีเท่านั้น
ฉะนั้น การพัฒาพื้นที่ในกรอบของ EEC ภาคเอกชนส่วนใหญ่ยังคงสับสนอยู่ว่า จะมีโครงการอะไรเกิดขึ้นมาบ้าง เพราะภาครัฐไม่ได้ให้ข้อมูลมากนัก ได้แต่ติดตามข่าวจากสื่อทั่วไป
กลุ่มทุนลงทุนใหญ่
สำหรับส่วนที่เห็นชัดเจนที่สุดและเป็นโครงการใหญ่ภายในจังหวัดฉะเชิงเทราในขณะนี้ นายประโยชน์กล่าวย้ำว่า คือการตั้งโรงงานในโครงการนิคม อุตสาหกรรมบลูเทค ซึ่งเป็นนิคมอุตสาหกรรมเกี่ยวข้องกับการผลิตแบตเตอรี่ไฟฟ้าทั้งหมด และแบตเตอรี่ที่ใช้กับรถยนต์ ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) เป็นกลุ่มทุนของคนไทย เงินลงทุนน่าจะ อยู่ประมาณหลักแสนล้านบาท หากโครงการดังกล่าวดำเนินการแล้วเสร็จ เชื่อว่าจะส่งผลดีต่อจังหวัดฉะเชิงเทราในด้านเศรษฐกิจโดยรวม และการจ้างงานใหม่อย่างน้อย 10,000 อัตรา
"โครงการนิคมอุตสาหกรรมบลูเทค ทางโรงงานมาทำกิจกรรมเพื่อสังคม ในเชิง CSR ให้กับจังหวัดฉะเชิงเทราค่อนข้างมาก เป็นโรงงานที่สะท้อนให้เห็นว่า ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมมีศักยภาพในการพัฒนาพื้นที่ให้ยั่งยืน สร้างงานสร้างอาชีพไปสู่คนท้องถิ่นได้"
"แต่นอกเหนือจากนั้น เรายัง ไม่เห็นโครงการอื่นจากภาครัฐมากนัก รู้อย่างเดียวว่า จะมีรถไฟความเร็วสูง หรือไฮสปีดเทรนตัดผ่าน แต่ยังคงสับสนอยู่ว่า สถานีรถไฟฟ้าจะปักหมุดอยู่ จุดไหนบ้าง จะอยู่สถานีรถไฟในจุดเดิมหรือเปล่าก็เดากันไป ยังไม่มีใครให้ คำตอบได้" นายประโยชน์กล่าว
โวยที่ดินถูกแช่แข็ง
นายวัชระ ปิ่นเจริญ นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ฉะเชิงเทรา เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า จากการเข้าร่วม ประชุมเพื่อชี้แจงและหารือเกี่ยวกับประเด็นปัญหาแนวเขตทางตามแผนผังระบบคมนาคมขนส่ง เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2563 ณ จังหวัดฉะเชิงทรานั้น จะเห็นว่า การพัฒนาด้านต่าง ๆ ยังมีปัญหา เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ที่ดินมากพอสมควร อย่างเรื่องแผนผังระบบคมนาคมในแนวพื้นที่ 3 จังหวัดที่จะมีตัดถนน 384 สาย ซึ่งเป็นเรื่องที่ ส่งผลกระทบในวงกว้าง
หากรัฐบาลแก้ปัญหาไม่ตรงจุด อนาคตจะเกิดเป็นปัญหาใหญ่ เช่น ขณะนี้ประชาชนไม่ทราบว่ามีโครงการล็อกแนวเขตถนนมากมายมหาศาล เมื่อเกิดการซื้อขายที่ดินกันเองก็กลายเป็นปัญหา ไม่สามารถพัฒนาหรือทำมาค้าขายได้
"ถ้าหน่วยงาน EEC ไม่แก้ไข หรือหาทางแก้ไขปัญหาตรงนี้ 384 สาย ที่ล็อกเอาไว้ และไม่มีงบประมาณในการเวนคืนภายในเร็ววัน สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือประชาชนจะเสียสิทธิในที่ดินของตน เหมือนที่ดินถูกแช่แข็งไว้ทำอะไรไม่ได้ ตอนนี้สิ่งที่เขาได้คือเสียสิทธิทุกอย่างเลย ใช้ประโยชน์ที่ดินตัวเองก็ไม่ได้ เงินเวนคืนก็ไม่มี แต่ถูกฟรีซไว้เฉย ๆ อีกกี่ปีก็ไม่รู้ไม่มีกรอบระยะเวลากำหนด"
ทั้งนี้ หน่วยงานรัฐต้องเร่งบูรณาการ ผลักดัน กำหนดกรอบระยะเวลาให้ชัดเจน เพื่อให้ประชาชนรู้ว่า ในอีก 5 ปี สภาพพื้นที่นั้นจะเป็นอย่างไร จะทำอะไรได้บ้าง ไม่ได้บ้าง เพื่อให้ผู้ประกอบการทั้งหมดรู้ว่าจะทำธุรกิจอะไร เพราะเมืองไม่ได้โตวันนี้พรุ่งนี้เสร็จ แต่ต้องใช้เวลา มีไทม์มิ่งช่วยกันขับเคลื่อนไป
ซึ่งตอนนี้ราคาที่ดินของจังหวัดฉะเชิงเทราสูงสุดถึงไร่ละ 30-40 ล้านบาท ที่ดินบางแปลงสูงถึง 40-50 ล้านบาท โดยเฉพาะในตัวเมืองและเขตเทศบาล ซึ่งเป็นราคาแพงเกินจริง เหมือนถูกปั่นราคาไปก่อน ขณะนี้ภาคเอกชนทุกคนรอความแน่นอนอยู่
"จะมีถนนวงแหวนที่คุยกันไว้ จะทำ จริงมั้ย แนวรถไฟฟ้าความเร็วสูง สถานีอยู่ตรงไหนแน่ แต่เชื่อว่าทางคณะกรรมการกับทางคณะทำงานของ EEC ได้มีการพูดคุยถึงประเด็นดังกล่าว ในเบื้องต้นแล้ว คงต้องติดตามความ คืบหน้า อาจรอต้นปีหน้า 2564"
ด้านนายพรนริศ ชวนไชยสิทธิ์ นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย เปิดเผยว่า เรื่องแผนผังระบบคมนาคมในแนวพื้นที่ 3 จังหวัด เป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้พูดได้ยาก ว่าโครงการไหนในเขตพื้นที่ EEC จะเกิดหรือไม่เกิด เพราะยัง ไม่มีแนวถนนที่ชัดเจน แต่ละโครงการแต่ละส่วนมีหน่วยงานที่ดูแลต่างกัน เงื่อนไขของแต่ละหน่วยงานก็ไม่สามารถใช้ร่วมกันได้ ทำให้โครงการ EEC แม้จะคืบหน้าแต่ก็มีอุปสรรค
"ตามวิธีคิดเดิมคือ เมืองจะโตขึ้น เมื่อรถไฟความเร็วสูงวิ่งตัดผ่านเข้า แล้ว ก็ตัดถนนเพิ่ม คือรัฐพยายามใส่แผนทั้งหมดเข้าไปใน พ.ร.บ. แต่กลับตอบ ไม่ได้ว่า โครงสร้างอย่างถนนจะไปซัพพอร์ตสถานีรถไฟความเร็วสูง ตรงไหน ทุกคนตอบไม่ได้ การเติบโตของจังหวัด EEC ยังคงเป็นไปตาม พื้นฐานของจังหวัดเดิม"
ล่าสุด หอการค้าจังหวัด ได้ร่วมกับสมาคมอสังหาริมทรัพย์ 3 จังหวัดอีอีซี ฉะเชิงเทรา-ชลบุรี-ระยอง ยื่นหนังสือถึงบอร์ด EEC คัดค้านและให้ยกเลิกประกาศแผนผังการใช้ประโยชน์ ในที่ดิน และแผนผังการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค หลังประกาศอีอีซีทำป่วน ขีดแนวตัดถนนใหม่ 384 สายในพื้นที่ 3 จังหวัด แต่ไม่สามารถบอกรายละเอียดแนวเขตเวนคืน-ขนาดของถนน-ระยะเวลาดำเนิน โครงการที่ชัดเจนได้ เท่ากับเป็นการรอน สิทธิห้ามเจ้าของที่ดินในแนวเขตถนน "พัฒนาที่ดิน-ซื้อขาย-สร้างบ้านใหม่" ส่งผลกระทบต่อประชาชนและผู้ประกอบการต่าง ๆ ที่ไม่สามารถดำเนินการอะไรได้ในที่ดินกรรมสิทธิ์ของตัวเอง
นายประโยชน์ โสรัจจกิจ ประธานหอการค้าจังหวัดฉะเชิงเทรา เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า เมื่อเทียบภาพรวมของจังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็น 1 ใน 3 ของจังหวัดในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ฉะเชิงเทรายังคงเป็นจังหวัดที่มีสภาพเศรษฐกิจและค่าครองชีพต่ำกว่าจังหวัดอื่น ๆ ในเขต EEC แม้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ GDP จะอยู่เป็นอันดับต้น ๆ ของประเทศ
เนื่องจากเป็นจังหวัดที่มีประกอบอุตสาหกรรมในสัดส่วนน้อยมากเพียงประมาณ 3% ของพื้นที่ ขณะที่อาชีพหลักของประชาชนยังคงเป็นเกษตรกรรม ซึ่งรายได้เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 20,000 บาท/คน/ปีเท่านั้น
ฉะนั้น การพัฒาพื้นที่ในกรอบของ EEC ภาคเอกชนส่วนใหญ่ยังคงสับสนอยู่ว่า จะมีโครงการอะไรเกิดขึ้นมาบ้าง เพราะภาครัฐไม่ได้ให้ข้อมูลมากนัก ได้แต่ติดตามข่าวจากสื่อทั่วไป
กลุ่มทุนลงทุนใหญ่
สำหรับส่วนที่เห็นชัดเจนที่สุดและเป็นโครงการใหญ่ภายในจังหวัดฉะเชิงเทราในขณะนี้ นายประโยชน์กล่าวย้ำว่า คือการตั้งโรงงานในโครงการนิคม อุตสาหกรรมบลูเทค ซึ่งเป็นนิคมอุตสาหกรรมเกี่ยวข้องกับการผลิตแบตเตอรี่ไฟฟ้าทั้งหมด และแบตเตอรี่ที่ใช้กับรถยนต์ ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) เป็นกลุ่มทุนของคนไทย เงินลงทุนน่าจะ อยู่ประมาณหลักแสนล้านบาท หากโครงการดังกล่าวดำเนินการแล้วเสร็จ เชื่อว่าจะส่งผลดีต่อจังหวัดฉะเชิงเทราในด้านเศรษฐกิจโดยรวม และการจ้างงานใหม่อย่างน้อย 10,000 อัตรา
"โครงการนิคมอุตสาหกรรมบลูเทค ทางโรงงานมาทำกิจกรรมเพื่อสังคม ในเชิง CSR ให้กับจังหวัดฉะเชิงเทราค่อนข้างมาก เป็นโรงงานที่สะท้อนให้เห็นว่า ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมมีศักยภาพในการพัฒนาพื้นที่ให้ยั่งยืน สร้างงานสร้างอาชีพไปสู่คนท้องถิ่นได้"
"แต่นอกเหนือจากนั้น เรายัง ไม่เห็นโครงการอื่นจากภาครัฐมากนัก รู้อย่างเดียวว่า จะมีรถไฟความเร็วสูง หรือไฮสปีดเทรนตัดผ่าน แต่ยังคงสับสนอยู่ว่า สถานีรถไฟฟ้าจะปักหมุดอยู่ จุดไหนบ้าง จะอยู่สถานีรถไฟในจุดเดิมหรือเปล่าก็เดากันไป ยังไม่มีใครให้ คำตอบได้" นายประโยชน์กล่าว
โวยที่ดินถูกแช่แข็ง
นายวัชระ ปิ่นเจริญ นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ฉะเชิงเทรา เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า จากการเข้าร่วม ประชุมเพื่อชี้แจงและหารือเกี่ยวกับประเด็นปัญหาแนวเขตทางตามแผนผังระบบคมนาคมขนส่ง เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2563 ณ จังหวัดฉะเชิงทรานั้น จะเห็นว่า การพัฒนาด้านต่าง ๆ ยังมีปัญหา เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ที่ดินมากพอสมควร อย่างเรื่องแผนผังระบบคมนาคมในแนวพื้นที่ 3 จังหวัดที่จะมีตัดถนน 384 สาย ซึ่งเป็นเรื่องที่ ส่งผลกระทบในวงกว้าง
หากรัฐบาลแก้ปัญหาไม่ตรงจุด อนาคตจะเกิดเป็นปัญหาใหญ่ เช่น ขณะนี้ประชาชนไม่ทราบว่ามีโครงการล็อกแนวเขตถนนมากมายมหาศาล เมื่อเกิดการซื้อขายที่ดินกันเองก็กลายเป็นปัญหา ไม่สามารถพัฒนาหรือทำมาค้าขายได้
"ถ้าหน่วยงาน EEC ไม่แก้ไข หรือหาทางแก้ไขปัญหาตรงนี้ 384 สาย ที่ล็อกเอาไว้ และไม่มีงบประมาณในการเวนคืนภายในเร็ววัน สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือประชาชนจะเสียสิทธิในที่ดินของตน เหมือนที่ดินถูกแช่แข็งไว้ทำอะไรไม่ได้ ตอนนี้สิ่งที่เขาได้คือเสียสิทธิทุกอย่างเลย ใช้ประโยชน์ที่ดินตัวเองก็ไม่ได้ เงินเวนคืนก็ไม่มี แต่ถูกฟรีซไว้เฉย ๆ อีกกี่ปีก็ไม่รู้ไม่มีกรอบระยะเวลากำหนด"
ทั้งนี้ หน่วยงานรัฐต้องเร่งบูรณาการ ผลักดัน กำหนดกรอบระยะเวลาให้ชัดเจน เพื่อให้ประชาชนรู้ว่า ในอีก 5 ปี สภาพพื้นที่นั้นจะเป็นอย่างไร จะทำอะไรได้บ้าง ไม่ได้บ้าง เพื่อให้ผู้ประกอบการทั้งหมดรู้ว่าจะทำธุรกิจอะไร เพราะเมืองไม่ได้โตวันนี้พรุ่งนี้เสร็จ แต่ต้องใช้เวลา มีไทม์มิ่งช่วยกันขับเคลื่อนไป
ซึ่งตอนนี้ราคาที่ดินของจังหวัดฉะเชิงเทราสูงสุดถึงไร่ละ 30-40 ล้านบาท ที่ดินบางแปลงสูงถึง 40-50 ล้านบาท โดยเฉพาะในตัวเมืองและเขตเทศบาล ซึ่งเป็นราคาแพงเกินจริง เหมือนถูกปั่นราคาไปก่อน ขณะนี้ภาคเอกชนทุกคนรอความแน่นอนอยู่
"จะมีถนนวงแหวนที่คุยกันไว้ จะทำ จริงมั้ย แนวรถไฟฟ้าความเร็วสูง สถานีอยู่ตรงไหนแน่ แต่เชื่อว่าทางคณะกรรมการกับทางคณะทำงานของ EEC ได้มีการพูดคุยถึงประเด็นดังกล่าว ในเบื้องต้นแล้ว คงต้องติดตามความ คืบหน้า อาจรอต้นปีหน้า 2564"
ด้านนายพรนริศ ชวนไชยสิทธิ์ นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย เปิดเผยว่า เรื่องแผนผังระบบคมนาคมในแนวพื้นที่ 3 จังหวัด เป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้พูดได้ยาก ว่าโครงการไหนในเขตพื้นที่ EEC จะเกิดหรือไม่เกิด เพราะยัง ไม่มีแนวถนนที่ชัดเจน แต่ละโครงการแต่ละส่วนมีหน่วยงานที่ดูแลต่างกัน เงื่อนไขของแต่ละหน่วยงานก็ไม่สามารถใช้ร่วมกันได้ ทำให้โครงการ EEC แม้จะคืบหน้าแต่ก็มีอุปสรรค
"ตามวิธีคิดเดิมคือ เมืองจะโตขึ้น เมื่อรถไฟความเร็วสูงวิ่งตัดผ่านเข้า แล้ว ก็ตัดถนนเพิ่ม คือรัฐพยายามใส่แผนทั้งหมดเข้าไปใน พ.ร.บ. แต่กลับตอบ ไม่ได้ว่า โครงสร้างอย่างถนนจะไปซัพพอร์ตสถานีรถไฟความเร็วสูง ตรงไหน ทุกคนตอบไม่ได้ การเติบโตของจังหวัด EEC ยังคงเป็นไปตาม พื้นฐานของจังหวัดเดิม"
ล่าสุด หอการค้าจังหวัด ได้ร่วมกับสมาคมอสังหาริมทรัพย์ 3 จังหวัดอีอีซี ฉะเชิงเทรา-ชลบุรี-ระยอง ยื่นหนังสือถึงบอร์ด EEC คัดค้านและให้ยกเลิกประกาศแผนผังการใช้ประโยชน์ ในที่ดิน และแผนผังการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค หลังประกาศอีอีซีทำป่วน ขีดแนวตัดถนนใหม่ 384 สายในพื้นที่ 3 จังหวัด แต่ไม่สามารถบอกรายละเอียดแนวเขตเวนคืน-ขนาดของถนน-ระยะเวลาดำเนิน โครงการที่ชัดเจนได้ เท่ากับเป็นการรอน สิทธิห้ามเจ้าของที่ดินในแนวเขตถนน "พัฒนาที่ดิน-ซื้อขาย-สร้างบ้านใหม่" ส่งผลกระทบต่อประชาชนและผู้ประกอบการต่าง ๆ ที่ไม่สามารถดำเนินการอะไรได้ในที่ดินกรรมสิทธิ์ของตัวเอง
ข่าวอสังหาริมทรัพย์ภูมิภาค อื่นๆ