เตือนอสังหาฯ ลงทุนระมัดระวังมากเป็นพิเศษ
วันที่ : 15 มิถุนายน 2563
ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ แนะเร่งระบายสต๊อกกำเงินสดรอจังหวะตลาดฟื้น
อสังหาริมทรัพย์
อสังหาฯต่างจังหวัดชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจ ผลกระทบจากโควิด-19 แนะลงทุนระมัดระวังมากเป็นพิเศษ เร่งระบายสต๊อกถือเงินสด รอโอกาสเศรษฐกิจฟื้นค่อยลงทุนใหม่ หากต้องการลงทุน ต้องมั่นใจซัพพลายเหลือขายไม่มาก ดีมานด์มี เพียงพอ ทำโครงการเล็กจบเร็ว เตือนแม้ทุนหนา ก็ไม่ควรเติมซัปพลายให้สินค้าล้นตลาด
ตลาดอสังหชาริมทรัพย์ต่างจังหวัดชะลอตัว ตามภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวมาก่อนหน้านี้และผลกระทบ ที่เกิดจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้ ผู้ประกอบการขายได้น้อยลง ซึ่งในจังหวัดที่เศรษฐกิจพึ่งพาการท่องเที่ยวเพียงอย่างเดียว ก็จะได้รับผลกระทบมาก ส่วนจังหวัดอื่นปัญหามาจากภาวะเศรษฐกิจและความไม่เชื่อมั่นของผู้บริโภค
ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคาร สงเคราะห์และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ กล่าวว่า จากการสำรวจตลาดที่อยู่อาศัยทั่วประเทศ 26 จังหวัด ในช่วงครึ่งหลังของปี 2562 ของ ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ พบว่า สถานการณ์การตลาดในช่วงครึ่งหลังของปี 2562 ของพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล และในภูมิภาคมีภาวะที่ชะลอตัวลง ผู้ประกอบการใน ช่วงนี้ขายได้น้อยลงเนื่องจากผลกระทบของไวรัสโควิด-19 การล็อกดาวน์ทำให้คนเดินทางไปซื้อที่อยู่อาศัยไม่ได้ ประกอบกับการขาดความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อรายได้ของตนเองในอนาคตและต่อภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งในจังหวัดขนาดใหญ่จะมีหน่วยเหลือขายสะสมเพิ่มขึ้นในช่วงปี 2563 ที่มีเหลือสะสมต่อเนื่องมาจากปี 2562 ในขณะที่จังหวัดเล็กๆ อาจจะไม่ประสบปัญหานี้เพราะว่ามีหน่วยเหลือขายในตลาดไม่มาก และเปิดตัวน้อยอยู่แล้ว
อย่างไรก็ตาม ในการสำรวจรอบนี้จังหวัดที่สถานการณ์ตลาดของจังหวัดที่น่าอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่ต่ำลงกว่าช่วงก่อนหน้ามากนัก และมีสถานการณ์ที่ดีกว่าพื้นที่และปริมณฑล ประกอบด้วย จังหวัดเชียงใหม่ สงขลา และประจวบคีรีขันธ์ (พื้นที่หัวหิน) สำหรับสถานการณ์ในตลาดของพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑลมีการชะลอตัวมากกว่า 3 จังหวัดข้างต้น โดยจังหวัดที่มีสถานการณ์ใกล้เคียงกัน คือ จังหวัดภูเก็ต ระยอง เพชรบุรี อุบลราชธานี ฉะเชิงเทรา และชลบุรี ทั้งนี้17 จังหวัดที่เหลือมีสถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยที่ชะลอตัวอย่างมาก สำหรับแนวโน้ม ที่จะชะลอตัวต่อเนื่องในปี 2563 เนื่องจากการระบาดของไวรัส COVID -19
แนะผู้ประกอบการมุ่งระบายสต๊อกกำเงินสด
ทั้งนี้การลงทุนอสังหาริมทรัพย์ในต่างจังหวัด จะต้องพิจารณาการลงทุนอย่างระมัดระวังเป็นพิเศษ การเลือกทำเลที่มีศักยภาพไม่มีซัปพลายคงเหลือใน ทำเลนั้นมากจนเกินไป นอกจากนี้จะต้องมั่นใจว่าใน ทำเลนั้นๆ ยังมีดีมานด์อยู่ในตลาดเพียงพอที่จะดูดซับได้
"ข้อแนะนำผู้ประกอบการในการลงทุนในช่วงนี้ ถือเป็นคัมภีร์ที่ทุกคนควรถือปฏิบัติ คือ อย่าเพิ่มซัปพลายใหม่ให้มากนัก พยายามระบายสต๊อกเก่าออกไปให้ได้ มากที่สุดและถือเงินสดไว้ รอให้สถานการณ์ดีขึ้นค่อยลงทุนเพิ่ม ถ้าจะลงทุนเพิ่มก็ควรมองทำเลให้ดีอย่าเปิดโครงการขนาดใหญ่ เปิดโครงการขนาดเล็กปิดการ ขายได้เร็ว แต่หลักๆ คือปิดการขายโครงการให้ได้ก่อน ปีนี้กำลังซื้อลดแน่นอน แม้ว่าตัวเองจะมีสต๊อกในมือน้อย ก็ไม่ควรไปเพิ่มซัปพลายในตลาดให้มากนักเพราะตลาดจะไปไม่ไหว" ดร.วิชัยกล่าว
จากการสำรวจและรับฟังผู้ประกอบการพื้นที่ สำรวจ พบว่ากำลังซื้อในแต่ละพื้นที่ยังคงมีอยู่ แต่ติดขัดในหลายเรื่อง เช่น ขาดความเชื่อมั่นในรายได้ของตนเองว่าในอนาคตจะยังมีรายได้หรือมีงานทำอยู่หรือไม่ บางส่วนแม้ว่ารายได้มั่นคงแต่ก็ไม่มั่นใจว่าจะสามารถ ขอสินเชื่อได้หรือไม่ นอกจากนี้ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายยังกังวลว่าจะสามารถโอนบ้านได้เร็วตามกำหนดหรือไม่
สำหรับการสำรวจโครงการที่อยู่อาศัยที่อยู่ระหว่างการขาย โดยนับเฉพาะโครงการที่มีหน่วยเหลือขายไม่ต่ำกว่า 6 หน่วย ในเขตกรุงเทพฯ-ปริมณฑล 6 จังหวัด และจังหวัดขนาดใหญ่ในภูมิภาคอีก 20 จังหวัดรวมเป็น 26 จังหวัด พบว่า มีโครงการที่อยู่ระหว่างการขายจำนวน 355,145 หน่วย แบ่งเป็น กรุงเทพฯ-ปริมณฑล จำนวน 209,868 หน่วย สัดส่วน 59.1% รองลงมาเป็นภาค ตะวันออก 78,780 หน่วย สัดส่วน 22.2% อันดับ 3 เป็นภาคใต้ 17,928 หน่วย สัดส่วน 5.0% อันดับ 4 ภาคเหนือ 17,843 หน่วย สัดส่วน 5.0% อันดับ 5 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 14,853 หน่วย สัดส่วน 4.2% อันดับ 6 ภาคกลาง 9,078 หน่วย สัดส่วน 2.6% และอันดับ 7 ภาคตะวันตก 6,795 หน่วย 1.9%
โควิดฉุดอสังหาฯเมืองท่องเที่ยวทรุดหนัก
ดร.วิชัย กล่าวว่า ภาพรวมของตลาดภาคเหนือ เนื่องจากกลุ่มจังหวัดที่ทำการสำรวจ 4 จังหวัด ประกอบด้วยจังหวัด เชียงใหม่ เชียงราย พิษณุโลกและตาก เป็นพื้นที่ซึ่งเศรษฐกิจหลักอ้างอิงกับธุรกิจท่องเที่ยวและการค้าขายชายแดน ในช่วงปลายปีที่ผ่านมาต่อเนื่อง ปี 2563 จึงได้รับผลกระทบอย่างชัดเจน ซึ่งจากการสำรวจพบว่าในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือมีหน่วยเหลือขายค่อนข้างมากขณะที่ยอดขายไม่เป็นไปตามเป้า ทำให้หน่วยเหลือขายในปี 2562 กลายมาเป็นหน่วยตั้งต้นของปี 2563 เมื่อได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้กำลังซื้อของคนในพื้นที่ลดลง แรงกระตุ้นจากคนนอกพื้นที่ก็หายไป เช่นเดียวกับกำลังซื้อของชาว ต่างชาติ ทั้งหมดนี้มีผลกระทบโดยตรงต่ออุปสงค์ใน 4 พื้นที่ดังกล่าว และจะมีผลโดยตรงให้การโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยในพื้นที่ลดลงไปด้วย
แนะภูเก็ตลดพึ่งท่องเที่ยวเพียงอย่างเดียว
ตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับผลกระทบมาก อีกจังหวัด คือ ภูเก็ตเนื่องจากเป็นเมืองเศรษฐกิจพึ่งพาการท่องเที่ยว โดยนายบุญ ยงสกุล อุปนายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ภูเก็ต กล่าวว่าวิกฤตโรคระบาดที่ผ่านๆ มา ไม่ว่าจะเป็นไข้หวัดนก โรคซาร์ส ผลกระทบที่เกิดขึ้นเทียบไม่ได้เลยกับโควิด-19 ในช่วงก่อนหน้านี้ภูเก็ต พึ่งพาการท่องเที่ยวเพียง 60-70% แต่ในช่วง 10 ปีหลังภูเก็ตพึ่งพาการท่องเที่ยวมากเกือบ 100% ก็ว่าได้ ทำให้อสังหาริมทรัพย์ได้รับผลกระทบมากตามไปด้วย
ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในภูเก็ตเป็นธุรกิจที่ เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวโดยตรง ลูกค้าที่ซื้ออสังหาฯ ส่วนใหญ่แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ คนภูเก็ตหรือคนไทยที่ทำงานในภูเก็ต และต่างชาติที่ซื้อเพื่อลงทุนและอยู่อาศัย และแม้ว่าคนซื้อจะมีความพร้อมที่จะอยู่อาศัยในช่วงนี้ แต่สถาบันการเงินมีความเข้มงวดมากจนทำให้ถูกปฏิเสธสินเชื่อในอัตราที่สูง ซึ่งผลประกอบการในไตรมาส 2 ของผู้ประกอบการในภูเก็ตลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
ในขณะที่กลุ่มลูกค้าชาวต่างชาติเมื่อเดินทาง เข้ามาประเทศไทยไม่ได้ก็หยุดที่จะซื้ออสังหาฯ หรือไม่ต้องการโอนเงินมาซื้อ นอกจากนี้การที่ค่าเงินบาทของไทย แข็งค่าขึ้นทำให้ชาวต่างชาติเลือกที่จะชะลอการจ่ายเงินออกไปด้วย ซึ่งการที่อสังหาฯในภูเก็ตเจอกับปัญหาใหญ่ 2 ด้านทั้งโรคระบาดและเงินบาทแข็งค่า หากผู้ประกอบการที่ไม่ได้วางแผนรับมือมาอย่างดี หรือมีสายป่านที่ยาว ปีนี้จะเป็นปีที่หนักมาก
ทั้งนี้ยังมีบริษัทขนาดกลาง-ใหญ่ หลายรายยังคงลงทุนพัฒนาโครงการอยู่บ้าง โดยเฉพาะโครงการ แนวราบ นอกจากนี้ยังเริ่มเห็นกลุ่มนักลงทุนเข้ามาหาซื้อที่ดินเพื่อเก็บไว้พัฒนาโครงการในอนาคตมากขึ้น เนื่องจาก เชื่อว่าในปี 1-2 ปีข้างหน้าสถานการณ์การแพร่ระบาดจะหยุดลง การท่องเที่ยวกลับมาดีขึ้น อสังหาฯในภูเก็ต จะเป็นต้องการของชาวต่างชาติมาก เช่น สิงคโปร์ โดยพบว่าในช่วงที่มีการแพร่ระบาดไทยมีการควบคุมที่ดีทำให้ชาวสิงคโปร์ต้องการเข้ามาพำนักในไทย รวมถึงฮ่องกงที่มีปัญหาการประท้วงรุนแรงก็มีความต้องการ มาอยู่อาศัยในภูเก็ตเช่นกัน
ส่วนมาตรการที่ต้องการให้รัฐบาลช่วยเหลือคือ เรื่อง LTV ในอดีตถือเป็นเรื่องที่ดีเพราะสกัดการเก็ง กำไร ป้องกันภาวะฟองสบู่ แต่ปัจจุบันต่างออกไป นักเก็งกำไรไม่มีแล้ว แต่การมี LTV ยังไปสกัดกั้นกลุ่มนักลงทุนที่ต้องการซื้อเพื่อลงทุนจริงๆ หรือกลุ่มที่มี กำลังซื้อในตลาดที่มีอยู่จำนวนน้อยชะลอการตัดสินใจซื้อ ออกไป ซึ่งหากชะลอมาตรการ LTV ออกไปอีก 6 เดือน ถึง 1 ปีก็จะช่วยภาคธุรกิจได้มาก นอกจากนี้มาตรการ ที่รัฐบาลเคยออกมาแล้วและได้ผลดีคือมาตรการลดค่าธรรมเนียมการโอนและจดจำนอง โดยไม่จำกัดเฉพาะบ้านราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท ระยะสั้น 1-2 ไตรมาส ซึ่งเชื่อว่ามาตรการนี้จะช่วยกระตุ้นตลาดได้มาก นอกจากนี้ในปัจจุบันมีผู้ประกอบการหลายรายยังมีโปรโมชันผ่อนให้ 6 เดือนถึง 2 ปี ซึ่งจะทำให้ผู้ซื้อยังไม่มีภาระจ่ายค่างวดในช่วงที่เศรษฐกิจไม่ดี และหากมีการลดภาษีธุรกิจเฉพาะให้ผู้ประกอบการเพื่อลดภาระในระยะสั้นก็จะเป็นเรื่องที่ดีเพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายภาวะเช่นนี้
นายบุญกล่าวว่า การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้เห็นแล้วว่าภูเก็ตควรลดการพึ่งพิงการท่องเที่ยว เพียงอย่างเดียว เพราะหากมีอะไรเข้ามากระทบการ ท่องเที่ยวอีกเศรษฐกิจจะแย่มาก ดังนั้นภาครัฐ หรือจังหวัดควรพัฒนาให้ภูเก็ตเติบโตแบบยั่งยืน ให้มีเศรษฐกิจที่ หลากหลาย เช่น ศูนย์กลางการศึกษา โรงเรียนนานาชาติ มหาวิทยาลัย โรงพยาบาล การกีฬา เพื่อให้ชาวต่างชาติเข้ามาใช้บริการ นอกจากนี้ยังต้องการให้รัฐบาลพิจารณาขยายสัญญาเช่าเพิ่มจาก 30 ปี เป็นมากกว่า 50 ปี เพื่อดึงดูดผู้ซื้อชาวต่างชาติหรือเพิ่มมูลค่าให้แก่ทรัพย์สิน และสร้างความมั่นใจให้แก่ชาวต่างชาติ ซึ่งประเทศ เพื่อนบ้านมีสัญญาเช่ามากถึง 50-99 ปี
แค่ลดภาษีไม่พอสำหรับกระตุ้นอสังหาฯ
ด้าน นายศุภชัย รุจิเรืองโรจน์ นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์จังหวัดสงขลา กล่าวว่าตลาดอสังหา- ริมทรัพย์ในจังหวัดสงขลาชะลอตัวมาก่อนที่โควิด-19 จะแพร่ระบาดแล้ว ทำให้ผู้ประกอบการพัฒนาสินค้าออกสู่ตลาดน้อย จึงสมดุลกับความต้องการที่มีในตลาด นอกจากนี้เศรษฐกิจสงขลาไม่ได้พึ่งพาการท่องเที่ยวมากนักชาวต่างชาติที่มาส่วนใหญ่เป็นชาวมาเลเซีย เมื่อ เกิดวิกฤตไวรัสโควิด-19 จึงไม่ได้รับผลกระทบมากนัก กลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่เป็นคนไทยในพื้นที่ และชาว 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ต้องการย้ายหรือความไม่สงบ
อย่างไรก็ตามมาตรการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการ ลดภาษี ลดค่าธรรมเนียม หรือแม้แต่ชะลอ LTV ถือ เป็นสิ่งที่ดีกระตุ้นตลาดที่ดีอยู่แล้ว แต่เพียงพอหรือไม่ ควรมีมาตรการอื่นมาเพิ่ม เพราะการแพร่ระบาดของไวรัสไควิด-19 เป็นโรคใหม่และไม่เคยเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง และไม่เชื่อมั่น แม้ผู้บริโภคจะอยากซื้อบ้าน มาตรการช่วย แต่ถ้าธนาคารไม่ปล่อยสินเชื่อมาตรการต่างๆ ก็ไม่เกิดประโยชน์ ควรจะมีวิธีที่ทำให้ผู้บริโภคกู้ผ่าน และที่ผ่านมารัฐบาลจะออกมาตรการอะไรก็แล้วแต่จะกำหนดให้เฉพาะคนซื้อบ้านราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท ซึ่งไม่ควรจะไปจำกัดเฉพาะบ้านราคา 3 ล้านบาท หรือหากต้องการจำกัด ก็ไห้นำไปลดภาษีได้เฉพาะ 3 ล้านบาทแรก ส่วนที่เกินก็ให้จ่ายปกติ ซึ่งจะทำให้ทุกคนที่ซื้อบ้านได้ประโยชน์เหมือนกัน
คน ตจว.หันชอปบ้านผ่านออนไลน์
ด้าน นายปราชญ์ วงศ์วรรณ นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์เชียงใหม่ กล่าวว่า ตลาดอสังหาริมทรัพย์เชียงใหม่เริ่มมีสัญญาณชะลอตัวมาตั้งแต่ปี 2561-2562 หลังจากในปี 2560-2561 มีการเปิดโครงการใหม่เป็นจำนวนมาก โดยมีสาเหตุหลักมาจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง ผลกระทบจากสงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ และมาตรการคุมเงินออกนอกประเทศของทางการจีนทำให้อัตราการโอนของกลุ่มลูกค้าชาวจีนลดลง มาถึงปี 2563 สถานการณ์ตลาดที่ชะลอตัวอยู่เดิมแล้วก็ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซ้ำเติมเข้าไปอีก สร้างผลกระทบค่อนข้างมาก โดยเฉพาะจังหวัดเชียงใหม่ที่พึ่งพิงการท่องเที่ยวเป็นส่วนใหญ่ คนที่ทำงานภาคท่องเที่ยวตกงานจำนวนมาก ซึ่งกระทบต่อภาค อสังหาฯ โดยตรง
เมื่อเกิดการแพร่ระบาดของไวรัส ทำให้ผู้ประกอบการหันมาใช้สื่อออนไลน์ในการโชว์บ้านตัวอย่าง การขายบ้าน ซึ่งได้ประโยชน์ต่อผู้บริโภคมากขึ้น จากเดิมที่จะต้องขับรถไปดูบ้านนับ 10 โครงการ ก็หันมาดูบ้านตัวอย่างผ่านออนไลน์โครงการไหนที่ไม่ชอบ ก็ไม่ต้องไปดูโครงการจริง ส่วนโครงการไหนชอบก็ถึงไปดู ทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจได้เร็วขึ้น
"ปัจจุบันลูกค้ามีความไม่มั่นใจตัวเองมากว่าจะ ขอสินเชื่อได้หรือไม่ ทำให้หันมาใส่ใจเรื่องวินัยการเงินมากขึ้น บางรายนำรายได้ของตนเองไปให้ธนาคาร Pre-approve ว่าสามารถกู้เงินซื้อบ้านได้เท่าไหร่ และแจ้งเซลไปเลยว่าต้องการดูบ้านที่อยู่ในวงเงินที่ตัวเอง กู้ได้ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องดี ต่างจากในอดีตที่ลูกค้าไม่รู้ว่า ตัวเองตัวเองจะกู้ได้เท่าไหร่ แต่เลือกบ้านที่ตัวเองชอบ ไว้ก่อน พอกู้ไม่ผ่านสุดท้ายต้องคืนเงินจอง ผู้ประกอบการก็ต้องเอามาขายใหม่เสียเวลาด้วยกันทั้งสองฝ่าย แต่หากลูกค้ารู้วงเงินกู้ของตนเองจะทำให้ง่ายขึ้นและ มั่นใจว่าสามารถโอนได้" นายปราชญ์ กล่าว
วอนรัฐเพิ่มมาตรการกระตุ้นกำลังซื้อ
นายปราชญ์ กล่าวต่อว่า ในปัจจุบันมีเพียงมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาฯ เพียงอย่างเดียว คือ บ้านราคา ไม่เกิน 3 ล้านบาท เสียค่าธรรมเนียมการโอนจาก 2.0% เป็น 0.01% และค่าจดจำนอง จาก 1.0% เป็น 0.01% จนถึงวันที่ 24 ธันวาคม 2563 ซึ่งมาตรการดังกล่าวถือเป็นเรื่องปกติธรรมดาไปแล้ว เพราะลูกค้าคิดว่าไปซื้อตอนสิ้นปีก็ได้ส่วนลดค่าธรรมเนียมเหมือนกันและไม่ได้ช่วย กระตุ้นตลาดได้มากนัก ยกเว้นว่ารัฐบาลจะมีมาตรการ อื่นๆ เข้ามาเพิ่มเติม เช่นเดียวกับโครงการบ้านดีมีดาวน์ที่คนต่างจังหวัดส่วนใหญ่ไม่ได้อยู่ในระบบฐานภาษี ทั้ง คนทำงานฟรีแลนซ์ เอสเอ็มอี จึงไม่ได้รับประโยชน์จากมาตรการดังกล่าว ซึ่งอยากจะฝากให้ภาครัฐกลับไปคิดว่าควรมีมาตรการอะไรออกมาช่วยคนกลุ่มอาชีพอิสระให้ได้รับประโยชน์จากมาตรการบ้าง
นอกจากนี้ ยังมีโครงการบ้านล้านหลัง บ้าน ประชารัฐ ที่ผู้ประกอบการไม่สามารถพัฒนาออกมาได้ ซึ่งรัฐบาลต้องมองความเป็นจริงว่าจังหวัดขนาดใหญ่ เช่น เชียงใหม่มีต้นทุนที่ดินสูง ไม่สามารถพัฒนาที่อยู่อาศัยราคาต่ำตามที่รัฐบาลกำหนดได้ ซึ่งต้องการให้ รัฐบาลนำต้นทุนของ การพัฒนาที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่หรือแต่ละจังหวัด เพื่อประกอบการพิจารณาออกนโยบายด้วย
จากภาวะชะลอตัวของตลาดทำให้มาตรการกระตุ้น อสังหาฯที่มีอยู่คือการลดค่าโอนและค่าจดจำนองที่จะใช้ไปถึงปลายปีอาจจะไม่พอที่จะกระตุ้นตลาดได้ จึงอยากให้ภาครัฐช่วยพิจารณามาตรการเพิ่มเติมที่จะเข้ามาช่วยกระตุ้นตลาดในช่วงเวลานี้ นอกจากนี้ มาตรการบางมาตรการควรจะปรับปรุงให้สอดคล้องกับภาวะความเป็นจริงในตลาด อย่างเช่น โครงการบ้านล้านหลังที่ให้กู้บ้านไม่เกิน 1 ล้านบาท ในเมืองใหญ่โอกาสพัฒนาค่อนข้างยาก จึงอยากให้พิจารณาปรับเพดานราคาขึ้น หรือบ้านดีมีดาวน์ ซึ่งคนที่จะได้สิทธิ์เป็นผู้อยู่ในฐานภาษี อยากให้ขยายวงมาถึงคนที่ทำอาชีพอิสระด้วย เป็นต้น
นายยศวัจน์ รุ่งคณาวุฒิ นายกสมาคมอสังหา- ริมทรัพย์พิษณุโลก กล่าวว่า ขณะนี้ตลาดอสังหาริมทรัพย์อยู่ในภาวะชะลอตัวเหมือนกันหมดทั่วประเทศ จากกำลังซื้อที่ลดลง แม้ว่าซัปพลายใหม่จะลดลง แต่อัตราการ ดูดซับในตลาดก็ลดลงด้วย ซึ่งโชคดีที่มีสินค้าเติมเข้าไปในตลาดน้อยทำให้ผลกระทบไม่มาก แค่ตลาดซบเซาลง ปัจจุบันผู้ประกอบการในตลาดได้พยายามปรับตัวด้วยการทำการตลาดออนไลน์ ซึ่งในสถานการณ์โควิด-19 ระบาด ก็ยังมีมุมที่ดี เมื่อคนอยู่บ้านมากขึ้นก็ใช้เวลาในออนไลน์มากขึ้นด้วย ทำให้คนหันมาใช้ออนไลน์ในการเลือกซื้อที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น ซึ่งในปัจจุบันถือว่าผู้ซื้อได้ประโยชน์ ราคาบ้านลด
อย่างไรก็ตาม ในภาวะที่กำลังซื้อหดตัวลง อยากให้รัฐบาลช่วยเพิ่มกำลังซื้อให้กับผู้บริโภค กระตุ้นให้ คนต้องการซื้อบ้านคล้ายมาตรการรถคันแรกที่ไม่ซื้อ ไม่ได้แล้ว การเพิ่มกำลังซื้อ เช่น การขึ้นเงินเดือนข้าราชการ รวมถึงภาคการเกษตรซึ่งภาคเศรษฐกิจสำคัญของ ตลาดในภูมิภาค ถ้าสามารถเพิ่มกำลังซื้อ ผู้บริโภคก็จะมีความมั่นใจในการซื้ออสังหาฯมากขึ้น
อสังหาฯอีสานชะลอตัวก่อนโควิด
นายชาญณรงค์ บุริสตระกูล นายกกิตติมศักดิ์สมาคมอสังหาริมทรัพย์ขอนแก่น กล่าวว่า ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีการชะลอตัว ต่อเนื่องมาหลายปี ผู้ประกอบการมีความระมัดระวัง ทำให้มีซัปพลายใหม่ออกสู่ตลาดไม่มาก สต๊อกที่มีอยู่ ส่วนใหญ่เป็นหน่วยเหลือขายในผังโครงการที่กระจายอยู่ทั่วไป จำนวนหน่วยเหลือขายของขอนแก่น มีจำนวน 3,596 หน่วย แต่หากดูจากหน่วยที่สร้างเสร็จมีเพียง 804 หน่วย ซึ่งถือว่าจำนวนไม่มาก สะท้อนว่าส่วนใหญ่จะเป็นหน่วยในผังขาย ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาในการดูดซับไม่นานมาก นอกจากนี้ขอนแก่นยังเป็นเมืองที่ไม่ได้พึ่งพิงการท่องเที่ยว เมื่อเกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จึงทำให้ตลาดชะลอตัวไม่มากนัก จากที่ชะลอตัวมาก่อนหน้านี้อยู่แล้ว สิ่งที่ผู้ประกอบการควรทำคือ การบริหารองค์กรไม่ให้สะดุด ดูแลผู้รับเหมาให้มีงานทำมีเงินใช้
"ภาคอีสานตอนดีไม่ได้ดีมากๆ เหมือนกับเมืองท่องเที่ยวหรือเมืองอุตสาหกรรมใหญ่ๆ พอเวลาตกเลยตกไม่มาก พอสู้ได้ พอรับไหว เห็นใจเมืองท่องเที่ยว หรือเมืองที่ถูกล็อกดาวน์มากกว่า การที่เราขายได้น้อยเรา ก็สร้างน้อยมันไม่น่ากลัวเท่าไหร่ ถ้ากลัวก็จะกลัวตอนที่ผู้ประกอบการจากส่วนกลางแห่เข้ามาลงทุนพัฒนาสินค้าออกมาเต็มไปหมด แบบนั้นน่ากลัวมากกว่า ว่าซัปพลายที่เยอะจะทำให้ล้นตลาดใช้เวลาระบายนาน ผู้ประกอบการที่จะลงทุนต่อในช่วงนี้ก็เลือกลงทุนให้ดีเอาที่มั่นใจว่าขายได้จริงๆ อยู่ในพื้นที่ย่อมรู้อยู่แล้ว อันไหนที่ขาย ไม่ได้ก็อย่าไปสร้างทับ เพราะไม่มีปัจจัยบวกใหม่ๆ เข้ามา" นายชาญณรงค์ กล่าว
อย่างไรก็ตามสมาคมอสังหาริมทรัพย์ในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือต่างเสนอให้รัฐบาลปรับเพดานมาตรการกระตุ้นอสังหาฯจากบ้านราคาไม่เกิน 3 ล้านบาทเป็น 10 ล้านบาทหรือมากกว่านั้น เพื่อกระตุ้นให้คนมีเงินซื้อบ้านแทนการกระตุ้นเฉพาะผู้มีรายได้น้อย และลดภาษีธุรกิจเฉพาะเพื่อช่วยผู้ประกอบการให้มีความแข็งแรงขึ้น การยกเลิกมาตรการ LTV ซึ่งปัจจุบันการเก็งกำไร ไม่มีแล้ว
อสังหาฯต่างจังหวัดชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจ ผลกระทบจากโควิด-19 แนะลงทุนระมัดระวังมากเป็นพิเศษ เร่งระบายสต๊อกถือเงินสด รอโอกาสเศรษฐกิจฟื้นค่อยลงทุนใหม่ หากต้องการลงทุน ต้องมั่นใจซัพพลายเหลือขายไม่มาก ดีมานด์มี เพียงพอ ทำโครงการเล็กจบเร็ว เตือนแม้ทุนหนา ก็ไม่ควรเติมซัปพลายให้สินค้าล้นตลาด
ตลาดอสังหชาริมทรัพย์ต่างจังหวัดชะลอตัว ตามภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวมาก่อนหน้านี้และผลกระทบ ที่เกิดจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้ ผู้ประกอบการขายได้น้อยลง ซึ่งในจังหวัดที่เศรษฐกิจพึ่งพาการท่องเที่ยวเพียงอย่างเดียว ก็จะได้รับผลกระทบมาก ส่วนจังหวัดอื่นปัญหามาจากภาวะเศรษฐกิจและความไม่เชื่อมั่นของผู้บริโภค
ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคาร สงเคราะห์และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ กล่าวว่า จากการสำรวจตลาดที่อยู่อาศัยทั่วประเทศ 26 จังหวัด ในช่วงครึ่งหลังของปี 2562 ของ ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ พบว่า สถานการณ์การตลาดในช่วงครึ่งหลังของปี 2562 ของพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล และในภูมิภาคมีภาวะที่ชะลอตัวลง ผู้ประกอบการใน ช่วงนี้ขายได้น้อยลงเนื่องจากผลกระทบของไวรัสโควิด-19 การล็อกดาวน์ทำให้คนเดินทางไปซื้อที่อยู่อาศัยไม่ได้ ประกอบกับการขาดความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อรายได้ของตนเองในอนาคตและต่อภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งในจังหวัดขนาดใหญ่จะมีหน่วยเหลือขายสะสมเพิ่มขึ้นในช่วงปี 2563 ที่มีเหลือสะสมต่อเนื่องมาจากปี 2562 ในขณะที่จังหวัดเล็กๆ อาจจะไม่ประสบปัญหานี้เพราะว่ามีหน่วยเหลือขายในตลาดไม่มาก และเปิดตัวน้อยอยู่แล้ว
อย่างไรก็ตาม ในการสำรวจรอบนี้จังหวัดที่สถานการณ์ตลาดของจังหวัดที่น่าอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่ต่ำลงกว่าช่วงก่อนหน้ามากนัก และมีสถานการณ์ที่ดีกว่าพื้นที่และปริมณฑล ประกอบด้วย จังหวัดเชียงใหม่ สงขลา และประจวบคีรีขันธ์ (พื้นที่หัวหิน) สำหรับสถานการณ์ในตลาดของพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑลมีการชะลอตัวมากกว่า 3 จังหวัดข้างต้น โดยจังหวัดที่มีสถานการณ์ใกล้เคียงกัน คือ จังหวัดภูเก็ต ระยอง เพชรบุรี อุบลราชธานี ฉะเชิงเทรา และชลบุรี ทั้งนี้17 จังหวัดที่เหลือมีสถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยที่ชะลอตัวอย่างมาก สำหรับแนวโน้ม ที่จะชะลอตัวต่อเนื่องในปี 2563 เนื่องจากการระบาดของไวรัส COVID -19
แนะผู้ประกอบการมุ่งระบายสต๊อกกำเงินสด
ทั้งนี้การลงทุนอสังหาริมทรัพย์ในต่างจังหวัด จะต้องพิจารณาการลงทุนอย่างระมัดระวังเป็นพิเศษ การเลือกทำเลที่มีศักยภาพไม่มีซัปพลายคงเหลือใน ทำเลนั้นมากจนเกินไป นอกจากนี้จะต้องมั่นใจว่าใน ทำเลนั้นๆ ยังมีดีมานด์อยู่ในตลาดเพียงพอที่จะดูดซับได้
"ข้อแนะนำผู้ประกอบการในการลงทุนในช่วงนี้ ถือเป็นคัมภีร์ที่ทุกคนควรถือปฏิบัติ คือ อย่าเพิ่มซัปพลายใหม่ให้มากนัก พยายามระบายสต๊อกเก่าออกไปให้ได้ มากที่สุดและถือเงินสดไว้ รอให้สถานการณ์ดีขึ้นค่อยลงทุนเพิ่ม ถ้าจะลงทุนเพิ่มก็ควรมองทำเลให้ดีอย่าเปิดโครงการขนาดใหญ่ เปิดโครงการขนาดเล็กปิดการ ขายได้เร็ว แต่หลักๆ คือปิดการขายโครงการให้ได้ก่อน ปีนี้กำลังซื้อลดแน่นอน แม้ว่าตัวเองจะมีสต๊อกในมือน้อย ก็ไม่ควรไปเพิ่มซัปพลายในตลาดให้มากนักเพราะตลาดจะไปไม่ไหว" ดร.วิชัยกล่าว
จากการสำรวจและรับฟังผู้ประกอบการพื้นที่ สำรวจ พบว่ากำลังซื้อในแต่ละพื้นที่ยังคงมีอยู่ แต่ติดขัดในหลายเรื่อง เช่น ขาดความเชื่อมั่นในรายได้ของตนเองว่าในอนาคตจะยังมีรายได้หรือมีงานทำอยู่หรือไม่ บางส่วนแม้ว่ารายได้มั่นคงแต่ก็ไม่มั่นใจว่าจะสามารถ ขอสินเชื่อได้หรือไม่ นอกจากนี้ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายยังกังวลว่าจะสามารถโอนบ้านได้เร็วตามกำหนดหรือไม่
สำหรับการสำรวจโครงการที่อยู่อาศัยที่อยู่ระหว่างการขาย โดยนับเฉพาะโครงการที่มีหน่วยเหลือขายไม่ต่ำกว่า 6 หน่วย ในเขตกรุงเทพฯ-ปริมณฑล 6 จังหวัด และจังหวัดขนาดใหญ่ในภูมิภาคอีก 20 จังหวัดรวมเป็น 26 จังหวัด พบว่า มีโครงการที่อยู่ระหว่างการขายจำนวน 355,145 หน่วย แบ่งเป็น กรุงเทพฯ-ปริมณฑล จำนวน 209,868 หน่วย สัดส่วน 59.1% รองลงมาเป็นภาค ตะวันออก 78,780 หน่วย สัดส่วน 22.2% อันดับ 3 เป็นภาคใต้ 17,928 หน่วย สัดส่วน 5.0% อันดับ 4 ภาคเหนือ 17,843 หน่วย สัดส่วน 5.0% อันดับ 5 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 14,853 หน่วย สัดส่วน 4.2% อันดับ 6 ภาคกลาง 9,078 หน่วย สัดส่วน 2.6% และอันดับ 7 ภาคตะวันตก 6,795 หน่วย 1.9%
โควิดฉุดอสังหาฯเมืองท่องเที่ยวทรุดหนัก
ดร.วิชัย กล่าวว่า ภาพรวมของตลาดภาคเหนือ เนื่องจากกลุ่มจังหวัดที่ทำการสำรวจ 4 จังหวัด ประกอบด้วยจังหวัด เชียงใหม่ เชียงราย พิษณุโลกและตาก เป็นพื้นที่ซึ่งเศรษฐกิจหลักอ้างอิงกับธุรกิจท่องเที่ยวและการค้าขายชายแดน ในช่วงปลายปีที่ผ่านมาต่อเนื่อง ปี 2563 จึงได้รับผลกระทบอย่างชัดเจน ซึ่งจากการสำรวจพบว่าในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือมีหน่วยเหลือขายค่อนข้างมากขณะที่ยอดขายไม่เป็นไปตามเป้า ทำให้หน่วยเหลือขายในปี 2562 กลายมาเป็นหน่วยตั้งต้นของปี 2563 เมื่อได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้กำลังซื้อของคนในพื้นที่ลดลง แรงกระตุ้นจากคนนอกพื้นที่ก็หายไป เช่นเดียวกับกำลังซื้อของชาว ต่างชาติ ทั้งหมดนี้มีผลกระทบโดยตรงต่ออุปสงค์ใน 4 พื้นที่ดังกล่าว และจะมีผลโดยตรงให้การโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยในพื้นที่ลดลงไปด้วย
แนะภูเก็ตลดพึ่งท่องเที่ยวเพียงอย่างเดียว
ตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับผลกระทบมาก อีกจังหวัด คือ ภูเก็ตเนื่องจากเป็นเมืองเศรษฐกิจพึ่งพาการท่องเที่ยว โดยนายบุญ ยงสกุล อุปนายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ภูเก็ต กล่าวว่าวิกฤตโรคระบาดที่ผ่านๆ มา ไม่ว่าจะเป็นไข้หวัดนก โรคซาร์ส ผลกระทบที่เกิดขึ้นเทียบไม่ได้เลยกับโควิด-19 ในช่วงก่อนหน้านี้ภูเก็ต พึ่งพาการท่องเที่ยวเพียง 60-70% แต่ในช่วง 10 ปีหลังภูเก็ตพึ่งพาการท่องเที่ยวมากเกือบ 100% ก็ว่าได้ ทำให้อสังหาริมทรัพย์ได้รับผลกระทบมากตามไปด้วย
ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในภูเก็ตเป็นธุรกิจที่ เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวโดยตรง ลูกค้าที่ซื้ออสังหาฯ ส่วนใหญ่แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ คนภูเก็ตหรือคนไทยที่ทำงานในภูเก็ต และต่างชาติที่ซื้อเพื่อลงทุนและอยู่อาศัย และแม้ว่าคนซื้อจะมีความพร้อมที่จะอยู่อาศัยในช่วงนี้ แต่สถาบันการเงินมีความเข้มงวดมากจนทำให้ถูกปฏิเสธสินเชื่อในอัตราที่สูง ซึ่งผลประกอบการในไตรมาส 2 ของผู้ประกอบการในภูเก็ตลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
ในขณะที่กลุ่มลูกค้าชาวต่างชาติเมื่อเดินทาง เข้ามาประเทศไทยไม่ได้ก็หยุดที่จะซื้ออสังหาฯ หรือไม่ต้องการโอนเงินมาซื้อ นอกจากนี้การที่ค่าเงินบาทของไทย แข็งค่าขึ้นทำให้ชาวต่างชาติเลือกที่จะชะลอการจ่ายเงินออกไปด้วย ซึ่งการที่อสังหาฯในภูเก็ตเจอกับปัญหาใหญ่ 2 ด้านทั้งโรคระบาดและเงินบาทแข็งค่า หากผู้ประกอบการที่ไม่ได้วางแผนรับมือมาอย่างดี หรือมีสายป่านที่ยาว ปีนี้จะเป็นปีที่หนักมาก
ทั้งนี้ยังมีบริษัทขนาดกลาง-ใหญ่ หลายรายยังคงลงทุนพัฒนาโครงการอยู่บ้าง โดยเฉพาะโครงการ แนวราบ นอกจากนี้ยังเริ่มเห็นกลุ่มนักลงทุนเข้ามาหาซื้อที่ดินเพื่อเก็บไว้พัฒนาโครงการในอนาคตมากขึ้น เนื่องจาก เชื่อว่าในปี 1-2 ปีข้างหน้าสถานการณ์การแพร่ระบาดจะหยุดลง การท่องเที่ยวกลับมาดีขึ้น อสังหาฯในภูเก็ต จะเป็นต้องการของชาวต่างชาติมาก เช่น สิงคโปร์ โดยพบว่าในช่วงที่มีการแพร่ระบาดไทยมีการควบคุมที่ดีทำให้ชาวสิงคโปร์ต้องการเข้ามาพำนักในไทย รวมถึงฮ่องกงที่มีปัญหาการประท้วงรุนแรงก็มีความต้องการ มาอยู่อาศัยในภูเก็ตเช่นกัน
ส่วนมาตรการที่ต้องการให้รัฐบาลช่วยเหลือคือ เรื่อง LTV ในอดีตถือเป็นเรื่องที่ดีเพราะสกัดการเก็ง กำไร ป้องกันภาวะฟองสบู่ แต่ปัจจุบันต่างออกไป นักเก็งกำไรไม่มีแล้ว แต่การมี LTV ยังไปสกัดกั้นกลุ่มนักลงทุนที่ต้องการซื้อเพื่อลงทุนจริงๆ หรือกลุ่มที่มี กำลังซื้อในตลาดที่มีอยู่จำนวนน้อยชะลอการตัดสินใจซื้อ ออกไป ซึ่งหากชะลอมาตรการ LTV ออกไปอีก 6 เดือน ถึง 1 ปีก็จะช่วยภาคธุรกิจได้มาก นอกจากนี้มาตรการ ที่รัฐบาลเคยออกมาแล้วและได้ผลดีคือมาตรการลดค่าธรรมเนียมการโอนและจดจำนอง โดยไม่จำกัดเฉพาะบ้านราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท ระยะสั้น 1-2 ไตรมาส ซึ่งเชื่อว่ามาตรการนี้จะช่วยกระตุ้นตลาดได้มาก นอกจากนี้ในปัจจุบันมีผู้ประกอบการหลายรายยังมีโปรโมชันผ่อนให้ 6 เดือนถึง 2 ปี ซึ่งจะทำให้ผู้ซื้อยังไม่มีภาระจ่ายค่างวดในช่วงที่เศรษฐกิจไม่ดี และหากมีการลดภาษีธุรกิจเฉพาะให้ผู้ประกอบการเพื่อลดภาระในระยะสั้นก็จะเป็นเรื่องที่ดีเพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายภาวะเช่นนี้
นายบุญกล่าวว่า การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้เห็นแล้วว่าภูเก็ตควรลดการพึ่งพิงการท่องเที่ยว เพียงอย่างเดียว เพราะหากมีอะไรเข้ามากระทบการ ท่องเที่ยวอีกเศรษฐกิจจะแย่มาก ดังนั้นภาครัฐ หรือจังหวัดควรพัฒนาให้ภูเก็ตเติบโตแบบยั่งยืน ให้มีเศรษฐกิจที่ หลากหลาย เช่น ศูนย์กลางการศึกษา โรงเรียนนานาชาติ มหาวิทยาลัย โรงพยาบาล การกีฬา เพื่อให้ชาวต่างชาติเข้ามาใช้บริการ นอกจากนี้ยังต้องการให้รัฐบาลพิจารณาขยายสัญญาเช่าเพิ่มจาก 30 ปี เป็นมากกว่า 50 ปี เพื่อดึงดูดผู้ซื้อชาวต่างชาติหรือเพิ่มมูลค่าให้แก่ทรัพย์สิน และสร้างความมั่นใจให้แก่ชาวต่างชาติ ซึ่งประเทศ เพื่อนบ้านมีสัญญาเช่ามากถึง 50-99 ปี
แค่ลดภาษีไม่พอสำหรับกระตุ้นอสังหาฯ
ด้าน นายศุภชัย รุจิเรืองโรจน์ นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์จังหวัดสงขลา กล่าวว่าตลาดอสังหา- ริมทรัพย์ในจังหวัดสงขลาชะลอตัวมาก่อนที่โควิด-19 จะแพร่ระบาดแล้ว ทำให้ผู้ประกอบการพัฒนาสินค้าออกสู่ตลาดน้อย จึงสมดุลกับความต้องการที่มีในตลาด นอกจากนี้เศรษฐกิจสงขลาไม่ได้พึ่งพาการท่องเที่ยวมากนักชาวต่างชาติที่มาส่วนใหญ่เป็นชาวมาเลเซีย เมื่อ เกิดวิกฤตไวรัสโควิด-19 จึงไม่ได้รับผลกระทบมากนัก กลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่เป็นคนไทยในพื้นที่ และชาว 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ต้องการย้ายหรือความไม่สงบ
อย่างไรก็ตามมาตรการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการ ลดภาษี ลดค่าธรรมเนียม หรือแม้แต่ชะลอ LTV ถือ เป็นสิ่งที่ดีกระตุ้นตลาดที่ดีอยู่แล้ว แต่เพียงพอหรือไม่ ควรมีมาตรการอื่นมาเพิ่ม เพราะการแพร่ระบาดของไวรัสไควิด-19 เป็นโรคใหม่และไม่เคยเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง และไม่เชื่อมั่น แม้ผู้บริโภคจะอยากซื้อบ้าน มาตรการช่วย แต่ถ้าธนาคารไม่ปล่อยสินเชื่อมาตรการต่างๆ ก็ไม่เกิดประโยชน์ ควรจะมีวิธีที่ทำให้ผู้บริโภคกู้ผ่าน และที่ผ่านมารัฐบาลจะออกมาตรการอะไรก็แล้วแต่จะกำหนดให้เฉพาะคนซื้อบ้านราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท ซึ่งไม่ควรจะไปจำกัดเฉพาะบ้านราคา 3 ล้านบาท หรือหากต้องการจำกัด ก็ไห้นำไปลดภาษีได้เฉพาะ 3 ล้านบาทแรก ส่วนที่เกินก็ให้จ่ายปกติ ซึ่งจะทำให้ทุกคนที่ซื้อบ้านได้ประโยชน์เหมือนกัน
คน ตจว.หันชอปบ้านผ่านออนไลน์
ด้าน นายปราชญ์ วงศ์วรรณ นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์เชียงใหม่ กล่าวว่า ตลาดอสังหาริมทรัพย์เชียงใหม่เริ่มมีสัญญาณชะลอตัวมาตั้งแต่ปี 2561-2562 หลังจากในปี 2560-2561 มีการเปิดโครงการใหม่เป็นจำนวนมาก โดยมีสาเหตุหลักมาจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง ผลกระทบจากสงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ และมาตรการคุมเงินออกนอกประเทศของทางการจีนทำให้อัตราการโอนของกลุ่มลูกค้าชาวจีนลดลง มาถึงปี 2563 สถานการณ์ตลาดที่ชะลอตัวอยู่เดิมแล้วก็ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซ้ำเติมเข้าไปอีก สร้างผลกระทบค่อนข้างมาก โดยเฉพาะจังหวัดเชียงใหม่ที่พึ่งพิงการท่องเที่ยวเป็นส่วนใหญ่ คนที่ทำงานภาคท่องเที่ยวตกงานจำนวนมาก ซึ่งกระทบต่อภาค อสังหาฯ โดยตรง
เมื่อเกิดการแพร่ระบาดของไวรัส ทำให้ผู้ประกอบการหันมาใช้สื่อออนไลน์ในการโชว์บ้านตัวอย่าง การขายบ้าน ซึ่งได้ประโยชน์ต่อผู้บริโภคมากขึ้น จากเดิมที่จะต้องขับรถไปดูบ้านนับ 10 โครงการ ก็หันมาดูบ้านตัวอย่างผ่านออนไลน์โครงการไหนที่ไม่ชอบ ก็ไม่ต้องไปดูโครงการจริง ส่วนโครงการไหนชอบก็ถึงไปดู ทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจได้เร็วขึ้น
"ปัจจุบันลูกค้ามีความไม่มั่นใจตัวเองมากว่าจะ ขอสินเชื่อได้หรือไม่ ทำให้หันมาใส่ใจเรื่องวินัยการเงินมากขึ้น บางรายนำรายได้ของตนเองไปให้ธนาคาร Pre-approve ว่าสามารถกู้เงินซื้อบ้านได้เท่าไหร่ และแจ้งเซลไปเลยว่าต้องการดูบ้านที่อยู่ในวงเงินที่ตัวเอง กู้ได้ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องดี ต่างจากในอดีตที่ลูกค้าไม่รู้ว่า ตัวเองตัวเองจะกู้ได้เท่าไหร่ แต่เลือกบ้านที่ตัวเองชอบ ไว้ก่อน พอกู้ไม่ผ่านสุดท้ายต้องคืนเงินจอง ผู้ประกอบการก็ต้องเอามาขายใหม่เสียเวลาด้วยกันทั้งสองฝ่าย แต่หากลูกค้ารู้วงเงินกู้ของตนเองจะทำให้ง่ายขึ้นและ มั่นใจว่าสามารถโอนได้" นายปราชญ์ กล่าว
วอนรัฐเพิ่มมาตรการกระตุ้นกำลังซื้อ
นายปราชญ์ กล่าวต่อว่า ในปัจจุบันมีเพียงมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาฯ เพียงอย่างเดียว คือ บ้านราคา ไม่เกิน 3 ล้านบาท เสียค่าธรรมเนียมการโอนจาก 2.0% เป็น 0.01% และค่าจดจำนอง จาก 1.0% เป็น 0.01% จนถึงวันที่ 24 ธันวาคม 2563 ซึ่งมาตรการดังกล่าวถือเป็นเรื่องปกติธรรมดาไปแล้ว เพราะลูกค้าคิดว่าไปซื้อตอนสิ้นปีก็ได้ส่วนลดค่าธรรมเนียมเหมือนกันและไม่ได้ช่วย กระตุ้นตลาดได้มากนัก ยกเว้นว่ารัฐบาลจะมีมาตรการ อื่นๆ เข้ามาเพิ่มเติม เช่นเดียวกับโครงการบ้านดีมีดาวน์ที่คนต่างจังหวัดส่วนใหญ่ไม่ได้อยู่ในระบบฐานภาษี ทั้ง คนทำงานฟรีแลนซ์ เอสเอ็มอี จึงไม่ได้รับประโยชน์จากมาตรการดังกล่าว ซึ่งอยากจะฝากให้ภาครัฐกลับไปคิดว่าควรมีมาตรการอะไรออกมาช่วยคนกลุ่มอาชีพอิสระให้ได้รับประโยชน์จากมาตรการบ้าง
นอกจากนี้ ยังมีโครงการบ้านล้านหลัง บ้าน ประชารัฐ ที่ผู้ประกอบการไม่สามารถพัฒนาออกมาได้ ซึ่งรัฐบาลต้องมองความเป็นจริงว่าจังหวัดขนาดใหญ่ เช่น เชียงใหม่มีต้นทุนที่ดินสูง ไม่สามารถพัฒนาที่อยู่อาศัยราคาต่ำตามที่รัฐบาลกำหนดได้ ซึ่งต้องการให้ รัฐบาลนำต้นทุนของ การพัฒนาที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่หรือแต่ละจังหวัด เพื่อประกอบการพิจารณาออกนโยบายด้วย
จากภาวะชะลอตัวของตลาดทำให้มาตรการกระตุ้น อสังหาฯที่มีอยู่คือการลดค่าโอนและค่าจดจำนองที่จะใช้ไปถึงปลายปีอาจจะไม่พอที่จะกระตุ้นตลาดได้ จึงอยากให้ภาครัฐช่วยพิจารณามาตรการเพิ่มเติมที่จะเข้ามาช่วยกระตุ้นตลาดในช่วงเวลานี้ นอกจากนี้ มาตรการบางมาตรการควรจะปรับปรุงให้สอดคล้องกับภาวะความเป็นจริงในตลาด อย่างเช่น โครงการบ้านล้านหลังที่ให้กู้บ้านไม่เกิน 1 ล้านบาท ในเมืองใหญ่โอกาสพัฒนาค่อนข้างยาก จึงอยากให้พิจารณาปรับเพดานราคาขึ้น หรือบ้านดีมีดาวน์ ซึ่งคนที่จะได้สิทธิ์เป็นผู้อยู่ในฐานภาษี อยากให้ขยายวงมาถึงคนที่ทำอาชีพอิสระด้วย เป็นต้น
นายยศวัจน์ รุ่งคณาวุฒิ นายกสมาคมอสังหา- ริมทรัพย์พิษณุโลก กล่าวว่า ขณะนี้ตลาดอสังหาริมทรัพย์อยู่ในภาวะชะลอตัวเหมือนกันหมดทั่วประเทศ จากกำลังซื้อที่ลดลง แม้ว่าซัปพลายใหม่จะลดลง แต่อัตราการ ดูดซับในตลาดก็ลดลงด้วย ซึ่งโชคดีที่มีสินค้าเติมเข้าไปในตลาดน้อยทำให้ผลกระทบไม่มาก แค่ตลาดซบเซาลง ปัจจุบันผู้ประกอบการในตลาดได้พยายามปรับตัวด้วยการทำการตลาดออนไลน์ ซึ่งในสถานการณ์โควิด-19 ระบาด ก็ยังมีมุมที่ดี เมื่อคนอยู่บ้านมากขึ้นก็ใช้เวลาในออนไลน์มากขึ้นด้วย ทำให้คนหันมาใช้ออนไลน์ในการเลือกซื้อที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น ซึ่งในปัจจุบันถือว่าผู้ซื้อได้ประโยชน์ ราคาบ้านลด
อย่างไรก็ตาม ในภาวะที่กำลังซื้อหดตัวลง อยากให้รัฐบาลช่วยเพิ่มกำลังซื้อให้กับผู้บริโภค กระตุ้นให้ คนต้องการซื้อบ้านคล้ายมาตรการรถคันแรกที่ไม่ซื้อ ไม่ได้แล้ว การเพิ่มกำลังซื้อ เช่น การขึ้นเงินเดือนข้าราชการ รวมถึงภาคการเกษตรซึ่งภาคเศรษฐกิจสำคัญของ ตลาดในภูมิภาค ถ้าสามารถเพิ่มกำลังซื้อ ผู้บริโภคก็จะมีความมั่นใจในการซื้ออสังหาฯมากขึ้น
อสังหาฯอีสานชะลอตัวก่อนโควิด
นายชาญณรงค์ บุริสตระกูล นายกกิตติมศักดิ์สมาคมอสังหาริมทรัพย์ขอนแก่น กล่าวว่า ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีการชะลอตัว ต่อเนื่องมาหลายปี ผู้ประกอบการมีความระมัดระวัง ทำให้มีซัปพลายใหม่ออกสู่ตลาดไม่มาก สต๊อกที่มีอยู่ ส่วนใหญ่เป็นหน่วยเหลือขายในผังโครงการที่กระจายอยู่ทั่วไป จำนวนหน่วยเหลือขายของขอนแก่น มีจำนวน 3,596 หน่วย แต่หากดูจากหน่วยที่สร้างเสร็จมีเพียง 804 หน่วย ซึ่งถือว่าจำนวนไม่มาก สะท้อนว่าส่วนใหญ่จะเป็นหน่วยในผังขาย ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาในการดูดซับไม่นานมาก นอกจากนี้ขอนแก่นยังเป็นเมืองที่ไม่ได้พึ่งพิงการท่องเที่ยว เมื่อเกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จึงทำให้ตลาดชะลอตัวไม่มากนัก จากที่ชะลอตัวมาก่อนหน้านี้อยู่แล้ว สิ่งที่ผู้ประกอบการควรทำคือ การบริหารองค์กรไม่ให้สะดุด ดูแลผู้รับเหมาให้มีงานทำมีเงินใช้
"ภาคอีสานตอนดีไม่ได้ดีมากๆ เหมือนกับเมืองท่องเที่ยวหรือเมืองอุตสาหกรรมใหญ่ๆ พอเวลาตกเลยตกไม่มาก พอสู้ได้ พอรับไหว เห็นใจเมืองท่องเที่ยว หรือเมืองที่ถูกล็อกดาวน์มากกว่า การที่เราขายได้น้อยเรา ก็สร้างน้อยมันไม่น่ากลัวเท่าไหร่ ถ้ากลัวก็จะกลัวตอนที่ผู้ประกอบการจากส่วนกลางแห่เข้ามาลงทุนพัฒนาสินค้าออกมาเต็มไปหมด แบบนั้นน่ากลัวมากกว่า ว่าซัปพลายที่เยอะจะทำให้ล้นตลาดใช้เวลาระบายนาน ผู้ประกอบการที่จะลงทุนต่อในช่วงนี้ก็เลือกลงทุนให้ดีเอาที่มั่นใจว่าขายได้จริงๆ อยู่ในพื้นที่ย่อมรู้อยู่แล้ว อันไหนที่ขาย ไม่ได้ก็อย่าไปสร้างทับ เพราะไม่มีปัจจัยบวกใหม่ๆ เข้ามา" นายชาญณรงค์ กล่าว
อย่างไรก็ตามสมาคมอสังหาริมทรัพย์ในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือต่างเสนอให้รัฐบาลปรับเพดานมาตรการกระตุ้นอสังหาฯจากบ้านราคาไม่เกิน 3 ล้านบาทเป็น 10 ล้านบาทหรือมากกว่านั้น เพื่อกระตุ้นให้คนมีเงินซื้อบ้านแทนการกระตุ้นเฉพาะผู้มีรายได้น้อย และลดภาษีธุรกิจเฉพาะเพื่อช่วยผู้ประกอบการให้มีความแข็งแรงขึ้น การยกเลิกมาตรการ LTV ซึ่งปัจจุบันการเก็งกำไร ไม่มีแล้ว
ข่าวอสังหาริมทรัพย์ภูมิภาค อื่นๆ