อสังหาฯโซน EEC ชะลอตัวเปิดใหม่ลดลง-สต็อกบวม
วันที่ : 15 มิถุนายน 2563
ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เผย อสังหาฯ EEC ชะลอตัว
ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์วิเคราะห์ตลาดที่อยู่อาศัยภาคตะวันออก 3 จังหวัด EEC พบหน่วยขายได้ใหม่ลดลง อัตราดูดซับต่ำ สต็อกบวม ส่งผลกระทบตลาดรวมชะลอตัว หวั่นทำเลชลบุรี หลังคาดยอดโอนกรรมสิทธิ์ร่วง 20%
ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เปิดเผยว่า พื้นที่ EEC เข้ามามีบทบาทความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศอย่างมากในช่วงเวลาที่ผ่านมา โดยเฉพาะในส่วนของการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัย พบว่า ณ สิ้นปี 2562 มีโครงการที่อยู่อาศัยเสนอขายจำนวนทั้งสิ้น 78,780 หน่วย ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 22 ของจำนวนที่อยู่อาศัยใน 26 จังหวัดหลัก ซึ่งมีจำนวนรวม 355,145 หน่วย นับได้ว่ามีการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยสูงสุดเป็นอันดับ 2 รองจากพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล ซึ่งมีจำนวน 209,868 หน่วย โดยจังหวัดชลบุรีมีจำนวนที่อยู่อาศัยเสนอขายมากที่สุดในกลุ่มจังหวัด EEC จากการสำรวจตลาดที่อยู่อาศัยในพื้นที่จังหวัดชลบุรีพบว่า ณ สิ้นปี 2562 มีจำนวนที่อยู่อาศัยที่อยู่ระหว่างเสนอขายจำนวนทั้งสิ้น 675 โครงการ จำนวน 50,655 หน่วย คิดเป็นมูลค่า 176,116 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงครึ่งปีแรกร้อยละ 1.8 โดยมีโครงการที่เปิดขายใหม่ในช่วงครึ่งปีหลังเพียง 6,593 หน่วย แบ่งเป็นอาคารชุด 3,700 หน่วย และบ้านจัดสรร 2,893 หน่วย
เมื่อพิจารณาจากหน่วยขายได้ใหม่จากการสำรวจพบว่าในช่วงครึ่งหลังปี 2562 มีหน่วยขายได้ใหม่จำนวน 6,270 หน่วย ลดลงจากช่วงครึ่งปีแรกร้อยละ 27.5 ในจำนวนดังกล่าวเป็นการขายห้องชุด 2,535 หน่วย และเป็นบ้านจัดสรร 3,735 หน่วย และมีหน่วยเหลือขายจำนวน 44,385 หน่วย เพิ่มขึ้นจากช่วงครึ่งปีแรกร้อยละ 8 มูลค่ารวม 155,838 ล้านบาท โดยมีหน่วยเหลือขายประเภทโครงการอาคารชุดจำนวน 19,271 หน่วย บ้านจัดสรรจำนวน 25,114 หน่วย จากการที่จำนวนหน่วยขายได้ใหม่มีอัตราการขายได้ลดลงถึงร้อยละ 27.5 จึงส่งผลให้จำนวนที่อยู่อาศัยเหลือขายมีอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 8 โดยทำเลที่มีที่อยู่อาศัยเหลือขายมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1. ทำเลพัทยา-เขาพระตำหนัก จำนวน 7,185 หน่วย 2. ทำเลหาดจอมเทียน จำนวน 6,864 หน่วย 3. ทำเลนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร-บายพาส จำนวน 3,798 หน่วย 4. ทำเลนิคมอุตสาหกรรมบ่อวิน จำนวน 3,729 หน่วย และ 5. ทำเลบางแสน-หนองมน-บางพระ จำนวน 3,306 หน่วย โดยมีหน่วยที่สร้างเสร็จเหลือขาย (พร้อมโอน) หรือเป็น Inventory ในตลาดจำนวน 9,527 หน่วยมูลค่า 31,501 ล้านบาท ซึ่ง 5 ทำเลที่มีหน่วยสร้างเสร็จเหลือขายมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1. ทำเลหาดจอมเทียน จำนวน 1,496 หน่วย 2. ทำเลพัทยา-เขาพระตำหนัก จำนวน 1,311 หน่วย 3. ทำเลศรีราชา-อัสสัมชัญ จำนวน 1,209 หน่วย 4. ทำเลนิคมอุตสาหกรรมบ่อวิน จำนวน 1,145 หน่วย 5. ทำเลแหลมฉบัง จำนวน 1,051 หน่วย
ส่วนทำเลขายดี 5 อันดับได้แก่ 1. ทำเลหาดจอมเทียน จำนวน 1,037 หน่วย 2. ทำเลพัทยา-เขาพระตำหนัก จำนวน 718 หน่วย 3. ทำเลนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร-บายพาส จำนวน 712 หน่วย 4. ทำเลบางแสน-หนองมน-บางพระ จำนวน 703 หน่วย 5. ทำเลศรีราชา-อัสสัมชัญ จำนวน 581 หน่วย ศูนย์ข้อมูลฯ ได้ประมาณการว่าในปี 2563 จะมีที่อยู่อาศัยเหลือขายอยู่ในตลาดจำนวน 44,060 หน่วย ประกอบด้วยอาคารชุดจำนวน 19,348 หน่วย ทาวน์เฮาส์จำนวน 12,699 หน่วย บ้านเดี่ยวจำนวน 5,730 หน่วย บ้านแฝดจำนวน 4,979 หน่วย และอาคารพาณิชย์จำนวน 1,304 หน่วย ซึ่งเมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับอัตราดูดซับที่ลดต่ำลงมาอยู่ที่ร้อยละ 2.1 ในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2562 และคาดว่าในปี 2563 อัตราดูดซับจะเหลือประมาณร้อยละ 1.1-1.3 และคาดการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยก็จะลดลงมาอยู่ที่ 30,141 หน่วย มูลค่าประมาณ 59,293 ล้านบาท ซึ่งต่ำกว่าค่ามาตรฐานซึ่งมีมูลค่า 64,095 ล้านบาท ลดลงร้อยละ20.0 ด้วยภาพรวมดังกล่าวผู้ประกอบการจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์การเสนอขาย โดยเฉพาะที่อยู่อาศัยประเภทคอนโดมิเนียม และทาวน์เฮาส์ที่มีอัตราการดูดซับชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่องจากช่วงต้นปี 2562 และคาดว่าจะต่อเนื่องมาถึงปี 2563
ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เปิดเผยว่า พื้นที่ EEC เข้ามามีบทบาทความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศอย่างมากในช่วงเวลาที่ผ่านมา โดยเฉพาะในส่วนของการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัย พบว่า ณ สิ้นปี 2562 มีโครงการที่อยู่อาศัยเสนอขายจำนวนทั้งสิ้น 78,780 หน่วย ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 22 ของจำนวนที่อยู่อาศัยใน 26 จังหวัดหลัก ซึ่งมีจำนวนรวม 355,145 หน่วย นับได้ว่ามีการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยสูงสุดเป็นอันดับ 2 รองจากพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล ซึ่งมีจำนวน 209,868 หน่วย โดยจังหวัดชลบุรีมีจำนวนที่อยู่อาศัยเสนอขายมากที่สุดในกลุ่มจังหวัด EEC จากการสำรวจตลาดที่อยู่อาศัยในพื้นที่จังหวัดชลบุรีพบว่า ณ สิ้นปี 2562 มีจำนวนที่อยู่อาศัยที่อยู่ระหว่างเสนอขายจำนวนทั้งสิ้น 675 โครงการ จำนวน 50,655 หน่วย คิดเป็นมูลค่า 176,116 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงครึ่งปีแรกร้อยละ 1.8 โดยมีโครงการที่เปิดขายใหม่ในช่วงครึ่งปีหลังเพียง 6,593 หน่วย แบ่งเป็นอาคารชุด 3,700 หน่วย และบ้านจัดสรร 2,893 หน่วย
เมื่อพิจารณาจากหน่วยขายได้ใหม่จากการสำรวจพบว่าในช่วงครึ่งหลังปี 2562 มีหน่วยขายได้ใหม่จำนวน 6,270 หน่วย ลดลงจากช่วงครึ่งปีแรกร้อยละ 27.5 ในจำนวนดังกล่าวเป็นการขายห้องชุด 2,535 หน่วย และเป็นบ้านจัดสรร 3,735 หน่วย และมีหน่วยเหลือขายจำนวน 44,385 หน่วย เพิ่มขึ้นจากช่วงครึ่งปีแรกร้อยละ 8 มูลค่ารวม 155,838 ล้านบาท โดยมีหน่วยเหลือขายประเภทโครงการอาคารชุดจำนวน 19,271 หน่วย บ้านจัดสรรจำนวน 25,114 หน่วย จากการที่จำนวนหน่วยขายได้ใหม่มีอัตราการขายได้ลดลงถึงร้อยละ 27.5 จึงส่งผลให้จำนวนที่อยู่อาศัยเหลือขายมีอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 8 โดยทำเลที่มีที่อยู่อาศัยเหลือขายมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1. ทำเลพัทยา-เขาพระตำหนัก จำนวน 7,185 หน่วย 2. ทำเลหาดจอมเทียน จำนวน 6,864 หน่วย 3. ทำเลนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร-บายพาส จำนวน 3,798 หน่วย 4. ทำเลนิคมอุตสาหกรรมบ่อวิน จำนวน 3,729 หน่วย และ 5. ทำเลบางแสน-หนองมน-บางพระ จำนวน 3,306 หน่วย โดยมีหน่วยที่สร้างเสร็จเหลือขาย (พร้อมโอน) หรือเป็น Inventory ในตลาดจำนวน 9,527 หน่วยมูลค่า 31,501 ล้านบาท ซึ่ง 5 ทำเลที่มีหน่วยสร้างเสร็จเหลือขายมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1. ทำเลหาดจอมเทียน จำนวน 1,496 หน่วย 2. ทำเลพัทยา-เขาพระตำหนัก จำนวน 1,311 หน่วย 3. ทำเลศรีราชา-อัสสัมชัญ จำนวน 1,209 หน่วย 4. ทำเลนิคมอุตสาหกรรมบ่อวิน จำนวน 1,145 หน่วย 5. ทำเลแหลมฉบัง จำนวน 1,051 หน่วย
ส่วนทำเลขายดี 5 อันดับได้แก่ 1. ทำเลหาดจอมเทียน จำนวน 1,037 หน่วย 2. ทำเลพัทยา-เขาพระตำหนัก จำนวน 718 หน่วย 3. ทำเลนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร-บายพาส จำนวน 712 หน่วย 4. ทำเลบางแสน-หนองมน-บางพระ จำนวน 703 หน่วย 5. ทำเลศรีราชา-อัสสัมชัญ จำนวน 581 หน่วย ศูนย์ข้อมูลฯ ได้ประมาณการว่าในปี 2563 จะมีที่อยู่อาศัยเหลือขายอยู่ในตลาดจำนวน 44,060 หน่วย ประกอบด้วยอาคารชุดจำนวน 19,348 หน่วย ทาวน์เฮาส์จำนวน 12,699 หน่วย บ้านเดี่ยวจำนวน 5,730 หน่วย บ้านแฝดจำนวน 4,979 หน่วย และอาคารพาณิชย์จำนวน 1,304 หน่วย ซึ่งเมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับอัตราดูดซับที่ลดต่ำลงมาอยู่ที่ร้อยละ 2.1 ในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2562 และคาดว่าในปี 2563 อัตราดูดซับจะเหลือประมาณร้อยละ 1.1-1.3 และคาดการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยก็จะลดลงมาอยู่ที่ 30,141 หน่วย มูลค่าประมาณ 59,293 ล้านบาท ซึ่งต่ำกว่าค่ามาตรฐานซึ่งมีมูลค่า 64,095 ล้านบาท ลดลงร้อยละ20.0 ด้วยภาพรวมดังกล่าวผู้ประกอบการจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์การเสนอขาย โดยเฉพาะที่อยู่อาศัยประเภทคอนโดมิเนียม และทาวน์เฮาส์ที่มีอัตราการดูดซับชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่องจากช่วงต้นปี 2562 และคาดว่าจะต่อเนื่องมาถึงปี 2563
ข่าวอสังหาริมทรัพย์ภูมิภาค อื่นๆ