อสังหาฯภูธรยอดรีเจคพุ่งลุ้นวิกฤติ โควิด บูมย้ายถิ่น
วันที่ : 25 พฤษภาคม 2563
อสังหาฯโคราช-สงขลา ชี้ โควิด-19 ฉุดยอดปฏิเสธสินเชื่อพุ่งแตะ 70%
ดันความต้องการ ที่อยู่อาศัยขยับ
อสังหาฯโคราช-สงขลา ชี้ โควิด-19 ฉุดยอดปฏิเสธสินเชื่อพุ่งแตะ 70% เหลือเฉพาะข้าราชการที่แบงก์ปล่อยสินเชื่อ หวังโควิดกระตุ้นคนย้ายถิ่น กลับถิ่นฐาน ดันความต้องการที่อยู่อาศัยต่างจังหวัดพุ่ง รองรับอนาคตบูมเศรษฐกิจท้องถิ่น
นายนราทร ธานินพิทักษ์ นายสมาคมอสังหาริมทรัพย์นครราชสีมา เปิดเผยถึงสภาพตลาดอสังหาริมทรัพย์ในจ.นครราชสีมาว่า หลังจากเริ่มมีพระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน (พ.ร.ก.ฉุกเฉิน) ส่งผลกระทบทันทีต่อยอดขายและ การโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยในจ.นครราชสีมา ทำให้ยอดการปฏิเสธสินเชื่อ (Reject) สูงถึง 70% โดยเฉพาะตลาดที่อยู่อาศัยของ ต่างจังหวัดส่วนใหญ่ เป็นกลุ่มระดับกลางและล่างราคา ไม่เกิน 5 ล้านบาท สัดส่วน 60-70% ซึ่งเป็นกลุ่มกำลังซื้อส่วนใหญ่ของตลาด ต่างจังหวัด ทำให้ความต้องการ(ดีมานด์) หาย จากตลาดจำนวนมาก คงเหลือแต่กลุ่มที่มีเงินเดือนประจำ โดยหลักๆ คือกลุ่มข้าราชการ
ทั้งนี้ตลาดอสังหาฯ ในจ.นครราชสีมา เริ่มชะลอตั้งแต่ปลายปี 2562 ภายหลังจากได้รับผลกระทบจากสงครามการค้า ทำให้โรงงานผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์บางแห่งต้องปิดโรงงาน ทำให้มีกลุ่มผู้มีรายได้ประจำได้รับผลกระทบ จึงทำให้อัตราการดูดซับ ที่อยู่อาศัยในตลาดชะลอตัวมาโดยตลอด
อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการอสังหาฯ ในจังหวัดยังประคองตัวได้ เนื่องจากมีการลงทุนอย่างระมัดระวัง ไม่ลงทุนโครงการขนาดใหญ่ ส่วนใหญ่จะรอให้จบโครงการก่อน ค่อยเปิดโครงการใหม่ แต่สิ่งที่น่ากังวลคือ กำลังซื้อในราคาระดับกลางถึงล่าง ได้รับ ผลกระทบจากพ.ร.ก.ฉุกเฉิน บางคนต้องตกงาน และหยุดงานทันที จึงทำให้สถาบันการเงิน ไม่อนุมัติสินเชื่อ ทำให้ยอดการปฏิเสธสินเชื่อ สูงกว่า 70% จากเดิมปีที่ผ่านมา ตั้งแต่มีมาตรการการคุมเข้มสินเชื่อ (LTV-Loan to Value) จนถึงสงครามการค้า ทำให้ยอดปฏิเสธสินเชื่ออยู่ที่ 50% "สภาพตลาดอสังหาฯในจ.นครราชสีมา ผู้เล่นในจังหวัดส่วนใหญ่เป็นทุนท้องถิ่น ส่วนผู้เล่นรายใหญ่มาจากส่วนกลางน้อยเพียง 2-3 รายเพราะอัตราการดูดซับจำกัด อาทิ ศุภาลัย, พฤกษา โดยซัพพลายในจังหวัดโดยรวมมีทั้งสิ้น 6,000 ยูนิต มีอัตราดูดซับปีละ 2,700 ยูนิต"
อย่างไรก็ตาม จากที่ได้หารือกับ คณะกรรมการวางแผนป้องกันการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) พบว่า มีการควบคุมโรคระบาดกันอย่างเข้มข้น จนทำให้อัตราการแพร่เชื้อในจังหวัดไม่มีผู้ป่วยใหม่ยังเป็นตัวเลขที่ดี เป็นโอกาสในอนาคตที่จะกลับมาเปิดและขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้ก่อน
สิ่งที่ภาคธุรกิจ รวมถึงภาคอสังหาฯ ได้เตรียมผลักดันคือการใช้วิกฤติให้เป็นโอกาส ใช้ศักยภาพจากการควบคุมการติดต่อ ของไวรัสได้ดี เพื่อยกระดับจังหวัดให้เป็นเมืองที่มีความพร้อมรองรับการเติบโตในจังหวัดที่จะมีคนทั้งแรงงาน และภาคธุรกิจย้ายถิ่นฐานเข้ามาจังหวัด ส่งผลทำให้เกิดความต้องการที่อยู่อาศัยในอนาคต "คาดหวังว่าหลังจากวิกฤติจะใช้จุดแข็ง ของการจัดการควบคุมโรคระบาดได้ดี จนส่งผลทำให้เกิดการเคลื่อนพลครั้งใหญ่ คนทำงานและแรงงานกลับจากกทม. และจังหวัดอื่นๆ ที่มีการว่างงาน ตัดสินใจย้ายภูมิลำเนา จึงเกิดการเปลี่ยนแปลงและ ความต้องการที่อยู่อาศัยตามมา ส่งผลต่อการ เติบโตของยอดขายหลังจากวิกฤติ"
ด้านนายศุภชัย รุจิเรืองโรจน์ นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์สงขลา กล่าวถึงสถานการณ์ในจังหวัดว่า พื้นที่ของจังหวัดถือเป็นศูนย์ราชการ และศูนย์กลางของ ภาคใต้ที่มีพื้นที่ติดชายแดน ซึ่งอัตราการเพิ่ม ของการติดเชื้อ ส่วนใหญ่เกิดจากการ ส่งตัวมารักษา มากกว่าติดเชื้อที่เกิดขึ้นจากในจังหวัด จึงถือว่ามีระบบสาธารณสุขที่มี ความพร้อม และเศรษฐกิจในจังหวัด คนส่วนใหญ่ ได้รับผลกระทบน้อย เพราะคนส่วนใหญ่ในจ.สงขลา เป็นกลุ่มที่มีพื้นฐานเศรษฐกิจ ที่แข็งแกร่ง หรือมีฐานะส่วนใหญ่มาจากการทำธุรกิจและด้านการเกษตร
อีกทั้ง ผู้พัฒนาอสังหาฯประเภทที่อยู่อาศัย ส่วนใหญ่ จะเป็นผู้ประกอบการท้องถิ่นที่มีที่ดินอยู่แล้ว และไม่เร่งรีบพัฒนาจึงไม่ได้รับผลกระทบ ส่วนรายใหญ่ต่างถิ่นจากกทม. มีรายเดียวคือ แสนสิริ พัฒนาคอนโดมิเนียม 5 ปีที่ผ่านมา มีแนวโน้มจะพัฒนาโครงการต่อเนื่อง แต่ปัจจุบันยังไม่พบความคืบหน้า อาจจะเป็นเพราะสภาวะเศรษฐกิจเป็นหลัก ซึ่งปัจจุบันจ.สงขลามีซัพพลายในตลาด 2,000 กว่าหน่วยมีอัตราการดูดซับช้า
ทั้งนี้สถานการณ์โควิด-19 ทำให้ยอดขาย และโอนกรรมสิทธิ์ค่อนข้างชะลอตัว ยอดปฏิเสธ สินเชื่อสูงถึง 60-70% เนื่องจากผู้ซื้อชะลอการตัดสินใจในช่วงที่สภาวะเศรษฐกิจ ไม่เอื้ออำนวย ขณะเดียวกันผู้ประกอบการ ที่มีแผนเปิดตัวโครงการใหม่ก็ชะลอ ออกไปก่อน
อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากโควิด-19 คาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงของความต้องการที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะคนเมือง หรือ ที่อยู่อาศัยในที่แออัด อาจจะเปลี่ยนไปต้องการจังหวัดที่ไม่หนาแน่นจนเกินไป โดยคาดว่า จะมีทั้งต่างชาติเข้ามาในไทย รวมถึงคนต่างถิ่น ต้องการย้ายถิ่นฐานไปอยู่ในจังหวัด หรือ เมืองที่มีระบบการรักษาพยาบาลพร้อม เชื่อว่าจ.สงขลา เป็นหนึ่งในศูนย์กลางราชการ ผลักดันตลาดอสังหาฯ
อสังหาฯโคราช-สงขลา ชี้ โควิด-19 ฉุดยอดปฏิเสธสินเชื่อพุ่งแตะ 70% เหลือเฉพาะข้าราชการที่แบงก์ปล่อยสินเชื่อ หวังโควิดกระตุ้นคนย้ายถิ่น กลับถิ่นฐาน ดันความต้องการที่อยู่อาศัยต่างจังหวัดพุ่ง รองรับอนาคตบูมเศรษฐกิจท้องถิ่น
นายนราทร ธานินพิทักษ์ นายสมาคมอสังหาริมทรัพย์นครราชสีมา เปิดเผยถึงสภาพตลาดอสังหาริมทรัพย์ในจ.นครราชสีมาว่า หลังจากเริ่มมีพระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน (พ.ร.ก.ฉุกเฉิน) ส่งผลกระทบทันทีต่อยอดขายและ การโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยในจ.นครราชสีมา ทำให้ยอดการปฏิเสธสินเชื่อ (Reject) สูงถึง 70% โดยเฉพาะตลาดที่อยู่อาศัยของ ต่างจังหวัดส่วนใหญ่ เป็นกลุ่มระดับกลางและล่างราคา ไม่เกิน 5 ล้านบาท สัดส่วน 60-70% ซึ่งเป็นกลุ่มกำลังซื้อส่วนใหญ่ของตลาด ต่างจังหวัด ทำให้ความต้องการ(ดีมานด์) หาย จากตลาดจำนวนมาก คงเหลือแต่กลุ่มที่มีเงินเดือนประจำ โดยหลักๆ คือกลุ่มข้าราชการ
ทั้งนี้ตลาดอสังหาฯ ในจ.นครราชสีมา เริ่มชะลอตั้งแต่ปลายปี 2562 ภายหลังจากได้รับผลกระทบจากสงครามการค้า ทำให้โรงงานผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์บางแห่งต้องปิดโรงงาน ทำให้มีกลุ่มผู้มีรายได้ประจำได้รับผลกระทบ จึงทำให้อัตราการดูดซับ ที่อยู่อาศัยในตลาดชะลอตัวมาโดยตลอด
อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการอสังหาฯ ในจังหวัดยังประคองตัวได้ เนื่องจากมีการลงทุนอย่างระมัดระวัง ไม่ลงทุนโครงการขนาดใหญ่ ส่วนใหญ่จะรอให้จบโครงการก่อน ค่อยเปิดโครงการใหม่ แต่สิ่งที่น่ากังวลคือ กำลังซื้อในราคาระดับกลางถึงล่าง ได้รับ ผลกระทบจากพ.ร.ก.ฉุกเฉิน บางคนต้องตกงาน และหยุดงานทันที จึงทำให้สถาบันการเงิน ไม่อนุมัติสินเชื่อ ทำให้ยอดการปฏิเสธสินเชื่อ สูงกว่า 70% จากเดิมปีที่ผ่านมา ตั้งแต่มีมาตรการการคุมเข้มสินเชื่อ (LTV-Loan to Value) จนถึงสงครามการค้า ทำให้ยอดปฏิเสธสินเชื่ออยู่ที่ 50% "สภาพตลาดอสังหาฯในจ.นครราชสีมา ผู้เล่นในจังหวัดส่วนใหญ่เป็นทุนท้องถิ่น ส่วนผู้เล่นรายใหญ่มาจากส่วนกลางน้อยเพียง 2-3 รายเพราะอัตราการดูดซับจำกัด อาทิ ศุภาลัย, พฤกษา โดยซัพพลายในจังหวัดโดยรวมมีทั้งสิ้น 6,000 ยูนิต มีอัตราดูดซับปีละ 2,700 ยูนิต"
อย่างไรก็ตาม จากที่ได้หารือกับ คณะกรรมการวางแผนป้องกันการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) พบว่า มีการควบคุมโรคระบาดกันอย่างเข้มข้น จนทำให้อัตราการแพร่เชื้อในจังหวัดไม่มีผู้ป่วยใหม่ยังเป็นตัวเลขที่ดี เป็นโอกาสในอนาคตที่จะกลับมาเปิดและขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้ก่อน
สิ่งที่ภาคธุรกิจ รวมถึงภาคอสังหาฯ ได้เตรียมผลักดันคือการใช้วิกฤติให้เป็นโอกาส ใช้ศักยภาพจากการควบคุมการติดต่อ ของไวรัสได้ดี เพื่อยกระดับจังหวัดให้เป็นเมืองที่มีความพร้อมรองรับการเติบโตในจังหวัดที่จะมีคนทั้งแรงงาน และภาคธุรกิจย้ายถิ่นฐานเข้ามาจังหวัด ส่งผลทำให้เกิดความต้องการที่อยู่อาศัยในอนาคต "คาดหวังว่าหลังจากวิกฤติจะใช้จุดแข็ง ของการจัดการควบคุมโรคระบาดได้ดี จนส่งผลทำให้เกิดการเคลื่อนพลครั้งใหญ่ คนทำงานและแรงงานกลับจากกทม. และจังหวัดอื่นๆ ที่มีการว่างงาน ตัดสินใจย้ายภูมิลำเนา จึงเกิดการเปลี่ยนแปลงและ ความต้องการที่อยู่อาศัยตามมา ส่งผลต่อการ เติบโตของยอดขายหลังจากวิกฤติ"
ด้านนายศุภชัย รุจิเรืองโรจน์ นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์สงขลา กล่าวถึงสถานการณ์ในจังหวัดว่า พื้นที่ของจังหวัดถือเป็นศูนย์ราชการ และศูนย์กลางของ ภาคใต้ที่มีพื้นที่ติดชายแดน ซึ่งอัตราการเพิ่ม ของการติดเชื้อ ส่วนใหญ่เกิดจากการ ส่งตัวมารักษา มากกว่าติดเชื้อที่เกิดขึ้นจากในจังหวัด จึงถือว่ามีระบบสาธารณสุขที่มี ความพร้อม และเศรษฐกิจในจังหวัด คนส่วนใหญ่ ได้รับผลกระทบน้อย เพราะคนส่วนใหญ่ในจ.สงขลา เป็นกลุ่มที่มีพื้นฐานเศรษฐกิจ ที่แข็งแกร่ง หรือมีฐานะส่วนใหญ่มาจากการทำธุรกิจและด้านการเกษตร
อีกทั้ง ผู้พัฒนาอสังหาฯประเภทที่อยู่อาศัย ส่วนใหญ่ จะเป็นผู้ประกอบการท้องถิ่นที่มีที่ดินอยู่แล้ว และไม่เร่งรีบพัฒนาจึงไม่ได้รับผลกระทบ ส่วนรายใหญ่ต่างถิ่นจากกทม. มีรายเดียวคือ แสนสิริ พัฒนาคอนโดมิเนียม 5 ปีที่ผ่านมา มีแนวโน้มจะพัฒนาโครงการต่อเนื่อง แต่ปัจจุบันยังไม่พบความคืบหน้า อาจจะเป็นเพราะสภาวะเศรษฐกิจเป็นหลัก ซึ่งปัจจุบันจ.สงขลามีซัพพลายในตลาด 2,000 กว่าหน่วยมีอัตราการดูดซับช้า
ทั้งนี้สถานการณ์โควิด-19 ทำให้ยอดขาย และโอนกรรมสิทธิ์ค่อนข้างชะลอตัว ยอดปฏิเสธ สินเชื่อสูงถึง 60-70% เนื่องจากผู้ซื้อชะลอการตัดสินใจในช่วงที่สภาวะเศรษฐกิจ ไม่เอื้ออำนวย ขณะเดียวกันผู้ประกอบการ ที่มีแผนเปิดตัวโครงการใหม่ก็ชะลอ ออกไปก่อน
อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากโควิด-19 คาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงของความต้องการที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะคนเมือง หรือ ที่อยู่อาศัยในที่แออัด อาจจะเปลี่ยนไปต้องการจังหวัดที่ไม่หนาแน่นจนเกินไป โดยคาดว่า จะมีทั้งต่างชาติเข้ามาในไทย รวมถึงคนต่างถิ่น ต้องการย้ายถิ่นฐานไปอยู่ในจังหวัด หรือ เมืองที่มีระบบการรักษาพยาบาลพร้อม เชื่อว่าจ.สงขลา เป็นหนึ่งในศูนย์กลางราชการ ผลักดันตลาดอสังหาฯ
ข่าวอสังหาริมทรัพย์ภูมิภาค อื่นๆ