โควิด ฉุดยอดอสังหาฯแบกสต็อก9.8หมื่นยูนิต
วันที่ : 2 เมษายน 2563
REIC เผย วิกฤติโควิด ส่งผลกระทบ ตลาดอสังหาฯ ไทย
ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ห่วงวิกฤติโควิด ทำผู้ประกอบการแบกสต็อก ระหว่างก่อสร้างอ่วม 9.8 หมื่นหน่วย เหตุเศรษฐกิจทั่วโลกถดถอยฉุดยอดขาย แนะรัฐกระตุ้นกำลังซื้อใหม่ ผ่อนปรนเกณฑ์คุมแบงก์ ใช้วีซ่าจูงใจต่างชาติเร่งโอน
นายวิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เปิดเผยแนวโน้มภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ใน ปี 2563 และในอนาคตท่ามกลางวิกฤติ โควิด-19 ซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ และสังคมไปทั่วโลกว่า สิ่งที่ต้องเกาะติดสถานการณ์คือ ปริมาณ ที่อยู่อาศัยเหลือขายทั่วประเทศ ณ สิ้นปี 2562 มีประมาณ 300,000 หน่วย เพิ่มขึ้นจากปีก่อน10%
แบ่งเป็นหน่วยเหลือขายสร้างเสร็จแล้ว ประมาณ 68,000 หน่วย หรือเพิ่มขึ้นจากปีก่อนประมาณ 12% แยกเป็นอาคารชุด (คอนโดมิเนียม) 30,000 หน่วย เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 2% โดยสัดส่วน 2 ใน 3 อยู่ในกรุงเทพฯและปริมณฑล โดยหน่วยเหลือขายสร้างเสร็จที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่จะเป็นประเภทบ้าน (โครงการแนวราบ) จำนวนรวม 38,000 หน่วย เพิ่มขึ้นจากปีก่อนถึง 21% เป็นผลมาจากผู้ประกอบการปรับตัวไปหาความต้องการอยู่อาศัยแท้จริง (Real Demand) ป้องกันความเสี่ยงที่จะส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องและต้นทุนธุรกิจ
อย่างไรก็ตาม ต้องจับตา คือ จำนวนหน่วยเหลือขายที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง ที่มีประมาณ 98,000 หน่วย แบ่งเป็นอาคารชุด 47,000 หน่วยโดยสัดส่วน 3 ใน 4 อยู่ในกรุงเทพฯและปริมณฑล และบ้าน ประมาณ 51,000 หน่วย โดยสัดส่วนครึ่งหนึ่งอยู่ในกรุงเทพฯและปริมณฑล ซึ่งหน่วยเหลือขายที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง จะต้องบริหารจัดการท่ามกลาง ความเสี่ยงของวิกฤติโควิด-19 ทำให้เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอย
"หน่วยเหลือขายที่อยู่กำลังก่อสร้าง และกำลังจะเสร็จในอีก 1-2 ปีข้างหน้า เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการ ต้องทำการขายให้ได้ก่อนที่จะก่อสร้างเสร็จ ถือเป็นภาระที่หนักอึ้งของ ผู้ประกอบการภายใต้สถานการณ์ในปัจจุบัน"
เขายังกล่าวว่า ยอดโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยทั่วประเทศในเดือน ม.ค. 2563 คิดเป็นจำนวนลดลง 0.5% เมื่อเทียบกับปีก่อน คิดเป็นมูลค่าสูงขึ้น 3.9% เมื่อเทียบกับปีก่อน ส่วนใหญ่เป็นบ้าน เพิ่มขึ้น 2.8% แต่การโอนอาคารชุดลดลง 6.9% ส่วนใหญ่ เป็นผลจากต่างชาติโอนลดลงเมื่อเกิดภาวะโรคระบาดโควิด-19
ผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ยังเสนอให้ภาครัฐ กระตุ้นกำลังซื้อใหม่ๆ ให้เข้ามาเสริม ตลาดอสังหาฯ ให้ขับเคลื่อนได้ โดยใช้มาตรการกระตุ้นกำลังซื้อให้ผู้ที่มีเงินเก็บสะสมมาลงทุนด้าน อสังหาฯในภาวะที่ดอกเบี้ยต่ำ รวมไปถึงเพิ่มแรงจูงใจให้กลุ่ม ผู้ซื้อบ้าน Real Demand เพื่อช่วย ระบายสต็อกที่กำลังเพิ่มในตลาด รวมถึงกระตุ้นให้เร่งโอนฯ โดยเลื่อนการใช้มาตรการคุมเข้มสินเชื่อ และกำกับดูแลสถาบันการเงิน (Macroprudential) เพื่อให้ประชาชน เข้าถึงแหล่งเงินกู้ได้ง่ายขึ้น รวมไปถึงการจูงใจให้ต่างชาติเร่งการโอน โดยใช้วีซ่าเป็นแรงจูงใจ
"ภาคอสังหาริมทรัพย์ในวันนี้ นับเป็นเรื่องที่ยากลำบาก จึงต้อง ผลักดันโมเมนตัมของระบบ เศรษฐกิจให้การขับเคลื่อนไปได้อย่างลื่นไหล ผู้ประกอบการอสังหาฯ จึงต้องอดทนและรอบคอบเพื่อผ่านสถานการณ์เช่นนี้ไปด้วยกัน" นายวิชัย กล่าว
ผู้ประกอบการอสังหาฯต้องอดทนและรอบคอบเพื่อผ่านสถานการณ์นี้ไปด้วยกัน
นายวิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เปิดเผยแนวโน้มภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ใน ปี 2563 และในอนาคตท่ามกลางวิกฤติ โควิด-19 ซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ และสังคมไปทั่วโลกว่า สิ่งที่ต้องเกาะติดสถานการณ์คือ ปริมาณ ที่อยู่อาศัยเหลือขายทั่วประเทศ ณ สิ้นปี 2562 มีประมาณ 300,000 หน่วย เพิ่มขึ้นจากปีก่อน10%
แบ่งเป็นหน่วยเหลือขายสร้างเสร็จแล้ว ประมาณ 68,000 หน่วย หรือเพิ่มขึ้นจากปีก่อนประมาณ 12% แยกเป็นอาคารชุด (คอนโดมิเนียม) 30,000 หน่วย เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 2% โดยสัดส่วน 2 ใน 3 อยู่ในกรุงเทพฯและปริมณฑล โดยหน่วยเหลือขายสร้างเสร็จที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่จะเป็นประเภทบ้าน (โครงการแนวราบ) จำนวนรวม 38,000 หน่วย เพิ่มขึ้นจากปีก่อนถึง 21% เป็นผลมาจากผู้ประกอบการปรับตัวไปหาความต้องการอยู่อาศัยแท้จริง (Real Demand) ป้องกันความเสี่ยงที่จะส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องและต้นทุนธุรกิจ
อย่างไรก็ตาม ต้องจับตา คือ จำนวนหน่วยเหลือขายที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง ที่มีประมาณ 98,000 หน่วย แบ่งเป็นอาคารชุด 47,000 หน่วยโดยสัดส่วน 3 ใน 4 อยู่ในกรุงเทพฯและปริมณฑล และบ้าน ประมาณ 51,000 หน่วย โดยสัดส่วนครึ่งหนึ่งอยู่ในกรุงเทพฯและปริมณฑล ซึ่งหน่วยเหลือขายที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง จะต้องบริหารจัดการท่ามกลาง ความเสี่ยงของวิกฤติโควิด-19 ทำให้เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอย
"หน่วยเหลือขายที่อยู่กำลังก่อสร้าง และกำลังจะเสร็จในอีก 1-2 ปีข้างหน้า เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการ ต้องทำการขายให้ได้ก่อนที่จะก่อสร้างเสร็จ ถือเป็นภาระที่หนักอึ้งของ ผู้ประกอบการภายใต้สถานการณ์ในปัจจุบัน"
เขายังกล่าวว่า ยอดโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยทั่วประเทศในเดือน ม.ค. 2563 คิดเป็นจำนวนลดลง 0.5% เมื่อเทียบกับปีก่อน คิดเป็นมูลค่าสูงขึ้น 3.9% เมื่อเทียบกับปีก่อน ส่วนใหญ่เป็นบ้าน เพิ่มขึ้น 2.8% แต่การโอนอาคารชุดลดลง 6.9% ส่วนใหญ่ เป็นผลจากต่างชาติโอนลดลงเมื่อเกิดภาวะโรคระบาดโควิด-19
ผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ยังเสนอให้ภาครัฐ กระตุ้นกำลังซื้อใหม่ๆ ให้เข้ามาเสริม ตลาดอสังหาฯ ให้ขับเคลื่อนได้ โดยใช้มาตรการกระตุ้นกำลังซื้อให้ผู้ที่มีเงินเก็บสะสมมาลงทุนด้าน อสังหาฯในภาวะที่ดอกเบี้ยต่ำ รวมไปถึงเพิ่มแรงจูงใจให้กลุ่ม ผู้ซื้อบ้าน Real Demand เพื่อช่วย ระบายสต็อกที่กำลังเพิ่มในตลาด รวมถึงกระตุ้นให้เร่งโอนฯ โดยเลื่อนการใช้มาตรการคุมเข้มสินเชื่อ และกำกับดูแลสถาบันการเงิน (Macroprudential) เพื่อให้ประชาชน เข้าถึงแหล่งเงินกู้ได้ง่ายขึ้น รวมไปถึงการจูงใจให้ต่างชาติเร่งการโอน โดยใช้วีซ่าเป็นแรงจูงใจ
"ภาคอสังหาริมทรัพย์ในวันนี้ นับเป็นเรื่องที่ยากลำบาก จึงต้อง ผลักดันโมเมนตัมของระบบ เศรษฐกิจให้การขับเคลื่อนไปได้อย่างลื่นไหล ผู้ประกอบการอสังหาฯ จึงต้องอดทนและรอบคอบเพื่อผ่านสถานการณ์เช่นนี้ไปด้วยกัน" นายวิชัย กล่าว
ผู้ประกอบการอสังหาฯต้องอดทนและรอบคอบเพื่อผ่านสถานการณ์นี้ไปด้วยกัน
ข่าว reic จากสื่อสิ่งพิมพ์ อื่นๆ