ศขอ.ปรับลดประมาณการอสังหาฯโต3-5%
วันที่ : 26 กุมภาพันธ์ 2563
ศูนย์ข้อมูลฯ ปรับลดประมาณการตลาดอสังหาฯปี 63 โต 3-5% จากเดิมคาดการณ์ 5-7%
ศูนย์ข้อมูลฯ ปรับลดประมาณการตลาดอสังหาฯปี 63 โต 3-5% จากเดิมคาดการณ์ 5-7% ด้านนักวิชาการเชื่อจีนคุมไวรัสได้เร็วหนุนท่องเที่ยว เศรษฐกิจฟื้นได้ในครึ่งปีหลัง
สมาคมอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งได้แก่ สมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย สมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร และสมาคมอาคารชุดไทย จัดสัมมนาใหญ่ประจำปี 2563 ภายใต้เรื่อง "อสังหาริมทรัพย์ ดัชนีหลักชี้เศรษฐกิจปี 2020" โดยนายปริญญา พัฒนภักดี ประธานกรรมการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และประธานกรรมการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ประธานกล่าวเปิดงานว่า รัฐบาลมีมาตรการเพื่อสนับสนุนภาคอสังหาริมทรัพย์โดยผ่านกระทรวงการคลัง กระทรวงต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐมาอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าในภาวะปัจจุบันเศรษฐกิจ ไทยกำลังเผชิญกับความท้าทายจากปัจจัยลบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยภายนอกประเทศ เช่น ความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน และสภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว และส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกของไทย สถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ที่ส่งผลกระทบต่อภาคการท่องเที่ยว และปัจจัยภายในประเทศ สถานการณ์ภัยแล้งและความล่าช้าของ พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ 2563 แต่เศรษฐกิจไทยยังคงมีพื้นฐานที่แข็งแกร่ง สะท้อนได้จากการปรับมุมมองของสถาบันจัดอันดับเครดิตชั้นนำต่างๆ ที่ปรับมุมมองความน่าเชื่อถือที่มีต่อเศรษฐกิจไทยดีขึ้นจากมุมมองที่มีเสถียรภาพ หรือ Stable เป็นมุมมองเชิงบวก หรือ Positive
ทั้งนี้ แม้ว่าทิศทางตลาดอสังหาริมทรัพย์ แม้ว่าจะชะลอตัวลงบ้าง แต่ไม่ได้ถึงขั้นต้องน่ากังวล โดยยังมีปัจจัยบวก ได้แก่ นโยบายและมาตรการด้านอสังหาริมทรัพย์ของรัฐบาลตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น และปัจจัยทางอ้อม เช่น การ ปรับลดอัตราดอกเบี้ยส่งผลให้ประชาชนสามารถขอวงเงินกู้ซื้อบ้านได้เพิ่มขึ้น
ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (ศขอ.) กล่าวว่า ศขอ.ปรับลดประมาณการตลาดอสังหาริมทรัพย์ปี 2563 โดยคาดว่าตลาดอสังหาริมทรัพย์ปี 2563 จะมีอัตราการเติบโตประมาณ 3-5% จากเดิมคาดว่าจะโต 5-7% โดยจะมีหน่วยโอนกรรมสิทธิ์ทั่วประเทศกรณีที่เป็น base case หรือมีปัจจัยบวกอยู่ที่ประมาณ 356,661 หน่วย ลดลงร้อยละ-4.5 เมื่อเทียบกับปี 2562 โดยมีช่วงคาดการณ์ 320,995-387,927 หน่วย จะเปลี่ยนแปลงระหว่างร้อยละ -14.0 (worst case) ถึงร้อยละ +3.9 (best case) และมูลค่าอยู่ที่ประมาณbase case อยู่ที่ประมาณ 822,144 ลบ. ลดลงร้อยละ -6.1 เมื่อเทียบกับปี 2562 โดยมีช่วงคาดการณ์ 739,929-899,515 ลบ. จะเปลี่ยนแปลงระหว่างร้อยละ -15.5 (worst case) ถึง ร้อยละ +2.8% (best case)
ด้าน ดร.สมประวิณ มันประเสริฐ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงานวิจัย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบจากปัจจัยลบมาอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะมีพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ดี มีเงินทุนสำรองเป็นลำดับต้นๆ ของโลก ปัจจัยลบเริ่มตั้งแต่ การที่ พ.ร.บ.งบประมาณปี 2563 ล่าช้าเกือบครึ่งปีส่งผลให้โครงการต่างๆ ล่าช้า ทำให้เม็ดเงินงบประมาณในปีนี้หายไปประมาณ 1.5 แสนล้านบาท จากเดิมที่คาดว่าจะมีเม็ดเงินใช้จ่ายจากภาครัฐประมาณ 4 แสนล้าน เหลือเพียง 2.5 แสนล้านบาท ซึ่งส่งผลกระทบต่อ GDP หายไป 0.1%
ทั้งนี้ ความล่าช้าของ พ.ร.บ.งบประมาณส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติ เพราะเกรงว่าโครงการที่รัฐบาลประกาศลงทุนไปนั้นจะเกิดขึ้นหรือไม่ ซึ่งเราต้องทำความเข้าใจกับนักลงทุน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่าโครง การที่เลื่อนไปนั้นแค่ล่าช้าออกไป ไม่ได้ถูกยกเลิกแต่อย่างใด" ดร.สมประวิณ กล่าว
นอกจากนี้ ยังได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 ซึ่งกระทบไปทั่วโลก โดยคาดว่าจะส่งผลกระทบต่อ GDP ของไทยประมาณ 0.1% ขณะที่จีนกระทบ 1% อย่างไรก็ตาม ไวรัสโควิด-19 มีความร้ายแรงน้อยกว่าโรคซาร์สมากมีอัตราการ ตายน้อยกว่า แต่ที่ส่งผลกระทบมากกว่าเนื่องจาก ปัจจุบันจีนใหญ่มากสำหรับเศรษฐกิจโลก ช่วงที่เกิดโรคซาร์สการท่องเที่ยวของจีนมีเพียง 3% แต่ปัจจุบันสูงถึง 25% ทำให้ผลกระทบรุนแรงกว่า
ทั้งนี้เชื่อว่าจีนจะสามารถควบคุมไวรัสได้เร็วเมื่อพิจารณาจากสถิติพบว่าอัตราการเกิดโรคใหม่ลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าจีนจะสามารถควบคุมไวรัสได้ภายในเดือนเมษายนหรือพฤษภาคม ซึ่งหลังจากนั้นการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจจะกลับมาฟื้นตัวได้ โดยเฉพาะธุรกิจชิ้นส่วนรถยนต์ที่ได้ประโยชน์เมื่อที่ประสบ ปัญหาไวรัสในจีนเป็นเมืองอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนรถยนต์
สมาคมอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งได้แก่ สมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย สมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร และสมาคมอาคารชุดไทย จัดสัมมนาใหญ่ประจำปี 2563 ภายใต้เรื่อง "อสังหาริมทรัพย์ ดัชนีหลักชี้เศรษฐกิจปี 2020" โดยนายปริญญา พัฒนภักดี ประธานกรรมการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และประธานกรรมการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ประธานกล่าวเปิดงานว่า รัฐบาลมีมาตรการเพื่อสนับสนุนภาคอสังหาริมทรัพย์โดยผ่านกระทรวงการคลัง กระทรวงต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐมาอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าในภาวะปัจจุบันเศรษฐกิจ ไทยกำลังเผชิญกับความท้าทายจากปัจจัยลบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยภายนอกประเทศ เช่น ความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน และสภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว และส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกของไทย สถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ที่ส่งผลกระทบต่อภาคการท่องเที่ยว และปัจจัยภายในประเทศ สถานการณ์ภัยแล้งและความล่าช้าของ พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ 2563 แต่เศรษฐกิจไทยยังคงมีพื้นฐานที่แข็งแกร่ง สะท้อนได้จากการปรับมุมมองของสถาบันจัดอันดับเครดิตชั้นนำต่างๆ ที่ปรับมุมมองความน่าเชื่อถือที่มีต่อเศรษฐกิจไทยดีขึ้นจากมุมมองที่มีเสถียรภาพ หรือ Stable เป็นมุมมองเชิงบวก หรือ Positive
ทั้งนี้ แม้ว่าทิศทางตลาดอสังหาริมทรัพย์ แม้ว่าจะชะลอตัวลงบ้าง แต่ไม่ได้ถึงขั้นต้องน่ากังวล โดยยังมีปัจจัยบวก ได้แก่ นโยบายและมาตรการด้านอสังหาริมทรัพย์ของรัฐบาลตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น และปัจจัยทางอ้อม เช่น การ ปรับลดอัตราดอกเบี้ยส่งผลให้ประชาชนสามารถขอวงเงินกู้ซื้อบ้านได้เพิ่มขึ้น
ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (ศขอ.) กล่าวว่า ศขอ.ปรับลดประมาณการตลาดอสังหาริมทรัพย์ปี 2563 โดยคาดว่าตลาดอสังหาริมทรัพย์ปี 2563 จะมีอัตราการเติบโตประมาณ 3-5% จากเดิมคาดว่าจะโต 5-7% โดยจะมีหน่วยโอนกรรมสิทธิ์ทั่วประเทศกรณีที่เป็น base case หรือมีปัจจัยบวกอยู่ที่ประมาณ 356,661 หน่วย ลดลงร้อยละ-4.5 เมื่อเทียบกับปี 2562 โดยมีช่วงคาดการณ์ 320,995-387,927 หน่วย จะเปลี่ยนแปลงระหว่างร้อยละ -14.0 (worst case) ถึงร้อยละ +3.9 (best case) และมูลค่าอยู่ที่ประมาณbase case อยู่ที่ประมาณ 822,144 ลบ. ลดลงร้อยละ -6.1 เมื่อเทียบกับปี 2562 โดยมีช่วงคาดการณ์ 739,929-899,515 ลบ. จะเปลี่ยนแปลงระหว่างร้อยละ -15.5 (worst case) ถึง ร้อยละ +2.8% (best case)
ด้าน ดร.สมประวิณ มันประเสริฐ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงานวิจัย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบจากปัจจัยลบมาอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะมีพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ดี มีเงินทุนสำรองเป็นลำดับต้นๆ ของโลก ปัจจัยลบเริ่มตั้งแต่ การที่ พ.ร.บ.งบประมาณปี 2563 ล่าช้าเกือบครึ่งปีส่งผลให้โครงการต่างๆ ล่าช้า ทำให้เม็ดเงินงบประมาณในปีนี้หายไปประมาณ 1.5 แสนล้านบาท จากเดิมที่คาดว่าจะมีเม็ดเงินใช้จ่ายจากภาครัฐประมาณ 4 แสนล้าน เหลือเพียง 2.5 แสนล้านบาท ซึ่งส่งผลกระทบต่อ GDP หายไป 0.1%
ทั้งนี้ ความล่าช้าของ พ.ร.บ.งบประมาณส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติ เพราะเกรงว่าโครงการที่รัฐบาลประกาศลงทุนไปนั้นจะเกิดขึ้นหรือไม่ ซึ่งเราต้องทำความเข้าใจกับนักลงทุน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่าโครง การที่เลื่อนไปนั้นแค่ล่าช้าออกไป ไม่ได้ถูกยกเลิกแต่อย่างใด" ดร.สมประวิณ กล่าว
นอกจากนี้ ยังได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 ซึ่งกระทบไปทั่วโลก โดยคาดว่าจะส่งผลกระทบต่อ GDP ของไทยประมาณ 0.1% ขณะที่จีนกระทบ 1% อย่างไรก็ตาม ไวรัสโควิด-19 มีความร้ายแรงน้อยกว่าโรคซาร์สมากมีอัตราการ ตายน้อยกว่า แต่ที่ส่งผลกระทบมากกว่าเนื่องจาก ปัจจุบันจีนใหญ่มากสำหรับเศรษฐกิจโลก ช่วงที่เกิดโรคซาร์สการท่องเที่ยวของจีนมีเพียง 3% แต่ปัจจุบันสูงถึง 25% ทำให้ผลกระทบรุนแรงกว่า
ทั้งนี้เชื่อว่าจีนจะสามารถควบคุมไวรัสได้เร็วเมื่อพิจารณาจากสถิติพบว่าอัตราการเกิดโรคใหม่ลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าจีนจะสามารถควบคุมไวรัสได้ภายในเดือนเมษายนหรือพฤษภาคม ซึ่งหลังจากนั้นการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจจะกลับมาฟื้นตัวได้ โดยเฉพาะธุรกิจชิ้นส่วนรถยนต์ที่ได้ประโยชน์เมื่อที่ประสบ ปัญหาไวรัสในจีนเป็นเมืองอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนรถยนต์
ข่าว reic จากสื่อสิ่งพิมพ์ อื่นๆ