ศูนย์ข้อมูลคาดอสังหาฯปี63โต5-7% ได้แรงหนุนมาตรการ-ดอกเบี้ยต่ำ-ผ่อนLTV
วันที่ : 14 กุมภาพันธ์ 2563
ศูนย์ข้อมูลฯ คาดการณ์แนวโน้มตลาดอสังหาฯ ปี 63 โต 5-7%
ศูนย์ข้อมูลฯ คาดการณ์แนวโน้มตลาดอสังหาฯ ปี 63 โต 5-7% จากแรงหนุนมาตรการกระตุ้นอสังหาฯ ธปท.ผ่อนปรนมาตรการ LTV คาดยอดโอน 372,500 หน่วย ขณะที่สต๊อก ณ สิ้นปี 62 ลดลงเหลือ 258,000 หน่วย ด้านประธานบอร์ดเดินหน้าผลักดันเป็นศูนย์อสังหาฯแห่งชาติ
นายวิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) และรักษาการผู้อำนวยการ ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติ (ศขอ.) เปิดเผยถึงทิศทางตลาดที่อยู่อาศัยปี 2563 ว่า แนวโน้มยังคงมีการขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง จากมาตรการภาครัฐ 3 มาตรการ ได้แก่ ลดหย่อนภาษีบ้านหลังแรกไม่เกิน 2 แสนบาท, มาตรการลดค่าธรรมเนียมการโอนและ จดจำนอง เหลือประเภทละ 0.01% สำหรับบ้านไม่เกิน 3 ล้านบาท ส่งผลให้การโอนกรรมสิทธิ์ทั่วประเทศปรับตัวดีขึ้น
สำหรับตัวเลขการโอนกรรมสิทธิ์ ในปี 2562 ปรับตัวดีขึ้นจากปี 2561 ได้ โดยมีจำนวน 373,365 หน่วย มูลค่าการ 875,189 ล้านบาท ซึ่งมีการขยายตัวจากปี 2561 ถึง 2.7% (จำนวนหน่วย) และ 4.3% (จำนวนมูลค่า) จากเดิมที่คาดการณ์ว่าจะต้องติดลบถึง -8.4% และ -8.2%
ทั้งนี้ ศูนย์ข้อมูลฯ คาดการณ์ว่าในปี 63 จะเติบโตประมาณ 5-7% จากปัจจัยบวกด้านอัตราดอกเบี้ยต่ำ ประกอบกับมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ของรัฐบาล รวมถึง การผ่อนปรนเกณฑ์ควบคุมสินเชื่อ (LTV) ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) โดยคาดการณ์ยอดโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยทุกประเภททั่วประเทศในปี 2563 จะอยู่ที่ประมาณ 372,500 หน่วย คิดเป็นลดลงประมาณ 0.2% จากปีก่อน หรือมีมูลค่า 853,100 ล้านบาท กรณีที่มีปัจจัยลบกระทบตลาดมากที่สุด และเพิ่มขึ้นสูงสุด 7.3% หรือ 400,660 หน่วยจากปีก่อนหากมีปัจจัยบวกมากที่สุด โดยมีมูลค่า 917,100 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม ในปี 2563 ยังมีปัจจัยลบจากภาวะเศรษฐกิจอยู่ในช่วงชะลอตัว รวมถึงสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน และการระบาดของไวรัสโคโรนา ซึ่งจะส่งผลกระทบให้ภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ลดลงประมาณ 0.2% เนื่องจากประเมินว่าอาจมีลูกค้าชาวจีนชะลอการโอนกรรมสิทธิ์ประมาณ 7,000 ล้านบาท จากมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์เฉลี่ยในช่วงปี 61 และ 62 ประมาณ 29,000 ล้านบาทต่อปี ซึ่งปัจจุบันมีสัดส่วนลูกค้าจีนโอนกรรมสิทธิ์อยู่ที่ประมาณ 6% ต่อปีของตลาดรวม
สำหรับจำนวนที่อยู่อาศัยที่จะเปิดตัวโครงการใหม่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑลในปี 2563 จะอยู่ประมาณ 114,400-122,600 หน่วย แบ่งเป็นห้องชุดประมาณ 55% หรือประมาณ 62,900-67,400 หน่วย ส่วนที่เหลือประมาณ 45% เป็นบ้านจัดสรร ขณะเดียวกัน ณ สิ้นปี 2562 มีสต๊อกคงค้างในตลาดจำนวน 258,000 หน่วย มูลค่ารวมประมาณ 1.37 ล้านล้านบาท ซึ่งหากยังมีมาตรการต่างๆ ของรัฐบาล ดอกเบี้ยต่ำ รวมถึงการผ่อนปรน LTV และผู้ประกอบการชะลอแผนลงทุน ก็เชื่อว่าสต๊อกในตลาดจะถูกดูดซับไปได้ราว 30,000 ยูนิต จะทำให้ ณ สิ้นปี 2563 จำนวนสต็อกดังกล่าวจะลดลงเหลืออยู่ที่ระดับ 218,000 หน่วย มูลค่ารวมประมาณ 970,000 ล้านบาท
นายวิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) และรักษาการผู้อำนวยการ ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติ (ศขอ.) เปิดเผยถึงทิศทางตลาดที่อยู่อาศัยปี 2563 ว่า แนวโน้มยังคงมีการขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง จากมาตรการภาครัฐ 3 มาตรการ ได้แก่ ลดหย่อนภาษีบ้านหลังแรกไม่เกิน 2 แสนบาท, มาตรการลดค่าธรรมเนียมการโอนและ จดจำนอง เหลือประเภทละ 0.01% สำหรับบ้านไม่เกิน 3 ล้านบาท ส่งผลให้การโอนกรรมสิทธิ์ทั่วประเทศปรับตัวดีขึ้น
สำหรับตัวเลขการโอนกรรมสิทธิ์ ในปี 2562 ปรับตัวดีขึ้นจากปี 2561 ได้ โดยมีจำนวน 373,365 หน่วย มูลค่าการ 875,189 ล้านบาท ซึ่งมีการขยายตัวจากปี 2561 ถึง 2.7% (จำนวนหน่วย) และ 4.3% (จำนวนมูลค่า) จากเดิมที่คาดการณ์ว่าจะต้องติดลบถึง -8.4% และ -8.2%
ทั้งนี้ ศูนย์ข้อมูลฯ คาดการณ์ว่าในปี 63 จะเติบโตประมาณ 5-7% จากปัจจัยบวกด้านอัตราดอกเบี้ยต่ำ ประกอบกับมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ของรัฐบาล รวมถึง การผ่อนปรนเกณฑ์ควบคุมสินเชื่อ (LTV) ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) โดยคาดการณ์ยอดโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยทุกประเภททั่วประเทศในปี 2563 จะอยู่ที่ประมาณ 372,500 หน่วย คิดเป็นลดลงประมาณ 0.2% จากปีก่อน หรือมีมูลค่า 853,100 ล้านบาท กรณีที่มีปัจจัยลบกระทบตลาดมากที่สุด และเพิ่มขึ้นสูงสุด 7.3% หรือ 400,660 หน่วยจากปีก่อนหากมีปัจจัยบวกมากที่สุด โดยมีมูลค่า 917,100 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม ในปี 2563 ยังมีปัจจัยลบจากภาวะเศรษฐกิจอยู่ในช่วงชะลอตัว รวมถึงสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน และการระบาดของไวรัสโคโรนา ซึ่งจะส่งผลกระทบให้ภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ลดลงประมาณ 0.2% เนื่องจากประเมินว่าอาจมีลูกค้าชาวจีนชะลอการโอนกรรมสิทธิ์ประมาณ 7,000 ล้านบาท จากมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์เฉลี่ยในช่วงปี 61 และ 62 ประมาณ 29,000 ล้านบาทต่อปี ซึ่งปัจจุบันมีสัดส่วนลูกค้าจีนโอนกรรมสิทธิ์อยู่ที่ประมาณ 6% ต่อปีของตลาดรวม
สำหรับจำนวนที่อยู่อาศัยที่จะเปิดตัวโครงการใหม่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑลในปี 2563 จะอยู่ประมาณ 114,400-122,600 หน่วย แบ่งเป็นห้องชุดประมาณ 55% หรือประมาณ 62,900-67,400 หน่วย ส่วนที่เหลือประมาณ 45% เป็นบ้านจัดสรร ขณะเดียวกัน ณ สิ้นปี 2562 มีสต๊อกคงค้างในตลาดจำนวน 258,000 หน่วย มูลค่ารวมประมาณ 1.37 ล้านล้านบาท ซึ่งหากยังมีมาตรการต่างๆ ของรัฐบาล ดอกเบี้ยต่ำ รวมถึงการผ่อนปรน LTV และผู้ประกอบการชะลอแผนลงทุน ก็เชื่อว่าสต๊อกในตลาดจะถูกดูดซับไปได้ราว 30,000 ยูนิต จะทำให้ ณ สิ้นปี 2563 จำนวนสต็อกดังกล่าวจะลดลงเหลืออยู่ที่ระดับ 218,000 หน่วย มูลค่ารวมประมาณ 970,000 ล้านบาท
ข่าว reic จากสื่อสิ่งพิมพ์ อื่นๆ