ศูนย์อสังหาฯเผยบ้านราคาถูกปี'63บูม แนะผู้ประกอบการเร่งทำตลาด
วันที่ : 20 ธันวาคม 2562
นายวิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) และ รักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เปิดเผยว่า ในปี 2563 ภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ จะยังคงมีปัจจัยเสี่ยงการปรับสมดุลที่อยู่อาศัยสร้างใหม่ของผู้ประกอบการ ที่จะต้องเลือกกลุ่มผู้ซื้อให้ชัดเจน มากขึ้น
นายวิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) และ รักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เปิดเผยว่า ในปี 2563 ภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ จะยังคงมีปัจจัยเสี่ยงการปรับสมดุลที่อยู่อาศัยสร้างใหม่ของผู้ประกอบการ ที่จะต้องเลือกกลุ่มผู้ซื้อให้ชัดเจน มากขึ้น ขณะในด้านกำลังซื้อ จะต้องติดตามทิศทางการฟื้นตัวเศรษฐกิจ จะสามารถสร้างความ เชื่อมั่นให้ประชาชนเกิดการใช้จ่ายได้หรือไม่ รวมทั้งการพิจารณาสินเชื่อของสถาบันการเงิน ที่อาจจะต้องมีการผ่อนปรนเงื่อนไขมากขึ้น เช่น ลูกหนี้บัตรเครดิต ที่ไม่สามารถกู้ได้ใน 3 ปี เป็นต้น
"ในปี 2563 ผู้ประกอบการต้องพิจารณาให้ตอบโจทย์ศักยภาพผู้ซื้อมากขึ้น โดยเฉพาะบ้านราคา ต่ำกว่า 1 ล้านบาท ที่มีกำลังซื้อเยอะ สะท้อนจากยอดการโอนเพิ่มขึ้นจาก 3,000 ยูนิต เป็น 16,000 ยูนิต ดังนั้นนโยบายรัฐบาลจะต้องเข้ามามีส่วนช่วย เพราะตลาดบนๆ เริ่มมีแนวโน้มอิ่มตัว" นายวิชัย กล่าว
นายวิชัย กล่าวว่า ในปี 2563 ต้นทุนเรื่องค่าที่ดินจะยังไม่ปรับเพิ่มขึ้นมาก ทำให้ผู้ประกอบการเลือกตลาดบ้านที่าคาต่ำลงได้ ขณะที่โครงการบ้านดีมีดาวน์ จะเป็นการเพิ่มกำลังซื้อให้ประชาชน ผู้ซื้อบ้านเท่านั้น มาตรการที่มีผลจริงคือ การลดค่าธรรมเนียมโอน-จดจำนอง เหลือ 0.01% ถึงสิ้นปี 2563 ซึ่งปัจจุบันยังครอบคลุมถึงบ้านราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 50% ของราคา บ้านในตลาด ถ้าขยายเป็น 3-5 ล้านบาทด้วยได้ ก็จะบ้านในตลาดที่ได้ประโยชน์เพิ่มอีก 30% จึง ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของรัฐบาล ว่าจะดูแลประชาชนในกลุ่มนี้ด้วยหรือไม่
สำหรับผลจากมาตรการควบคุมสินเชื่อที่อยู่อาศัย (แอลทีวี) ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ยังไม่ส่งผลให้ผู้ประกอบการลดราคาที่อยู่อาศัย ตามเป้าหมายมาตรการ ของ ธปท. แต่อาจจะมีในส่วนของการจัดโปรโมชั่น การให้ส่วนลด อยู่บ้าง แต่ในภาพรวมราคาที่อยู่อาศัยใหม่ จะยังราคาไม่เพิ่ม ผู้ประกอบการจะเริ่มปรับตัว มาในตลาดบ้านราคาต่ำมากขึ้น ซึ่งจากการหารือกับ ธปท. เชื่อว่าจะยังไม่ยกเลิกมาตรการแอลทีวี แต่อาจจะมีเงื่อนไขผ่อนปรน หรือ ยกเลิกมาตรการในบางพื้นที่ ซึ่งขึ้นอยู่กับการพิจารณาของ ธปท
"ในปี 2563 ผู้ประกอบการต้องพิจารณาให้ตอบโจทย์ศักยภาพผู้ซื้อมากขึ้น โดยเฉพาะบ้านราคา ต่ำกว่า 1 ล้านบาท ที่มีกำลังซื้อเยอะ สะท้อนจากยอดการโอนเพิ่มขึ้นจาก 3,000 ยูนิต เป็น 16,000 ยูนิต ดังนั้นนโยบายรัฐบาลจะต้องเข้ามามีส่วนช่วย เพราะตลาดบนๆ เริ่มมีแนวโน้มอิ่มตัว" นายวิชัย กล่าว
นายวิชัย กล่าวว่า ในปี 2563 ต้นทุนเรื่องค่าที่ดินจะยังไม่ปรับเพิ่มขึ้นมาก ทำให้ผู้ประกอบการเลือกตลาดบ้านที่าคาต่ำลงได้ ขณะที่โครงการบ้านดีมีดาวน์ จะเป็นการเพิ่มกำลังซื้อให้ประชาชน ผู้ซื้อบ้านเท่านั้น มาตรการที่มีผลจริงคือ การลดค่าธรรมเนียมโอน-จดจำนอง เหลือ 0.01% ถึงสิ้นปี 2563 ซึ่งปัจจุบันยังครอบคลุมถึงบ้านราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 50% ของราคา บ้านในตลาด ถ้าขยายเป็น 3-5 ล้านบาทด้วยได้ ก็จะบ้านในตลาดที่ได้ประโยชน์เพิ่มอีก 30% จึง ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของรัฐบาล ว่าจะดูแลประชาชนในกลุ่มนี้ด้วยหรือไม่
สำหรับผลจากมาตรการควบคุมสินเชื่อที่อยู่อาศัย (แอลทีวี) ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ยังไม่ส่งผลให้ผู้ประกอบการลดราคาที่อยู่อาศัย ตามเป้าหมายมาตรการ ของ ธปท. แต่อาจจะมีในส่วนของการจัดโปรโมชั่น การให้ส่วนลด อยู่บ้าง แต่ในภาพรวมราคาที่อยู่อาศัยใหม่ จะยังราคาไม่เพิ่ม ผู้ประกอบการจะเริ่มปรับตัว มาในตลาดบ้านราคาต่ำมากขึ้น ซึ่งจากการหารือกับ ธปท. เชื่อว่าจะยังไม่ยกเลิกมาตรการแอลทีวี แต่อาจจะมีเงื่อนไขผ่อนปรน หรือ ยกเลิกมาตรการในบางพื้นที่ ซึ่งขึ้นอยู่กับการพิจารณาของ ธปท
ข่าว reic จากสื่อสิ่งพิมพ์ อื่นๆ