คอลัมน์ พร็อพเพอร์ตีโฟกัส: แรงส่งมาตรการกระตุ้นปี 63 โตไม่เกิน 5%
วันที่ : 18 ธันวาคม 2562
ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ประเมินตลาดอสังหาริมทรัพย์ปี 2562 โดยพิจารณาจากไตรมาส 3 ที่ผ่านมา คาดว่าช่วงครึ่งปีหลังนี้จะมีการเปิดขายโครงการใหม่ประมาณ 20,000 หน่วย
jeamjit.s@than-multimedia.com
ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ประเมินตลาดอสังหาริมทรัพย์ปี 2562 โดยพิจารณาจากไตรมาส 3 ที่ผ่านมา คาดว่าช่วงครึ่งปีหลังนี้จะมีการเปิดขายโครงการใหม่ประมาณ 20,000 หน่วย ถ้าเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2561 ซึ่งมีการเปิดตัวโครงการใหม่ประมาณ 40,000 หน่วย จะเห็นถึงการปรับตัวลดลงสอดคล้องกับสถานการณ์ตลาดที่ชะลอตัว
ทั้งนี้ ประมาณการว่าในพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล จะมีที่อยู่อาศัยเปิดขายใหม่ทุกประเภทรวม 112,044 หน่วย เป็นโครงการบ้านจัดสรรเปิดตัวใหม่เพียง 46,010 หน่วย โดยลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2561 ที่ 24.4% เป็นการเปิดตัวน้อยอย่างต่อเนื่องมา 3 ไตรมาส ส่วนคอนโดมิเนียมมีโครงการเปิดตัวใหม่เพียง 66,034 หน่วย ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2561 ประมาณ 22.4%
สำหรับสถานการณ์ไตรมาส 4 ปี 2562 ในพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล คาดว่าจะมีการเปิดโครงการใหม่ทั้งบ้านจัดสรรและคอนโดมิเนียมเพิ่มขึ้นมากกว่า 3 ไตรมาสที่ผ่านมาอย่างเห็นได้ชัด โดยคาดว่าโครงการบ้านจัดสรรจะเปิดโครงการใหม่ 14,954 หน่วย เป็นคอนโดมิเนียม 29,399 หน่วย โดยคาดว่าจะมีการเปิดตัวโครงการใหม่ทั้งปี 2562 จำนวน 112,044 หน่วย ลดลงจากปี 2561 ประมาณ 23.2% ทั้งนี้ แบ่งเป็นโครงการบ้านจัดสรรจำนวน 46,010 หน่วย คิดเป็น 41.1% ลดลง 24.4% จากช่วงเดียวกันของปี 2561 และโครงการคอนโดมิเนียม 66,034 หน่วย คิดเป็น 58.8% ลดลง 22.4% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
สำหรับสถานการณ์ตลาดอสังหาริมทรัพย์ช่วงครึ่งหลังของปีนี้ หลังจากได้รับผลบวกจากมาตรการกระตุ้นจากรัฐบาล คาดจะเหลืออุปทานในตลาด 257,969 หน่วย ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่ดีขึ้นกว่าไม่มีมาตรการรองรับ 2.4% และจะมียอดการโอนกรรมสิทธิ์รวมทั่วประเทศจำนวนประมาณ 361,696 หน่วย เป็นมูลค่ารวม 820,624 ล้านบาท ซึ่งน่าจะลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2561 ประมาณ 2.2%
นายวิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูล กล่าวว่า ผลจากมาตรการทำให้ตัวเลขการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัย จากเดิมที่ประเมินว่าภาพรวมจะติดลบถึงประมาณ7.7% แต่เมื่อมีมาตรการมากระตุ้นการซื้อขายและโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยของรัฐบาล ประเมินว่าในปี 2562 การโอนกรรมสิทธิ์ทั่วประเทศ ณ สิ้นปีนี้ น่าจะลดลงจากปี 2561 ประมาณ 0.6% จำนวนมูลค่าลดลงประมาณ 2.2%
สำหรับทิศทางตลาด ปี 2563 คาดว่าจะมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องจากปลายปี 2562 แต่จะไม่มากนัก โดยจะขยายตัวไม่เกิน 5% โดยโครงการที่อยู่อาศัยใหม่จะมีการเปิดตัวต่อเนื่องจากช่วงปลายปีรองรับมาตรการรัฐซึ่งคาดว่าจะมีจำนวนใกล้เคียงกับยอดการเปิดตัวในปี 2562
ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ประเมินตลาดอสังหาริมทรัพย์ปี 2562 โดยพิจารณาจากไตรมาส 3 ที่ผ่านมา คาดว่าช่วงครึ่งปีหลังนี้จะมีการเปิดขายโครงการใหม่ประมาณ 20,000 หน่วย ถ้าเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2561 ซึ่งมีการเปิดตัวโครงการใหม่ประมาณ 40,000 หน่วย จะเห็นถึงการปรับตัวลดลงสอดคล้องกับสถานการณ์ตลาดที่ชะลอตัว
ทั้งนี้ ประมาณการว่าในพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล จะมีที่อยู่อาศัยเปิดขายใหม่ทุกประเภทรวม 112,044 หน่วย เป็นโครงการบ้านจัดสรรเปิดตัวใหม่เพียง 46,010 หน่วย โดยลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2561 ที่ 24.4% เป็นการเปิดตัวน้อยอย่างต่อเนื่องมา 3 ไตรมาส ส่วนคอนโดมิเนียมมีโครงการเปิดตัวใหม่เพียง 66,034 หน่วย ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2561 ประมาณ 22.4%
สำหรับสถานการณ์ไตรมาส 4 ปี 2562 ในพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล คาดว่าจะมีการเปิดโครงการใหม่ทั้งบ้านจัดสรรและคอนโดมิเนียมเพิ่มขึ้นมากกว่า 3 ไตรมาสที่ผ่านมาอย่างเห็นได้ชัด โดยคาดว่าโครงการบ้านจัดสรรจะเปิดโครงการใหม่ 14,954 หน่วย เป็นคอนโดมิเนียม 29,399 หน่วย โดยคาดว่าจะมีการเปิดตัวโครงการใหม่ทั้งปี 2562 จำนวน 112,044 หน่วย ลดลงจากปี 2561 ประมาณ 23.2% ทั้งนี้ แบ่งเป็นโครงการบ้านจัดสรรจำนวน 46,010 หน่วย คิดเป็น 41.1% ลดลง 24.4% จากช่วงเดียวกันของปี 2561 และโครงการคอนโดมิเนียม 66,034 หน่วย คิดเป็น 58.8% ลดลง 22.4% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
สำหรับสถานการณ์ตลาดอสังหาริมทรัพย์ช่วงครึ่งหลังของปีนี้ หลังจากได้รับผลบวกจากมาตรการกระตุ้นจากรัฐบาล คาดจะเหลืออุปทานในตลาด 257,969 หน่วย ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่ดีขึ้นกว่าไม่มีมาตรการรองรับ 2.4% และจะมียอดการโอนกรรมสิทธิ์รวมทั่วประเทศจำนวนประมาณ 361,696 หน่วย เป็นมูลค่ารวม 820,624 ล้านบาท ซึ่งน่าจะลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2561 ประมาณ 2.2%
นายวิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูล กล่าวว่า ผลจากมาตรการทำให้ตัวเลขการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัย จากเดิมที่ประเมินว่าภาพรวมจะติดลบถึงประมาณ7.7% แต่เมื่อมีมาตรการมากระตุ้นการซื้อขายและโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยของรัฐบาล ประเมินว่าในปี 2562 การโอนกรรมสิทธิ์ทั่วประเทศ ณ สิ้นปีนี้ น่าจะลดลงจากปี 2561 ประมาณ 0.6% จำนวนมูลค่าลดลงประมาณ 2.2%
สำหรับทิศทางตลาด ปี 2563 คาดว่าจะมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องจากปลายปี 2562 แต่จะไม่มากนัก โดยจะขยายตัวไม่เกิน 5% โดยโครงการที่อยู่อาศัยใหม่จะมีการเปิดตัวต่อเนื่องจากช่วงปลายปีรองรับมาตรการรัฐซึ่งคาดว่าจะมีจำนวนใกล้เคียงกับยอดการเปิดตัวในปี 2562
ข่าว reic จากสื่อสิ่งพิมพ์ อื่นๆ